backup og meta

เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร และควรกินอะไร

เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร และควรกินอะไร
เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร และควรกินอะไร

โรคเก๊าท์ เป็นภาวะข้ออักเสบรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากมีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ โดยทั่วไป โรคเก๊าท์รักษาได้ด้วยการรับประทานยาตามคุณหมอสั่ง ร่วมกับการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสม ถ้าเป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร คำตอบคือ ควรงดอาหารทะเล เนื้อแดง สัตว์ปีก และเครื่องในสัตว์ เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารพิวรีน (Purine) ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วมักทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์ หรือทำให้โรคเก๊าท์กำเริบได้

[embed-health-tool-bmr]

โรคเก๊าท์ คืออะไร

โรคเก๊าท์ หรือโรคเกาต์ เป็นภาวะข้ออักเสบที่มักพบในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มีสาเหตุมาจากระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ โดยร่างกายจะได้รับกรดยูริกจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิวรีนเป็นส่วนประกอบ

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ จะมีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อศอก หรือหัวเข่า ซึ่งมักส่งผลให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ อาจบรรเทาอาการของโรคเก๊าท์ให้ดีขึ้นได้ด้วยการรับประทานยา ร่วมกับการเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้เหมาะสม

เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ได้แก่ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยและปลาน้ำลึกอย่างแซลมอน ทูน่า ปลากะพง เนื้อแดง สัตว์ปีก และเครื่องในสัตว์ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ เหล้า ไวน์ เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารพิวรีนในปริมาณมากจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบได้

งานวิจัยหนึ่ง เรื่องการบริโภคอาหารที่มีสารพิวรีนสูงต่ออาการเก๊าท์กำเริบ เผยแพร่ในวารสาร Annals of the Rheumatic Diseases ปี พ.ศ. 2557 นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเก๊าท์จำนวน 633 ราย เกี่ยวกับอาการของโรค อาหารที่รับประทาน รวมถึงยาที่ใช้ โดยพบข้อสรุปว่า การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เพิ่มความเสี่ยงให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ 5 เท่า และการงดอาหารดังกล่าว โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาจช่วยลดความเสี่ยงอาการของโรคเก๊าท์กำเริบได้

นอกจากนี้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการบริโภคคือของหวานต่าง ๆ เช่น เค้ก คุกกี้ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำสลัด โยเกิร์ตแต่งรสหวาน เพราะร่างกายจะย่อยน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) ในอาหารหรือเครื่องดื่มดังกล่าวให้กลายเป็นสารพิวรีนและเมื่อร่างกายย่อยพิวรีนซ้ำกลายเป็นกรดยูริกจึงส่งผลให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น

สำหรับผักบางชนิดที่มีพิวรีนสูงอย่างกะหล่ำดอก เห็ด หรือหน่อไม้ฝรั่งสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากไม่มีรายงานว่าการบริโภคผักเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์แต่อย่างใด

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่อุดมไปด้วยสารพิวรีนต่อความเสี่ยงโรคเก๊าท์ในประชากรผู้ใหญ่ชาวจีน เผยแพร่ในวารสาร Nutrients พ.ศ.2563 ระบุว่า อาหารที่อุดมไปด้วยสารพิวรีนโดยเฉพาะเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล อาจเพิ่มความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคเก๊าท์ อย่างไรก็ตาม การบริโภคผักที่อุดมไปด้วยสารพิวรีนนั้นไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเก๊าท์

เป็น โรคเก๊าท์ ควรกินอะไร

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคเก๊าท์กำเริบ ได้แก่

  • ผลไม้ โดยเฉพาะเชอร์รี่ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดระดับกรดยูริกในเลือด งานวิจัยหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของเชอร์รี่ในการช่วยลดระดับกรดยูริกในเลือด ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Nutrition ปี พ.ศ. 2546 นักวิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงสุขภาพดี อายุระหว่าง 22-40 ปี รับประทานเชอร์รี่จำนวน 280 กรัมในตอนเช้าหลังจากอดอาหารข้ามคืน เพื่อเปรียบเทียบระดับกรดยูริกในเลือดตอนก่อนและหลังรับประทานเชอร์รี่ ผลปรากฏว่า หลังรับประทานเชอร์รี่ กลุ่มตัวอย่างมีระดับกรดยูริกในเลือดลดลง จึงสรุปว่า การรับประทานเชอร์รี่อาจช่วยต้านโรคเก๊าท์ได้
  • ผัก ชนิดต่าง ๆ เช่น มันฝรั่ง มะเขือม่วง ผักใบเขียวต่าง ๆ
  • ถั่ว ชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วลิสง อัลมอนด์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากถั่วอย่างเต้าหู้
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์
  • เครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา ชาเขียว
  • น้ำมัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Purine-rich foods intake and recurrent gout attacks. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3889483/. Accessed October 10, 2022

Consumption of cherries lowers plasma urate in healthy women. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12771324/. Accessed October 10, 2022

Nutrition and healthy eating. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/gout-diet/art-20048524#:~:text=Avoid%20alcohol%20during%20gout%20attacks,of%20naturally%20sweet%20fruit%20juices. Accessed October 10, 2022

Gout Diet: Foods to Eat and Those to Avoid. https://www.webmd.com/arthritis/gout-diet-curb-flares. Accessed October 10, 2022

Best (and Worst) Foods for Gout. https://www.webmd.com/arthritis/ss/slideshow-gout-diet. Accessed October 10, 2022

Gout. https://www.cdc.gov/arthritis/basics/gout.html. Accessed October 10, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/11/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 อาหารลดความอ้วน ที่ช่วยควบคุมน้ำหนักและดีต่อสุขภาพ

5 เมนูอาหารคลีน ที่ดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 07/11/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา