โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

ต่อมลูกหมากถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย แต่ถ้าหากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรทำอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ว่าถ้าหากพบแล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกคือ เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวเซลล์ รวมถึงการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากด้วย แต่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกไปข้างนอกของต่อมลูกหมาก วิธีสังเกตตัวเองว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือไม่ การสังเกตตนเองบางครั้งอาจไม่มีทางรู้ได้ นอกจากการไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกาย เนื่องจากผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกไม่มีอาการใด ๆ และไม่สามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยตัวเอง หากคุณอายุมากกว่า 50 ปี หรือคนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำให้ไปตรวจเช็คเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง อาการ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก โดยทั่วไป อาการมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นไม่ค่อยแสดงให้เห็นในระยะเริ่มต้น แต่บางคนก็อาจจะมีอาการได้ ดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบาก และเจ็บขณะปัสสาวะ เวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไหลอ่อนลง เหมือนไม่มีแรง ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางดึก เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว รู้สึกเหมือนยังไม่เสร็จ อาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ และบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมถึงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย หากใครมีความกังวล หรือคิดว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็น ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยและแพทย์อาจจะต้องพิจารณาข้อกำหนดในการรักษาหลาย ๆ ด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นอาจมีตัวเลือกในการรักษา 2-3 ทาง ได้แก่ การเฝ้าติดตามอาการ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นจะโตช้า […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งแบบอื่น

เนื้องอกในตา ลุกลามเป็นมะเร็งได้หรือไม่

เนื้องอกในตา ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นในตาหรือบริเวณตาสามารถลุกลามไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีความรู้ดี ๆ มาบอกต่อเพื่อให้คุณได้รู้ทันโรคและพร้อมรับมือโรคได้อย่าถูกต้อง เนื้องอกในตา (Eye Tumors) คืออะไร เนื้องอกในตา (Eye Tumors) เป็นกลุ่มเซลล์ที่เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติจนอาจกลายเป็นมะเร็ง เนื้องอกที่พบบ่อยที่สุดคือเนื้องอกที่มีการแพร่กระจายมาจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เนื้องอกในตา หรือเรียกอีกอย่างว่า Melanoma เป็นมะเร็งที่พัฒนาจากเซลล์สร้างสร้างเม็ดสี และแน่นอนดวงตาก็มีเซลล์สร้างเม็ดสีและสามารถพัฒนาเกลายเป็นเนื้องอกในตาได้ อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีเนื้องอกในตา อาจไม่แสดงอาการกับร่างกายให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่สามารถสังเกตุได้จากการมองเห็นของดวงตา  ได้แก่ ความรู้สึกมองเห็นแสงวาบหรือมองเห็นเป็นจุดฝุ่น มองเห็นเป็นจุดมืดเพิ่มขึ้นบนม่านตา การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของรูม่านตา ดวงตาพร่ามัว สูญเสียการมองเห็น สาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม เนื้องอกอาจกลายเป็นมะเร็งได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ DNA มีการเติบโตอย่างผิดปกติและอาจกลายไปเป็นมะเร็งได้ หรืออาจมีปัจจัยมาจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สืบทอดมาทางพันธุกรรมอีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงที่คุณควรรู้ สีของตา ผู้ที่มีสีของตาอ่อน เช่น สีฟ้า สีเขียว อาจมีแนวโน้มในการเกิดเนื้องอกในตามากกว่าผู้มีตาสีเข้ม สีผิว คนที่มีผิวขาวมีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมากขึ้น อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ความผิดปกติของผิวหนังที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม การสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่อเข้ารับการรักษาแพทย์ของคุณอาจใช้การวินิจฉัย ดังนี้ การตรวจตา แพทย์อาจตรวจดูภายในและภายนอกดวงตาเพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติ อัลตราซาวด์ตา เป็นการสร้างภาพดวงตาโดยใช้เครื่องแปลงสัญญาณวางบนเปลือกตาที่ปิดหรือใกล้พื้นผิวด้านหน้าของดวงตา การถ่ายภาพหลอดเลือดด้านในและรอบๆ เนื้องอกในตา (Angiogram) เป็นการฉีดสีย้อมเรืองแสง (Fluorescein) เข้าสู่เส้นเลือดทำให้แพทย์สามารถถ่ายภาพได้ การตรวจชิ้นเนื้อที่น่าสงสัย เป็นการนำเข็มบาง ๆ สอดเข้าไปในดวงตาเพื่อนำชิ้นเนื้อที่ผิดปกติออกมาตรวจสอบ วิธีรักษาที่นิยมใช้ วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ดังนี้ ขนาดของเนื้องอก หากเนื้องอกในตาหรือบริเวณดวงตายังมีขนาดเล็ก  แพทย์อาจยังไม่ทำการรักษาทันทีแต่เฝ้าดูอาการเป็นระยะ การรักษาด้วยรังสี ใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เช่น โปรตอนหรือแกรมมาเพื่อฆ่าเชื้อมะเร็งโดยทั่วไปใช้สำหรับเนื้องอกที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง การรักษาด้วยเลเซอร์ ใช้เลเซอร์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งผิวหนังด้วยความร้อน การบำบัดด้วยแสง เป็นการฉายแสงไปที่เซลล์เนื้องอก ใช้สำหรับเนื้องอกขนาดเล็ก ศัลยกรรม […]


มะเร็งตับ

ป่วยเป็นมะเร็งตับอยู่ได้กี่ปี บทความนี้มีคำตอบ

ป่วยเป็นมะเร็งตับอยู่ได้กี่ปี เป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย  มะเร็งตับอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือเกิดจากเซลล์ในร่างกายที่ผิดปกติ  แต่ถ้าหากคนในครอบครัวของคุณป่วยเป็นมะเร็งตับอยู่ได้กี่ปีกันนะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบเพื่อคลายข้อสงสัยให้กับทุกคนแล้วมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] มะเร็งตับ (liver cancer) มะเร็งตับ (liver cancer) มะเร็งตับที่พบบ่อยเกิดขึ้นในเซลล์ของตับ เรียกว่า hepatocytes อาจมีการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่น ๆ ได้เช่นกัน ส่วนมะเร็งตับชนิดอื่น ๆ ที่พบได้น้อย คือ angiosarcomas และ hemangiosarcoma มะเร็งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในหลอดเลือดของตับ สาเหตุของมะเร็งตับ มะเร็งตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากเซลล์ตับมีกระบวนการทางเคมีในร่างกายทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นเนื้องอกในที่สุด บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งตับอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด การแพร่กระจายของมะเร็งตับ มะเร็งตับอาจเกิดขึ้นจากเซลล์ที่ผิดปกติของร่างกายมีการพัฒนาไปเป็นมะเร็ง โดยปกติเซลล์ที่ผิดปกติมักจะตายและแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงกว่า การเติบโตของเซลล์มะเร็งเกิดจากเซลล์ที่ผิดปกติกัดกินเซลล์ข้างเคียงไปเรื่อย ๆ โดยอาจแพร่กระจายผ่านน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดได้ เมื่อมีการแพร่กระจายของเซลล์ที่ผิดปกติมากขึ้นจึงทำให้เกิดเนื้องอกที่เป็นเซลล์มะเร็งได้ ป่วยเป็นมะเร็งตับอยู่ได้กี่ปี ป่วยเป็นมะเร็งตับอยู่ได้กี่ปี เป็นคำถามทีพบบ่อยและหลายคนอาจกังวลว่าเป็นมะเร็งตับแล้วเราจะมีชีวิตได้นานแค่ไหนกันนะ ป่วยเป็นมะเร็งตับอยู่ได้กี่ปีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ชนิดของมะเร็งตับ ระยะของการแพร่กระจาย สุขภาพร่างกายของผู้ป่วย การได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี การตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย อัตราการรอดชีวิตของมะเร็งตับโดยปกติแพทย์ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนแต่สามารถประมาณการมะเร็งตับในระยะแรกได้ ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรกหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคแล้ว สามารถอยู่ได้ถึง 5 ปี มากถึง 70% ส่วนผู้ที่เป็นมะเร็งตับในระยะกลางหรือระยะสุดท้ายอัตราการรอดชีวิตอาจลดเหลือเพียงครึ่งของผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรก แต่อัตราการรอดชีวิตจะสูงขึ้นเมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หากสามารถเอามะเร็งออกได้ไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งตับจะอยู่ในระยะใดก็ตาม ตัวเลือกการรักษามะเร็งตับ การรักษามะเร็งตับมีด้วยกันหลายวิธี การเลือกวิธีรักษามะเร็งตับขึ้นอยู่กับระยะและชนิดของมะเร็งตับด้วย  […]


มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม รักษาอย่างได้บ้าง

โรคมะเร็งนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้น หลายคนอาจมีความสงสัยว่า มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม แล้ววิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้มีอะไรบ้าง ลองไปศึกษาข้อมูลเบื้อต้นกับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กัน สถิติที่ควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งกระเพาะอาการรักษาหายไหม ในปี 2021 ประชากรประมาณ 26,560 คน (ผู้ชาย 16,160 คนและผู้หญิง 10,400 คน) ในสหรัฐอเมริกาจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 11,180 ราย (ผู้ชาย 6,740 คนและผู้หญิง 4,440 คน) โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ มักเกิดกับผู้สูงอายุ ประมาณ 60% ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีอายุมากกว่า 64 ปี อายุเฉลี่ยวินิจฉัยคือ 68 ปี อุบัติการณ์ของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาอัตราการณ์ลดลง 1.5% ต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา […]


มะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก กับสิ่งที่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกันตัว

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ โดยแต่ระยะก็จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป สำหรับ อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก จะมีอะไรบ้าง สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก และวิธีรักษามีอะไรบบ้าง ลองมาดูกันในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ควรรู้ ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หมายถึง ขอบเขตของการแพร่กระจายของมะเร็งในเวลาที่ระบุ มะเร็งลำไส้ใหญ่มี 4 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเรียกว่า “ระยะที่ 1-4” มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 1 เป็นระยะแพร่กระจายจากเยื่อบุลำไส้ใหญ่เข้าสู่ผนังกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 ได้แพร่กระจายผ่านผนังของลำไส้ไปยังชั้นนอกสุด และอาจเติบโตไปสู่อวัยวะข้างเคียง มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 3 แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้น หรือไปยังอวัยวะอื่น ๆ มรบริเวณนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4 คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจาย โดยแพร่กระจายจากลำไส้ใหญ่ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาน เช่น ตับ กระดูก ปอด เป็นต้น มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 0 บางครั้งใช้สำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้นที่มีผลต่อเยื่อบุลำไส้เท่านั้น สิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า “มะเร็งในแหล่งกำเนิด” อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ที่ควรสังเกต อาการ โรคมะเร็งลำไส้ระยะแรก อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่นำเป็นต้องทำให้คุณรู้สึกไม่สบายเสมอไป อย่างไรก็ตาม ควรลองวิธีรักษา ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ […]


มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย กับวิธีรักษาที่ควรรู้

มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย หรือมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 มักตรวจพบได้จากการตรวจเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานที่ผิดปกติหรือมีอาการที่เกิดจากมะเร็งของผู้ป่วย โดยเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่นอกเหนือจากปากมดลูกได้ด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก ซึ่งการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายทำได้ด้วยการฉายรังสี เคมีบำบัด และรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และประคับประคองอาการเท่านั้น [embed-health-tool-ovulation] ทำความรู้จักกับ มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มะเร็งระยะที่ 4 หมายถึง มะเร็งระยะแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย คือ ระยะที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก หรือไกลกว่านั้น โดยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นระยะสุดท้าย (ระยะที่ 4) มักตรวจพบได้จากการตรวจเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานที่ผิดปกติหรือมีอาการที่เกิดจากมะเร็งของผู้ป่วย ซึ่งเซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายยังส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากปากมดลูกได้ด้วย เช่น ทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ (ระยะ IVA) ซึ่งอาจรวมถึงกระดูก ปอดหรือตับ (ระยะ IVB) สำหรับมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะนี้มักรักษาได้ยากและมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่หายจากโรคนี้ แน่นอนว่า ปัจจัยหลายประการมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยในการรับการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งจุดประสงค์ของการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งอาจเพื่อให้อาการดีขึ้น โดยการควบคุมให้เซลล์มะเร็งอยู่ในบริเวณที่เกิด เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาของผู้ป่วย หรือยืดอายุการอยู่รอดของผู้ป่วย สำหรับประโยชน์ที่เป็นไปได้ของการรักษาโรคมะเร็งจะต้องสมดุลและรอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับการรักษา วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย สำหรับวิธีรักษามะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายอาจออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไร ควรรู้ไว้สังเกตตัวเอง

มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนอยากรู้คำตอบ แล้วเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อตัวเองบ้าง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อพูดถึงมะเร็งเต้านม ผู้หญิงหลายคนคงเข้าใจว่าเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านมเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว โรคมะเร็งเต้านม มีหลายชนิด ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ชนิดของมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยที่สุด หากพูดถึงคำว่า “โรคมะเร็งเต้านม” ผู้หญิงหลาย ๆ คนคงนึกถึงมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านม แต่ความจริงแล้ว โรคมะเร็งเต้านม นั้นมีหลายชนิดด้วยกัน โดนชนิดของ โรคมะเร็งเต้านม ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Infiltrating (invasive) Ductal Carcinoma หรือ IDC) มะเร็งนี้เริ่มที่ท่อน้ำนมของเต้านม จากนั้น มันจะทะลุผนังของท่อน้ำนมและบุกรุกเนื้อเยื่อรอบ ๆ เต้านม นี่คือรูปแบบของมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยที่สุดคิดเป็น 80% ของผู้ป่วย มะเร็งเต้านมชนิดไม่แพร่กระจาย (Ductal Carcinoma In Situ หรือ DCIS) เป็นมะเร็งระยะแรก (ระยะ 0) ที่เกิดในท่อน้ำนม ซึ่งมะเร็งจะยังอยู่เพียงแต่ในท่อน้ำนมและไม่บุกรุกเนื้อเยื่อเต้านมในบริเวณใกล้เคียง แต่หากไม่ได้รับการรักษา […]


มะเร็งแบบอื่น

ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม อีกหนึ่งสัญญาณเตือนของโรคมะเร็ง

ระบบน้ำเหลืองหรือน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หลายคนคงเคยประสบกับปัญหา ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม นั่นแสดงว่า ร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนอะไรบ้างอย่าง  นอกจากนั้น ต่อมน้ำเหลืองยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งอีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความรู้จักกับ ระบบน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลืองหรือน้ำเหลือง เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงเครือข่ายของท่อน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลืองเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่รวบรวมและนำพาเลือดไปทั่วร่างกาย แต่แทนที่จะเป็นเลือด หลอดเลือดเหล่านี้จะนำของเหลวใสที่เรียกว่า “น้ำเหลือง” ไปด้วย นอกจากนั้น น้ำเหลืองยังมีเม็ดเลือดขาวรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะช่วยในการต่อสู้กับการติดเชื้อ หากน้ำเหลือมีการสะสมมาก ๆ โดยไม่มีการระบายออกไปทางใดทางหนึ่ง สามารถส่งผลทำให้ร่างกายบวมได้ ท่อน้ำเหลืองจะดึงน้ำเหลืองจากรอบ ๆ เซลล์ เพื่อส่งไปที่หน้าอก ณ ตรงนี้น้ำเหลืองจะรวมตัวกันเป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่ไหลเข้าสู่เส้นเลือดใกล้หัวใจนั่นเอง ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม เกิดจากอะไร มีต่อมน้ำเหลืองรูปไตขนาดเล็กมากกว่า 600 ต่อมน้ำเหลือ กระจายอยู่ทั่วร่างกาย ได้แก่ ใต้คอ รักแร้ ขาหนีบ ตรงกลางหน้าอก และหน้าท้อง สิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่เก็บภูมิคุ้มกันและเป็นตัวกรอง เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ตายแล้ว เสียหาย หรือกำจัดของเสียอื่น ๆ ออกจากร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม เป็นสัญญาณเตือนว่า มันกำลังทำงานอย่างหนัก อาจมีเซลล์ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นหรืออาจมีการสะสมของเสียมากขึ้นก็ได้เช่นกัน อาการบวมมักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อบางชนิด แต่ก็อาจมาจากภาวะต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสลรูมาตอยด์ […]


มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร หาคำตอบได้จากบทความนี้

โรคมะเร็ง คือ โรคที่หลาย ๆ คนรู้สึกกลัว และไม่อยากเป็นโรคนี้ เนื่องจาก วิธีการรักษานั้นมีหลายขั้นตอน และเมื่อรักษาแล้วก็อาจจะกลับมาเป็นอีกได้ สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ โรคมะเร็งมดลูก ถือเป็นโรคมะเร็งอีกชนิดที่จำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจและสังเกตเป็นพิเศษ แต่ มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร ลองมาหาคำตอบจากบทความนี้กัน ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ มะเร็งมดลูก มะเร็งเป็นโรคที่เซลล์ในร่างกายเติบโตอย่าควบคุมไม่ได้ ซึ่งชื่อของมะเร็งมักจะตั้งชื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มะเร็งเริ่มเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายในภายหลังก็ตาม ดังนั้น เมื่อมะเร็งเริ่มต้นในมดลูก มันจึงถูกเรียกว่า “มะเร็งมดลูก” มดลูกเป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายลูกแพร์อยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง (บริเวณใต้ท้องและระหว่างกระดูกสะโพก) มดลูกถือเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นบริเวณที่ทารกเติบโตเมื่อผู้หญิงมีการตั้งครรภ์ มะเร็งมดลูกชนิดที่พบบ่อยที่สุด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มะเร็งเยื่อยุโพรงมดลูก” เนื่องจากมันก่อตัวขึ้นในเยื่อบุโพรงมดลูกนั่นเอง ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคมะเร็งมดลูก โดยความเสี่ยงนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่มะเร็งมดลูกมักถูกพบในผู้หญิงที่ใกล้จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนไปแล้ว มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร ได้บ้าง ยังไม่เป็นที่แน่จัดว่า อะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งมดลูก แต่มีบางสิ่งที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งสำหรับโรคมะเร็งมดลูก คือ ระดับฮอร์โมนที่เรียกว่า “เอสโตรเจน” ในร่างกายมีระดับที่สูงขึ้น นอกจากนั้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น รวมไปถึงโรคอ้วน การใช้ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ในระยะยาว ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมดลูกเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย การป้องกันโรคมะเร็งมดลูกนั้น ไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่ก็มีบางอย่างที่อาจจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลดลูกได้ […]


มะเร็งกระดูก

ทำความรู้จัก ประเภทของมะเร็งกระดูก มีชนิดใดบ้างนะ

โรคมะเร็งกระดูก สามารถเริ่มต้นที่กระดูกส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะส่งผลกระทบต่อกระดูกเชิงกรานหรือกระดูกยาว ซึ่งเป็นกระดูกช่วงต้นแขน แขนท่อนปลาย ต้นขา และขา โรคมะเร็งกระดูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้น้อยเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งอื่น ๆ โรคมะเร็งกระดูก เป็นโรคมะเร็งที่มีหลากหลายชนิด วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับ ประเภทของมะเร็งกระดูก ว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นเป็นอย่างไรบ้าง มะเร็งกระดูก คืออะไร โรคมะเร็งกระดูก เกิดจากเซลล์ในกระดูกเจริญเติบโตผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ เซลล์ที่มีความผิดปกติเหล่านี้จะทำลายเนื้อเยื่อในกระดูก และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โรคมะเร็งกระดูก เป็นโรคที่พบได้น้อย สำหรับผู้ที่เป็น โรคมะเร็งกระดูก มักจะมีสัญญาณและอาการ ดังนี้ ปวดกระดูก เกิดอาการบวมบริเวณที่ได้รับผลกระทบ กระดูกอ่อนแอ ส่งผลให้กระดูกเกิดการแตกหักได้ง่าย รู้สึกเหนื่อยล้า น้ำหนักลดลงโดยไม่พึงประสงค์ ประเภทของมะเร็งกระดูก มีอะไรบ้าง โรคมะเร็งกระดูก มีหลายประเภท หลัก ๆ ได้แก่ มะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ และมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ 1. โรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ เป็น โรคมะเร็งกระดูก ที่เรียกได้ว่าร้ายแรงที่สุดในบรรดา โรคมะเร็งกระดูก ทั้งหมด โรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิจะก่อตัวขึ้นในกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ โดยตรง เช่น กระดูกอ่อน ซึ่งประเภทของมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ มีดังนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอิโลมา (Multiple myeloma หรือ MM) มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลอิโลมา […]


มะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกหนึ่งวิธีช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจาก โรคมะเร็งลำไส้

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) มักเกิดจากติ่งเนื้อ (precancerous polyps) ที่ผิดปกติและอาจพัฒนากลายไปเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ โดยปกติแล้ว โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในระยะแรก ๆ มักจะยังไม่มีอาการ หรือมีสัญญาณใด ๆ แสดงออกมา ทำให้รับรู้ได้ยากว่าป่วยเป็นโรคนี้ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจหาติ่งเนื้อ ที่อาจกลายไปเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองชนิดนี้มาให้อ่านกันค่ะ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก ซึ่งเป็นส่วนท้ายสุดของระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความผิดปกติของติ่งเนื้อ ที่ก่อตัวขึ้นภายในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก หากติ่งเนื้อเหล่านี้อาจมีขนาดเล็ก จนผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือเกิดอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นบางส่วนอาจพัฒนากลายไปเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้  แพทย์จึงแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีกี่วิธี การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นกระบวนการค้นหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในผู้ที่ยังไม่มีอาการ โดยจะใช้วิธีการทดสอบหลายอย่าง เพื่อคัดกรองหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก การเตรียมตัวก่อนการตรวจ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญ ก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน