การดูแลตัวเองหลังคลอด

แม้ว่าจะผ่านช่วงเวลาแห่งการคลอดไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะควรหยุดดูแลตัวเอง เพราะ การดูแลตัวเองหลังคลอด ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กับการดูแลขณะตั้งครรภ์เลยทีเดียว เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพดี ๆ เกี่ยวกับ การดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับคุณแม่ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลตัวเองหลังคลอด

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ การดูแลตัวเองหลังคลอด

การดูแลตัวเองหลังคลอด

แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง และที่ควรเลี่ยงมีอะไรบ้าง

การกินอาหารอย่างเหมาะสมหลังคลอดลูกมีประโยชน์ต่อสุขภาพของแม่และทารก จึงอาจทำให้แม่มือใหม่มีข้อสงสัยว่า แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยในการบำรุงและฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด ช่วยในการผลิตน้ำนมและเพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่ นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจมีสารปนเปื้อน เพราะเมื่อกินเข้าไปแล้วอาจส่งต่อจากแม่ไปสู่ทารกผ่านทางน้ำนม ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและพัฒนาการทางสมองของทารกได้ [embed-health-tool-due-date] แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง แม่มือใหม่หลายคนอาจมีคำถามว่า แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง ซึ่งเป้าหมายในการเลือกกินอาหารของแม่ลูกอ่อน คือ การกินอาหารที่ช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดและช่วยผลิตน้ำนม ซึ่งแม่ลูกอ่อนจึงควรได้รับพลังงานประมาณ 1,800-2,000 แคลอรี่/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น อาหารที่แม่ลูกอ่อนกินได้ อาจมีดังนี้ โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่ว ธัญพืช นม ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เต้าหู้ ซึ่งอาจช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด ช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมและสารอาหารในน้ำนม ผักและผลไม้ เช่น ฟักทอง หัวปลี คะน้า มะละกอ กล้วย เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของแม่ลูกอ่อน และอาจช่วยเพิ่มสารอาหารในน้ำนมซึ่งส่งผลดีต่อทารก นอกจากนี้ ใยอาหารยังอาจช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย แคลเซียม เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาตัวเล็กที่กินกระดูกได้ อาจช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกที่สูญเสียไปในขณะตั้งครรภ์ ธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือดหมู เลือดไก่ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลา 3 ระยะ สังเกตอย่างไร และวิธีดูแลเมื่อมีน้ำคาวปลา

น้ำคาวปลา (Lochia) เป็นของเหลวและเศษชิ้นส่วนเนื้อเยื่อภายในมดลูกที่ถูกขับออกมาจากช่องคลอดหลังคลอดบุตร คุณแม่หลังคลอดอาจมี น้ำคาวปลา 3 ระยะ ได้แก่ น้ำคาวปลาแดง พบในช่วง 3-4 วันหลังคลอด น้ำคาวปลาเหลืองใส พบในช่วง 4-10 วันหลังคลอด และน้ำคาวปลาขาว พบในช่วง 10 วันขึ้นไปหลังคลอด ปกติแล้ว น้ำคาวปลาไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และจะหยุดไหลไปเองภายในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด หากมีน้ำคาวปลาไหลออกมาจากช่องคลอด คุณแม่หลังคลอดสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดีอยู่เสมอ สวมแผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัยเพื่อซึมซับน้ำคาวปลา รวมไปถึงพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ หากผ่านไปหลายสัปดาห์แล้วยังมีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณมากร่วมกับมีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย อาจเป็นสัญญาณของภาวะตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้หากน้ำคาวปลามีลักษณะที่เปลี่ยนแปลง เช่น สีข้นเหม็นขึ้น ร่วมกับมีการปวดท้อง อาจสงสัยภาวะการติดเชื้อ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-due-date] น้ำคาวปลา 3 ระยะ มีอะไรบ้าง น้ำคาวปลา คือ เลือด เยื่อเมือกปากมดลูก เนื้อเยื่อโพรงมดลูกและเนื้อเยื่อของทารกที่เหลืออยู่ น้ำคร่ำ แบคทีเรียและจุลินทรีย์ ที่หลุดลอกออกมาหลังจากรกลอกตัวออกจากโพรงมดลูกและไหลออกจากช่องคลอด มีลักษณะคล้ายประจำเดือนและอาจมีกลิ่นอับหรือเหม็นเปรี้ยว น้ำคาวปลาที่ไหลออกมาเป็นภาวะทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดทุกคน โดยทั่วไปน้ำคาวปลาอาจหลั่งออกมาหลายสัปดาห์กว่าจะหมด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาการตกเลือดหลังคลอด การรักษาและการป้องกัน

อาการตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะที่มีการเสียเลือดภายหลังคลอดมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายกับมารดาตามมา เช่น ภาวะซีด ความดันโลหิตลง ช็อค และเสียชีวิตได้ ซึ่วงภาวะการตกเลือดหลังคลอดนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับ1ของสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้น การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด อาจช่วยให้คุณหมอสามารถดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ มีการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันอาการตกเลือดหลังคลอดที่อาจเกิดขึ้น หรือกรณีที่เกิดแล้วได้รัยบการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถทำให้ลดการสูญเสียได้ [embed-health-tool-due-date] ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร ตกเลือดหลังคลอด คือภาวะที่มีการเสียเลือดภายหลังคลอดมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ส่งผลให้เกิดภาวะซีด ความดันตก และเสียชีวิตได้โดยอาการตกเลือดหลังคลอดแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ การตกเลือดหลังคลอดปฐมภูมิ คือการตกเลือดที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และการตกเลือดทุติยภูมิ คือการตกเลือดภายหลัง 24 ชั่วโมงหลังคลอดและอยู่ภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด สาเหตุที่พบบ่อยของการตกเลือดหลังคลอด มีดังนี้ ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (Uterine Atony) เป็นภาวะที่มดลูกไม่หดตัวทำให้ไม่สามารถยึดหลอดเลือดในรกได้ ส่งผลให้เสียเลือดมากหลังคลอด รกไม่คลอดออกมาหรือรกคลอดออกมาไม่ครบสมบูรณ์ (Retained Placental Tissue) เป็นภาวะที่ชิ้นส่วนรกที่ยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก ส่งผลให้มดลูกไม่สามารถหดตัวได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีเลือดออกมากหลังคลอด การบาดเจ็บ ( Trauma) […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาหารคุณแม่หลังคลอด ควรกินอะไรดี

อาหารคุณแม่หลังคลอด เป็นอาหารที่สำคัญต่อการฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บขณะคลอด ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและสร้างเม็ดเลือด ทั้งยังช่วยในการผลิตน้ำนมสำหรับทารกแรกเกิด คุณแม่จึงควรกินอาหารที่มีสารอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ วิตามินและเกลือแร่ เป็นประจำทุกวัน เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ อาหารคุณแม่หลังคลอด ควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง คุณแม่หลังคลอดควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ วิตามินและเกลือแร่ โดยคุณแม่หลังคลอดต้องการพลังงานประมาณ 1,800-2,000 แคลอรี่/วัน เพื่อฟื้นฟูร่างกายที่ได้บาดเจ็บจากการคลอดลูกและสำหรับให้นมลูก โดยสารอาหารที่ควรได้รับหลังคลอด อาจมีดังนี้ คาร์โบไฮเดรตที่อุดมไปด้วยแป้งและใยอาหาร เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ เมล็ดพืช ขนมปังโฮลเกรน ผักใบเขียว เพื่อเพิ่มพลังงานและช่วยในการขับถ่าย โปรตีน เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่ติดหนัง อาหารทะเล ไข่ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและฟื้นฟูร่างกายจากการคลอดลูก น้ำ คุณแม่หลังคลอดและให้นมลูกอาจเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ เนื่องจากร่างกายต้องการน้ำมากเพื่อใช้ในการผลิตน้ำนม คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 2.7 ลิตร/วัน แคลเซียม ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัม/วัน จากอาหาร เช่น นมไขมันต่ำ ชีส โยเกิร์ต เพื่อเสริมสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูกของคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์ทารกจะดึงเอาแคลเซียมจากคุณแม่จึงอาจทำให้กระดูกคุณแม่อ่อนแอลง ธาตุเหล็ก ควรได้รับ 9-10 […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร และควรดูแลอย่างไร

ท้องลายหลังคลอด อาจเกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายตัวอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ จนส่งผลให้โครงสร้างของผิวหนังเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันจนเกิดเป็นรอยแตกลาย เมื่อคลอดแล้ว รอยแตกลายนั้นก็ยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าท้องลายหลังคลอดจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่ก็อาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพผิวหลังคลอดเพื่อให้ริ้วรอยต่าง ๆ ลดลง ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร ท้องลายหลังคลอด อาจเกิดจากการยืดและขยายของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้โครงสร้างของคอลลาเจนและอีลาสติน (Elastin) ที่ช่วยเสริมความยืดหยุ่นและการสมานตัวของผิวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพผิวอ่อนแอ ขาดความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น เมื่อผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้เกิดรอยแตกลายได้ง่ายและอาจขยายเป็นวงกว้างได้มากกว่าผู้ที่มีสุขภาพผิวแข็งแรง นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) รวมทั้งระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเครียดขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้เส้นใยและความยืดหยุ่นของผิวอ่อนแอลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกลายขณะตั้งครรภ์ การดูแลท้องลายหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอดบางคนอาจมีอาการท้องลายหลังคลอดเกิดขึ้นได้ การดูแลผิวด้วยวิธีต่อไปนี้อาจช่วยทำให้ท้องลายหลังคลอดดีขึ้นได้ ดังนี้ ดื่มน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร เป็นประจำทุกวัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือยาเรตินอยด์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอี ไฮดรอกซีโพรลิซิเลน-ซี (Hydroxyprolisilane-C) น้ำมันโรสฮิป (Rosehip Oil) ใบบัวบกและไตรเทอร์พีน (Triterpenes) เตรติโนอิน (Tretinoin) เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ลดรอยแตกลาย ป้องกันการลุกลามของรอยแตกลาย และอาจช่วยป้องกันการเกิดรอยใหม่ เลือกใช้ครีมกันแดดที่มี SPF30 ขึ้นไป เพื่อป้องกันผิวจากการถูกทำร้ายของรังสียูวีในแสงแดด ที่อาจทำให้เม็ดสีมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้น […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร

คุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด อาจประสบปัญหาแผลผ่าคลอดปริ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เนื้อตาย การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี แผลถูกกระทบกระเทือนหรืออาจเกิดจากภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อการสมานตัวของแผล เมื่อ แผลผ่าคลอดปริ อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด เลือดออกมาก มีไข้สูง มีหนอง หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดปริ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี การดูแลรักษาแผลอาจช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น แต่สำหรับบางคนอาจดูแลรักษาแผลได้ไม่ดีพอหรืออาจมีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของบาดแผล ทำให้แผลหายช้าลงจนเกิดแผลปริ แผลถูกกระทบกระเทือน หลังการผ่าคลอดคุณแม่ควรพักฟื้นและพักผ่อนให้เพียงพอและดูแลตนเอง เพื่อให้แผลสมานตัวดีและไม่เกิดปัญหาแผลปริ หลีกเลี่ยงการเกิดแรงกดทับหรือแรงดันที่ท้องมากเกินไป เช่น การอุ้มเด็กที่มีน้ำหนักมาก การยกของหนัก การลุกขึ้นจากท่านั่งยอง ๆ การเริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไป ซึ่งอาจส่งผลทำให้แผลเปิดหรือฉีกขาดได้ การติดเชื้อ แผลติดเชื้อจะทำให้การสมานตัวของแผลช้าลงหรืออาจทำให้เนื้อเยื่อตายจนแผลไม่สามารถสมานตัวต่อได้ ในบางกรณีรูปแบบการผ่าตัดคลอดอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแผลปริได้เช่นกัน โดยการผ่าคลอดอาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ผ่าตัดแนวตั้ง คือ แนวแผลจากใต้สะดือไปจนถึงไรขนอวัยวะเพศ ผ่าตัดแนวนอน คือ แนวแผลตามขวางบริเวณเหนือไรขนอวัยวะเพศ ซึ่งการผ่าตัดคลอดแบบแนวนอนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลปริน้อยกว่า การดูแลรักษาง่ายกว่า ซึ่งอาจทำให้แผลสมานตัวได้เร็ว อาการเมื่อแผลผ่าคลอดปริ ควรพบคุณหมอทันทีหากมีสัญญาณของแผลปริ ดังนี้ มีไข้สูง มีเลือดออกบริเวณแผลและช่องคลอด อาการปวดรุนแรง รอบแผลแดง หรือมีอาการบวมรอบแผล ลิ่มเลือดในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น บริเวณแผลมีกลิ่นเหม็น มีหนอง เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ การดูแลแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดปริอาจต้องมีการดูแลเป็นพิเศษเพื่อทำให้แผลหายสนิทและป้องกันแผลปริซ้ำ ดังนี้ การบรรเทาอาการปวด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน สาเหตุและการดูแล

สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด อาจต้องเผชิญกับปัญหา แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ แผลได้รับการกระทบกระเทือน พฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่อาจก่อให้เกิดการอักเสบของแผลบริเวณด้านในมดลูก ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีอาการปวดท้อง มีเลือดออกจากช่องคลอด มีไข้ ความดันโลหิตต่ำและวิงเวียนศีรษะ หากคุณแม่มีอาการผิดปกติ และคาดว่าแผลผ่าคลอดอักเสบ ควรรีบดูแลตนเองเบื้องต้นและเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที สาเหตุของแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและอาจคล้ายกับการเกิดแผลอักเสบภายนอก ดังนี้ อาจเกิดการติดเชื้อที่แผลจากภายใน การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณบาดแผลผ่าคลอดอาจทำให้เกิดการอักเสบภายในได้ โดยแบคทีเรียที่อาจพบได้บ่อย คือ สแตฟิโลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เชื้อเอนเทอโรคอคคัส (Enterococcus) เชื้ออีโคไล (Escherichia Coli หรือ E. Coli) โดยแผลผ่าคลอดภายในสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง เช่น การติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อจากกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อภายในได้ ดังนี้ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) เนื่องจากการติดเชื้อของน้ำคร่ำและรกในระหว่างรอคลอด การใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน เคยผ่านการผ่าตัดคลอดมาก่อน การสูญเสียเลือดมากเกินไประหว่างคลอดหรือการผ่าตัด แผลอาจได้รับการกระทบกระเทือน แผลผ่าคลอดอาจได้รับการกระทบกระเทือนจากการกดทับและเกิดแรงดันในมดลูก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการใส่เสื้อผ้าคับแน่น การยกของหนัก การออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งอาจส่งผลทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน และเกิดการฉีกขาดได้ อาจเกิดจากพฤติกรรมและภาวะสุขภาพที่ทำให้รักษาแผลได้ไม่ดี บางคนอาจมีปัญหาสุขภาพบางประการ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลาหลังคลอด คืออะไร แล้วกี่วันถึงจะหมด

หลังจากคลอดลูก ไม่ว่าจะเป็นการคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอด จะมีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากช่องคลอด หรือที่เรียกว่า น้ำคาวปลาหลังคลอด ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการกำจัดของเสีย เช่น เลือด เยื่อบุโพรงมดลูก เนื้อเยื่อรก ออกจากร่างกายของคุณแม่หลังคลอด ปริมาณน้ำคาวปลาที่ถูกขับออกมาของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ดังนั้น ช่วงหลังคลอดจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องคลอดให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้  น้ำคาวปลาหลังคลอด คืออะไร  น้ำคาวปลาหลังคลอด คือ ของเหลวที่ขับออกมาผ่านทางช่องคลอดหลังจากคลอดลูก ประกอบไปด้วยเลือด เยื่อบุโพรงมดลูก เนื้อเยื่อรก สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดทุกคน ไม่ว่าจะคลอดตามธรรมชาติหรือผ่าคลอด โดยทั่วไป น้ำคาวปลาหลังคลอดจะมีลักษณะคล้ายเลือดประจำเดือน ซึ่งระยะเวลาและปริมาณของน้ำคาวปลาที่ขับออกมานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  น้ำคาวปลาหลังคลอดจะหมดเมื่อไร  น้ำคาวปลาหลังคลอดแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้  ระยะที่ 1 ช่วง 1-3 วันหลังคลอด เลือดจะออกมามากที่สุด โดยลักษณะเลือดจะเป็นสีแดงเข้มหรือสีแดงสด เป็นลิ่มเลือดขนาดเล็ก หากมีขนาดใหญ่ควรไปพบคุณหมอ  ระยะที่ 2 ช่วง 4-10 วันหลังคลอด เลือดที่ขับออกมาทางช่องคลอดจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยลักษณะเลือดจะเป็นสีน้ำตาลอมชมพู และเหลวมากขึ้น ไม่ค่อยเป็นก้อนเหมือนช่วงระยะแรก  ระยะที่ 3 ช่วง 11-28 วันหลังคลอด ลักษณะเลือดจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอมชมพูเป็นสีขาวอมเหลือง […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แผลคลอดธรรมชาติกี่วันหาย

แผลคลอดธรรมชาติกี่วันหาย และการฟื้นตัวภายหลังแผลคลอดธรรมชาติใช้เวลานานเท่าไหร่ อาจเป็นคำถามที่พบได้บ่อยของคุณแม่ใกล้คลอดหรือเพิ่งคลอดใหม่ ๆ โดยปกติแล้ว การคลอดธรรมชาติอาจใช้เวลาในการฟื้นตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์ และแผลจะเริ่มหายสนิทเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับการดูแลแผลและการดูแลตัวเองของแต่ละคนด้วย หากดูแลแผลไม่ดีอาจทำให้แผลฉีกขาด มีเลือดออกมากและแผลหายช้าได้ แผลคลอดธรรมชาติกี่วันหาย การคลอดแบบธรรมชาติอาจทำให้เกิดบาดแผลบริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก เนื่องจากเมื่อตัวทารกเคลื่อนออกมา ผิวหนังบริเวณช่องคลอดจะขยายออกและฉีกขาด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างคลอด และหลังจากการคลอดอาการปวดอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากคุณหมออาจจำเป็นต้องกรีดบริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนักเพื่อขยายช่องให้ทารกสามารถออกมาได้ง่ายขึ้น สำหรับแผลคลอดธรรมชาติกี่วันหายนั้น โดยปกติหลังจากคุณหมอเย็บแผลหลังคลอด คุณแม่อาจต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ และหลังจากกลับบ้านอาจต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ในการสมานแผลให้ติดกัน และการคลอดธรรมชาติอาจต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ร่างกายถึงจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติ การดูแลแผลคลอดธรรมชาติ หลังจากการคลอดธรรมชาติคุณแม่หลายคนอาจมีอาการเจ็บปวดแผล โดยวิธีเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการได้ การอยู่ไฟ เป็นวิธีที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ขับน้ำคาวปลา บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมา เช่น อาการชาที่มือและเท้า อาการหนาวสะท้าน ผิวบวมช้ำ โดยใช้เวลาประมาณ 7-15 วัน วันละประมาณ 6-7 ชั่วโมง ไม่ควรออกไปข้างนอก เพราะอาจทำให้ร่างกายปรับสมดุลไม่ทันส่งผลให้เจ็บป่วยได้ ซึ่งการอยู่ไฟอาจมีต่าง ๆ ดังนี้ การนวดประคบ คือ การนำสมุนไพรต่าง ๆ เช่น […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ขั้นตอนการอยู่ไฟหลังคลอด และข้อควรระวัง

อยู่ไฟหลังคลอด เป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทยโบราณ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในวิธีการช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของคุณแม่หลังจากคลอดลูก โดยในปัจจุบันมีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างออกไปจากสมัยก่อน และสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรอยู่ไฟหลังคลอดขณะมีไข้สูงหรืออ่อนเพลียมาก เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งควรทำการอยู่ไฟภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ [embed-health-tool-due-date] อยู่ไฟหลังคลอด คืออะไร อยู่ไฟหลังคลอด คือ การช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าของคุณแม่ตั้งครรภ์หลังคลอดบุตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการใช้ความร้อนและสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อยจากการตั้งครรภ์มาเป็นระยะเวลา 9 เดือน  ในสมัยก่อน ผู้หญิงหลังคลอดต้องนอนบนกระดาน เอากองถ่านร้อน ๆ มาวางไว้ข้างเตียงในห้องปิดมิดชิดไม่มีที่ระบายอากาศ ซึ่งในปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องอยู่ภายในกระโจมหรือกระท่อมเพื่ออยู่ไฟ แต่อาจนำสมุนไพรไทยไปต้มน้ำเพื่อให้ได้ไอความร้อน และตั้งสมุนไพรที่ต้มแล้วไว้ใกล้ตัวในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางไว้บริเวณหน้าท้อง อย่างไรก็ตาม การอยู่ไฟหลังคลอดอาจให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายคุณแม่หลังคลอดในระยะยาวด้วย เช่น อาจช่วยลดความรู้สึกหนาวสั่นในกระดูก และระบายของเสียที่สะสมอยู่ในร่างกาย ระยะเวลาการอยู่ไฟหลังคลอด หากผู้ที่คลอดตามธรรมชาติควรอยู่ไฟหลังคลอดไปแล้วประมาณ  7 วัน แต่ไม่เกิน 3 เดือน แต่สำหรับผู้ที่ผ่าคลอดควรทำในช่วงหลังคลอดประมาณ 1 เดือน โดยควรทำหลังจากที่แผลผ่าตัดหายดีแล้ว เนื่องจากหากแผลยังไม่หายดีอาจเกิดการอักเสบของแผล ทำให้แผลเปิดและติดเชื้อได้ แต่ไม่เกิน 3 เดือนเช่นกัน และควรอยู่ไฟทุกวันติดต่อกันประมาณ 5-10 วัน  วิธีการทำอยู่ไฟหลังคลอด  โดยการอยู่ไฟหลังคลอดนั้น อาจทำด้วยวิธีดังนี้  การนวดและประคบสมุนไพร ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยร่างกาย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงอาจช่วยประคบรอบ ๆ เต้านม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน