โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

ต่อมลูกหมากถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย แต่ถ้าหากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรทำอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ว่าถ้าหากพบแล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกคือ เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวเซลล์ รวมถึงการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากด้วย แต่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกไปข้างนอกของต่อมลูกหมาก วิธีสังเกตตัวเองว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือไม่ การสังเกตตนเองบางครั้งอาจไม่มีทางรู้ได้ นอกจากการไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกาย เนื่องจากผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกไม่มีอาการใด ๆ และไม่สามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยตัวเอง หากคุณอายุมากกว่า 50 ปี หรือคนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำให้ไปตรวจเช็คเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง อาการ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก โดยทั่วไป อาการมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นไม่ค่อยแสดงให้เห็นในระยะเริ่มต้น แต่บางคนก็อาจจะมีอาการได้ ดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบาก และเจ็บขณะปัสสาวะ เวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไหลอ่อนลง เหมือนไม่มีแรง ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางดึก เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว รู้สึกเหมือนยังไม่เสร็จ อาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ และบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมถึงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย หากใครมีความกังวล หรือคิดว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็น ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยและแพทย์อาจจะต้องพิจารณาข้อกำหนดในการรักษาหลาย ๆ ด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นอาจมีตัวเลือกในการรักษา 2-3 ทาง ได้แก่ การเฝ้าติดตามอาการ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นจะโตช้า […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

สำรวจ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง

ข้อควรพิจารณาก่อน การรักษามะเร็ง

มะเร็ง คือโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อส่วนที่ดีของร่างกายถูกทำลาย และก่อให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนแข็งใต้ผิวหนังหรือเนื้องอกชนิดร้าย โดยอาจสังเกตได้จากอาการไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เหนื่อยล้า รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรเข้าตรวจคัดกรองมะเร็ง หากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้ รักษามะเร็ง ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรพิจารณาก่อนเข้ารับ การรักษามะเร็ง ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพราะอาจช่วยให้สามารถเลือกวิธีการรักษามะเร็งได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาได้ด้วย [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของโรคมะเร็ง โรคมะเร็งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอ (DNA) ภายในเซลล์ ในดีเอ็นเอมียีนจำนวนมาก โดยยีนมีหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย หากยีนผิดปกติหรือกลายพันธุ์ก็อาจส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตมากและเร็วกว่าปกติ จนอาจพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งปัจจัยดังต่อไปนี้ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ อายุ คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นมะเร็งได้ แต่อาจใช้เวลานานหลายปีกว่าเซลล์จะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งและแสดงอาการ จึงอาจพบโรคมะเร็งได้บ่อยในผู้สูงอายุ พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ความผิดปกติดังกล่าวอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ภาวะสุขภาพ เช่น ลำไส้ใหญ่บวม โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิด หากสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติควรปรึกษาคุณหมอทันที พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การตากแดดเป็นเวลานาน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจช่วยลดความเสี่ยงได้ สภาพแวดล้อม สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องทำงานที่สัมผัสกับสารเคมีที่อาจเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น […]


โรคมะเร็ง

ตรวจเลือดหามะเร็ง ทำอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

โรคมะเร็ง เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติจนพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งมีหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก การตรวจสุขภาพเป็นประจำและการตรวจคัดกรองด้วยการ ตรวจเลือดหามะเร็ง จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะอาจช่วยให้ทราบถึงการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในว่าได้รับผลกระทบจากมะเร็งหรือไม่ สัญญาณเตือนโรคมะเร็งที่ควรเข้าตรวจคัดกรอง สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง มีดังนี้ น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่พบได้บ่อย มีไข้นานเกิน 3 วัน โดยเฉพาะหากมีไข้นานหลายสัปดาห์ และมีเหงื่อตอนกลางคืน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา แม้จะนอนหลับพักผ่อนแล้วก็ยังไม่หายเหนื่อย อาการไอ เสียงแหบ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งต่อมไทรอยด์ ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น ผิวเหลืองหรือแดงผิดปกติ มีอาการคัน เป็นผื่น อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งไต หรือหากมีตุ่มนูน ไฝ ปาน ขึ้นใหม่บนผิวหนัง อาจเกิดจากโรคมะเร็งผิวหนัง เป็นแผลเรื้อรังหรือแผลหายช้า อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง หรือหากเป็นแผลในปากเรื้อรัง อาจเกิดจากโรคมะเร็งในช่องปาก ซึ่งความเสี่ยงโรคนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นหากสูบบุหรี่ เคี้ยวยาสูบ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดปะปนในอุจจาระ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ มะเร็งทวารหนัก หรือหากปัสสาวะมีเลือดผสม […]


โรคมะเร็ง

ปัจจัยเสี่ยง โรคมะเร็ง และการดูแลสุขภาพ

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติและกลายพันธุ์เป็นก้อนเนื้องอกชนิดร้ายแรงหรือเซลล์มะเร็ง แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเซลล์กลายพันธุ์เพราะเหตุใด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ เช่น รูปแบบการใช้ชีวิต อาหาร การสัมผัสกับสารเคมี แสงแดด สภาพแวดล้อม ความผิดปกติของยีนตั้งแต่กำเนิด ดังนั้น การสร้างสุขนิสัยที่เหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งได้ โรคมะเร็ง คืออะไร โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายกลายพันธุ์จนเจริญเติบโตและแบ่งตัวเร็วและมากผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอกชนิดร้าย หรือก้อนมะเร็ง โรคมะเร็งมีหลายชนิด โดยมักตั้งชื่อตามอวัยวะที่พบเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกือบ 10 ล้านคนทั่วโลก และชนิดของมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเซลล์ในร่างกายกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้เพราะเหตุใด แต่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเกิดจากการสูบบุหรี่ โรคอ้วน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานผักและผลไม้น้อย และขาดการออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่น […]


โรคมะเร็ง

10 วิธีรักษาสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

การรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่รักษาสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ น้ำหนักเกิน การสัมผัสกับแสงแดดจัดหรือสารพิษ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย และอาจเพิ่มโอกาสการเกิด มะเร็งได้ การรักษาสุขภาพโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จึงอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง และช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้อย่างยั่งยืน 10 วิธีรักษาสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง 1.     เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่และการสูดดมควันบุหรี่มือสองอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด ปาก คอ กล่องเสียง หลอดลม ตับอ่อน เลือด หลอดอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ตับ และไต เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งที่อาจสร้างความเสียหายให้กับดีเอ็นเอ ส่งผลต่อการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติและพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ การเลิกสูบบุหรี่จึงเป็นการรักษาสุขภาพที่ดีที่อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจมีอาการติดสารนิโคติน จึงทำให้การเลิกบุรี่อาจเป็นไปได้ยาก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการเลิกบุหรี่และการบำบัดเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น 2.     หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในปริมาณที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งปากและลำคอ กล่องเสียง เต้านม ตับ ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เนื่องจากร่างกายจะย่อยสลายแอลกอฮอล์เป็นสารเคมีแอซีทาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ที่ทำลายดีเอ็นเอและขัดขวางการซ่อมแซมของร่างกาย ส่งผลให้เซลล์เติบโตผิดปกติและพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ จึงควรจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง คือ ในผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 แก้ว/วัน […]


โรคมะเร็ง

สถาบันมะเร็ง และศูนย์มะเร็งในประเทศไทย

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั่วโลก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนมัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวน 18.1 ล้านคน โรคมะเร็งที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.6 ล้านคน เป็นผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ปี พ.ศ. 2559-2561 พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 139,206 คน/ปี และข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข ปี พ.ศ. 2562 พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 84,073 คน/ปี โดยโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด […]


โรคมะเร็ง

วัคซีนมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้จริงหรือ

วัคซีน คือ สารชนิดนึ่งที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันร่างกายจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ โรคมาลาเรีย โควิด 19 โดยวัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่สามารถป้องกันเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ซึ่ง วัคซีนมะเร็ง ก็มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรู้จักเซลล์มะเร็ง รวมถึงทำหน้าที่ในการโจมตีและทำลายเซลล์มะเร็งนั่นเอง การติดเชื้อไวรัสอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งหลายชนิด ตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูก อาจเกิดจากไวรัสเอชพีวี (HPV) ในขณะที่มะเร็งตับอาจเกิดจากไวรัสดับอักเสบบี (HBV) ซึ่งในปัจจุบัน มีการพัฒนาวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบี โดยวัคซีนเหล่านี้อาจอาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการก่อตัวของเซลล์มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบีได้ ประเภทของวัคซีนมะเร็ง ประเภทของวัคซีนมะเร็ง มีดังต่อไปนี้ วัคซีนจากโปรตีนหรือเปปไทด์ เป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลเล็ก และมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง วัคซีน DNA และ RNA คือ วัคซีนที่ผลิตจาก DNA หรือ RNA ที่มักพบในเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจช่วยให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองและทำลายเซลล์มะเร็ง วัคซีนไวรัส นักวิทยาศาสตร์อาจทำการเปลี่ยนไวรัสในห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า เวกเตอร์ไวรัส และใช้เป็นพาหะเพื่อนำส่งแอนติเจนของมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองต่อเวกเตอร์ไวรัส ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันอาจรับรู้และตอบสนองต่อแอนติเจนของมะเร็ง นอกจากนี้คุณหมออาจใช้วิธีการรักษามะเร็งที่เรียกว่า T-VEC ที่คล้ายกับวัคซีนไวรัส โดยใช้สายพันธุ์ของไวรัสเริม นำไปเปลี่ยนแปลงยีนเพื่อระบุให้ไวรัสทำลายเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง มะเร็งศีรษะและลำคอ […]


โรคมะเร็ง

มะเร็ง อาการ สาเหตุ และการรักษา

มะเร็ง หมายถึงกลุ่มโรคที่เซลล์ในร่างกายมีการพัฒนาอย่างผิดปกติจนอาจไม่สามารถควบคุมได้อีกทั้งยังสามารถลุกลามและเข้าทำลายเนื้อเยื่อปกติในอวัยวะส่วนอื่น ๆได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ทำการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกายและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต การตรวจคัดกรอง การรักษา และการป้องกันมะเร็งจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งได้ คำจำกัดความมะเร็ง คืออะไร มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งเซลล์มะเร็งอาจเจริญเติบโตมากขึ้น จนเกิดเป็นเนื้อร้าย เนื้องอก ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะจุด หรือในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ผ่านทางหลอดเลือดหรือทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งยังแบ่งออกเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และอาจเห็นเป็นเนื้อร้ายชัดเจน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม ในขณะที่มะเร็งบางชนิดอาจไม่เห็นเป็นเนื้อร้าย เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอาการของมะเร็ง อาการเฉพาะของมะเร็งแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ แต่อาการทั่วไปที่พบบ่อย มีดังนี้ มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น ผิวเหลือง ผิวคล้ำ ผิวแดง แผลที่รักษาไม่หาย หรือไฝบนผิวหนังอาจเปลี่ยนไป อาการหายใจลำบาก กลืนลำบาก หรือไอเรื้อรัง ร่างกายอ่อนเพลีย การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก อาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้อาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายตัวหลังรับประทานอาหาร เสียงแหบ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่ออย่างเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืน มีเลือดออก เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย หรือมีรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้าพบคุณหมอหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเพื่อตรวจคัดกรองและเริ่มกระบวนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สาเหตุสาเหตุของการเกิดมะเร็ง มะเร็ง อาจมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอภายในเซลล์ โดยยีนจะมีชุดคำสั่งเพื่อบอกให้เซลล์ทำหน้าที่ต่าง ๆ […]


โรคมะเร็ง

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง

มะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงอันดับต้น ๆ อีกหนึ่งโรคที่ส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก โดยมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภท ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย สัญญาณเตือนแรกของมะเร็งอาจสังเกตได้จากอาการไอเรื้อรัง ไข้ขึ้น เหงื่อออกมากโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน เหนื่อยล้า รับประทานอาหารลำบาก อาหารไม่ย่อย มีก้อนแข็งใต้ผิวหนัง โรคมะเร็ง คืออะไร โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายพัฒนาผิดปกติ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนอาจกลายเป็นเนื้องอก เนื้อร้าย และเซลล์มะเร็งอาจลุกลามแพร่กระจายทำลายเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักลด เหนื่อยล้า หายใจลำบาก สารเคมีในร่างกายไม่สมดุล โรคหลอดเลือดสมอง ปวดศีรษะ ชัก สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่อาจเกิดจากเซลล์ในลำไส้ใหญ่เกิดความผิดปกติทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่จะควบคุมได้ จนพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง และอาจก่อตัวเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้าย ทั้งยังอาจทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบ และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้มากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง เลือดออกทางทวารหนักและปะปนกับอุจจาระ ท้องร่วง ท้องผูก ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่  อายุที่มากขึ้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าอายุที่มากขึ้นมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ […]


โรคมะเร็ง

วิธีตรวจมะเร็ง ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

มะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์ที่ผิดปกติและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุดเกือบ 10 ล้านคน และอาจมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าวว่าปัจจุบันสถิติผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ยังคงเพิ่มขึ้น 139,206 คน/ปี และมีอัตราเสียชีวิต 84,073 คน/ปี ซึ่งมะเร็งที่ถูกค้นพบมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยหากสังเกตพบว่า ตนเองมีอาการผิดปกติ เช่น ไอ เสียงแหบ โดยไม่ทราบสาเหตุ รับประทานอาหารลำบาก เลือดออกทางทวารหนัก ผิวหนังเป็นแผล มีตุ่มหรือเป็นก้อน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือตรวจวินิจฉัยมะเร็งในทันที เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็ง เกิดจากอะไร มะเร็ง เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีการแบ่งตัวหรือเจริญเติบโตรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ จนอาจเกิดเป็นเนื้อร้าย เนื้องอก นอกจากนี้ เซลล์มะเร็งอาจสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งร่างกาย ทำลายเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง […]


โรคมะเร็ง

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติบริเวณเนื้อเยื่อชั้นในของหลอดอาหาร โดยหลอดอาหารเป็นท่อที่เชื่อมต่อจากคอลงสู่กระเพาะอาหาร ในการกลืนแต่ละครั้งกล้ามเนื้อหลอดอาหารจะบีบตัวและดันอาหารตกลงสู่กระเพาะ มะเร็งหลอดอาหารเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย และส่วนใหญ่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง คำจำกัดความ มะเร็งหลอดอาหาร คืออะไร มะเร็งหลอดอาหาร เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อชั้นในของหลอดอาหารเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยเกิดจากเนื้อเยื่อชั้นในโตออกสู่ผนังด้านนอก และแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง กระแสเลือด รวมถึงอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น ปอด ตับ และอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย โดยมะเร็งหลอดอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่  เซลล์มะเร็งชนิดสความัส (Squamous Cell Carcinoma) เกิดที่เซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหาร บริเวณส่วนต้นและส่วนกลางของหลอดอาหาร เซลล์มะเร็งชนิดอะดีโน (Adenocarcinoma) มักพบในตำแหน่งหลอดอาหารส่วนปลายและรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร พบได้บ่อยแค่ไหน World Cancer Research Fund และ American Institute for Cancer Research เผยว่า ในปี 2018 มะเร็งหลอดอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลก และเกิดขึ้นบ่อยที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ในผู้ชาย เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบ่อยเป็นอันดับที่ 13 ในผู้หญิง อาการอาการของมะเร็งหลอดอาหาร สัญญาณและอาการของมะเร็งหลอดอาหาร อาจมีดังนี้  กลืนลำบาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารนิ่ม อาหารเหลว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน