ไตรมาสที่ 1

การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาสำคัญที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะนั่นอาจหมายถึงความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 1

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดท้อง1เดือน จะยังไม่เป็นที่สังเกตได้เนื่องจากหน้าท้องของคุณแม่ยังไม่ขยายใหญ่แต่อาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนไม่มา อารมณ์แปรปรวน หน้าอกขยายและคัดตึง ปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้ ยังนับเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก เนื่องจากอยู่ในระยะที่ทารกกำลังค่อย ๆ เติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ คุณแม่จึงต้องคอยดูแลตัวเองทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามอายุครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือ 4 สัปดาห์แรกขนาดท้องมักไม่ต่างจากก่อนตั้งครรภ์เลย เนื่องจากทารกยังตัวเล็กมากและยังไม่เจริญเติบโตมากพอที่จะทำให้หน้าท้องขยาย โดยทั่วไป ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนเห็นได้ชัดในช่วงเดือนที่ 4-5 หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และจะขยายใหญ่ตามอายุครรภ์มากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาการของคนท้องจะไม่สามารถเห็นได้จาก ขนาดหน้าท้อง1เดือน แต่ก็อาจสังเกตได้ด้วยตัวเองจากอาการร่วมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ระยะแรก ควรตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนไม่ปกติ อาจรอประมาณ 1-2 เดือน หากประจำเดือนยังไม่มาควรตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองหรือไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ หน้าอกขยายและคัดตึง เนื่องจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์จึงอาจทำให้หน้าอกคัดตึง บวม หรือเจ็บ เส้นเลือดอาจมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น และหัวนมอาจดำคล้ำ ทั้งนี้ อาการต่าง ๆ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 1

ท้อง 8 สัปดาห์ คุณแม่และทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

คุณแม่ตั้งท้อง 8 สัปดาห์ อยู่ในการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก ซึ่งคุณแม่อาจเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและอารมณ์ เช่น เต้านมคัด ปวดท้องน้อย ตกขาว หงุดหงิดง่าย เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เนื่องจากมีฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (HCG) เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรดูแลตัวเองด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตอย่างสมวัย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ท้อง 8 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 8 สัปดาห์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ เลือดออกทางช่องคลอด มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ป็นภาวะไม่ปกติที่สามารถเกิดได้ในการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก ซึ่งอาจเป็นภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion) คุณแม่ควรได้รับการพักผ่อนมากขึ้น เลี่ยงการยืน เดิน หรือนั่งนานๆ และถ้ามีเลือดออกจากช่องคลอดควรงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ แต่หากสังเกตว่ามีเลือดออกปริมาณมาก ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนการแท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก แพ้ท้อง คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น อีกทั้งความชอบในการรับประทานอาหารก็อาจเปลี่ยนไป มีความไวต่อกลิ่นมากขึ้น ส่งผลให้อาจรู้สึกเหม็นสิ่งรอบตัวและอาหารต่าง ๆ แต่บางคนก็อาจไม่มีอาการใด ๆ เลยเช่นกัน เต้านมคัด […]


ไตรมาสที่ 1

อัลตราซาวด์ ท้อง 1 เดือน ทำได้หรือไม่ และทำในกรณีใดบ้าง

การ อัลตราซาวด์ ท้อง 1 เดือน อาจไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากคุณแม่ยังมีอายุครรภ์น้อยเกินไป โดยปกติ การอัลตราซาวด์ครั้งแรกสามารถทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอายุครรภ์ที่มองเห็นทารกได้ผ่านเครื่องอัลตราซาวด์ แต่ถ้าตรวจดูเร็วกว่านั้น เครื่องอาจไม่สามารถตรวจจับได้อย่างชัดเจน การอัลตราซาวด์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยมากอาจเกิดในกรณีที่คุณแม่มีความเสี่ยงบางประการ เช่น มีประวัติของการตั้งครรภ์นอกมดลูก ความเสี่ยงที่อาจต้อง อัลตราซาวด์ ท้อง 1 เดือน หากคุณแม่มีประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน คุณหมออาจให้เข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ท้อง 1 เดือน หรือในช่วงเวลาใกล้เคียง โดยใช้การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด ที่ให้ภาพที่ชัดเจนกว่าการอัลตราซาวด์ทางช่องท้อง เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่าจะมีความเสี่ยงหรือไม่ โดยพิจารณาจากพัฒนาการของถุงการตั้งครรภ์ (Gestational sac) และถุงไข่แดง (Yolk sac) หากพบว่ามีพัฒนาการต่าง ๆ เกิดขึ้นภายในมดลูก แสดงว่าอาจไม่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้น นอกจากนี้ อาจมีการตรวจท่อนำไข่ (Fallopian tubes) เพิ่มเติมว่าเป็นปกติหรือไม่ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วงแรกอาจเห็นผ่านการอัลตราซาวด์ การตั้งครรภ์ในช่วงแรกของอายุครรภ์ (ก่อนสัปดาห์ที่ 6-9) หากมีความจำเป็นที่ต้องอัลตราซาวด์ อาจมีลำดับขั้นดังนี้ ลำดับขั้นที่ 1 หากเป็นไปตามระยะเวลาปกติของช่วงมีประจำเดือน ในขั้นนี้จะแสดงให้เห็นเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนานุ่มซึ่งพร้อมให้ตัวอ่อนที่เกิดจากไข่ผสมกับอสุจิจนปฏิสนธิได้ฝังตัว ลำดับขั้นที่ 2 เป็นขั้นตอนที่มักเกิดขึ้นในช่วง 4-5 […]


ไตรมาสที่ 1

อายุครรภ์ 3 เดือน คุณแม่และทารกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

อายุครรภ์ 3 เดือน คือช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกก่อนเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่และทารกในครรภ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทารกในครรภ์เริ่มพัฒนาเป็นรูปเป็นร่าง หน้าท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น อาการเหนื่อยล้า หน้าอกขยาย ดังนั้น คุณแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเองและทารกในครรภ์เป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก รวมถึงกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการทารกได้อย่างสมบูรณ์ [embed-health-tool-”pregnancy-weight-gain”] พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 3 เดือน พัฒนาการที่สำคัญสำหรับทารกในครรภ์ที่มี อายุครรภ์ 3 เดือน หรือ 12 สัปดาห์ คืออวัยวะต่าง ๆ เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เช่น เช่น แขน ขา เล็บ ปาก เปลือกตา หูชั้นนอก ฟันเริ่มก่อตัว อวัยวะเพศของทารกเริ่มพัฒนา แต่ยังไม่สามารถบ่งบอกเพศได้จากการอัลตราซาวน์ นิ้วมือและนิ้วเท้าของทารกแยกออกจากกัน แตกต่างจากเดือนที่ 2 ที่นิ้วมือและนิ้วเท้ายังคงติดกันเป็นพังผืดอยู่ เริ่มมีการทำงานของระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบปัสสาวะ และตับ ลำตัวของทารกในครรภ์อาจยาวประมาณ 2-4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 14-28 กรัม ขึ้นอยู่กับการดูแลและการเลือกรับประทานอาหารของคุณแม่ร่วมด้วยว่าจะส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตได้ไวเพียงใด การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่อายุครรภ์ 3 เดือน คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือน อาจมีการเปลี่ยนแปลง […]


ไตรมาสที่ 1

เลือดล้างหน้า คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

เลือดล้างหน้า หรือเลือดล้างหน้าเด็ก เป็นเลือดที่ออกมาจากทางช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอย มีลักษณะเป็นเลือดสีชมพูแต่ไม่ใช่เลือดประจำเดือน อาจมีอาการประมาณ 1-2 วัน มักเกิดขึ้นภายใน 10-14 วัน หลังจากจากไข่ผสมกับอสุจิแล้วปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่ในมดลูก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ โดยจะอยู่ที่ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 4-5 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงตั้งครรภ์บางคนอาจไม่มีเลือดล้างหน้าเด็กปรากฏออกมาให้เห็นก็ได้เช่นกัน [embed-health-tool-”due-date”] เลือดล้างหน้า เกิดจากอะไร  เลือดล้างหน้า หรือเลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) หมายถึงเลือดที่ออกจากช่องคลอดหลังจากไข่ผสมกับอสุจิแล้วเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่ในมดลูก การฝังตัวของตัวอ่อนอาจทำให้หลอดเลือดฝอยในโพรงมดลูกแตก จนมีเลือดออกมาจากช่องคลอด อาการเลือดล้างหน้าถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนเท่านั้น โดยเลือดล้างหน้ามักจะเป็นเลือดสีชมพูจาง ๆ ออกมาจากช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอย มีปริมาณน้อยกว่าเลือดประจำเดือน และจะพบแค่ 1-2 วันเท่านั้น อาการของเลือดล้างหน้า  อาการของเลือดล้างหน้า หรือเลือดล้างหน้าเด็กโดยทั่วไป มีดังนี้  เลือดที่ออกจากช่องคลอดมีสีชมพูจาง ๆ หรือสีน้ำตาล ไม่เป็นสีแดงเข้มเหมือนเลือดประจำเดือน  ปริมาณเลือดที่ออกมาไม่เยอะเหมือนเลือดประจำเดือน อาจมีอาการนานประมาณ 1-2 วัน  นอกจากนี้ อาการเลือดล้างหน้ายังอาจเกิดพร้อมกับสัญญาณที่บ่งบอกการตั้งครรภ์อื่น ๆ เช่น   เจ็บหรือคัดตึงเต้านม เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย  คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ  อารมณ์แปรปรวน อยากอาหาร  ถ่ายปัสสาวะบ่อย  สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เลือดออกจากช่องคลอด  นอกเหนือจากเลือดล้างหน้าเด็กแล้ว อาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ […]


ไตรมาสที่ 1

ท้อง 2 เดือน การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่และทารกในครรภ์

การตั้งท้อง 2 เดือน (5-8 สัปดาห์) ถือเป็นช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก อาจไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ จนอาจดูแลครรภ์ไม่เหมาะสมและส่งผลกระทบต่อตัวเองและทารกได้ การทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อตั้ง ท้อง 2 เดือน เช่น คลื่นไส้หรือแพ้ท้อง คัดเต้านม จึงอาจช่วยให้สามารถดูแลตัวเองและทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากสงสัยว่าตั้งท้องหรือไม่ สามารถทดสอบการตั้งครรภ์เบื้องต้นได้ด้วยชุดตรวจครรภ์ที่หาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป หรือเข้ารับการตรวจครรภ์โดยคุณหมอ เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำขึ้น การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ท้อง 2 เดือน ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและอารมณ์ต่างกัน ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) หรือฮอร์โมนตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงที่อาจพบได้ในคุณแม่ตั้งท้อง 2 เดือน มีดังนี้ มีเลือดออกทางช่องคลอด เนื่องจากไข่กับอสุจิปฏิสนธิกันและกลายเป็นตัวอ่อนฝังอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก บางครั้งอาจส่งผลให้ปวดท้อง ปวดเกร็งท้องน้อยด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีเลือดออกมาก และปวดท้องรุนแรง ควรเข้าพบคุณหมอทันที คุณหมอจะได้ตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุ ว่าเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นหรือไม่ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก การแท้งบุตร ตกขาว การมีตกขาวในช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องปกติ เว้นแต่ตกขาวจะส่งกลิ่นเหม็น และเปลี่ยนสีจากสีขาวใสเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในช่องคลอด ที่ควรเข้าพบคุณหมอทันที คัดเต้านม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเมื่อตั้งครรภ์ เช่น […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่ และการดูแลตัวเองเมื่อรู้ว่าท้อง

อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่ หนึ่งในคำถามของผู้ที่ต้องการมีลูก และผู้ที่กังวลว่าจะตั้งครรภ์ อาการคนท้องอาจเริ่มมีอาการแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่จะมีอาการในช่วงอายุครรภ์ 6-12 สัปดาห์ โดยอาจมีอาการแพ้ท้อง เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อารมณ์แปรปรวน ในขณะที่บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องนานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจควรซื้อที่ตรวจครรภ์ในร้านขายยามาทดสอบ หรือไปหาคุณหมอ เพื่อความแน่ชัดว่าตั้งท้องหรือไม่ [embed-health-tool-”due-date”] อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่ มีอะไรบ้าง อาการของคนท้องอาจแสดงให้เห็นผ่านทางการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ ในช่วงอายุครรภ์ 6-12 สัปดาห์ ดังต่อไปนี้  การเปลี่ยนทางด้านอารมณ์ อาจเกิดอาการอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากความเหนื่อยล้า และฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง เมื่อตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในเลือดจะเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับมีบุตร อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ทำให้รู้สึกอ่อนไหว มีความสุข หรือเศร้า รวมถึงความวิตกกังวล  ควรดูแลรักษาสุขภาพจิตให้ดีเพื่อป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  สัญญาณแรกของการตั้งท้องอาจเป็นประจำเดือนขาด อย่างไรก็ตาม อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอื่น ๆ ดังต่อไปนี้  ประจำเดือนขาด สำหรับผู้ที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ  หากประจำเดือนมาช้ากว่าเวลาที่คาดว่าจะมา 1 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเป็นสัญญาณว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่ความเครียดและความวิตกกังวลก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีรอบเดือนผิดปกติอาจเข้าใจผิดได้ เลือดออกจากช่องคลอด มีลักษณะกะปริบกะปรอยเหมือนเวลาประจำเดือนใกล้หมด แต่ไม่ใช่ประจำเดือน คนทั่วไปอาจจะเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าตัวอ่อนที่ปฏิสนธิฝังตัวอยู่ในมดลูกแล้ว แต่ถ้ามีอาการเลือดออกร่วมกับปวดท้องน้อย หรือปริมาณเลือดที่ออกมากเกินไป […]


ไตรมาสที่ 1

ท้อง 3 เดือน การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่และทารกในครรภ์

การตั้งครรภ์มีทั้งหมด 3 ไตรมาส โดยคุณแม่ที่ตั้ง ท้อง 3 เดือน หรือ 12 สัปดาห์นั้นจะอยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ที่อาจเริ่มมีสุขภาพร่างกาย อารมณ์และจิตใจเปลี่ยนแปลง รวมถึงทารกในครรภ์ที่อาจมีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งช่วงเวลานี้คุณแม่ควรเอาใจใส่ด้านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ควรยกของหนักจนกว่าจะคลอด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และควรเข้ารับการตรวจครรภ์ทุกครั้งตามที่คุณหมอกำหนด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ท้อง 3 เดือน เมื่อคุณแม่เข้าสู่ช่วงการตั้งท้อง 3 เดือน อาการแพ้ท้องอาจจะเริ่มดีขึ้น ความรู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้นหรือบางคนอาจไม่มีความอยากอาหารใด ๆ แต่ส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ เต้านมขยาย เจ็บหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้ท่อน้ำนมเตรียมพร้อมให้ลูกได้กินหลังคลอด โดยอาจทำให้คุณแม่มีหน้าอกขยาย รวมถึงเจ็บหน้าอกในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งคุณแม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ด้วยการเปลี่ยนเสื้อชั้นในให้มีขนาดที่พอดีใเต้านม ไม่คับ หรือไม่หลวมจนเกินไป และต้องไม่มีโครง และไม่ควรกลับไปใช้เสื้อชั้นในขนาดเดิมจนกว่าลูกจะหย่านม  มีเลือดออกทางช่องคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยในช่วงการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากเป็นสัญญาณของการปฏิสนธิตัวอ่อนที่ได้ฝังตัวอยู่ในมดลูก แต่หากคุณแม่มีเลือดออกปริมาณมาก พร้อมมีอาการตะคริวบริเวณช่องท้อง หรือปวดท้องรุนแรง ควรเข้าพบคุณหมออย่างทันท่วงที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือภาวะแท้งบุตร น้ำหนักเพิ่ม  คุณแม่ที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมากแรก แต่ถึงอย่างไรหากคุณแม่มีน้ำหนักเพิ่มมากจนเกินไปคุณหมออาจช่วยแนะนำวิธีการลดน้ำหนักลงหรือวิธีเพิ่มน้ำหนักในระดับที่พอดี ซึ่งไตรมาสแรกคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มอยู่ที่ 3-6 ปอนด์ (1.36-2.72 กิลโกรัม) และควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ขนมปังโฮลเกรน […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ สังเกตอย่างไร

เมื่อผู้หญิงประจำเดือนขาดและตรวจการตั้งครรภ์โดยชุดตรวจตั้งครรภ์ทางปัสสาวะแล้วพบว่าตัวเองตั้งครรภ์ อาจเข้าใจผิดว่าตัวเองตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ แต่ในทางการแพทย์จะตรวจการตั้งครรภ์ได้จากฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ในปัสสาวะซึ่งพบได้เมื่อตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกและสร้างรกแล้ว อย่างไรก็ตาม อาจมี อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่สังเกตได้และถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ ซึ่งในแต่ละคนอาจมีอาการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ประจำเดือนขาด คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปรวน คัดตึงเต้านม อาการเหล่านี้เป็นอาการที่ควรสังเกตเพื่อการดูแลสุขภาพครรภ์ที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น [embed-health-tool-”due-date”] สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์ เมื่อประจำเดือนขาดและตรวจการตั้งครรภ์ด้วยชุดตรวจตั้งครรภ์ทางปัสสาวะแล้วพบว่าตัวเองตั้งครรภ์ อาจทำให้ผู้หญิงเข้าใจว่าตัวเองตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ แต่ในทางการแพทย์จะตรวจการตั้งครรภ์ได้จากฮอร์โมนเอชซีจี (hCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin Hormone) ในปัสสาวะ ซึ่งจะพบได้เมื่อตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกและสร้างรกแล้ว เพราะฮอร์โมนเอชซีจีสร้างมาจากรก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 4-5 สัปดาห์ทางการแพทย์ โดยการนับอายุครรภ์ทางการแพทย์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (Last Menstrual Period หรือ LMP) อาการคนท้อง 1 สัปดาห์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะเกือบทุกส่วน ทั้งนี้ สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนี้ ประจำเดือนขาด […]


ไตรมาสที่ 1

ท้องเดือนแรก อาการที่ควรรู้ และความเสี่ยงสุขภาพที่อาจพบ

การท้องไตรมาสแรก โดยเฉพาะ ท้องเดือนแรก เป็นช่วงที่สำคัญ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของการปฏิสนธิและพัฒนาตัวอ่อนในท้อง คุณแม่จึงควรได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพอย่างใกล้ชิดนอกจากนี้ ควรมีการปรับตัวและเรียนรู้ถึงความเสี่ยงของการท้องนอกมดลูก การแท้งบุตร ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้คุณแม่และทารกในท้องมีสุขภาพที่ดี [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ท้องเดือนแรก การท้องเดือนแรก ฮอร์โมนและร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนแปลง และมีการพัฒนาของตัวอ่อนเกิดขึ้น ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1-2 เมื่อถึงช่วงตกไข่เยื่อบุมดลูกจะเริ่มหนาขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ บางคนอาจมีอาการตกขาวในช่วงวันตกไข่ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิภายใน 24-72 ชั่วโมง จะเคลื่อนตัวจากท่อนำไข่เข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อทำการฝังตัวและพัฒนาเป็นตัวอ่อนต่อไป สัปดาห์ที่ 3 ในช่วงสัปดาห์นี้ยังไม่มีอาการหรือสัญญาณการท้องเกิดขึ้น แต่ฮอร์โมนจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังร่างกายให้หยุดการมีประจำเดือน ตัวอ่อนในช่วงสัปดาห์นี้ยังมีขนาดเล็กมาก เป็นเพียงกลุ่มเซลล์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และเริ่มพัฒนาเป็นเอ็มบริโอ (Embryo) ที่อยู่ด้านใน ส่วนชั้นนอกจะพัฒนาเป็นรก ซึ่งโครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจนจากคุณแม่สู่ทารก และแลกเปลี่ยนของเสียจากทารกสู่คุณแม่ สัปดาห์ที่ 4 คุณแม่อาจเริ่มมีอาการคัดตึงที่หน้าอก หน้าอกบวม หรืออาการอื่น ๆ และตัวอ่อนจะเริ่มฝั่งตัวอยู่ในมดลูก น้ำคร่ำเพิ่มมากขึ้น รกเริ่มพัฒนาเพื่อทำหน้าที่นำออกซิเจนและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงทารก ในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่อาจสามารถทดสอบการตั้งครรภ์ได้เองที่บ้าน อาการคนท้องเดือนแรก คนท้องในช่วงไตรมาสแรกจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกาย ทำให้ คนท้องเดือนแรก อาจมีอาการ ดังนี้ ประจำเดือนไม่มา อารมณ์แปรปรวน เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ เต้านมบวมและไวต่อความรู้สึก ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น หรือไม่ชอบอาหารบางชนิด ปวดท้องหรือมีอาการแพ้ท้อง ท้องผูก เสียดท้อง ปัสสาวะบ่อยขึ้น […]


ไตรมาสที่ 1

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง รับมืออย่างไรดี

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจมี อาการแพ้ท้อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไปในไตรมาสแรก แต่ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้อาเจียนที่รุนแรงผิดปกติ อาจเป็น อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์หรือมีแพลนที่จะตั้งครรภ์ควรระมัดระวังและอาจจะต้องทำความเข้าใจกับอาการเหล่านี้ เพื่อที่จะได้สังเกตตัวเองและไปหาคุณหมอได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-due-date] อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คืออะไร อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum) เป็นอาการคลื่นไส้และอาเจียนรุนแรงต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ โดยจะเป็นหนักและนานกว่า อาการแพ้ท้อง ปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงอาจมีอาการแตกต่างจาก อาการแพ้ท้อง ปกติ โดยสามารถพบได้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ สำหรับอาการที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้มากกว่า 3-4 ครั้ง/วัน อาเจียนขั้นรุนแรง จนไม่สามารถทำอะไรได้เลย รู้สึกวิงเวียนและมึนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย เป็นลมบ่อย มีอาการเบื่ออาหาร หรือไม่สามารถรับประทานอาหารใด ๆ ได้เลย ปัสสาวะน้อย ท้องผูก มีน้ำลายมากเกินปกติ ภาวะดีซ่าน ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากเสียน้ำออกจากร่างกายมาก ความดันโลหิตต่ำ ผิวหนังขาดความชุ่มชื่น และยืดหยุ่น น้ำหนักลดต่ำกว่าช่วงก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 5 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่ทำให้เกิด อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า เพราะเหตุใดคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงมี อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง แต่อาจจะเป็นเพราะปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม