สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมทั้งเด็กทารกและเด็กเล็ก อย่างไรก็ตาม หากเกิดโรค ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) ขั้นรุนแรงอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ คำจำกัดความไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก คืออะไร ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ หากอยู่ในระดับรุนแรง อาจส่งผลให้เจริญเติบโตช้า มีพัฒนาการล่าช้า รวมถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา อาการของโรคนี้มักไม่แสดงในช่วงแรกเกิด ช่วงอายุของเด็กในการแสดงอาการ และความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าสามารถทำงานได้ดีเพียงใด โรคไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย รวมทั้งเด็กและทารก อาการอาการ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก ทารกแรกเกิด โรคไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่อาการของโรคในเด็กอาจมีแตกต่างกันไป ในเด็กแรกเกิด อาการเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์หรือเดือนแรก อาการอาจไม่ชัดเจน จนแพทย์หรือพ่อแม่ไม่สังเกตเห็น อาการอาจมีดังนี้ ตัวเหลือง และจุดขาวที่ตา ท้องผูก เบื่ออาหาร ตัวเย็น ร้องไห้น้อยลง หายใจดัง นอนหลับมากขึ้นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ น้อยลง จุดนิ่มบนศีรษะขยายใหญ่ขึ้น ลิ้นโต ทารกและเด็กเล็ก ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่เริ่มในวัยเด็กนั้น แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ อาการของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก มีดังนี้ ส่วนสูงน้อยกว่าความสูงเฉลี่ย ขนาดตัวสั้นกว่าปกติ ฟันแท้ขึ้นช้ากว่าปกติ เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ช้ากว่า พัฒนาการทางอารมณ์ช้า อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ ผมขาดง่าย หน้าบวม อาการที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีภาวะไทรอยด์ มีดังนี้ เหนื่อย ท้องผูก ผิวแห้ง วัยรุ่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็กวัยรุ่น มักเกิดในเด็กผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto’s Thyroiditis) วัยรุ่นที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต โรคเกรฟ หรือเบาหวานชนิดที่ 1 […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ภาวะผิวลายในทารก สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภาวะผิวลายในทารก (Cuties Marmorata) คืออาการทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้ผิวของทารกมีลายและมีสีแดงอมม่วงคล้ายตาข่าย เมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรืออาบน้ำ มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และอาจหายไปได้เองเมื่อเจออากาศอุ่น อย่างไรก็ตาม หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผื่นแดง ระคายเคือง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-vaccination-tool] ภาวะผิวลายในทารก คืออะไร ภาวะผิวลาย ในทารกแรกเกิด คือภาวะที่ผิวหนังของเด็กทารกมีลักษณะลายคล้ายร่างแหตาข่าย สีแดงอมม่วง เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 50  สามารถพบได้ในเด็กทารกแรกเกิด เมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรือตอนอาบน้ำ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาของชาวบราซิลในปี 2011 รายงานว่าในบรรดาทารกแรกเกิดจำนวน 203 คน พบทารกที่เกิดภาวะผิวลายต่ำมาก เพียงร้อยละ 5.91  ของทารกที่มีผิวสีอ่อน ภาวะผิวลายนี้สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในนักดำน้ำ หากดำน้ำซ้ำกันนาน ๆ หลายรอบ อาจเกิดภาวะผิวลายจากโรคจากการลดความกดอากาศ (Decompression Sickness) ได้ โรคจากการลดความกดอากาศหรือโรคลดความกด เป็นโรคที่เกิดจากฟองก๊าซก่อตัวขึ้นในระบบหลอดเลือดหรือในเนื้อเยื่อ มักเกิดจากการดำน้ำและลอยตัวขึ้นเร็ว ก๊าซไนโตรเจนอยู่ในภาวะเกินความอิ่มตัว เมื่อความดันอากาศลดลง กลายสภาพเป็นฟองอากาศ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายทั้งส่วนที่เป็นของแข็งหรือของเหลว เช่น เกิดฟองอากาศที่กล้ามเนื้อข้อต่อจะมีอาการปวด ถ้าเข้าสู่กระแสเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ไขสันหลังหรือสมอง จะทำให้สลบหรือเป็นอัมพาต สาเหตุของภาวะผิวลายในทารก เนื่องจากระบบประสาทและเส้นเลือดในทารกแรกคลอด ยังไม่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เมื่อสัมผัสความเย็น […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ุ6 ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง

ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย 6 ประการ ได้แก่ ผื่นมิเลีย (Milia) ผดร้อน ภาวะต่อมไขมันอักเสบ สิว ผื่นแดงอีริทีมาท็อกซิกัม (Erythema Toxicum Neonatorum: ETN) ปาน ซึ่งอาจมีลักษณะและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาผิวลูก อาจช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาผิวได้อย่างเหมาะสม และอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่อันตรายได้ 6 ปัญหาผิวลูก ที่คุณแม่ควรรู้ 1. ผื่นมิเลีย ผื่นชนิดนี้เป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลืองที่ปรากฏขึ้นบนใบหน้าของเด็กทารกนั้น แท้จริงแล้วคือก้อนซีสต์ที่เต็มไปด้วยเคราติน (Keratin) และซีบัมหรือไขมัน ผื่นชนิดนี้ยังอาจเกิดขึ้นที่บริเวณเหงือกได้ อาการนี้อาจจะหายไปภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องรักษา ในขณะเดียวกัน การใช้น้ำมันหรือครีมทาอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้ 2. ผดร้อน เป็นลักษณะของตุ่มพุพองที่เต็มไปด้วยน้ำหนอง หรือตุ่มแดง ๆ ที่ปรากฏขึ้นที่หลัง หน้าอก หรือใต้วงแขนของเด็กทารก ผดร้อนเกิดจากการอุดตันของท่อเหงื่อที่ผิวหนัง จะพบมากในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น หรือการสวมเสื้อผ้าให้ทารกมากเกินไป 3. ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก คือ สภาวะของผิวหนังที่ไขผิวหนังส่วนเกิน ยึดติดเซลล์ผิวหนังเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่สามารถผลัดออกไปได้ตามปกติ ทำให้เกิดเป็นแผ่นสีเหลืองมันเยิ้ม ที่บริเวณหนังศีรษะของเด็กทารก 4. สิวในทารกแรกเกิด ประมาณ 30% ของทารกแรกเกิด จะมีสิวขึ้นภายใน 4 เดือนแรก […]


ภาวะทุพโภชนาการ

วิตามินบี 12 สำหรับอย่างไรต่อสุขภาพของเด็ก

วิตามินบี 12 มีความสำคัญกับในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็ก เนื่องจากเป็นวิตามินชนิดละลายน้ำที่ทำหน้าที่ในการสร้างและรักษาภาวะในร่างกาย จัดเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อระบบประสาท การสร้างเซลล์เม็ดเลือด การสังเคราะห์พลังงาน และกิจกรรมทางชีวเคมีพื้นฐานอื่น ๆ หากเด็กขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายหลายด้าน [embed-health-tool-vaccination-tool] วิตามินบี 12 มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็กอย่างไร วิตามินบี 12 ช่วยเสริมการทำงานของไมอีลิน (Myelin) ซึ่งเป็นสารคล้ายไขมันที่ทำหน้าที่เป็นเยื่อหุ้มเซลล์สมอง ช่วยปกป้องระบบประสาท และกระตุ้นการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า นอกจากนี้ วิตามินบี 12 ยังช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารให้เป็นปกติ และป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต และยังเป็นวิตามินที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถรักษาและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ การได้รับวิตามินบี 12 ในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ อาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคออทิสติก (Autistic Disorder) มากขึ้น วิตามินบี 12 ยังเป็นสารอาหารที่สำคัญในกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้น หากขาดวิตามินชนิดนี้ เด็กอาจเป็นโรคโลหิตจางได้ แหล่งของวิตามินบี 12  อาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมจะมีปริมาณวิตามินบี 12 สูง แม้ว่าผักชนิดต่าง ๆ จะมีวิตามิน 12 อยู่เช่นกัน แต่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถดูดซึมได้ดีพอ ผลิตภัณฑ์นม […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

โรคมือเท้าปาก สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้อย่างไร

โรคมือเท้าปาก (Hand, foot and mouth disease หรือ HFMD) เป็นโรคติดเชื้อไม่รุนแรง ที่เกิดจากไวรัสค็อกแซ็กกี้ (Coxsackie virus) และเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้พบมากในทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และยังไม่มียารักษาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปาก และรับมือกับโรคมือเท้าปากอย่างถูกวิธีได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมือเท้าปาก สำหรับวิธีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปากอาจทำได้ ดังนี้ ลดการแพร่กระจาย โรคมือเท้าปากแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปากอาจยังคงอยู่ในทางเดินหายใจ หรือลำไส้ของผู้ป่วยได้หลายสัปดาห์หลังจากอาการทั้งหมดหายไป ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายจากผู้ที่ไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ไปยังผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ทารก เด็ก โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ คุณพ่อคุณแม่จึงควรลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายและการรับเชื้อของลูกด้วยการดูแลรักษาสุขอนามัยให้ดี อย่าให้ลูกเข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วยหรือติดเชื้อ ไม่ให้ลูกใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น และหากลูกป่วยหรือติดเชื้อ ก็ควรให้ลูกพักรักษาตัวอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกจะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ป้องกันโรคให้ดี การป้องกันโรคมือเท้าปากที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตนให้มีสุขอนามัยที่ดี การสอนเด็กเกี่ยวกับวิธีการล้างมือโดยใช้น้ำอุ่นและสบู่ สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เป็นอย่างมาก เด็กยังควรได้รับการสอนให้ล้างมือหลังจากหยิบสิ่งของ ใช้ห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร หรือทันทีที่เด็กสัมผัสกับสิ่งสกปรก นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกไม่ให้เอามือเข้าปากหรือสัมผัสใบหน้า หรือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปากโดยเด็ดขาด ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมโดยรอบลูก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกแหวะนม อย่าตกใจ ลองหาสาเหตุเพื่อแก้ไขอาการน่าห่วงของลูกน้อย

ทารกแหวะนม สามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก เนื่องจากเด็กกำลังปรับตัวเข้ากับการกินอาหาร และร่างกายกำลังค่อยๆ พัฒนาขึ้น ส่วนใหญ่มักจะหายไปภายใน 6-24 ชั่วโมง โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ นอกจากดูให้แน่ใจว่า ลูกไม่ขาดน้ำเท่านั้น แต่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า ลูกแหวะนม ไม่ใช่การอาเจียนอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้  ทารกแหวะนมหรืออาเจียน ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักความแตกต่างระหว่างการอาเจียนจริงๆ กับการแหวะอาหารของเด็ก การอาเจียนเป็นการที่อาหารที่อยู่ในกระเพาะพุ่งออกมาโดยไม่สามารถบังคับได้ ขณะที่การแหวะ (ที่พบบ่อยให้เด็กวัยต่ำกว่าหนึ่งขวบ) เป็นการที่เด็กขย้อนเอาอาหารออกมาทางปาก ปกติแล้วมักจะมาพร้อมกับอาการเรอ การอาเจียนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลมเกร็งอย่างรุนแรง ในขณะที่กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารหย่อนตัว ปฏิกิริยาสะท้อนนี้ถูกกระตุ้นจาก “ศูนย์ควบคุมการอ้วก” ในสมอง หลังจากที่มันถูกกระตุ้นโดยเส้นประสาทจากกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ระบบย่อยอาหารระคายเคืองหรือบวมขึ้น เนื่องจากอาการติดเชื้อหรือเกิดการอุดตัน สารเคมีในเลือด (อย่างเช่นจากยา) การถูกกระตุ้นทางประสาทสัมผัส เช่น ภาพหรือกลิ่น การกระตุ้นจากประสาทหูส่วนกลาง (อย่างเช่น การอาเจียนที่เกิดจากการวิงเวียน) สาเหตุของทารกแหวะนม สาเหตุที่พบได้บ่อยของการแหวะหรืออาเจียนในเด็ก แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เช่น ในช่วงสองสามเดือนแรก ทารกส่วนใหญ่จะแหวะนมเล็กน้อยออกมา ปกติแล้วจะเป็นในช่วงชั่วโมงแรกหลังป้อนนม ปกติจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อาการนี้จะลดน้อยลงเมื่อเด็กโตขึ้น แต่อาจยังปรากฏอยู่บ้างเล็กน้อยจนอายุ 10-12 เดือน ซึ่งถ้าไม่มีอาการอื่น และไม่ทำให้เด็กน้ำหนักลดลง ก็ถือว่าไม่ผิดปกติ แต่หากเด็กมีอาการอาเจียนต่อเนื่อง อาจมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้ โรคลำไส้อุดตัน ในช่วงอายุสองสัปดาห์จนถึงสี่เดือน การอาเจียนอย่างต่อเนื่องอาจมีสาเหตุมาจาก การที่กล้ามเนื้อบริเวณทางออกของกระเพาะอาหารหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดการอุดตัน จนอาหารไม่สามารถผ่านเข้าไปสู่ลำไส้ได้ นี่เป็นอาการร้ายแรงที่ต้องรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยการผ่าตัด […]


สุขภาพเด็ก

หูฟัง เป็นอันตรายต่อเด็กและวัยรุ่นได้อย่างไร

หูฟัง เป็นอุปกรณ์ที่เด็ก ๆ และวัยรุ่นในปัจจุบันใช้กันเป็นจำนวนมาก ทั้งเพียงเพื่อฟังเพลงที่ชอบ ใช้สำหรับการเรียนหนังสือออนไลน์ คุยโทรศัพท์ ดูภาพยนตร์ออนไลน์ เล่นเกมในมือถือ ซึ่งอาจทำให้ใช้หูฟังนานหลายชั่วโมงโดยไม่รู้ตัว นอกจากนั้น การใส่หูฟังและเปิดเสียงดังเป็นเวลานนาน ยังอาจส่งผลเสียต่อการได้ยินของหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง ผู้ปกครองควรใส่ใจสุขภาพหูของเด็ก ๆ และคอยสังเกตพฤติกรรมการใช้หูฟังเพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหู [embed-health-tool-bmr] การใช้ หูฟัง ของเด็กและวัยรุ่น การฟังเสียงดังเป็นเวลานานอาจนำไปสู่การสูญเสียการได้ยิน จากงานวิจัยของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2554-2555 ทดสอบเกี่ยวกับการได้ยินและการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้ใหญ่มากถึง 40 ล้านคนในสหรัฐอมเริกาที่อายุต่ำกว่า 70 ปี สูญเสียการได้ยินของหูข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างจากการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างการใช้หูฟังกับการสูญเสียการได้ยินในเด็กวัย 9-11 ปี พบว่า 40% ของผู้ที่ใช้เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา มีความสามารถต่ำมากในการได้ยินเสียงที่มีความถี่สูง เนื่องจากมีภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-Induced Hearing Loss) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้เครื่องเล่นแบบพกพา ภาวะสูญเสียการได้ยิน คืออะไร การได้ยินเสียงเกิดจากการทำงานของอวัยวะ 3 ส่วนภายในหู ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน โดยส่วนหนึ่งของหูชั้นในเรียกว่า คอเคลีย […]


วัคซีน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนที่เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ควรเข้ารับการฉีดเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่มากกว่าผู้ป่วยทั่วไปถึง 6 เท่า อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หากเด็กฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อจะได้สังเกตอาการและสามารถรับมือได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เด็กต้องฉีดไหม ข้อมูลสถิติโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 8 กันยายน พ.ศ. 2565 จากกรมควบคุมโรค เผยว่า มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 22,922 ราย เสียชีวิต 1 ราย และผู้ป่วยกลุ่มที่พบมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิดถึงอายุ 4 ปี รองลงมาคือ เด็กอายุ 5-14 ปี ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก กรมควบคุมโรคและนำให้เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และควรดูแลตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่เอามือเข้าปาก ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดวิตามินดี ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

วิตามินและแร่ธาตุสำคัญมีส่วนช่วยสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตาม วิตามินดีเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของเด็ก หาก เด็กขาดวิตามินดี ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน รวมไปถึงอาหารเสริมและกิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงอยู่เสมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมจึงไม่ควรให้ เด็กขาดวิตามินดี วิตามินดีมีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาการของกระดูกและช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น เสริมสร้างกระดูกและสุขภาพฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ วิตามินดี ยังมีส่วนช่วยในการสร้างและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อ กระตุ้นการผลิตสารอินซูลิน และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์ หาก เด็กขาดวิตามินดี อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Diseases) เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) ทั้งยังอาจทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของกระดูกล่าช้า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามพันธุกรรม ดังนั้น การได้รับวิตามินดีที่เพียงพออาจช่วยปกป้องให้เด็ก ๆ ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคเบาหวาน ปริมาณวิตามินดีสำหรับเด็ก สำหรับปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย มีดังนี้ ทารก 6-12 เดือน ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 1-8 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-18 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux)

กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) เป็นภาวะที่อาหารไหลย้อนกลับออกมาจากกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เด็กอาเจียน หรือที่มักเรียกกันว่า “แหวะนม” มักเกิดกับเด็กทารก เป็นอาการที่มักไม่ส่งผลกระทบรุนแรง และส่วนใหญ่จะหายไปเมื่อเด็กมีอายุเกิน 18 เดือน คำจำกัดความกรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) คืออะไร กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) เกิดขึ้นเมื่ออาหารไหลย้อนกลับออกมาจากกระเพาะอาหารของเด็ก จนทำให้เด็กอาเจียน หรือแหวะนม เป็นอาการที่มักไม่ส่งผลกระทบรุนแรง กรดไหลย้อน นี้มักหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น แต่หากเด็กอายุ 18 เดือนแล้วอาการยังไม่หายไป หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เด็กอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) เด็กบางคนอาจเกิดภาวะกรดไหลย้อนวันละหลายครั้ง แต่หากเด็กสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี เติบโตและมีพัฒนาการตามปกติ กรดไหลย้อนในเด็กนี้ไม่ใช่อาการที่น่าเป็นห่วงมากนัก ในกรณีหายาก กรดไหลย้อนในเด็กอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินอาหารถูกรบกวน หรือโรคกรดไหลย้อน  พบได้บ่อยแค่ไหน กรดไหลย้อนในเด็กนั้นพบได้ทั่วไปในเด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กทารก โดยในช่วงสามเดือนแรก เด็กมักอาเจียน หรือแหวะนมวันละหลายครั้ง และอาการนี้มักหายไปในช่วงอายุ 12-14 เดือน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของ กรดไหลย้อนในเด็ก โดยทั่วไปแล้วกรดไหลย้อนในเด็กไม่ใช่ปัญหาที่น่ากังวล และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ในกระเพาะอาหารจะมีกรดมากพอจนทำให้ลำคอหรือหลอดอาหารเกิดการระคายเคือง หรือทำให้มีสัญญาณหรืออาการแทรกซ้อนใด ๆ อย่างไรก็ตาม อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม