โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

ต่อมลูกหมากถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย แต่ถ้าหากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรทำอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ว่าถ้าหากพบแล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกคือ เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวเซลล์ รวมถึงการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากด้วย แต่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกไปข้างนอกของต่อมลูกหมาก วิธีสังเกตตัวเองว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือไม่ การสังเกตตนเองบางครั้งอาจไม่มีทางรู้ได้ นอกจากการไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกาย เนื่องจากผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกไม่มีอาการใด ๆ และไม่สามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยตัวเอง หากคุณอายุมากกว่า 50 ปี หรือคนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำให้ไปตรวจเช็คเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง อาการ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก โดยทั่วไป อาการมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นไม่ค่อยแสดงให้เห็นในระยะเริ่มต้น แต่บางคนก็อาจจะมีอาการได้ ดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบาก และเจ็บขณะปัสสาวะ เวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไหลอ่อนลง เหมือนไม่มีแรง ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางดึก เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว รู้สึกเหมือนยังไม่เสร็จ อาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ และบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมถึงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย หากใครมีความกังวล หรือคิดว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็น ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยและแพทย์อาจจะต้องพิจารณาข้อกำหนดในการรักษาหลาย ๆ ด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นอาจมีตัวเลือกในการรักษา 2-3 ทาง ได้แก่ การเฝ้าติดตามอาการ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นจะโตช้า […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งตับอ่อน

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ ระยะของมะเร็งตับอ่อน

หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคมะเร็งตับอ่อน คุณหมอจะทำการ ระบุระยะของมะเร็งให้คุณได้รับรู้ เพราะระยะของมะเร็งมีความสำคัญ ต่อการตัดสินในการรักษา และช่วยให้คุณเข้าใจอาการของ โรคมะเร็งตับอ่อน ได้ดียิ่งขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ ระยะของมะเร็งตับอ่อน มาให้อ่านกันค่ะ ความสำคัญของการรู้ ระยะของมะเร็งตับอ่อน การรับรู้ระยะของมะเร็งสำคัญต่อการรักษา โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นอย่างมาก เมื่อตรวจพบและได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็น โรคมะเร็งตับอ่อน แพทย์จะทำการประเมินและจัดระยะของ โรคมะเร็งตับอ่อน ว่ามะเร็งตับอ่อนที่พบนั้นอยู่ในระยะใดแล้ว ซึ่งการจัดระยะของมะเร็งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ขนาดเนื้องอก การแพร่กระจาย การทราบระยะของมะเร็งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกวิธีรักษามะเร็งเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจอาการและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น โรคมะเร็งตับอ่อน และช่วยให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้นด้วย วิธีกำหนด ระยะของมะเร็งตับอ่อน ระบบในการกำหนดระยะของ โรคมะเร็งตับอ่อน นั้นมีความเฉพาะตัว เมื่อเทียบกับการกำหนดระยะมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยปกติแล้ว การกำหนดระยะของมะเร็งส่วนใหญ่ จะพิจารณาจากระดับ 0 ถึง 4 โดยระยะที่ 4 เป็นขั้นสูงที่สุด แต่ โรคมะเร็งตับอ่อน ใช้ระบบ TNM ในการกำหนดระยะ ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวนั้นมีความหมายดังนี้ T ย่อมากจาก Tumor […]


มะเร็งปากมดลูก

ฉายแสง มะเร็ง ปากมดลูก กับผลข้างเคียงและข้อควรระวังที่ควรรู้

วิธีการ ฉายแสง เพื่อรักษา มะเร็ง ปากมดลูก ส่วนใหญ่แล้วจะใช้รังสีเอกซ์ เพื่อทำลายหรือฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยคุณหมอจะฉายรังสีไปยังบริเวณที่เซลล์มะเร็งอยู่ หรือบริเวณที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณนั้น ๆ การฉายแสง อาจเกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีบริเวณรอบ ๆ บางส่วน และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น อ่อนเพลีย ขนร่วง ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphoedema) ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ [embed-health-tool-bmr] ฉายแสง มะเร็ง ปากมดลูก ทำอย่างไร วิธีการฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก เป็นการใช้รังสีที่มีความเข้มข้นสูงฆ่าเซลล์มะเร็งหรือชะลอการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์มะเร็งหยุดแบ่งตัวหรือตาย ร่างกายจึงจะกำจัดเซลล์ที่ถูกทำลายเหล่านั้นออกได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายแสงไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ในทันทีทันใด แต่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ โดยก่อนทำการฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก คุณหมอจะทำซีทีสแกน (CT Scan) หาตำแหน่งของมะเร็ง เพื่อที่จะได้ฉายแสงได้ตรงจุดและแม่นยำยิ่งขึ้น จากนั้นคุณหมอจะใช้เครื่องนำลำแสงยิงลำแสงไปยังบริเวณปากมดลูก ต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะอื่น ๆ ที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ แล้วทำการฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็งในบริเวณนั้น การฉายแสงในแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่ผู้ป่วยอาจจะต้องฉายแสงหลายครั้งในระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสงเป็นการรักษาและช่วยบรรเทาอาการของโรคมะเร็ง เช่น อาการปวด อาการที่เกิดจากเนื้องอก ทั้งยังป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำหรือเจริญเติบโตใหม่ได้อีกด้วย ผลข้างเคียงจากการ ฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายแสง อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปริมาณรังสี […]


มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย อันตรายกว่าที่คิด

มะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 ถือเป็น มะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย ที่มักแพร่กระจาย และลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ และเป็นมะเร็งในระยะที่รักษาให้หายขาดได้ยาก เพราะผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 มักมีอาการค่อนข้างหนัก อาจจะต้องทำการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่ในระยะอันตราย อย่างมะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 มาให้อ่านกันค่ะ [embed-health-tool-ovulation] การกำหนดระยะของโรคมะเร็ง ระบบการแสดงระยะของมะเร็ง ที่นิยมใช้ในการแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ คือ การแบ่งโดยอาศัยการตรวจทางคลินิก (clinical staging) เรียกว่า International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ มะเร็งรังไข่ระยะที่ 1 มะเร็งรังไข่ระยะที่ 2 มะเร็งรังไข่ระยะที่ 3 มะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 ซึ่งมะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 ถือเป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย โดยแพทย์จะตรวจและวินิจฉัยปัจจัยดังต่อไปนี้ เพื่อประเมินว่ามะเร็งรังไข่ของผู้ป่วยอยู่ในระยะที่เท่าไร ขนาดของเนื้องอก แพทย์จะประเมินขนาดของเนื้องอก และประเมินว่าเซลล์จะแพร่กระจายไปยังท่อนำไข่ หรือนอกรังไข่ได้หรือไม่ ต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะตรวจสอบว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งโคนลิ้น (Base of Tongue Cancer)

มะเร็งโคนลิ้น เป็นมะเร็งปากหรือมะเร็งในช่องปากชนิดหนึ่ง มักเกิดจากสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell) ที่อยู่บนผิวลิ้น และอาจทำให้เกิดแผลหรือเนื้องอกที่ลิ้นของคุณได้ คำจำกัดความ มะเร็งโคนลิ้น คืออะไร โรคมะเร็งโคนลิ้น เป็นมะเร็งปากหรือมะเร็งในช่องปากชนิดหนึ่ง มักเกิดจากสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell) ที่อยู่บนผิวลิ้น และอาจทำให้เกิดแผลหรือเนื้องอกที่ลิ้นของคุณ สัญญาณที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของมะเร็งโคนลิ้น คือ อาการเจ็บลิ้นที่ไม่หาย หากมะเร็งโคนลิ้นเกิดบริเวณด้านหน้าของลิ้นจะเรียกว่า “มะเร็งลิ้นในช่องปาก” แต่หากเกิดที่โคนลิ้นใกล้กับที่ติดกับปากล่างจะเรียกว่า “มะเร็งช่องปาก” มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma) เป็นมะเร็งโคนลิ้นชนิดที่พบบ่อยที่สุด มะเร็งชนิดนี้มักเกิดในบริเวณต่อไปนี้ ด้านบนสุดของผิวหนัง ในเยื่อบุปาก จมูก กล่องเสียง ไทรอยด์ และลำคอ ในเยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร เนื้องอกที่เกิดขึ้นจาก โรคมะเร็งโคนลิ้น สามารถพัฒนาได้ในต่อมที่ผลิตน้ำลาย ต่อมทอนซิลที่ด้านหลังของปาก และส่วนของลำคอที่เชื่อมต่อปากของคุณกับหลอดลม (คอหอย) มะเร็งโคนลิ้น พบบ่อยเพียงใด โรคมะเร็งโคนลิ้น เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยกว่าชนิดอื่น ๆ และพบได้น้อยในเด็ก นอกจากนั้น โรคมะเร็งโคนลิ้นจะพบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุมากกว่าในผู้หญิง และมักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี อาการอาการของ โรคมะเร็งโคนลิ้น อาการของ โรคมะเร็งโคนลิ้น ในระยะแรก มักจะสังเกตได้ค่อนข้างยาก อาการเริ่มต้นที่พบได้บ่อยที่สุดของมะเร็งโคนลิ้น คือ อาการเจ็บที่ลิ้นไม่หาย และเลือดออกง่าย นอกจากนั้น คุณอาจสังเกตเห็นอาการปวดปากหรือลิ้นร่วมด้วย […]


โรคมะเร็ง

มะเร็งโพรงจมูก อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งโพรงจมูก (Nasopharyngeal Cancer หรือ Nasopharyngeal Carcinoma) เป็นโรคมะเร็งที่พบในช่องจมูก ซึ่งอาจอยู่บริเวณฐานของกะโหลกศีรษะเหนือหลังคาปาก อาการของมะเร็งชนิดนี้อาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ๆ ที่พบได้บ่อย เช่น คัดจมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ มะเร็งโพรงจมูกอาจตรวจไม่พบในระยะเริ่มต้น เพราะมักเกิดขึ้นตำแหน่งที่ตรวจพบได้ยาก และการตรวจช่องจมูกทำได้ค่อนข้างยาก คำจำกัดความ มะเร็งโพรงจมูก คืออะไร มะเร็งโพรงจมูก คือ มะเร็งที่ศีรษะและลำคอชนิดหายาก อาจพบที่ส่วนบนของลำคอด้านหลังจมูก หรือที่เรียกว่า ช่องจมูก ซึ่งอยู่บริเวณฐานของกะโหลกศีรษะเหนือหลังคาปาก มะเร็งโพรงจมูกอาจเกิดจากไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr Virus หรือ EBV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโมโนนิวคลิโอซิส โดยอาการที่ปรากฏอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ๆ เช่น คัดจมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ มะเร็งโพรงจมูกอาจตรวจไม่พบในระยะแรก เพราะการตรวจช่องจมูกทำได้ค่อนข้างยาก อาการอาการมะเร็งโพรงจมูก มะเร็งโพรงจมูกในระยะแรกอาจไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ อย่างไรก็ตาม อาการที่อาจพบได้เมื่อเป็นมะเร็งโพรงจมูก มีดังนี้ มีก้อนที่คอซึ่งอาจเกิดจากต่อมน้ำเหลืองบวม มีเลือดปนในน้ำลาย คัดจมูก หรือมีเสียงดังในหู เลือดออกจากจมูก อาจสูญเสียการได้ยิน เจ็บคอ ปวดศีรษะ อาจเกิดการติดเชื้อในหูบ่อย ๆ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด อาการของมะเร็งโพรงจมูกในระยะเริ่มต้นอาจไม่จำเป็นต้องไปพบคุณหมอ แต่หากสังเกตเห็นว่าอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในร่างกาย เช่น อาการคัดจมูกผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง สาเหตุสาเหตุของมะเร็งโพรงจมูก มะเร็งโพรงจมูกอาจมีความเชื่อมโยงกับไวรัสเอ็บสไตบาร์ แม้ว่าการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์อาจพบได้บ่อย แต่ผู้ป่วยทุกคนอาจไม่ได้มีไวรัสเอ็บสไตบาร์ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งโพรงจมูก นักวิทยาศาสตร์ยังคงค้นคว้าว่า ไวรัสเอ็บสไตบาร์อาจนำไปสู่มะเร็งโพรงจมูกได้อย่างไร […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 (Stage 4 Breast Cancer)

โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 (Stage 4 Breast Cancer) เป็นระยะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ผิวหนัง ตับ สมอง คำจำกัดความ มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 คืออะไร โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 (Stage 4 Breast Cancer) เป็นระยะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ผิวหนัง ตับ หรือสมอง หากคนเป็นมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 นั่นหมายความว่า เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ระยะของมะเร็งมีตั้งแต่ 1-4 และบ่งบอกถึงขอบเขตของโรค แพทย์อาจอ้างถึงระยะที่ 4 ว่า เป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจาย การรักษาระยะที่ 4 ไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถลดขนาดมะเร็ง […]


มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ระยะแรก กับสิ่งที่คุณผู้หญิงควรรู้ไว้

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง แพทย์จะทำการจำแนกตามระยะ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าตนเองกำลังเป็นมะเร็งอยู่ที่ระยะเท่าไร มะเร็งมีความก้าวหน้า ไปมากน้อยแค่ไหน มะเร็งรังไข่ ก็เช่นกัน สามารถจำแนกเป็นระยะได้ โดยเริ่มตั้งแต่ มะเร็งรังไข่ระยะที่ 1 หรือระยะแรก ไปจนถึงระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้าย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งรังไข่ระยะแรก มาให้ได้อ่านและศึกษากัน ข้อมูลเบื้องต้นของ มะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นที่รังไข่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ซึ่งอยู่บริเวณทั้งสองข้างของมดลูก มะเร็งรังไข่ ถือเป็นมะเร็งของระบบสืบพันธ์ุในผู้หญิง ที่พบได้มาก สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย ที่สำคัญ มะเร็งรังไข่ระยะที่ 1 มักจะไม่มีอาการ หรือสัญญาณเตือนใด ๆ กว่าจะรู้ว่าเป็น มะเร็งรังไข่ ส่วนใหญ่ก็ต่อเมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจาย ลุกลามไปยังอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง สำหรับผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยเป็น มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านม ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดโรค มะเร็งรังไข่ แพทย์อาจมีการแนะนำให้ทำการตรวจหรือทดสอบเกี่ยวกับการกลายพันธ์ุของยีน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม และ มะเร็งรังไข่ ได้ การแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ ระยะของมะเร็ง เป็นรูปแบบที่แพทย์ใช้สำหรับการอธิบาย ขนาดและตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง โดยใช้ตำแหน่งที่มะเร็งก่อตัว และอัตราการแพร่กระจาย […]


มะเร็งปากมดลูก

เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก เตรียมอย่างไร และใครที่ควรตรวจ

สิ่งสำคัญที่ผู้หญิงหลายคนไม่ควรละเลยคือการ ตรวจมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้พบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้สูงและยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย สำหรับการ เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอดด้วยของเหลวต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับผลตรวจ ผู้ที่ควร ตรวจมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุในช่วง 30-65 ปี ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี เริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี ไปจนถึงอายุ 29 สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30-65 ปี ควรปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางสำหรับการตรวจที่มีความเหมาะสม หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อเอชพีวี ส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมักจะไม่มีอาการใด ๆ บางครั้งระบบภูมิคุ้มกันก็จะกำจัดเชื้อนั้นออกไปจากร่างกายได้เอง แต่มีเพียงบางส่วนที่เชื้อไวรัสเอชพีวีติดนานหรือเรื้อรังจนทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก […]


มะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก มีกี่รูปแบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids) เป็นการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติ ขนาดของเนื้องอกในมดลูกมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพืช จนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไปจนถึงขนาดใหญ่จนทำให้มดลูกขยายตัวได้ การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาเนื้องอกในมดลูกที่คุณหมออาจแนะนำ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกรวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เนื้องอกมดลูก คืออะไร อันตรายแค่ไหน เนื้องอกมดลูก เป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก ซึ่ง เนื้องอกมดลูก ส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวข้องกับ การเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูก เนื้องอกส่วนใหญ่แทบจะไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งมดลูกเลย แต่หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ จนขยายไปถึงซี่โครง อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ จริง ๆ แล้วหากขนาดของ เนื้องอกมดลูก มีขนาดเล็กมาก ๆ และไม่มีอาการใด ๆ ที่แสดงออกมา ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหรือสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ เนื้องอกมดลูก อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาการปวดท้อง ท้องอืด ความดัน เจ็บหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน เจ็บหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย เลือดออกผิดปกติ ปวดหลังหรือปวดขา ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ โดยที่อาการไม่หายไปเลย หรือมีอาการอยู่เป็นประจำ ควรเข้าปรึกษาแพทย์ ประเภทของ การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ในช่วงชีวิตของผู้หญิงหลาย ๆ คน อาจจะมีเนื้องอกโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ เพราะ เนื้องอกมดลูก ที่มีขนาดเล็กมักจะไม่มีอาการหรือสัญญาณใด […]


มะเร็งปากมดลูก

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกวิธี ดีต่อผู้ป่วย

เมื่อคนใกล้ชิดตรวจพบ โรคมะเร็งปากมดลูก การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ตั้งแต่เรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารที่รับประทานในแต่ละวัน การนัดหมายกับคุณหมอ การเข้ารับการตรวจและการรักษา หรือแม้กระทั่งการดูแลในเรื่องอื่น ๆ รวมถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย เพราะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกต้อง ถือเป็นเรื่องที่ดี มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายและสภาพจิตใจได้ดีขึ้นนั่นเอง [embed-health-tool-ovulation] การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ควรทำอย่างไร การรักษา โรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียง ที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาได้ แต่ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละคนอาจจะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและวิธีการรักษา ในช่วงที่ทำการรักษา แน่นอนว่าผู้ป่วยหลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกกลัว กังวลใจ หรือเกิดความเครียด จนไม่สามารถจัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีเท่าที่ควร การมีคนคอยดูแล จัดการเรื่องต่าง ๆ ให้ถือเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ และใช้ชีวิตง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยกังวลในส่วนนี้ ซึ่งผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องดูแลในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้ การรับประทานอาหาร และน้ำหนักของผู้ป่วย ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ที่เข้าทำการรักษา ไม่ว่าจะด้วยวิธีการทำเคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยการฉายรังสี เป็นรูปแบบการรักษาที่อาจทำให้ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก บางรายเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น การรับรสชาติของอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนักเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องเลือกอาหารเหมาะสำหรับผู้ป่วย เช่น อาหารที่รับประทานได้ง่าย และมีสารครบถ้วน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน