สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

แผลในปาก เกิดจากอะไร และวิธีดูแลเมื่อ ลูกเป็นแผลในปาก

แผลในปาก เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อาจเกิดจากการกัดริมฝีปาก การแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไปจนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคมือเท้าปาก การติดเชื้อราในปาก แผลในปากอาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง และมีอาการเจ็บ จนอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หากพบว่าเด็กมีแผลในปาก ควรรีบดูแลรักษาให้หายโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] แผลในปาก คืออะไร แผลในปาก คือ อาการที่เนื้อเยื่อเสียหายจนมักมีสีผิดปกติ อาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง มีอาการเจ็บแสบ จนอาจทำให้เด็กมีอาการไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หรืออาจทำให้กินอาหารลำบาก หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เด็กกินอาหารได้น้อยลงจนเสี่ยงขาดสารอาหารได้ แผลในปาก เกิดจากอะไร แผลในปากเด็กอาจมีสาเหตุมาจากการกัดริมฝีปาก หรือการแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไป จนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราก็สามารถทำให้เกิดแผลในปากได้ นอกจากนี้ แผลในปากอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเพนิซิลลามิน (Penicillamine) ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) รวมถึงเกิดจากการวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 วิตามินบี 9 หรือโฟเลต สำหรับเด็กที่ฟันเพิ่งขึ้น เวลาเด็กดูดนมหรือรับประทานอาหาร อาจทำให้ฟันที่เพิ่งขึ้นใหม่ไปขบกับริมฝีปากจนทำให้มีแผลในปากได้เช่นกัน อาการของแผลในปากชนิดต่าง ๆ ที่ควรรู้ ปัญหาสุขภาพในเด็กที่อาจทำให้เด็กมีแผลในปาก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

สะดือจุ่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กหรือไม่

สะดือจุ่น หรือภาวะไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (Umbilical hernia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด อาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องบริเวณสะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ จึงส่งผลให้มีรูเล็ก ๆ บริเวณสะดือที่ลำไส้เล็กสามารถโผล่ออกมาได้ โดยทั่วไป สะดือจุ่นมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี แต่บางรายอาจมีภาวะสะดือจุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สะดือจุ่น คืออะไร สะดือจุ่น เป็นคำที่นิยมใช้เรียกภาวะไส้เลื่อนที่บริเวณสะดือ (Umbilical hernia) ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องใกล้ ๆ สะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ และส่งผลให้ลำไส้เล็กบางส่วนโผล่ออกมาได้ ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด และมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุ 1-2 ปี แต่ในบางกรณีก็อาจมีภาวะสะดือจุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การเกร็งหน้าท้องตอนยกของหนัก การไอเรื้อรัง การท้องลูกแฝด ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะสะดือจุ่นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นได้ว่าลูกมีภาวะสะดือจุ่นเมื่อเด็กร้องไห้ ไอ จาม หรือท้องตึง ส่วนใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วดแต่อย่างใด แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้อง ท้องบวม คลื่นไส้ แต่หากผู้ใหญ่มีภาวะสะดือจุ่น อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้ วิธีรักษา สะดือจุ่น ภาวะสะดือจุ่นในเด็กมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุได้ 1-2 ปี แต่หากเด็กมีอาการปวดท้องเรื้อรัง อาเจียน ผิวหนังบริเวณสะดือบวม กดแล้วเจ็บ ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลำไส้เล็กหรือเนื้อเยื่อบริเวณท้องที่ยื่นออกมาไม่สามารถกลับเข้าไปในช่องท้องได้ จนส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนและเนื้อเยื่อส่วนนั้นตาย […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจและเกิดความเครียด โดยปกติแล้วเมื่อลูกร้องไห้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหิว เหนื่อย ความเครียด หรืออาจเกิดจากอาการโคลิค (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่อาจพบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ส่งผลทำให้เด็กร้องไห้งอแงมากและอาจควบคุมได้ยาก ดังนั้น การเข้าใจถึงสาเหตุและการดูแลให้ลูกรู้สึกสบายตัว จึงอาจช่วยทำให้ลูกน้อยร้องไห้น้อยลง ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร การร้องไห้ของลูกเป็นการสื่อสารที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถพูดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ว่าพวกเขากำลังจะสื่อสารอะไร ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจมีดังนี้ อาจมีอาการเหนื่อย เด็กต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสม ดังนั้นหากเด็กรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กพักผ่อนทันที โดยอาจสังเกตลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงความเหนื่อยล้า เช่น การขยี้ตา หาว ทำสีหน้าอ่อนเพลีย และในบางครั้งอาจ ร้องไห้งอแงออกมานั่นเอง ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้ในเด็กเล็ก ๆ หากเป็นเด็กที่โตกว่าจะมีอาการร้องไห้น้อยลง อาจกำลังหิว อาการนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากยังไม่สามารถสื่อสารหรือโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงร้องไห้ออกมาเพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าพวกเขากำลังหิว อาจต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ การร้องไห้อาจเป็นวิธีที่เด็กใช้ในการทำให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ ดังนั้น เมื่อเด็กร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปล่อยผ่าน หรือควรมีการพูดคุยให้เข้าใจถึงเหตุและผลอย่างตรงไปตรงมา อาจเกิดจากคาเฟอีนในนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่ดื่มเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นประจำทุกวัน อาจต้องหลีกเลี่ยงคาเฟอีนในขณะให้นมลูก เพราะอาจส่งผลต่อน้ำนม ทำให้เด็กไม่ง่วงนอน ตื่นกลางดึกบ่อยและอาจทำให้งอแงมากขึ้น ถึงแม้การร้องไห้อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เด็กใช้ในการสื่อสาร แต่หากเด็กร้องไห้นานกว่า 15 นาทีไปจนถึง 1 ชั่วโมง นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กอาจกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องของอาการป่วยหรือมีบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายตัว ลูกน้อยร้องไห้บ่อยคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยร้องไห้บ่อยอาจทำได้หลายวิธี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ อุ้มลูกแล้วโยกเบา ๆ […]


วัคซีน

วัคซีนสำหรับเด็ก สำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้าง

วัคซีนสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้เตรียมพร้อมต่อสู้กับเชื้อก่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หากลูกน้อยได้รับวัคซีนไม่ครบตามที่กำหนดอาจทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจรายละเอียดวัคซีนเด็กแต่ละชนิดและพาลูกน้อยไปรับวัคซีนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยอย่างครบถ้วน [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนสำหรับเด็ก คืออะไร ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เด็กทารกควรดื่มน้ำนมแม่ เพราะน้ำนมแม่นอกจากจะมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุมากกว่า 200 ชนิดแล้ว ยังถือเป็นวัคซีนธรรมชาติที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ได้ด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ภูมิคุ้มกันที่ได้จากน้ำนมแม่ก็จะค่อย ๆ หมดไปภายในเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ทารกทั้งที่กินนมแม่และไม่ได้กินนมแม่ต้องได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ เพราะวัคซีนเด็กไม่เพียงแค่ป้องกันการเกิดโรค แต่ยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่เด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ได้อีกด้วย วัคซีนทำงานโดยเลียนแบบการติดเชื้อโรคบางชนิดในเด็ก วัคซีนเด็กที่เข้าสู่ร่างกายจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กพัฒนาอาวุธที่เรียกว่า สารภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคชนิดเดียวกับแต่ละวัคซีนที่เด็กได้รับ ทำให้ร่างกายของเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อโรคในอนาคตต่อไปได้ วัคซีนสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง เด็กควรได้รับวัคซีนตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี โดยการให้วัคซีนเด็กจะต้องเป็นไปตามแบบแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ โดยวัคซีนสำหรับเด็กสามารถแบ่งได้เป็น วัคซีนพื้นฐาน คือ วัคซีนจำเป็นที่เด็กทุกคนต้องได้รับ ได้แก่ วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เด็กเล่นโทรศัพท์ ข้อควรระวังกับผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการ

เด็กเล่นโทรศัพท์ เป็นพฤติกรรมของเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเพื่อดูรายการโทรทัศน์ เล่นเกม ส่งข้อความ โทรหรือวิดีโอคอลคุยกับเพื่อน ซึ่งหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ล้วนแต่มีคลื่นไมโครเวฟที่่อาจเป็นอันตรายได้ ยิ่งโดยส่วนใหญ่เด็กในปัจุบันนี้มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองทำให้โทรศัพท์อยู่กับตัวตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาถึงผลเสียจากการเล่นโทรศัพท์ รวมทั้งข้อควรระวังและวิธีแก้ไข เหตุผลที่เด็กเล่นโทรศัพท์ คลื่นที่ถูกส่งออกมาจากโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ อาจถึงขั้นทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ แต่ปัจจุบันนี้เด็กนิยมเล่นโทรศัพท์เพราะสาเหตุ ดังนี้ โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และทำกิจกรรมได้หลายอย่าง ทั้งดูโทรทัศน์ ค้นคว้าหาข้อมูล ฟังเพลง ถ่ายรูป แชทหรือโทรคุยกับเพื่อน ดูวิดีโอ เล่นโซเชี่ยลมีเดีย ติดตามดาราหรือบุคคลมีชื่อเสียงที่่ชื่นชอบ จึงทำให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกรวมทั้งจำนวนเด็กเล่นโทรศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็วตามไปด้วย การพัฒนาประสิทธิภาพต่าง ๆ ดีขึ้น รวมถึงสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น มีสิ่งน่าสนใจ เร้าอารมณ์ความรู้สึก กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งตอบสนองพฤติกรรมของเด็กและเป็นไปตามช่วงวัยและพัฒนาการ ไม่ควรปิดกั้นแต่ควรหาวิธีจำกัดการใช้งาน อันตรายจากคลื่นไมโครเวฟ  หากคุณแม่ใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากจนเกินไปขณะที่กำลังตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงในการได้รับคลื่นไมโครเวฟมากกว่าเด็กที่คลอดออกมาแล้วมากพอสมควร เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองของเด็กทารกนั้นสามารถดูดซึมคลื่นไมโครเวฟได้ถึง 2 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น คลื่นนี้ยังถูกดูดซึมไปยังกระดูกสันหลังได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 10 เท่า ทั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีบทความวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นมือถือกับเนื้องอกในสมอง เผยแพร่ในวารสาร Pathophysiology พ.ศ. 2552 ระบุว่า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม