โรคอ้วน

โรคอ้วน หรือการสะสมไขมันส่วนเกินก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ซึ่งปัจจุบันความอ้วนอาจนำไปสู้ภาวะทางสุขภาพระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิดได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคอ้วน

หน้าอ้วน เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

หน้าอ้วน มีไขมันสะสมรอบกรอบหน้าหรือที่เรียกว่าเหนียง อาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย หรือพันธุกรรมของคนในครอบครัว ซึ่งอาจทำให้บางคนขาดความมั่นใจ เพื่อช่วยลดไขมันบนใบหน้าที่ทำให้ใบหน้ากระชับและวีเชฟขึ้น ควรศึกษาวิธีลดไขมันบนใบหน้าหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] หน้าอ้วน เกิดจากอะไร หน้าอ้วน เกิดจากการสะสมของไขมันทั่วใบหน้าหรืออาจส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น คาง แก้ม ที่ทำให้ใบหน้าดูกลม มีเหนียง โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ พันธุกรรมของครอบครัว หากคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญที่ส่งผลให้ใบหน้าอ้วน ก็อาจส่งผลให้บุตรหลานมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ด้วยเช่นกัน อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่และไขมันสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน อาหารแปรรูป น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ ก็อาจส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันได้ทั้งบริเวณใบหน้ารวมถึงลำตัว ที่เสี่ยงให้ใบหน้าอ้วนกลม มีเหนียง หรือเป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ทำให้ไขมันสะสมอยู่บนใบหน้าและร่างกายในร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพมาก การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติและกระตุ้นความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ซึ่งอาจทำให้รับประทานอาหารมากเกินไปนำไปสู่ไขมันสะสมบนใบหน้าทำให้หน้าอ้วน ความเครียด อาจกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ส่งผลให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารในปริมาณมากจนมีการสะสมของไขมันบนใบหน้าและทำให้หน้าอ้วน ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยารักษาเบาหวาน ยากล่อมประสาท ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) […]

สำรวจ โรคอ้วน

โรคอ้วน

5 วิธี ลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่ดี

การลดน้ำหนัก ช่วยปรับสมดุลของระบบการทำงานในร่างกาย ป้องกันภาวะสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่หากลดน้ำหนักเร็วเกินไปด้วยวิธีการอดอาหาร กินยาลดความอ้วน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดภาวะทุพโภชนาการ และอาจทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จในระยะยาว ดังนั้น การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน ลดน้ำหนัก ดีต่อสุขภาพอย่างไร การลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพควรเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและค่อยเป็นค่อยไป อาจเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เพราะการลดน้ำหนักนั้นมีข้อดีต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้ ช่วยให้ข้อต่อแข็งแรงขึ้น ไขมันส่วนเกินและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจสร้างแรงกด ส่งผลให้ข้อต่ออักเสบ การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ ลดความเสี่ยงมะเร็ง ผู้ที่มีน้ำหนักเกินอาจมีระดับของฮอร์โมนบางชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น เอสโตรเจน อินซูลิน แอนโดรเจน การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยลดระดับฮอร์โมนเหล่านั้น และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การลดน้ำหนักควบคู่กับควบคุมอาหาร อาจช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ และสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว การลดน้ำหนักอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ลดระดับไขมันเลว การออกกำลังกายอาจช่วยลดระดับไขมันเลว หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในร่างกายได้ และการควบคุมอาหารระหว่างลดน้ำหนักอาจเพิ่มไขมันดี หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจ หัวใจวาย […]


โรคอ้วน

อ้วนลงพุง เกิดจากอะไร และวิธีรับมือภาวะอ้วนลงพุง

อ้วนลงพุง คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่น เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ ขาดการออกกำลังกาย อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง หากอยากรู้ว่ากำลังอยู่ในกลุ่มอ้วนลงพุงหรือไม่ อาจวัดได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) สำหรับบุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากค่าดัชนีมากกว่า 25 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีรูปร่างอ้วน [embed-health-tool-”bmi”] สาเหตุของอ้วนลงพุง สาเหตุของอ้วนลงพุง อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้ เช่น รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก ลูกอม เครื่องดื่มที่มีความหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เนื่องจากของหวานอาจชะลอการทำงานของระบบเผาผลาญ และอาจเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ที่เป็นไขมันสังเคราะห์ หากไขมันชนิดนี้เกาะผนังหลอดเลือด และอวัยวะต่าง ๆ ภายในอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคอ้วนได้ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น และอาจเกิดการสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะรอบเอว เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจไปขัดขวางการเผาผลาญไขมัน ไม่ออกกำลังกาย หากรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ปริมาณมากกว่าที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน และไม่ออกกำลังกาย […]


โรคอ้วน

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ ป้องกันได้หากดูแลถูกวิธี

ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับโรคต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายและภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง โรคอ้วนในผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่ผู้สูงอายุควรเฝ้าระวัง เนื่องจากจะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดัน และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งในรายที่รุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุการเกิด โรคอ้วนในผู้สูงอายุ  สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ส่วนใหญ่มาจากการเสื่อมสภาพของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายตามช่วงอายุที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เกินมาตรฐาน โดยวัดจากรอบเอว มวลไขมัน น้ำหนักตัว นอกจากนี้ คณะกรรมการของสมาคมโภชนาการและสมาคมโรคอ้วนของสหรัฐอเมริกา ได้ทบทวนงานศึกษาวิจัยที่เผยแพร่ในช่วงปี 1996-2005 และพบว่า โรคอ้วนในผู้สูงอายุเชื่อมโยงกับความบกพร่องทางร่างกาย อีกทั้งผู้สูงอายุที่น้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วนยังเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้มากขึ้นด้วย การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะอ้วนลงพุง หรือเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ปัญหาภายในระบบทางเดินอาหาร โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด หากปล่อยให้ผู้สูงอายุเผชิญกับโรคอ้วนเป็นเวลานาน อาจทำให้สุขภาพแย่ลง จนเสี่ยงต่อความพิการ หรือเสียชีวิตได้ นอกจากดัชนีมวลกายแล้ว ยังสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่อาจบ่งบอกได้ว่าผู้สูงอายุกำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ เช่น การสะสมของไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะ หน้าท้อง แขน ตัวเลขของน้ำหนักเพิ่ม ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนในผู้สูงอายุ ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในผู้สูงอายุ มีดังนี้ การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่ทำลายสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติทางพันธุกรรม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุสามารถลดความเสี่ยงจากโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ออกกำลังกายในระดับเบา เช่น แอโรบิก เดิน รับประทานเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะผลไม้ ผัก และโปรตีน ลดอาหารที่มีไขมันสูง […]


โรคอ้วน

อันตรายจากโรคอ้วน กับผลเสียต่อสุขภาพ

อันตรายจากโรคอ้วน ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากที่คิด นอกจากจะทำให้สูญเสียความมั่นใจในเรื่องของรูปแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวของกับโรคอ้วน โรคอ้วน คืออะไร โรคอ้วน ถือเป็นปัญหาที่ซับซ้อนเนื่องจากมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวสูง ขาดการออกกำลังกาย หรือปัจจัยทางพันธุกรรมที่ได้รับยีนส์มาจากครอบครัว ส่งผลให้คุณมีระบบการเผาผลาญที่ไม่ดีมากนัก การที่คุณจะทราบว่าตนเองกำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วนอยู่หรือไม่ ส่วนใหญ่ต้องการค่าหาดัชนีมวลกายโดยรวม (BMI) หากผลลัพธ์เผยตัวเลขตั้งแต่ 25.0-30.0 ขึ้นไปก็อาจแปลความหมายได้ว่าคุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน หรือกำลังเป็นโรคอ้วนอ้วนอยู่นั่นเอง อันตรายจากโรคอ้วน ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด อันตรายจากโรคอ้วนอาจไม่ใช่เพียงไขมันสะสมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาได้อีกมากมาย และสามารถส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายโดยรวมได้ทั้งหมด แต่จะมีโรคอะไรบ้าง เรามาดูไป พร้อม ๆ กันเลยค่ะ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคถุงน้ำดี หรือนิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็งบางชนิด โรคเกาต์ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดแข็ง โรคไต เพียงแค่โรคอ้วนโรคเดียวสามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อย่างมากมาย และหากคุณยังเพิกเฉยต่อการดูแลสุขภาพตนเอง โรคดังกล่าวข้างต้นนี้อาจสามารถนำพาไปสู่การเกิดอาการรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โรคอ้วนควบคุมได้ เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต สำหรับบุคคลใดที่กำลังเป็นโรคอ้วน หรืออยากจะป้องกันการเกิดโรคอ้วนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณสามารถเริ่มได้จากการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางประการที่มักส่งผลเสียแก่สุขภาพคุณได้ ดังนี้ ตรวจน้ำหนักของเป็นประจำ พร้อมหาค่าดัชนีมวลกายควบคู่ วางแผนการรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่สารอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150-300 นาที ต่อสัปดาห์ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมถึงการรักษาน้ำหนักให้คงที่ […]


โรคอ้วน

ประเภทของไขมันในร่างกาย ที่สามารถพบเจอ พร้อมวิธีกำจัดไขมันส่วนเกิน

โรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ซึ่งสาเหตุของการสะสมของไขมันในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ง่าย แล้ว ประเภทของไขมันในร่างกาย ที่สามารถสะสมอยู่ในร่างกายนั้น จะไปสะสมอยู่ในส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง ถ้าอยากกำจัดออก จะมีวิธีกำจัด ไขมันส่วนเกิน นั้นได้อย่างไร มาดูคำตอบกันเลย [embed-health-tool-”bmr”] ไขมัน คืออะไร “ไขมัน” เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ต้องได้รับในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป เพราะหากได้รับมากเกินไปจะเป็นโทษต่อร่างกายได้ เช่น มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินก่อให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในร่างกายของเราประกอบด้วยสามโมเลกุลที่เชื่อมต่อกัน โครงสร้างสามโมเลกุลนี้เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์” แต่มีไขมันบางชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นได้ แต่สามารถรับไขมันนี้ได้โดยการกินเท่านั้น ไขมันเหล่านี้เรียกว่า “ไขมันจำเป็น” เช่น ไขมันโอเมก้า 3 เป็นต้น ไขมันในอาหาร มี 3 ประเภทหลัก คือ ไขมันไม่อิ่มตัว มี 2 แบบ ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว พบได้ในน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน พบได้ในน้ำมันพืชทั่วไป เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา เป็นต้น ไขมันอิ่มตัว มีอยู่ในอาหารหลายชนิดทั้งคาวและหวาน ส่วนใหญ่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ไม่ว่าจะเป็น เนย ชีส เป็นต้น ไขมันทรานส์ การนำเอาไขมันไม่อิ่มตัวไปเติมไฮโดรเจนบางส่วน ประเภทของไขมันในร่างกาย […]


โรคอ้วน

สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ และสาเหตุที่ส่งผลให้น้ำหนักเกิน มีอะไรบ้าง

โรคอ้วน นับว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราทุกคนควรระวัง โดยเฉพาะกับช่วงวัยผู้ใหญ่ เพราะไม่พียงแค่จะทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่ม หรือไขมันสะสมจำนวนมากแล้ว แต่ยังจะเป็นการก่อให้เกิดความเสี่ยงบางอย่างของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ได้อีกด้วย และเพื่อป้องกันตนเองห่างไกลจากสภาวะดังกล่าว วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรสังเกตมาฝากกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้ช่วงวัยผู้ใหญ่มักเป็น โรคอ้วน ถึงแม้ว่า โรคอ้วน สามารถเกิดสืบทอดได้จากยีนทางพันธุกรรมในด้านระบบการเผาผลาญ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว แต่ขณะเดียวกันพฤติกรรมบางอย่างที่คุณเพิกเฉย ดังต่อไปนี้ นั้นก็ย่อมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้คุณเสี่ยงเป็น โรคอ้วน ได้ ขาดการออกกำลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับปานกลาง สามารถช่วยให้เผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกินได้อย่างมาก โดยสิ่งที่คุณควรปรับเปลี่ยนคือ การเริ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ตามความชอบอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารจานด่วน เครื่องดื่มปริมาณน้ำตาลสูง เป็นต้น ก็ย่อมล้วนแต่ก่อให้เกิด โรคอ้วน ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากขาดการควบคุมปริมาณไขมัน แคลอรี่ที่เหมาะสม จึงส่งผลให้คุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน พร้อมไขมันเกาะใต้ผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรรู้ คุณจะทราบว่าตนเองกำลังเข้าสู่ โรคอ้วน ได้ก็ต่อเมื่อ คุณมีการวัดดัชนีมวลกาย แล้วพบว่ามีระดับตัวเลขสูงกว่ามาตรฐาน […]


โรคอ้วน

ไขมันที่ต้นขา มีสาเหตุจากอะไร แก้ไขได้อย่างไร

ไขมันที่ต้นขา ที่สะสมมานานและไม่ถูกเผาผลาญย่อมทำให้ต้นขาใหญ่ ผิวหนังหย่อนคล้อย รวมทั้งอาจทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างต้นขาทั้งสองข้างขณะเดินหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนั้น อาจทำให้ขาดความมั่นใจในการแต่งตัว ทั้งนี้ ไขมันที่ต้นขา สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการเลือกรับประทาน การออกกำลังกาย เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เกิดการสะสมของ ไขมันที่ต้นขา ไขมันที่ต้นขามีสาเหตุคล้ายกับการสะสมของไขมันในส่วนต่าง ๆ มักเกิดจากไขมันส่วนเกินที่ไม่ถูกเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน นอกจากนี้ อาจเกิดจากภาวะ Lipedema หรือภาวะบวมน้ำเหลืองซึ่งส่วนมากจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เป็นภาวะที่ส่งผลให้ไขมันกระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ อย่างผิดปกติ จนเห็นได้ชัดว่าบริเวณต้นขา ก้น และต้นแขนบวมขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ผิวหนังฟกช้ำได้ง่าย 3 ท่าออกกำลังกาย เพิ่มความกระชับกล้ามเนื้อขา การออกกำลังกายเป็นวิธีลดไขมันที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องพึ่งยา โดยเฉพาะผู้ที่มีวินัยในการออกกำลังกาย ย่อมส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพที่เพียงพอในการลดไขมัน ทั้งนี้ ท่าออกกำลังกายที่อาจช่วยเปลี่ยนไขมันส่วนเกินบริเวณต้นขาให้กลายเป็นกล้ามเนื้อกระชับเต่งตึงขึ้นได้มีดังนี้ 1. Squats เริ่มต้นด้วยการยืนตรง แยกเท้าออกจากกันความกว้างเท่ากับไหล่ แล้วนำแขน และมือทั้ง 2 ข้างยื่นตรงไปด้านหน้าพร้อมกับย่อตัวลงเล็กน้อย โดยสังเกตเข่าไม่ให้เกินปลายเท้า จากนั้นยืดตัวตรงกลับเข้าสู่ท่าเดิม และทำวนเช่นนี้ซ้ำกัน 2 เซ็ต เซ็ตละ 15 ครั้ง 2. Calf raises หากจะให้เข้าใจกันง่ายขึ้นก็เปรียบเสมือนเป็นการเขย่ง โดยเริ่มจากยืนตัวตรงแยกเท้าออกจากกันเล็กน้อย พร้อมกับหันหน้าเข้ากำแพง […]


โรคอ้วน

ไขมันสีน้ำตาล ในร่างกาย สามารถช่วยลดความอ้วนได้จริงหรือ?

เนื่องจากเราทุกคนมักชอบพูดเป็นภาพโดยรวมว่า ไขมันที่อยู่ภายในร่างกายมักเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงได้ แต่สำหรับ ไขมันสีน้ำตาล ที่ Hello คุณหมอ ขออาสานำความรู้มาฝากกันในวันนี้ อาจเป็นประเภทไขมันที่มีส่วนช่วยลดความอ้วนได้ แต่จะมีข้อเท็จจริง และกระบวนการทำงานอย่างไรนั้น มาร่วมติดตามไปพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ ไขมันสีน้ำตาล คืออะไร ไขมันสีน้ำตาลหรือเรียกอีกอย่างได้ว่าเนื้อเยื่อไขมันสีน้ำตาล เป็นไขมันอย่างหนึ่งที่กักเก็บพลังงาน พร้อมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่อยู่ภายในไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) พบได้มากในมนุษย์ และสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีส่วนช่วยในการคงความสมดุลของอุณหภูมิเมื่อร่างกายคุณนั้นมีอุณหภูมิที่เย็นจนเกินไป เพื่อปรับให้ร่างกายคุณมีความอบอุ่น และคอยสร้างความร้อนขึ้นมาในตัว แต่ไขมันสีน้ำตาลนี้มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยทารกแล้วจึงค่อย ๆ ลดปริมาณลงไปตามช่วงอายุ รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่ามาตรฐานก็อาจมีไขมันสีน้ำตาลจำนวนน้อยกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ตามเกณฑ์ร่วมด้วย ข้อเท็จจริงของไขมันสีน้ำตาล กับการลดความอ้วน จากการศึกษาของนักวิจัยจาก Universite de Sherbrooke ประเทศแคนนาดา ได้ทำการสำรวจจากอาสาสมัครที่มีระดับไขมันสีน้ำตาลสูง พบว่า เซลล์ไขมันสีน้ำตาลสามารถเผาผลาญแคลอรี่ 250 แคลอรี่ หรือ 1.8 เท่าของระดับการเผาผลาญ ทำให้สามารถนำไปช่วยพัฒนาศึกษาต่อที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคอ้วนได้ และยังค้นพบอีกว่าคนที่มีระดับไขมันที่พอดีมักมีไขมันสีน้ำตาลที่มากกว่าคนมีระดับไขมันส่วนเกิน อีกทั้งยังมีผลการศึกษาอื่น ๆ พบว่าไขมันสีน้ำตาลมีอะมิโน และโปรตีนบางชนิด ได้แก่ ลิวซีน (Leucine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) วาลีน (Valine) ที่คุณอาจได้รับจากอาหารที่รับประทานเป็นประจำ เช่น ปลา […]


โรคอ้วน

ไขมันสะสม ส่งผลให้โรคเรื้อรังอะไรบ้าง ที่ทำลายสุขภาพ

สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรละเลย โดยเฉพาะการปล่อยให้มี ไขมันสะสม จำนวนมากอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายใต้ผิวหนังของร่างกาย เนื่องจาก ดูผิวเผินร่างกายของคุณอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากเวลาผ่านไป ไขมันสะสมนี้อาจแปรเปลี่ยน หรือนำพาโรคเรื้อรังต่าง ๆ มาสู่ร่างกายของคุณได้ แต่ไขมันสะสมนั้นจะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังอะไรได้บ้าง แล้วมันทำลายสุขภาพอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ไขมันสะสม คืออะไร ไขมันสะสม (Subcutaneous Fat) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไขมันใต้ผิวหนัง” โดยเป็นไขมันที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ในปริมาณมาก และไม่ได้รับการเผาผลาญด้วยการออกกำลังกายเสียส่วนใหญ่ นอกจากนั้นผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็สามารถเกิดภาวะ ไขมันใต้ผิวหนัง ได้เช่นกัน เรื่องจากผู้ป่วยโรคนี่ร่างกายอาจทำหน้าที่สลายไขมันได้ยาก จนทำให้เกิดไขมันสะสมภายในช่องท้อง และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคจากไขมันสะสม หากร่างกายมี ไขมันใต้ผิวหนัง เป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการเผาผลาญและเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำมาใช้ในแต่ละวัน เมื่อคุณอายุมากขึ้น หรือมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถส่งทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เหล่านี้ได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ซึ่งมาพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคอัลไซเมอร์ โรคไต ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ บางกรณี อาจทำให้ร่างกายคุณได้รับโรคดังกล่าวโรคใดโรคหนึ่ง หรือสามารถเป็นพร้อมกันหลาย ๆ โรคได้ ดังนั้น หากคุณยังรักสุขภาพตนเอง […]


โรคอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วน รู้ไว้ ห่างไกลโรคอ้วน

โรคอ้วน เป็นโรคใกล้ตัวอีกประเภทที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยคุณสามารถรู้ได้ว่าตัวเองเป็นโรคอ้วนหรือไม่ จากการคำนวณค่าดัชนีมวลกายว่าอยู่ระดับสูงว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น คุณควรรู้ถึง สาเหตุของโรคอ้วน เอาไว้ด้วยว่า สาเหตุของ โรคอ้วน นั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง ต้องมาติดตามกันใน Hello คุณหมอ สาเหตุของโรคอ้วน มีอะไรบ้าง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคอ้วน คือ พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหารแบบไม่เลือกจะทำให้ร่างกายของคุณได้รับปริมาณแคลอรี่ที่มากจนเกินไป ทำให้เกิดการสะสมแคลอรี่ส่วนเกิน นอกจากนั้น ถ้าคุณรับประทานอาหารแล้วไม่มีการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย ก็จะทำให้ร่ายกายไม่เผาผลาญแคลอรี่ที่รับประทานเข้าไป จึงทำให้เกิด โรคอ้วน นั่นเอง  แต่นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณเสี่ยงที่จะเผชิญกับ โรคอ้วน ได้อีกด้วย ซึ่งสาเหตุอื่น ๆ มีดังนี้ พันธุกรรมที่สืบทอดกันมาภายในครอบครัว โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบเผาผลาญ การเสื่อมสภาพการทำงานอวัยวะภายในจากอายุที่มากขึ้น เพราะจะทำให้มวลกล้ามเนื้อ และการเผาผลาญได้ช้าลง พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง ระดับคอร์ติซอลสูงขึ้น โดยเกิดจากความเครียด ภาวะต่อมไทรอยด์ สภาพแวดล้อมในชุมชนที่มีตัวเลือกในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพน้อย จากสาเหตุข้างต้นที่กล่าวมานั้น อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล หนทางที่ดีที่สุดเมื่อคุณรู้สึกกังวลใจเกี่ยว โรคอ้วน คุณสามารถเข้าขอรับการตรวจสุขภาพ พร้อมขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อความสบายใจ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก โรคอ้วน ผู้ป่วยที่กำลังเผชิญกับ โรคอ้วน หากไม่มีการดูแลตนเองด้วยวิธีที่ถูกต้องตามคำแนะนำแพทย์ หรือเพิกเฉยต่อการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ ก็อาจส่งผลให้คุณเสี่ยงกับโรคเรื้อรังรุนแรงอื่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน