โรคอ้วน

โรคอ้วน หรือการสะสมไขมันส่วนเกินก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ซึ่งปัจจุบันความอ้วนอาจนำไปสู้ภาวะทางสุขภาพระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิดได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคอ้วน

หน้าอ้วน เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

หน้าอ้วน มีไขมันสะสมรอบกรอบหน้าหรือที่เรียกว่าเหนียง อาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย หรือพันธุกรรมของคนในครอบครัว ซึ่งอาจทำให้บางคนขาดความมั่นใจ เพื่อช่วยลดไขมันบนใบหน้าที่ทำให้ใบหน้ากระชับและวีเชฟขึ้น ควรศึกษาวิธีลดไขมันบนใบหน้าหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] หน้าอ้วน เกิดจากอะไร หน้าอ้วน เกิดจากการสะสมของไขมันทั่วใบหน้าหรืออาจส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น คาง แก้ม ที่ทำให้ใบหน้าดูกลม มีเหนียง โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ พันธุกรรมของครอบครัว หากคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญที่ส่งผลให้ใบหน้าอ้วน ก็อาจส่งผลให้บุตรหลานมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ด้วยเช่นกัน อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่และไขมันสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน อาหารแปรรูป น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ ก็อาจส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันได้ทั้งบริเวณใบหน้ารวมถึงลำตัว ที่เสี่ยงให้ใบหน้าอ้วนกลม มีเหนียง หรือเป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ทำให้ไขมันสะสมอยู่บนใบหน้าและร่างกายในร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพมาก การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติและกระตุ้นความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ซึ่งอาจทำให้รับประทานอาหารมากเกินไปนำไปสู่ไขมันสะสมบนใบหน้าทำให้หน้าอ้วน ความเครียด อาจกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ส่งผลให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารในปริมาณมากจนมีการสะสมของไขมันบนใบหน้าและทำให้หน้าอ้วน ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยารักษาเบาหวาน ยากล่อมประสาท ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) […]

สำรวจ โรคอ้วน

โรคอ้วน

Cushing syndrome คืออะไร มีสาเหตุและอาการอะไรบ้าง

Cushing syndrome (กลุ่มอาการคุชชิง) คือ ภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากเกินไป จนทำให้เกิดความบกพร่องในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการทำงานของระบบการเผาผลาญ จนอาจส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่ม มีไขมันสะสม และเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน หากสังเกตว่ามีอาการเหนื่อยล้า น้ำหนักขึ้นผิดปกติ มีไขมันสะสมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาทันที [embed-health-tool-bmi] Cushing syndrome คืออะไร  Cushing syndrome คือ ความผิดปกติของร่างกาย่ที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป โดยฮอร์โมนคอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนถูกสร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต มีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และการเผาผลาญไขมันในอาหารให้เป็นพลังงาน แต่หากมีปริมาณมากก็อาจทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล จนเสี่ยงก่อให้เกิดโรค Cushing syndrome ที่ส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนลงพุง มีไขมันสะสมบนใบหน้า อีกทั้งยังอาจเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และอาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูกได้ สาเหตุของ Cushing syndrome สาเหตุของ Cushing syndrome มีดังนี้ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) ที่นิยมใช้รักษาโรคหอบหืด โรคลูปัส (Systemic Lupus […]


โรคอ้วน

ldl cholesterol คืออะไร ส่งผลกระทบกับสุขภาพอย่างไร

ldl cholesterol (Low-Density Lipoprotein) คือ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันไม่ดี ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ในตับ และอาจได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หากมีระดับของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกายสูง อาจเกิดการสะสมบนผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน และขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] ldl cholesterol คืออะไร ldl cholesterol คือ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันไม่ดี มีลักษณะเป็นสารคล้ายขึ้ผึ้ง ที่พบได้ในเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ในตับ นอกจากนี้ ไขมันไม่ดียังอาจอยู่ในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง อาหารทอด ขนมหวาน และยิ่งหากมีพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ก็อาจส่งผลเพิ่มปริมาณไขมันไม่ดีจนส่งผลให้ไขมันสะสมบนผนังหลอดเลือด เสี่ยงเป็นภาวะคอเลสเตอรอลสูงและหลอดเลือดตีบอุดตัน เพราะปกติแล้วการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายดึงไขมันมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทำให้ลดการสะสมของไขมันไม่ดีได้ ldl cholesterol ส่งผลกระทบกับสุขภาพอย่างไร หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีสูง อาจเกิดคราบจุลินทรีย์เกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตัน จนส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ต่าง ๆ ได้น้อยลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก […]


โรคอ้วน

น้ำหนักตัวกับสุขภาพ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

น้ำหนักตัวกับสุขภาพ เป็นสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เนื่องจากน้ำหนักตัวอาจสามารถบ่งบอกได้ว่าสุขภาพร่างกายเป็นอย่างไรหากมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือน้ำหนักเกินก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคอ้วน ขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน ดังนั้น การทราบเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ความสัมพันธ์ของ น้ำหนักตัวกับสุขภาพ  ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับสุขภาพ คือการที่น้ำหนักตัวอาจบ่งบอกได้ว่า สุขภาพร่างกายอยู่ในเกณฑ์ใด ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้ ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนดเกณฑ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยคำนวณได้จากสูตร น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 170 เซนติเมตร จะได้เท่ากับ 60 ÷ 1.7 = 20.8 จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์น้ำหนักตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ใด  เกณฑ์น้ำหนักตัวตามค่าดัชนีมวลกาย อาจแบ่งได้ดังนี้ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า 18.5 อาจเกิดจากความเครียด เบื่ออาหาร หรือเป็นภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นภาวะขาดสารอาหาร โรคกระดูกพรุน โรคโลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ […]


โรคอ้วน

วิธีคํานวณ BMI และการอ่านผลลัพธ์หลังคำนวณ

BMI ย่อมาจาก Body Mass Index คือ การหาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่ามีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากการมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์อาจส่งผลให้เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ประโยชน์ของการ คำนวณ BMI การคำนวณหาค่า BMI อาจช่วยให้ทราบว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมากเกินกว่าเกณฑ์หรือไม่ เพื่อจะได้ทำการเพิ่มน้ำหนักหรือลดน้ำหนักอย่างเหมาะสม โดยอาจขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพราะหากปล่อยให้น้ำหนักไม่สมดุลเป็นเวลานานอาจเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะสุขภาพบางอย่าง ดังนี้ ความเสี่ยงจากน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร่างกายขาดสารอาหาร  ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ปัญหาการเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติ และอาจเกิดภาวะมีบุตรยาก โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคโลหิตจาง ความเสี่ยงจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน  โรคเบาหวาน  โรคข้ออักเสบ   ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ  ระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งเต้านม วิธีคำนวณ BMI วิธีคำนวณ BMI สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถคำนวณได้โดยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูงยกกำลังสอง (เมตร)2 ปกติแล้วสำหรับประเทศไทยมักใช้หน่วยวัดความสูงเป็นเซนติเมตร จึงอาจเปลี่ยนค่าส่วนสูงให้เป็นเมตรโดยการนำ ส่วนสูง (เซนติเมตร) […]


โรคอ้วน

ดัชนีมวลกาย คืออะไร สำคัญอย่างไร

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) เป็นเครื่องมือที่ใช้คำนวณเปรียบเทียบค่าน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อประเมินความสมดุลของสภาวะร่างกายในปัจจุบัน สามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการน้ำหนักไม่ให้ต่ำหรือสูงจนเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคขาดสารอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายอาจมีข้อจำกัดในผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก บวมน้ำหรือมีสัดส่วนตัวเล็กกว่าปกติ อาจทำให้ค่าสูงหรือต่ำแม้ว่าจะไม่ได้มีภาวะน้ำหนักน้อยหรือสูงกว่าปกติ [embed-health-tool-bmi] ดัชนีมวลกาย คืออะไร ดัชนีมวลกาย คือ ค่าน้ำหนักตัวที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงที่มีหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง เป็นการประเมินมวลกายโดยรวมที่อาจแสดงถึงการเผาผลาญอาหารในร่างกาย หรือแนวโน้มในการเกิดโรค ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นตัวบอกว่าน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรือมีแนวโน้มน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจช่วยในการควบคุมน้ำหนักและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยค่าดัชนีมวลกายอาจแบ่งได้ ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 หมายถึง น้ำหนักน้อยมากหรือผอมเกินไป ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.90 หมายถึง น้ำหนักและความสมดุลของร่างกายอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ค่าดัชนีมวลกาย 23-24.90 หมายถึง น้ำหนักเกิน ควรควบคุมน้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย 25-29.90 หมายถึง โรคอ้วนระดับที่ 1 ควรควบคุมน้ำหนัก และอาจเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด […]


โรคอ้วน

การป้องกันโรคอ้วน เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน

การป้องกันโรคอ้วน ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงได้หลายชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งการรับประทานอาหารถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยป้องกันโรคอ้วนและส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างยั่งยืน [embed-health-tool-bmi] โรคอ้วน คืออะไร โรคอ้วน คือ โรคที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีไขมันสะสมในร่างกายมาก อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูง โดยเฉพาะแป้ง ไขมันและน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมด จึงทำให้พลังงานส่วนเกินถูกเก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในรูปแบบไขมัน นอกจากนี้ โรคอ้วนยังอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีควรมีค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI อยู่ที่ 18.5-22.90 ซึ่งเป็นค่าน้ำหนักตัวที่แสดงถึงความสมบูรณ์แข็งแรงและความสมส่วนของร่างกาย แต่หากมีค่า BMI 23-24.90 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน และค่า BMI 25-30 ขึ้นไป จัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน อาจเสี่ยงปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โดยสามารถใช้วิธีคำนวณ BMI จากค่า น้ำหนักตัว […]


โรคอ้วน

โรคอ้วนกับความเสี่ยงมะเร็ง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคอ้วน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อีกทั้ง โรคอ้วนกับความเสี่ยงมะเร็ง ก็ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอาจส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนบางชนิด เช่น อินซูลิน เอสโตรเจน ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงที่เซลล์จะเจริญเติบโตผิดปกติจนนำไปสู่โรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี อาจช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ โรคอ้วน เกิดขึ้นได้อย่างไร โรคอ้วน (Obesity) คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมากเกินไป โรคอ้วนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อย อาจได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป เช่น อาหารไขมันสูง อาหารน้ำตาลสูง การใช้ชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ การไม่ค่อยออกกำลังกาย นอกจากนี้ พันธุกรรม ประวัติโรคอ้วนของคนในครอบครัว ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนได้เช่นกัน การประเมินโรคอ้วนในเบื้องต้นนิยมใช้การตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) โดยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 ถือว่าน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 ถือว่าน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ หรือสมส่วน ค่าดัชนีมวลกาย […]


โรคอ้วน

วิธีลดน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วน ทำอย่างไรได้บ้าง

โรคอ้วน คือ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพันธุกรรมและปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายมีไขมันมากเกินไป และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่า 30 นอกจากนี้ หากปล่อยให้ไขมันสะสมเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ข้อเข่า อาการหยุดหายใจขณะหลับ มะเร็งบางชนิด รวมทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้อาการของโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนควรศึกษา วิธีลดน้ำหนัก และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วน มีดังนี้ ครอบครัว ยีนของพ่อแม่ที่เป็นโรคอ้วน อาจสืบทอดสู่บุตรหลาน ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันและเป็นโรคอ้วนเหมือนพ่อแม่ อายุ โรคอ้วนเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายอาจไม่คล่องตัว ขาดการออกกำลังกาย นำไปสู่มวลกล้ามเนื้อที่ลดลง เมื่อมวลกล้ามเนื้อลดลงอาจทำให้การเผาผลาญหรือระบบเมตาบอลิซึมลดลง ทำให้ควบคุมน้ำหนักส่วนเกินได้ยากขึ้น อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูง เช่น อาหารจานด่วน อาหารขยะ ของทอด น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันและคอเลสเตอรอล ซึ่งเสี่ยงต่อการเพิ่มของน้ำหนัก ขาดการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญแคลอรี่ที่สะสมในร่างกาย หากในแต่ละวันไม่มีการเคลื่อนไหว หรือมีพฤติกรรมที่ชอบอยู่นิ่งมากเกินไป เช่น นอนดูหนัง […]


โรคอ้วน

อ้วน สังเกตได้อย่างไร และสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษา โรคอ้วน

อ้วน หรือโรคอ้วน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากร่างกายมีไขมันสะสมมากผิดปกติ โดยสาเหตุของโรคอ้วนอาจเกิดจากพันธุกรรม การเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนี้ โรคอ้วนยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่ 2 มะเร็งบางชนิด รวมถึงบางคนอาจทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ อ้วน คืออะไร อ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันมากผิกปกติหรือมากเกินไป รวมถึงการได้รับแคลอรี่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญออกไปในแต่ละวัน โดยโรคอ้วนนั้นมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ มะเร็งบางชนิด  ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ในผู้ใหญ่ โรคอ้วนถูกกำหนดให้มีดัชนีมวลกาย 30.0 หรือมากกว่า ซึ่งค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อาจคำนวณได้จากการนำน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งค่า BMI ที่ออกมานั้น อาจบอกสถานะน้ำหนักได้ ดังนี้ ต่ำกว่า 18.5 คือ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 18.5-24.9 คือ น้ำหนักปกติ 25.0-29.9 คือ น้ำหนักเกินมาตรฐาน 30.0 หรือมากกว่า คือ อ้วน สำหรับโรคอ้วนอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ […]


โรคอ้วน

คนอ้วน มีสาเหตุมาจากอะไร

คนอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สามารถคำนวณได้จากค่าดัชนีมวลกาย ด้วยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารกับ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 หากผลลัพธ์ออกมาสูงกว่า 30.0 ก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วน หรือวัดจากรอบเอวซึ่งหากผู้หญิงมีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว และผู้ชายมีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว ก็อาจมีความหมายว่าเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด [embed-health-tool-”bmi”] สาเหตุที่ทำให้คนอ้วน  สาเหตุที่ทำให้ คนอ้วน ส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายสะสมแคลอรีจากอาหารที่รับประทานมากเกินไปและไม่ได้เผาผลาญพลังงานส่วนเกินออก ด้วยการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ส่งผลให้แคลอรีในร่างกายแปรเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ตามเซลล์เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ปริมาณมาก ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และอาจหรือเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคต กรรมพันธุ์ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน บางครอบครัวอาจมีการถ่ายทอดยีนเดี่ยวที่อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ เรียกว่า โรคอ้วนที่เกิดจากยีนเดี่ยว (Monogenic obesity) ซึ่งอาจทำให้ลดความอ้วนได้ยาก โรคเรื้อรัง เช่น กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing) กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ (Prader-Willi Syndrome) โรคข้ออักเสบ รวมถึงยาบางชนิดอย่างสเตียรอยด์ ยากล่อมประสาท ยาต้านอาการชัก ยารักษาโรคเบาหวาน ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เป็นต้น ก็อาจส่งผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักเพิ่มหรืออ้วนขึ้นได้เช่นกัน เพราะโรคหรือยาเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายเสียความสมดุลของพลังงาน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน