ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ตั้งแต่ปัญหาขณะคลอด ไปจนถึงปัญหาที่ตามมาหลังจากคลอด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่อย่างมาก Hello คุณหมอ จึงอยากขอขอมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพคุณแม่ ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด แบบไหนที่ควรไปพบคุณหมอ

อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด อาจมีตั้งแต่ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะมดลูกอักเสบ ภาวะเต้านมอักเสบช่วงให้นม ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปอาการผิดปกติไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยหรือพบในคุณแม่หลังคลอดทุกคน จึงไม่ควรเป็นกังวลเกินไปนัก เน้นและทำใจให้สบายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันคลอดที่ใกล้มาถึง และควรวางแผนการดูแลสุขภาพหลังคลอดไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด ซึ่งอาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจและผ่านช่วงเวลาหลังคลอดไปได้ด้วยดี [embed-health-tool-due-date] อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด อาการผิดปกติที่คุณแม่หลังคลอดอาจพบได้ในบางครั้ง อาจมีดังนี้ ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum haemorrhage) หลังคลอดคุณแม่อาจสังเกตว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดหรือที่เรียกว่าน้ำคาวปลา (Lochia) ซึ่งจะไหลออกมาจากภายในโพรงมดลูกส่วนที่เคยมีครรภ์ยึดเกาะอยู่เป็นปริมาณมากที่สุดในช่วงหลังคลอด และจะค่อยๆ น้อยลงเรื่อย ๆ โดยสีของเลือดจะเปลี่ยนจากสีแดงสดเป็นสีน้ำตาลจนเป็นสีเหลืองภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะมีปริมาณน้อยลงและกลายเป็นสีใสจนแห้งไปในที่สุดภายใน 4-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ หากเวลาผ่านไปสักระยะแล้วพบว่าเลือดออกเยอะขึ้นแทนที่จะลดน้อยลง หรือมีก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดขนาดใหญ่ออกมาจากช่องคลอด ร่วมกับมีอาการอื่นๆ เช่น วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว รู้สึกจะเป็นลม ปวดท้องรุนแรง หากมีอาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณของภาวะตกเลือดหลังคลอดที่ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว ภาวะมดลูกอักเสบหลังคลอด (Postpartum Endometritis) เป็นภาวะผิดปกติหลังคลอดบุตรซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกหรือระบบสืบพันธุ์ส่วนบน เช่น สเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปบี (group B streptococci) สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus) ซึ่งอาจเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในมดลูกอยู่แล้วหรือเพิ่งเข้าสู่ร่างกายขณะคลอดบุตรก็ได้ โดยปกติแล้ว […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

คลอดติดไหล่ สาเหตุ อาการ และการรักษา

คลอดติดไหล่ (Shoulder Dystocia) หมายถึงการที่ไหล่และส่วนลำตัวของทารกติดอยู่ภายในช่องคลอดในขณะที่ส่วนศีรษะคลอดออกมาแล้วส่งผลให้ไม่สามารถออกมาจากครรภ์มารดาได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากขนาดตัวของทารกใหญ่เกินไป หรือคลอดเร็วเกินไป ทารกยังไม่กลับตัวอย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจส่งผลให้คุณแม่เสียเลือดมาก และอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ คลอดติดไหล่ คืออะไร คลอดติดไหล่ เกิดขึ้นเมื่อไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างของทารกติดอยู่ด้านหลังกระดูกหัวหน่าวของแม่ระหว่างการคลอด ส่งผลให้ไม่สามารถออกมาจากครรภ์มารดาได้จำเป็นต้องใช้หัตถการเพิ่มเติมเพื่อช่วยคลอดนอกเหนือจากท่าทำคลอดปกติ โดยภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ระหว่างการคลอด ที่คุณหมอจำเป็นต้องช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อย คลอดติดไหล่ พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะคลอดติดไหล่ เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทำให้การคลอดล่าช้าผิดปกติ ซึ่งสามารถพบได้ใน 0.2-3 % หรือประมาณ 1 ใน 200 คน อาการ อาการของภาวะคลอดติดไหล่ ภาวะคลอดติดไหล่ ส่วนมากมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ ปรากฏออกมาให้เห็น คุณหมอจะสามารถรู้ว่าการคลอดนั้นมี ภาวะคลอดติดไหล่ ก็ต่อเมื่อศีรษะของทารกออกมาแล้ว แต่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายยังไม่ออกมาตามปกติของการคลอด เหมือนเต่าที่หดคออยู่ในกระดอง สาเหตุ สาเหตุของภาวะคลอดติดไหล่ สาเหตุของการเกิดภาวะคลอดติดไหล่ อาจมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณหมอต้องติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ทารกที่ตัวใหญ่หรือตัวโต (Macrosomia) ยิ่งทารกตัวโต หรือน้ำหนักมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสเกิด ภาวะคลอดติดไหล่ มากขึ้นเท่านั้น ทารกมีน้ำหนักมากกว่า 8 ปอนด์ หรือประมาณ 3,700 กรัม บางเกณฑ์อาจไปถึง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

สายสะดือพันคอ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

สายสะดือพันคอทารก (Nuchal cord) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากทารกในครรภ์เคลื่อนไหวมากเกินไป สายสะดือผิดปกติ สายสะดือยาวเกินไป เป็นต้น แม้ภาวะนี้จะพบได้เป็นปกติ แต่บางครั้งก็อาจเป็นอันตราย ทำให้ทารกขาดสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง จนอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้ ทั้งนี้ การหมั่นสังเกตอาการของตัวเองและไปตรวจครรภ์ตามนัดเสมอตลอดการตั้งครรภ์ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอันตรายเนื่องจากสายสะดือพันคอทารกได้ [embed-health-tool-”due-date”] สายสะดือ คืออะไร สายสะดือ (umbilical cord) เป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างทารกในครรภ์กับรกเพื่อทำหน้าที่ส่งผ่านสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดมารดาไปให้แก่ทารก มีขนาด 1-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีเลือดประมาณ 125 มิลลิลิตร/กิโลกรัม มีลักษณะขาวขุ่น เป็นเส้นยาว และบิดเป็นเกลียว ซึ่งช่วยให้สายสะดือไม่พับงอ สายสะดือพันคอ คืออะไร สายสะดือพันคอทารก (Nuchal cord) เป็นเหตุสุดวิสัยที่ส่วนใหญ่คุณแม่ไม่อาจทราบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด ถ้าเกิดเหตุการณ์สายสะดือพันคอทารกคุณแม่มักจะไม่รู้ตัว อาจรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น ไม่สามารถหาทางป้องกันล่วงหน้าได้ แต่แพทย์อาจคาดเดาได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ แต่คุณแม่หรือคุณพ่ออาจจะต้องรวมกันสังเกตการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ด้วย หากเริ่มมีการดิ้นที่น้อยลง โดยเฉพาะหลัง28สัปดาห์เป็นต้นไป แนะนำให้รีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด สาเหตุของภาวะ สายสะดือพันคอ ทารกในครรภ์ดิ้นเยอะ หรือมีการเคลื่อนไหวมากเกินไป สายสะดือยาวผิดปกติ เนื่องจากสายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตร […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

การคลอดล่าช้า สาเหตุ อาการ และความเสี่ยง

การคลอดล่าช้า (Prolonged Labor) เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของการคลอด หมายถึงการคลอดที่ใช้ระยะเวลานานเกินกว่า 20 ชั่วโมงขึ้นไปนับตั้งแต่มีอาการเจ็บท้องคลอดและเข้าสู่ระยะเร่งของการคลอด (Active Phase) จากปกติที่ควรใช้เวลาแค่ประมาณ 12-18 ชั่วโมง การคลอดล่าช้าอาจเป็นอันตรายต่อทารก เนื่องจากอาจทำให้ทารกขาดออกซิเจน หัวใจเต้นผิดปกติ มีความผิดปกติในน้ำคร่ำ หรือมีการติดเชื้อได้ รวมทั้งอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในคุณแม่ด้วย เช่น ภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี หากคุณแม่มีภาวะคลอดล่าช้า คุณหมออาจแนะนำให้ทำการผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และเด็ก [embed-health-tool-due-date] วิธีคำนวณวันที่ครบกำหนดวันคลอด อายุครรภ์จะวัดโดยการใช้วันแรกของรอบเดือนครั้งสุดท้าย 280 วันหรือ 40 สัปดาห์ นับจากระยะเวลาเฉลี่ยของการตั้งครรภ์ หากไม่รู้ว่าประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือเป็นบุคคลที่มีรอบเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ คุณหมออาจจะขอให้มีการอัลตราซาวด์ เพื่อกำหนดอายุครรภ์ของทารก ในช่วงไตรมาสแรก ด้วยการวัด CRL (Crown-rump Length) ซึ่งการวัด CRL นั้นสามารถประมาณอายุของทารกได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากในช่วงเวลานี้ ทารกทุกคนเติบโตด้วยความเร็วเท่ากันโดยประมาณ แต่หากอัลตราซาวน์ในอายุครรภ์ที่มากขึ้น ความแม่นยำจะน้อยลง สาเหตุของ การคลอดล่าช้า หรือคลอดที่อายุครรภ์เกินกำหนด ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า อะไรคือสาเหตุหลักให้คุณแม่มีการเจ็บครรภ์หรือตั้งครรภ์ที่นานกว่าปกติ แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการ เช่น ครอบครัวมีประวัติ การคลอดทารกล่าช้า เคยมีประวัติตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน กระดูกเชิงกรานของคุณแม่ที่เล็กเกินไป หรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ น้ำหนักตัวของคุณแม่เกินเกณฑ์ หรือโรคอ้วน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด มีอะไรบ้าง รับมืออย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด คือ ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นระหว่างคลอด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่หรือทารกเสียชีวิตได้ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย พันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยง ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-due-date] ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด อาจทำให้คุณแม่หรือทารกพบอาการต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือแตกเองก่อนเจ็บครรภ์คลอด โดยอาจเกิดขึ้นก่อนที่ครรภ์จะครบกำหนด 37 สัปดาห์ สาเหตุเกิดจากภาวะติดเชื้อโรคที่ช่องทางคลอด หากเข้ารับการดูแลโดยคุณหมอทันเวลา คุณแม่และทารกมีโอกาสที่จะรอดชีวิต ภาวะการขาดออกซิเจนแรกคลอด ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และอาจทำให้ทารกเสียชีวิตระหว่างคลอดได้ ภาวะคอติดไหล่ เกิดขึ้นเมื่อศีรษะของทารกได้หลุดผ่านออกมาทางช่องคลอดแล้ว แต่ไหล่ข้างใด ข้างหนึ่งยังคงติดอยู่ในตัวแม่ ทำให้ลูกน้อยไม่สามารถหลุดออกมาได้ในทันที อาจต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญของคุณหมอที่ทำคลอด เลือดออกมามากเกินไป มดลูกไม่หดตัวส่งผลให้มีเลือดออกมาก ซึ่งการตกเลือดดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคุณแม่ เนื่องจากคุณแม่มีเลือดออกมากจนเกินไป แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการคลอด ช่องคลอด และเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีแนวโน้มที่จะฉีกขาดได้ในระหว่างขั้นตอนการคลอดลูกน้อย หากมีการฉีกที่รุนแรง แพทย์จะทำการเย็บแผลให้ การคลอดไม่เป็นไปตามแผน เป็นลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก คือปากมดลูกขยายได้ช้า ทำให้ทารกไม่สามารถออกมาได้ หรือบางครั้งตัวของทารกมีขนาดใหญ่เกินไป หากคุณแม่ไม่สามารถคลอดได้โดยธรรมชาติ แพทย์จะทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

มดลูกแตก อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

มดลูกแตก หมายถึง ภาวะที่มดลูกขณะตั้งครรภ์มีการฉีดขาด หรือปริออก ทำให้มีการตกเลือดในช่องท้องจำนวนมาก และอาจทำให้ทารกในครรภ์และน้ำคร่ำหลุดออกจากมดลูกเข้าไปในช่องท้อง จนทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ ซึ่งภาวะมดลูกแตกนี้พบมากในช่วงระหว่างคลอด แต่บางครั้งก็อาจเกิดในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-due-date] อาการของภาวะมดลูกแตก อาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณของภาวะมดลูกแตก มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ กดหน้าท้องแล้วรู้สึกเจ็บ ปวดบริเวณเหนือหัวหน่าว (ส่วนของร่างกายที่อยู่ระหว่างท้องน้อย กับอวัยวะสืบพันธุ์) มดลูกหดรัดตัวไม่สัมพันธ์กัน ทำให้การคลอดแบบธรรมชาติเป็นไปได้ลำบากขึ้น ศีรษะของลูกน้อยถดถอยเข้าสู่ช่องคลอด ปวดรุนแรงอย่างฉับพลันเมื่อมดลูกบีบรัดตัว อัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ผิดปกติ หากพบว่าผนังมดลูกผิดปกติ คุณหมออาจวินิจฉัยให้ผ่าตัดคลอดแทนการคลอดธรรมชาติ สาเหตุของมดลูกแตก มดลูกแตก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ การบีบรัดตัวของมดลูกในขณะคลอดอาจทำให้มดลูกแตกได้ การใช้มดลูกมากเกินไป เช่น การมีลูกมากกว่า 3 คนขึ้นไป การผ่าตัดผนังมดลูก หรือเคยขูดมดลูกมาก่อน ทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไป เมื่อเทียบกับความกว้างของอุ้งเชิงกราน ทารกอยู่ในท่านอนขวาง หรือที่เรียกว่า “ลูกน้อยไม่ยอมกลับหัว” อายุของคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนมีอายุมาก ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เคยประสบอุบัติเหตุ และมดลูกได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ผนังมดลูกอ่อนแอ หรือบางผิดปกติ เคยมีการผ่าคลอดมาก่อน ใช้ยาบางชนิดที่ทำให้มดลูกบีบตัวผิดปกติ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับปริมาณยาชนิดนั้นมากเกินไป วิธีรักษาและป้องกันมดลูกแตก หากเกิดภาวะที่เสี่ยงมดลูกแตก คุณหมอจะทำการผ่าตัดคลอด เนื่องจากหากคลอดเองตามธรรมชาติอาจพบปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ตามมาได้ อย่างไรก็ตาม ควรพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาที่เป็นไปได้ทั้งหมดกับคุณหมอ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ท้องผูกหลังคลอด สาเหตุ และวิธีการรักษา

ท้องผูกหลังคลอด อาจเกิดจากการที่ร่างกายของคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงปรับตัวให้กลับมาเป็นปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ ที่ส่งผลให้กระบวนการขับถ่ายทำงานได้ไม่ดี และส่งผลให้มีอาการท้องผูก ดังนั้น คุณแม่หลังคลอดจึงควรดูแลสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกาย ดื่มน้ำให้มาก ๆ หรือเข้าการรักษาจากคุณหมอในกรณีที่อาการยังไม่ดีขึ้น [embed-health-tool-bmr] ท้องผูกหลังคลอด เกิดจากอะไร หลังจากที่มีการคลอดบุตรแล้ว ร่างกายของคุณแม่ก็จะเริ่มกลับเข้าสู่สภาพเดิมอีกครั้ง แต่ยังไม่สามารถฟื้นฟูให้เป็นปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว อวัยวะบางอย่างอาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์กว่าที่จะปรับตัวกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ ลำไส้ของแม่หลังคลอดก็เช่นเดียวกัน เมื่อผ่านการคลอดลูกมาหมาด ๆ ลำไส้จะยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ หรือขยับได้ไม่ค่อยดี จึงส่งผลให้กระบวนการดูดซึมสารอาหาร กระบวนการย่อยอาหาร และการลำเลียงกากอาหารที่ลำไส้ทำได้ไม่ดีนัก แม่หลังคลอดจึงมักเกิดอาการท้องผูกตามมา อย่างไรก็ตาม อาการท้องผูก หลังคลอด ยังอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยร่วมอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ ร่างกายขาดน้ำ ทำให้ลำไส้แห้ง ลำเลียงอาหารและกากอาหารได้ไม่ดี เคลื่อนไหวน้อย หลังคลอด ร่างกายของคุณแม่ต้องการพักฟื้น จึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มากนัก ทำให้อวัยวะในร่างกาย โดยเฉพาะลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อยลง จนส่งผลให้ท้องผูก ความเครียดและความวิตกกังวลหลังคลอด มีส่วนทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ พักผ่อนไม่เพียงพอ คุณแม่มือใหม่อาจจำเป็นต้องลุกมาดูแลลูกกลางดึกบ่อย ๆ จนนอนไม่พอ ซึ่งการพักผ่อนน้อยมีผลต่อกระบวนการขับถ่ายตามปกติ คลอดลูกโดยการผ่าคลอด การคลอดลูกด้วยวิธีนี้อาจต้องใช้เวลา 3-4 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีป้องกัน

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์รู้สึกเจ็บท้องคลอดก่อนอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 37 ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และครอบครัวตกใจ หรือกระวนกระวายใจ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ทั้งสัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีรับมือที่ถูกต้องหากเกิดภาวะนี้ขึ้นก่อนคลอด [embed-health-tool-due-date] เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Premature Labor) เกิดจากมดลูกหดรัวตัวก่อนถึงกำหนดคลอด จนทำให้ปากมดลูกเปิด ซึ่งภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์   ปัจจัยที่ทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สาเหตุที่ทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอาจมีดังนี้ มีประวัติเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมาก่อน ท้องลูกแฝด ตั้งแต่แฝดสองขึ้นไป ปากมดลูกสั้น คุณแม่ท้องมีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไปตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกหรือรก มีการติดเชื้อในน้ำคร่ำ หรืออวัยวะส่วนล่าง สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึมเศร้า แม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากหรืออายุน้อยเกินไป มีความผิดปกติของทารกในครรภ์ สัญญาณ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นอย่างไร อาการที่อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อาจมีดังนี้ ปวดท้องรุนแรง โดยไม่มีอาการท้องร่วง เจ็บหรือแน่นที่บริเวณหน้าท้องบ่อย ๆ มีตกขาวเพิ่มขึ้น ตกขาวมีเลือด มูก หรือของเหลวปนมา ปวดหลัง โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง มดลูกหดตัว หรือรู้สึกแน่นที่มดลูกทุก ๆ 10 นาที มีเลือดออกทางช่องคลอด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

โรคชีแฮน ภาวะตกเลือดมากขณะคลอดหรือหลังคลอด

โรคชีแฮน เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เสียเลือดมากขณะคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร ขาดออกซิเจน หรืออาจมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติระหว่างการคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้น้ำนมน้อยจนไม่สามารถให้นมลูกได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม โรคชีแฮน  โรคชีแฮน (Sheehan’s Syndrome) เป็นภาวะความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่อาจเกิดจากการตกเลือดหรือเสียเลือดมากจนเกินไป ขาดออกซิเจน หรืออาจมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติระหว่างการคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร การตกเลือดปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณต่อมใต้สมองได้เพียงพอ ส่งผลให้คุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย น้ำนมน้อมไม่สามารถให้นมลูกได้ โดยสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจทำให้เสียเลือดในปริมาณมาก อาจมีดังนี้ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ ให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม อาการของโรคชีแฮน โรคชีแฮนส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิง โดยอาจส่งผลทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้ น้ำนมน้อยไม่สามารถให้นมลูกได้ ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาด น้ำหนักขึ้น หนาวง่าย ประสิทธิภาพทางกระบวนความคิดช้าลง อ่อนเพลีย อ่อนแรง ผิวบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากเหี่ยวย่น เต้านมหดตัว ผิวแห้ง อาการปวดข้อ ความต้องการทางเพศลดลง น้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ตกเลือดหลังคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นอันตรายหรือไม่

ตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะการสูญเสียเลือดหลังคลอดบุตร อันเป็นผลมาจากภาวะรกลอกตัว แต่ทั้งนี้ปริมาณเลือดในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มสูงขึ้นได้ถึงร้อยละ 50 ในระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้น โดยปกติแล้วสียเลือดหลังคลอดจึงมักไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกับร่างกายของคุณแม่ แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกมากเกินไป ซึ่งเรียกว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอด อาจส่งผลให้เกิดการช็อก เสียเลือดและเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-due-date] อาการตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์แต่ละคนมีร่างกายที่แตกต่างกัน ทำให้ภาวะตกเลือดหลังคลอดมีอาการแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่จะมีอาการตกเลือดหลังคลอดภายใน 1 วันหลังคลอดทารก แต่อาจมีอาการตกเลือดหลังคลอดหลังคลอดทารกไปแล้ว 12 สัปดาห์ก็เป็นได้  ทั้งนี้อาการส่วนใหญ่ที่พบได้แก่ เลือดไหลไม่หยุด ความดันโลหิตลดต่ำลง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น เซลล์เม็ดเลือดแดงลดต่ำลง รู้สึกเจ็บปวดอวัยวะเพศและมีอาการบวมแดง สาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอด ผู้ที่ผ่าตัดคลอดมักมีการสูญเสียเลือดมากกว่าผู้ที่คลอดตามธรรมชาติ ทั้งนี้มีหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 6 ประสบกับภาวะเลือดออกมากซึ่งเรียกว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) โดยมดลูกไม่หดรัดตัวเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ถึงร้อยละ 80 ของภาวะตกเลือดหลังคลอดใน 24 ชั่วโมงแรก นอกเหนือนั้นยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ต่อไปนี้ ได้แก่ ปากมดลูกฉีกขาด (Cervical Lacerations) ช่องคลอดหรือฝีเย็บฉีกขาดรุนแรง แผลขนาดใหญ่ที่ช่องคลอด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ทารกตัวโตมากกว่าปกติ ครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ (polyhydramnios) การกระตุ้นคลอดหรือเร่งคลอดด้วย oxytocin […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ปากช่องคลอดฉีก ตอนคลอดลูก สิ่งที่ต้องรู้และวิธีดูแลที่ถูกต้อง

ปากช่องคลอดฉีก ในระหว่างคลอดลูกตามธรรมชาติ อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกมีขนาดศีรษะใหญ่เกินกว่าที่ปากช่องคลอดจะขยายใหญ่ตามได้ โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก ซึ่งแผลของปากช่องคลอดฉีกอาจหายได้ไวหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม แต่บางครั้งแผลฉีกขาดก็อาจต้องได้รับการเย็บ หรือต้องใช้ครีมที่มียาผสมอยู่ทาควบคู่ไปด้วย [embed-health-tool-bmi] ปากช่องคลอดฉีก คืออะไร ปากช่องคลอดฉีก มักพบได้บ่อยในระหว่างการคลอด อาการเช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกมีขนาดศีรษะใหญ่เกินกว่าที่ปากช่องคลอดจะขยายใหญ่ตามได้ สำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงที่จะมีปากช่องคลอดฉีก ได้แก่ ผู้หญิงที่เพิ่งตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก ผู้หญิงที่มีลูกน้อยตัวใหญ่ ผู้หญิงที่ต้องเบ่งคลอดนาน ๆ ผู้หญิงที่ต้องใช้เครื่องช่วยในการคลอด เช่น การใช้คีมปากเป็ด เครื่องดูดสุญญากาศ แม้แผลฉีกขาดส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความรุนแรง แต่ระดับความรุนแรงของปากช่องคลอดฉีกนั้นถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งทุกระดับอาจทำให้เจ็บปวด แต่บางระดับอาจต้องใช้วิธีเย็บแผล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหูรูดทวารหนัก การฉีกขาดระดับที่ 1 มีรอยฉีกเกิดขึ้นแค่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด ซึ่งไม่กระทบต่อกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจต้องเย็บเล็กน้อย การฉีกขาดระดับที่ 2 ซึ่งเป็นระดับที่พบได้บ่อย โดยจะเกิดการฉีกขาดในเยื่อบุช่องคลอด และเนื้อเยื่อในชั้นที่อยู่ลึกลงไป และจำเป็นต้องทำการเย็บที่มากขึ้น การฉีกขาดระดับที่ 3 แผลฉีกระดับนี้จะเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดในชั้นที่อยู่ลึกลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ ที่ประกอบขึ้นเป็นกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก ในกรณีนี้คุณหมอาจใช้วิธีเย็บแผลไปทีละชั้น โดยต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในชั้นกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้กับกล้ามเนื้อหูรูด การฉีกขาดระดับที่ 4 แผลฉีกขาดระดับนี้เป็นแผลลึก ซึ่งฉีกตั้งแต่ปากช่องคลอดไปจนถึงเยื่อบุลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นแผลที่มีความซับซ้อน และต้องทำการเย็บแผลหลายชั้น แต่การฉีกขาดระดับนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก โดยปกติแล้ว แผลฉีกขาดจะรักษาให้หายได้ภายใน 7-10 วัน ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน