ไตรมาสที่ 1

การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาสำคัญที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะนั่นอาจหมายถึงความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 1

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดท้อง1เดือน จะยังไม่เป็นที่สังเกตได้เนื่องจากหน้าท้องของคุณแม่ยังไม่ขยายใหญ่แต่อาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนไม่มา อารมณ์แปรปรวน หน้าอกขยายและคัดตึง ปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้ ยังนับเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก เนื่องจากอยู่ในระยะที่ทารกกำลังค่อย ๆ เติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ คุณแม่จึงต้องคอยดูแลตัวเองทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามอายุครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือ 4 สัปดาห์แรกขนาดท้องมักไม่ต่างจากก่อนตั้งครรภ์เลย เนื่องจากทารกยังตัวเล็กมากและยังไม่เจริญเติบโตมากพอที่จะทำให้หน้าท้องขยาย โดยทั่วไป ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนเห็นได้ชัดในช่วงเดือนที่ 4-5 หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และจะขยายใหญ่ตามอายุครรภ์มากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาการของคนท้องจะไม่สามารถเห็นได้จาก ขนาดหน้าท้อง1เดือน แต่ก็อาจสังเกตได้ด้วยตัวเองจากอาการร่วมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ระยะแรก ควรตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนไม่ปกติ อาจรอประมาณ 1-2 เดือน หากประจำเดือนยังไม่มาควรตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองหรือไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ หน้าอกขยายและคัดตึง เนื่องจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์จึงอาจทำให้หน้าอกคัดตึง บวม หรือเจ็บ เส้นเลือดอาจมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น และหัวนมอาจดำคล้ำ ทั้งนี้ อาการต่าง ๆ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 1

ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์

พัฒนาการของทารกในครรภ์จะเริ่มต้นเมื่อไข่ผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก และเมื่อค่อย ๆ เจริญเติบโต ทารกจะเริ่มมีอวัยวะต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจเกิดความสงสัยว่า ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์ จึงจะสามารถได้ยินเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ หรือเสียงเพลงที่คุณพ่อคุณแม่เปิดให้ฟัง โดยปกติแล้ว ทารกในครรภ์จะเริ่มมีหูในช่วงสัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์ และจะสมบูรณ์เต็มที่จนสามารถได้ยินเสียงประมาณสัปดาห์ที่ 16-35 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น การทราบถึงพัฒนาการในช่วงต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่ดูแลสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์ ทารกจะเริ่มมีหูตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และจะค่อย ๆ พัฒนาจนสมบูรณ์เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือประมาณเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ โดยหูอาจประกอบด้วย 3 โครงสร้างที่จะพัฒนาไปตามลำดับ ดังนี้ การพัฒนาหูชั้นใน หูชั้นในของทารกจะเริ่มพัฒนาภายใน 5 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยจะเริ่มต้นจากการพัฒนาของเนื้อเยื่อเล็ก […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้องอ่อน ๆ และการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

อาการ คน ท้อง อ่อน ๆ อาจสังเกตได้จากการที่ประจำเดือนขาด มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เต้านมและหัวนมขยายใหญ่และคัดตึง อยากอาหารมากกว่าปกติ ถ่ายปัสสาวะบ่อย เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวร่วมกับเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันในช่วงไม่นานมานี้ ควรใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์เพื่อยืนยันผล หากพบว่าตั้งครรภ์ควรไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์ และควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เช่น ออกกำลังกายบ่อย ๆ งดสูบบุหรี่ ลดการดื่มกาแฟ เพื่อให้เด็กในครรภ์เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน [embed-health-tool-due-date] อาการ คน ท้อง อ่อน ๆ เป็นอย่างไร สัญญาณและ อาการ คน ท้อง อ่อน ๆ อาจมีดังนี้ ประจำเดือนขาด ภาวะประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนไม่มามักเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อเกิดการปฏิสนธิ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่หยุดการตกไข่และยับยั้งการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ส่งผลให้ประจำเดือนขาด แต่บางครั้งคนท้องอาจมีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณเล็กน้อยในช่วงเวลาที่ควรมีประจำเดือน เลือดลักษณะนี้เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก เกิดจากตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก ทำให้หลอดเลือดฝอยในมดลูกแตกและมีเลือดไหลออกจากช่องคลอด มักเกิดขึ้นหลังปฏิสนธิประมาณ 10-14 วัน คลื่นไส้และอาเจียน คนท้องในระยะแรกมักมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนเอชซีจี (Human […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้อง1เดือน เป็นอย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

อาการคนท้อง1เดือน อาจไม่เด่นชัดจนเป็นที่สังเกต เนื่องจากยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ หน้าท้องยังไม่ขยายใหญ่และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน โดยทั่วไป อาการเริ่มต้นที่อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ ได้แก่ ประจำเดือนไม่มา ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หากมีอาการดังกล่าวหรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรตรวจครรภ์ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจครรภ์โดยคุณหมอ หากผลออกมาว่าตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ และศึกษาวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ อาการคนท้อง1เดือน มีลักษณะอย่างไร ลักษณะของอาการคนท้อง 1 เดือน หรือช่วง 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจมีดังนี้ ประจำเดือนไม่มา โดยปกติแล้ว สัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์จะตรงกับช่วงเวลาที่ผู้หญิงเป็นประจำเดือน ซึ่งเป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมให้ตัวอ่อนมาฝังตัวและเจริญเติบโตหลุดลอกออกจากมดลูกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน เนื่องจากไข่กับอสุจิไม่ได้ผสมกันและไม่มีตัวอ่อน แต่หากประจำเดือนไม่มาในช่วงที่ควรมีประจำเดือน อาจหมายถึงไข่และอสุจิผสมกันอย่างสมบูรณ์และกลายเป็นตัวอ่อนไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก จึงทำให้ไม่มีเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมา อาการประจำเดือนไม่มาจึงอาจเป็นสัญญาณแรก ๆ ที่แสดงว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ มีเลือดออกจากช่องคลอด คนท้อง 1 เดือนอาจมีเลือดสีชมพูอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลคล้ายประจำเดือนหรือที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) ไหลออกมาจากช่องคลอด เลือดล้างหน้าเด็กเกิดจากตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับเยื่อบุโพรงมดลูกจนทำให้หลอดเลือดฝอยในมดลูกแตก มักเกิดขึ้นภายใน 10-14 วันหลังเกิดการปฏิสนธิ เลือดล้างหน้าเด็กที่ออกมาอาจมีลักษณะกะปริบกะปรอย เป็นจุดเล็ก ๆ ปริมาณน้อยกว่าประจำเดือนปกติ […]


ไตรมาสที่ 1

ท้อง2สัปดาห์ มีอาการอย่างไร และคุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ในทางการแพทย์ คุณหมอจะนับอายุครรภ์ตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งจะถูกประเมินเป็นสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้กำหนดวันคลอดได้อย่างถูกต้อง การ ท้อง2สัปดาห์ คือช่วงไข่ตก (Ovulation) ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ร่างกายจะปล่อยไข่ออกจากรังไข่ไปยังท่อนำไข่ เพื่อให้ไข่และอสุจิได้ผสมกันและปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน ซึ่งอาจทำให้มีอาการที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น มีมูกไข่ตกออกจากช่องคลอด มีความต้องการทางเพศมากขึ้น ปวดท้องส่วนล่างข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นขณะตั้งท้องในสัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อสุขภาพของตัวเองและเด็กในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] เริ่มนับอายุครรภ์ตอนไหน เพื่อความสะดวกในการคำนวณวันกำหนดคลอดที่แม่นยำที่สุด สูตินรีแพทย์จะเริ่มนับอายุครรภ์ตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ก่อนจะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ดังนั้น อายุครรภ์ 2 สัปดาห์จึงยังไม่ได้เป็นช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์จริง ๆ แต่เป็นช่วงไข่ตกซึ่งอยู่ในช่วงประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน ในช่วงนี้รังไข่จะผลิตและปล่อยไข่ออกมา ไข่ที่ปล่อยออกมานั้นจะมารอผสมกับอสุจิที่บริเวณปลายท่อนำไข่ หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 2-3 วันหลังวันไข่ตกโดยไม่คุมกำเนิดและหลั่งน้ำอสุจิในช่องคลอด ก็มีโอกาสที่ไข่และอสุจิจะผสมกันแล้วปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อน ประมาณ 5-6 วันหลังการตกไข่ หรือสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก และเจริญเติบโตต่อไปอย่างปลอดภัย ถือว่าเป็นช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ที่มีเด็กถือกำเนิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ อาการของคุณแม่ ท้อง2สัปดาห์ หรือช่วงไข่ตก อาการของคุณแม่ในช่วงที่ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ มักเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายในช่วงที่ไข่กำลังตก ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสในการตั้งครรภ์สูง อาการขณะไข่ตก อาจมีดังต่อไปนี้ […]


ไตรมาสที่ 1

พุงคนท้องระยะแรก มีลักษณะอย่างไร

พุงคนท้องระยะแรก อาจมีลักษณะขยายใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่บางคนก็อาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากทารกยังคงมีขนาดตัวเล็กอยู่ แต่อาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนขาด เต้านมคัด อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนง่าย หากทราบว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการให้ทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ลักษณะของ พุงคนท้องระยะแรก ลักษณะของพุงคนท้องระยะแรก อาจสังเกตได้ดังนี้ พุงขยายใหญ่ขึ้น และยื่นออกมาด้านหน้าเล็กน้อย สะดืออาจมีลักษณะแบนราบหรือนูนออกมา บางคนอาจรู้สึกปวดสะดือเมื่อสัมผัสบริเวณหน้าท้อง อย่างไรก็ตาม พุงคนท้องระยะแรกของบางคนอาจแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ได้เช่นกัน อาการของคนท้องระยะแรก นอกเหนือจากการขยายของพุงคนท้องระยะแรก ยังอาจสังเกตอาการคนท้องอื่น ๆ ได้อีก ดังนี้ เลือดออกทางช่องคลอด คุณแม่ที่ตั้งท้องอาจมีเลือดออกทางช่องคลอด หรือที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนในเยื่อบุโพรงมดลูก และอาจมีอาการปวดเกร็งท้องน้อยร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่ามีเลือดออกในปริมาณมาก ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือการแท้งบุตร เต้านมคัด เต้านมขยาย การตั้งครรภ์อาจส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมผลิตน้ำนมสำหรับทารก ทำให้มีอาการคัดเต้า เจ็บเต้านม และเต้านมขยายใหญ่ขึ้น โดยสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการสวมเสื้อชั้นในที่สวมใส่สบาย ไม่กดทับเต้านม คัดจมูก ร่างกายของคุณแม่อาจผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นการผลิตเลือดไปหล่อเลี้ยงทารก ซึ่งอาจทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวม และส่งผลให้มีอาการคัดจมูกและน้ำมูกไหล แพ้ท้อง คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น บางคนอาจมีความรู้สึกอยากรับประทานอาหารแปลก ๆ หรืออาจรู้สึกเหม็นกลิ่นอาหารบางชนิด […]


ไตรมาสที่ 1

อาหารบำรุงคนท้องอ่อนๆ ที่ดีต่อสุขภาพแม่และลูกน้อย

การเลือก อาหารบำรุงคนท้องอ่อนๆ ที่เหมาะสม ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรละเลย คนท้องอ่อน ๆ ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายและควรได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อช่วยบำรุงสุขภาพคุณแม่ให้แข็งแรงและช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยังควรศึกษาอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงท้องอ่อนๆ หรือตั้งครรภ์ระยะแรกด้วย เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพทารกในครรภ์ ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้และอาเจียน หากอาการแพ้ท้องรุนแรงและส่งผลให้รับประทานอาหารไม่ได้ตามปกติ อาจทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยงขาดสารอาหารได้ จึงควรรีบไปพบคุณหมอทันที อาหารบำรุงคนท้องอ่อนๆ มีอะไรบ้าง อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนท้องอ่อนๆ หรือตั้งครรภ์ในระยะแรก อาจมีดังนี้ กรดโฟลิค วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิค บางครั้งเรียกว่าโฟเลต เป็นวิตามินที่มีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและเม็ดเลือดแดง ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะความพิการของทารกได้ คุณแม่จึงควรได้รับกรดโฟลิคให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยคุณหมอจะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิคในรูปแบบอาหารเสริมทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์  กรดโฟลิคสามารถพบได้ในอาหารทั่วไป โดยพบได้มากในผักใบเขียว และพบรองลงมาในเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิค เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี กะหล่ำปลี บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลิสง ส้ม มะนาว มะเขือเทศ และในเนื้อสัตว์ เช่น ปลา เครื่องในสัตว์ ตับ ไต ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับหญิงตั้งครรภ์ […]


ไตรมาสที่ 1

ลูก หลุด 1 เดือน อาการ สาเหตุ และการดูแลตัวเอง

ลูก หลุด 1 เดือน หรือการ แท้งลูก อาจเกิดขึ้นจากปัญหาการเจริญพันธุ์ ปัญหาทางโครโมโซม ปัญหาจากฮอร์โมน หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ของคุณแม่ เช่น การทำงานหนัก การออกกำลังกายหนัก การยกของหนัก ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหดตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ปวดท้อง ปวดหลังรุนแรง มีเลือดและเนื้อเยื่อออกมาทางช่องคลอด ซึ่งควรเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อตรวจความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ลูก หลุด 1 เดือน มีอาการอย่างไร ลูก หลุด 1 เดือนอาจสังเกตอาการที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ ตะคริว และการหดตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ปวดท้อง ปวดอุ้งเชิงกราน และหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้ามาก มีเลือดออกและอาจมีเนื้อเยื่อสีขาวไหลออกมาทางช่องคลอดพร้อมกับลิ่มเลือด สำหรับบางคน ลูก หลุด 1 เดือนอาจไม่สังเกตเห็นสัญญาณแท้งลูกที่เกิดขึ้น แต่อาจพบว่าไม่มีอาการแพ้ท้องหรืออาการของการตั้งครรภ์อื่น ๆ เช่น คัดตึงเต้านม คลื่นไส้อาเจียน จึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่ออัลตราซาวด์ดูทารกในครรภ์ตามนัดหมายของคุณหมอ สาเหตุของลูก หลุด 1 เดือน ลูก หลุด […]


ไตรมาสที่ 1

อายุครรภ์2เดือน พัฒนาการของทารก และการดูแลตัวเอง

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์2เดือน เป็นช่วงที่ฮอร์โมนการตั้งครรภ์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น แพ้ท้อง อารมณ์แปรปรวน ตกขาว อ่อนเพลีย คัดเต้านม ดังนั้น จึงควรดูแลตัวเองและทารกในครรภ์ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และเข้ารับการตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกอายุครรภ์ 2 เดือน ทารกอายุครรภ์ 2 เดือน มีพัฒนาการและการเจริญเติบโต ดังนี้ ทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 5 จะมีการสร้างลำตัวซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว รวมถึงมีการแยกตัวเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นนอกคือเอ็กโตเดิร์ม พัฒนาเป็นระบบประสาท หูชั้นใน ตา และสร้างเป็นผิวหนังชั้นนอก เมโซเดิร์ม (Mesoderm) ชั้นกลาง พัฒนาไปเป็นหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต และเอ็นโดเดิร์มชั้นใน จะพัฒนาขึ้นเป็นอวัยวะภายในต่าง ๆ ทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 6 เริ่มพัฒนาท่อประสาทหรือไขสันหลัง หัวใจ และศีรษะของทารก ลำตัวอาจโค้งงอคล้ายกับตัว C เริ่มเห็นหัวใจทารกเต้นได้อย่างชัดเจนจากการทำอัลตราซาวด์ ทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 7 เริ่มสร้างตา ปาก […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้องระยะแรก และวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง

อาการคนท้องระยะแรก เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ที่ควรให้ความสำคัญ หากมีอาการ เช่น ประจำเดือนไม่มา รู้สึกเหนื่อยล้า เต้านมขยายใหญ่ขึ้น หรือมีอาการแพ้ท้อง เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน เหนื่อยล้าผิดปกติ อาจสันนิษฐานได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ในเบื้องต้น ควรใช้ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจการตั้งครรภ์ที่สถานพยาบาลเพื่อยืนยันผล หากผลออกมาว่าตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลตัวเองและลูกน้อยในครรภ์ สำหรับบางคนอาจมีอาการแพ้ท้องรุนแรง หากดูแลตัวเองในเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง ควรเข้าไปพบคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และรับการรักษาอย่างตรงจุด อาการคนท้องระยะแรก มีอะไรบ้าง อาการต่อไปนี้อาจเป็นสัญญาณที่แสดงว่ากำลังตั้งครรภ์ในระยะแรก ประจำเดือนขาด หรือไม่มาเป็นปกติ ความเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนขาด ถือเป็นอาการคนท้องระยะแรกที่ทำให้คนส่วนใหญ่สงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ และตัดสินใจใช้ที่ตรวจครรภ์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยที่ตรวจครรภ์จะให้ผลที่แม่นยำ หากใช้หลังระยะเวลาที่ประจำเดือนควรมาไม่กี่วัน เจ็บบริเวณหน้าอก ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์ ประมาณ 1-2 สัปดาห์แรก บริเวณหน้าอกจะบวมและขยายใหญ่ขึ้น ลานนมหรือปานนมจะมีสีเข้มขึ้น มองเห็นเส้นเลือดได้อย่างชัดเจน ทั้งยังอาจรู้สึกคัดตึงเต้านม สัมผัสแล้วรู้สึกเจ็บ อาการในช่วงนี้อาจคล้ายกับอาการก่อนเป็นประจำเดือน เมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นได้แล้ว อาการจะเริ่มบรรเทาลง แต่อาจต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ รู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ ในช่วงตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเพศหญิง เช่น โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เอสโตรเจน (Estrogen) จะสูงขึ้นอย่างมาก เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ […]


ไตรมาสที่ 1

มีประจำเดือนแต่ท้อง อาการของเลือดล้างหน้าเด็ก

หลายคนอาจสงสัยว่า มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้หรือไม่ ความจริงแล้ว หากตรวจพบว่าตั้งครรภ์ทั้งที่มีเลือดออกจากช่องคลอด เลือดนั้นไม่ใช่ประจำเดือน แต่อาจเป็นเลือดที่ออกจากช่องคลอดหลังไข่ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว เมื่อตัวอ่อนตัวเข้ากับผนังมดลูก จะทำให้มีไหลออกจากช่องคลอดในปริมาณเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก อาการนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ และมักไม่มีอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากกังวลว่าเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อ ภาวะแท้ง ตั้งครรภ์นอกมดลูก ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม [embed-health-tool-due-date] เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร เลือดล้างหน้าเด็ก คือ เลือดที่ไหลออกจากช่องคลอดหลังตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก มีลักษณะเป็นจุดเลือดเล็ก ๆ อาจมีสีชมพูอ่อนหรือสีน้ำตาลเข้ม มักหยดกะปริบกะปรอย อาจเริ่มเกิดขึ้นประมาณ 6-12 วันหลังตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก และอาจเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ และจะหยุดไปเองโดยไม่ต้องรักษาหรือรับประทานยา โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Epidemiology เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ศึกษาเรื่องภาวะเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 4,539 คน พบว่า 1 ใน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม