โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

ต่อมลูกหมากถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย แต่ถ้าหากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรทำอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ว่าถ้าหากพบแล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกคือ เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวเซลล์ รวมถึงการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากด้วย แต่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกไปข้างนอกของต่อมลูกหมาก วิธีสังเกตตัวเองว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือไม่ การสังเกตตนเองบางครั้งอาจไม่มีทางรู้ได้ นอกจากการไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกาย เนื่องจากผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกไม่มีอาการใด ๆ และไม่สามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยตัวเอง หากคุณอายุมากกว่า 50 ปี หรือคนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำให้ไปตรวจเช็คเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง อาการ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก โดยทั่วไป อาการมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นไม่ค่อยแสดงให้เห็นในระยะเริ่มต้น แต่บางคนก็อาจจะมีอาการได้ ดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบาก และเจ็บขณะปัสสาวะ เวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไหลอ่อนลง เหมือนไม่มีแรง ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางดึก เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว รู้สึกเหมือนยังไม่เสร็จ อาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ และบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมถึงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย หากใครมีความกังวล หรือคิดว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็น ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยและแพทย์อาจจะต้องพิจารณาข้อกำหนดในการรักษาหลาย ๆ ด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นอาจมีตัวเลือกในการรักษา 2-3 ทาง ได้แก่ การเฝ้าติดตามอาการ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นจะโตช้า […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

สำรวจ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง

มะเร็งลำไส้เล็ก

มะเร็งลำไส้เล็ก เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อย เกิดจากเซลล์ในเนื้อเยื่อของลำไส้เล็กเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติ ลำไส้เล็กมีหน้าที่ย่อย และดูดซับสารอาหาร โดยลำไส้เล็กเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของระบบทางเดินอาการ ยาวประมาณ 6 เมตร หากพบเป็นมะเร็งลำไส้ก็อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้    คำจำกัดความ มะเร็งลำไส้เล็ก คืออะไร มะเร็งลำไส้เล็ก คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในเนื้อเยื่อของลำไส้เล็กเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร โดยมะเร็งลำไส้สามารถแบ่งแยกออกเป็นแต่ละประเภทต่าง ๆ   ประเภทมะเร็งลำไส้เล็ก มีอะไรบ้าง ประเภทของมะเร็งลำไส้เล็กอาจแบ่งแยกได้ดังต่อไปนี้ ซาร์โคมา (Sarcoma) เซลล์มะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่ออ่อนของลำไส้เล็ก เช่น กล้ามเนื้อ เป็นมะเร็งลำไส้ชนิดที่พบได้บ่อย หรือที่เรียกว่า “มะเร็งเนื้อเยื่อระบบอาหาร (Gastrointestinal Stromal Tumor หรือ GIST)”  เนื้องอกคาร์ชินอยด์ (Carcinoid Tumor) เป็นชนิดที่เติบโตช้า แต่อาจส่งผลกระทบต่อไส้ติ่ง ไส้ตรงได้ หากเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย   มะเร็งชนิดต่อม (Adenocarcinoma) มะเร็งชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุของลำไส้เล็ก โดยในตอนแรกอาจเป็นเพียงเนื้องอก หรือติ่งเนื้อ แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจสามารถกลายเป็นมะเร็งได้  มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphomas) เกิดจากระบบคุ้มกันที่เรียกว่า “ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes)” บกพร่อง หรืออ่อนแอ ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย รวมถึงลำไส้เล็ก มะเร็งลำไส้เล็ก พบได้บ่อยแค่ไหน อัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เล็กนั้นมีไม่ถึง 1% ของมะเร็งทั้งหมด เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ซึ่งบุคคลที่มีอายุ […]


มะเร็งตับ

มะเร็งตับระยะสุดท้าย อาการ และการรักษา

มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ 1 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในคนไทย มะเร็งตับแบ่งได้ทั้งหมด 4 ระยะ โดยระยะที่ 4 คือ มะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่เซลส์มะเร็งลุกลามอย่างรวดเร็ว และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น หากมีสัญญาณเตือน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองแต่เนิ่น ๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและชีวิตที่ยืนยาว [embed-health-tool-heart-rate] มะเร็งตับระยะสุดท้าย คืออะไร มะเร็งตับระยะสุดท้ายเป็นมะเร็งระยะลุกลาม โดยเนื้องอกได้เกิดขึ้นที่ตับและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง หรืออวัยวะที่อยู่ห่างไกล มะเร็งระยะสุดท้ายยังสามารถแบ่งย่อยเป็นอีก 2 ระยะ ได้แก่  ระยะ 4A อาจมีเนื้องอกมากกว่าหนึ่งก้อน และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย  ระยะ 4B อาจมีเนื้องอกมากกว่าหนึ่งก้อน ซึ่งอาจจะแพร่กระจายหรือยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปอด กระดูก อาการ มะเร็งตับระยะสุดท้าย มะเร็งตับมักไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก และส่วนมากมักแสดงอาการออกมาในระยะสุดท้าย ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้  ปวดท้อง เจ็บท้อง อาการคันตามตัว  อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน  น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ  เบื่ออาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็ว ตัวเหลือง […]


มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง เกิดจากความผิดปกติในการเจริญเติบโต และแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผิวหนังบนร่างกาย และยังอาจสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายได้ โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  คำจำกัดความ มะเร็งผิวหนัง คืออะไร มะเร็งผิวหนัง คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง โดยเกิดจากการเจริญเติบโต การแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุที่ผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสที่จะแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่มักจะพบมะเร็งผิวหนังบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อย เช่น ศีรษะ ลำคอ แต่อาจสามารถพบได้ในบริเวณใต้ร่มผ้าเช่นกัน ประเภทของมะเร็งผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง อาจสามารถแบ่งประเภทได้ ดังต่อไปนี้  มะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (Non Melanoma Skin Cancer) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่ มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell  Carcinoma หรือ BCC) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า มักไม่ค่อยแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น แต่อาจจะลามและขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ  มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma หรือ SCC) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงมากกว่าชนิดเบซัลเซลล์ เนื่องจากสามารถลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด หากตรวจไม่พบและไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้  มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocyte)” ซึ่งเป็นเซลล์ผิวหนังที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน เซลล์มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียงและที่อื่น […]


มะเร็งผิวหนัง

ทำความรู้จัก ชนิดมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง เกิดจากการเจริญเติบโต การแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุภายในผิวหนังมีความผิดปกติ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการสัมผัสกับแสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) มากเกินไปและติดต่อเป็นเวลานาน โดย ชนิดมะเร็งผิวหนัง มีหลากหลาย แต่อาจรักษาให้หายได้ หากตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ  ชนิดมะเร็งผิวหนัง มีอะไรบ้าง มะเร็งผิวหนังจำแนกออกเป็นหลายชนิด ส่วนใหญ่มักเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ และลุกลามเฉพาะที่ แต่บางชนิดอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองได้ อาจสามารถแบ่งชนิดมะเร็งผิวหนัง ได้ดังต่อไปนี้ มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell Carcinoma หรือ BCC) เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่พบได้บ่อยมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น โดยมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังของร่างกายที่โดนแสงแดดเป็นประจำ เช่น ศีรษะ ลำคอ มีลักษณะเป็นตุ่มใสบนผิวหนัง หรือมีก้อนเนื้อเป็นสีคล้ำคล้ายกระ มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงต่ำ และมักไม่ค่อยแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด  มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma หรือ SCC) พบรองลงมาจากมะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ เป็นมะเร็งผิวหนังที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง มีลักษณะเป็นตุ่มแดง หรือแผลเรียบแบนที่เป็นขุยสะเก็ดร่วมด้วย มักพบในบริเวณขอบหู หน้า ริมฝีปาก คอ แขน หน้าอก และหลังโดยผู้ที่มีผิวขาวอาจมีโอกาสในการเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ได้มากกว่าผู้มีสีผิวคล้ำ   มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่มีระดับความรุนแรงมาก แต่เป็นชนิดที่พบได้น้อยหรือไม่ค่อยพบ มะเร็งผิวหนังชนิดนี้เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocyte)” […]


มะเร็งปอด

การรักษามะเร็งปอด มีกี่วิธี แล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่อย่างไร

ในปัจจุบัน โรคมะเร็งถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนที่เรารัก รวมไปถึงโรคมะเร็งปอดด้วย เนื่องจากการกว่าจะเจออาการ มะเร็งก็อาจลุกลามไปส่วนอื่น ๆ แต่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการรักษา ดังนั้นมาดู การรักษามะเร็งปอด และผลข้างเคียงของการรักษา ประเภทของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer) และชนิดเซลล์ไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งในกลุ่มหลังนี้พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มนี้ยังมีแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น เซลล์สความัส มะเร็งเซลล์ขนาดใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนชนิดเซลล์ขนาดเล็กแบ่งออกเป็น มะเร็งเซลล์ขนาดเล็ก และมะเร็งเซลล์ขนาดเล็กร่วม การรักษามะเร็งปอด มีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอดนั้น แพทย์จะพิจารณาการรักษาเฉพาะสำหรับมะเร็งปอด โดยอาจพิจารณาจาก อายุ สุขภาพของผู้ป่วย ประวัติการรักษาต่าง ๆ ชนิดของมะเร็งปอด ระยะของโรค โดยแผนการรักษาที่แพทย์อาจจะแนะนำขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก หรือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ดีอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นมาดูวิธีการรักษาว่ามีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอด :การผ่าตัด การผ่าตัดมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ Pneumonectomy คือ […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อีกทางเลือกในการรักษา

มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งโรคร้ายที่เหล่าผู้ชายทุกคนควรพึงระวัง เพราะเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้หลายวิธี แต่วันนี้ Hello คุณหมอ ขอเสนอแนะ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อีกวิธีการรักษา ไปดูกันเลย เคมีบำบัด คืออะไร เคมีบำบัด (chemotherapy) คือ การใช้ยาเพื่อทำการรักษาโรคมะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดขนาดและชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย โดยมีตัวยาหลากหลายชนิด แพทย์จะทำการวินิจฉัยดูอาการ และระยะ เพื่อรักษา อาจใช้ยาเพียงชนิดเดียว หรือมากกว่านั้น ประเภทของ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก งานวิจัยเผยว่า docetaxel เป็นยาเคมีบำบัดแรกที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก และในปัจจุบันยาเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่ใช้บ่อย คือ docetaxel (Taxotere) ซึ่งมักให้ร่วมกับ prednisone ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ หากการรักษา docetaxel ไม่ได้ผล แพทย์อาจใช้ cabazitaxel ที่เป็นกลุ่มตัวยาเดียวกันกับ docetaxel โดยยาเคมีบำบัดอื่น ๆ ที่อาจใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ mitoxantrone doxorubicin vinblastine paclitaxel วิธีการให้ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยส่วนใหญ่แล้วการให้เคมีบำบัดนั้นจะใช้วิธีการ “ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ” เป็นการให้ยาทีละรอบเพื่อช่วยให้ร่างกายมีเวลาฟื้นตัว แต่ละรอบใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง หรือบางครั้งอาจจะเป็น “ยารับประทาน” เคมีบำบัดอาจทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวลดลง […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะที่คุณผู้ชายควรระวัง

มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งที่เหล่าคุณผู้ชายควรพึงระวังเป็นพิเศษ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในต่อมลูกหมากไม่สามารถควบคุมได้ และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก ว่ามีกี่ระยะ ไปดูกันเลย ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะ ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอาจจำเป็นที่จะต้องตรวจหาระยะของโรคเพื่อช่วยเลือกแนวทางในการรักษา โดยระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้ ระยะที่ 1 หมายถึง มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของต่อมลูกหมาก โดยมะเร็งระยะที่ 1 นั้นมักจะมีการเติบโตช้า โดยคะแนน Gleason อาจจะได้ 6 หรือน้อยกว่า และค่า PSA น้อยกว่า 10 ที่อยู่ในระดับต่ำ ระยะที่ 2 หมายถึง มะเร็งที่ยังคงอยู่ที่ต่อมลูกหมาก และยังไม่แพร่กระจาย โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 คือ ระยะที่ 2A มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า PSA อยู่ระหว่าง 10 ถึง 19 และคะแนน Gleason เท่ากับ 6 หรือน้อยกว่า ระยะที่ 2B มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย พร้อมวิธีการดูแลผู้ป่วย

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ซึ่งอาจสามารถส่งผลกระทบต่าง ๆ ของคุณผู้ชายได้ โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง แล้วสามารถสังเกตอาการได้จากอะไรบ้าง ไปดูกันเลย มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้ายคือ มะเร็งได้พัฒนาตัวออกจากต่อมลูกหมากไปสู่อวัยวะอื่น ซึ่งมะเร็งต่อมลูกหมากนั่นมีโอกาสที่จะลุกลามไปเป็นมะเร็งกระดูกและต่อมน้ำเหลืองได้ รวมไปถึงยังสามารถแพร่กระจายไปในบริเวณใกล้เคียง โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระยะที่ 4A และ 4B ซึ่งสามารถวัดได้จากค่า PSA และ Gleason score อาการมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย โดยผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบากมากยิ่งขึ้น เวลาปัสสาวะมีอาการเจ็บ มีเลือดในน้ำอสุจิ แขน ขาไม่มีแรง อ่อนเพลียง่ายผิดปกติ ขาบวม เท้าบวม ในบางรายอาจถึงขั้นเดินไม่ได้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป แต่อาการเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่ให้เหล่าคุณผู้ชายลองสังเกตตนเองได้ การรักษา มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แสดงว่ามะเร็งได้แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากแล้ว ซึ่งมีการรักษา แต่ก็ไม่อาจสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ช่วยบรรเทาอาการและให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ได้แก่ การรักษาด้วยรังสี โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถช่วยลดเนื้องอกและบรรเทาอาการ การฉายรังสีอาจใช้ร่วมกับการรักษาด้วยฮอร์โมน หรืออาจใช้หลังการผ่าตัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือ การผ่าตัด มักไม่ค่อยใช้เพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แต่อาจแนะนำผู้ป่วยในบางสถานการณ์ เคมีบำบัด ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง บรรเทาอาการของโรคมะเร็ง และยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย ฮอร์โมนบำบัด เพื่อหยุดให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชาย หรือเพื่อป้องกันผลกระทบของฮอร์โมนเพศชายในมะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากพึ่งพาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพื่อช่วยให้พวกมันเติบโต การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่เน้นการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการอื่น ๆ […]


มะเร็งปอด

มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ที่ควรรู้และใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น

มะเร็งปอดมีหลากหลายประเภท แต่วันนี้ทาง Hello คุณหมอ ขอนำเสนอข้อมูล มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) คืออะไร แล้วมีวิธีสังเกตอาการอย่างไร ไปดูกันเลย คำจำกัดความมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก คืออะไร มะเร็งปอดชนิดหลัก ๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer: NSCLC) และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer: SCLC) โดยมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก เป็นเซลล์มะเร็งที่ก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อของปอด และยังสามารถแบ่งยิบย่อยลงไปอีก มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กพบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กพบได้ประมาณ 85-87 % ของผู้ป่วย เป็นมะเร็งปอดชนิดที่พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับการรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก อาการของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก อาจเติบโตช้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเริ่มมีอาการเกิดขึ้น โดยอาการที่แสดงให้เห็นทั่วไป อาจมีดังนี้ อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะออกมาเป็นเลือด เสียงแหบแห้ง เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ หายใจลำบาก หรือหายใจถี่ขึ้นผิดปกติ เวลาหายใจมีเสียงดังฮืด ๆ อ่อนเพลียง่าย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ความอยากอาหารลดลง แต่ถ้าหากมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ แล้วอาจมีอาการ ปวดกระดูก ปวดศีรษะ เวียนหัว และปัญหาด้านการทรงตัว โดยผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น […]


มะเร็งต่อมไทรอยด์

ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ กับสัญญาณเตือนเบื้องต้น

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือก โดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีส่วนในการควบคุมน้ำหนักตัว อุณหภูมิ ความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น หากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ การเรียนรู้ ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ ถือเป็นอีกเรื่องที่ควรทราบ ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ จะจัดตามชนิดของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในเนื้องอก การวินิจฉัยและการรักษาโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ โดยประเภทของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ แบ่งได้ดังนี้ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดพาพิลลารี่ (Papillary Thyroid Cancer) เป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ซึ่งมีหน้าที่ผลิตและเก็บฮอร์โมนไทรอยด์ พบมากในผู้ที่มีอายุ 30-50 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ (Follicular Thyroid Cancer) โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ประเภทนี้เกิดที่เซลล์ฟอลลิคูลาร์ พบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ที่พบได้ยากและมีความรุนแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง คือ มะเร็งเซลล์เฮิร์ทเทิล (Hurthle Cell Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดอะนาพลาสติก (Anaplastic Thyroid Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดนี้เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดหายาก ร้ายแรงและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มักพบในผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี (Medullary Thyroid Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดัลลารีเกี่ยวกับไขกระดูกที่เกิดขึ้นในเซลล์ซี (C-Cell) หรือเซลล์พาราฟอลลิคูลาร์ (Parafollicular Cell) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน