สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคติดเชื้อในเด็ก

โรต้า (rotavirus) อาการ และการรักษา

โรต้า (rotavirus) หรือไวรัสโรตา เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียน การติดเชื้อไวรัสโรตามักไม่เป็นอันตรายสำหรับผู้ใหญ่ แต่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กได้ หากพ่อแม่สังเกตพบว่าลูกมีอาการท้องเสียนานกว่า 24 ชั่วโมง มีไข้สูง และอาเจียนบ่อยครั้ง ควรรีบพาไปรักษาในทันที โรต้า (rotavirus) คืออะไร โรต้า (rotavirus) หรือไวรัสโรตา เป็นเชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดภาวะกระเพาะและลำไส้อักเสบ ซึ่งโดยปกติจะมีอาการเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อภายในสองวัน อาการที่พบเห็นได้บ่อยในระยะแรก คือ อาเจียน ตามด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นเวลาสามถึงเจ็ดวัน  นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิดนี้ยังทำให้เกิดอาการปวดท้องด้วย ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีถ้าหากติดเชื้อไวรัสไวรัสโรตา ก็อาจจะไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้นเลย หรืออาจมีแค่อาการเบา ๆ เท่านั้น แต่สำหรับเด็กอายุน้อย การติดเชื้อไวรัสโรตาอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้อไวรัสโรตาสามารถติดต่อได้ผ่านทางการนำเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางปาก เช่น การสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรตาแล้วนำมือนั้นเข้าปาก การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรตา อาการของการติดเชื้อโรต้า (rotavirus) อาการและสัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคไวรัสโรตา ท้องเสียหรือขับถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง อาการท้องเสียรุนแรง ภาวะขาดน้ำ มีภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล มีภาวะเลือดเป็นกรด เด็ก ๆ โดยเฉพาะในเด็กทารกจะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายยังอ่อนแออยู่ […]


สุขภาพเด็ก

การติด เชื้อราในเด็ก วิธีสังเกตและการรักษา

เชื้อราในเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารก หรือเด็กวัยเตาะแตะ อาจเกิดได้ค่อนข้างบ่อย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อราได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากการใส่ผ้าอ้อมนานเกินไป เช็ดผิวหลังอาบน้ำไม่แห้งสนิท ทั้งนี้ อาการมักแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เช่น การติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาจทำให้มีผื่นแดงลามเป็นวงเล็ก ๆ คันผิวหนัง หากติดเชื้อราในช่องปาก อาจทำให้มีฝ้าขาวที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขอนามัยและสุขภาพของเด็กให้ดี อาจช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อราในเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เชื้อราในเด็ก ที่พบได้บ่อย เชื้อราในเด็ก ที่พบบ่อย ได้แก่  เชื้อราแคนดิด้า (Candida) ซึ่งจัดเป็นยีสต์ชนิดหนึ่ง โดยเชื้อราชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้วมักพบได้โดยทั่วไปในช่องปาก ผิวหนัง สะดือ ลำไส้ อวัยวะเพศ โดยปกติ ปริมาณเชื้อราที่พบในร่างกายนั้นมักมีอยู่เป็นจำนวนน้อยและมักไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปและเอื้อให้เชื้อราเจริญเติบโต เช่น  ใส่ผ้าอ้อมเป็นเวลานาน เช็ดตัวไม่แห้งสนิท ไม่แปรงฟัน อาจทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ เช่น เชื้อราในช่องปาก เชื้อราในเด็ก สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่อาจลองสังเกตตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลูกว่ามีสัญญาณเตือนของการติดเชื้อราหรือไม่ ดังนี้ ช่องปาก • มีฝ้าขาวในบริเวณช่องปาก • มีรอยด่างขาวเหมือนเปื้อนน้ำนมแต่ไม่สามารถเช็ดออกได้ • มีแผลในปากเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก มักทำให้ทารกรู้สึกเจ็บและไม่ยอมดูดนม  • เกิดรอยแตกที่มุมปาก ขาหนีบ • อาการของผื่นผ้าอ้อมรุนแรงขึ้นและเกิดผื่นแดงแพร่กระจายไปยังขาหนีบ • ลูกเกาเนื่องจากเกิดอาการคันและระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่อยู่รอบผื่นผ้าอ้อม วิธีดูแลรักษาเชื้อราในเด็ก วิธีการดูแลเชื้อราในเด็กมักเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของทารก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

พรีไบโอติก สำคัญต่อลูกน้อย มากกว่าแค่ป้องกันลูกท้องผูก

พอได้ยินคำว่า “แบคทีเรีย” คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจคิดว่าเป็นเชื้อโรค ไม่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อย และควรหลีกให้ห่าง แต่ความจริงแล้ว แบคทีเรียไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายเสมอไป เพราะในลำไส้ของคนเราก็มีแบคทีเรียชนิดดี อาศัยอยู่มากมายหลากหลายชนิด ที่ได้ยินชื่อกันบ่อยๆ เช่น แล็กโทบาซิลลัสหากในลำไส้ของเรามีแบคทีเรียชนิดดีมากกว่าแบคทีเรียชนิดไม่ดี ก็จะช่วยให้สุขภาพของเราแข็งแรง ลดปัญหาในระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย และตัวช่วยอย่างหนึ่งในการเพิ่มและรักษาสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ก็คือ การเพิ่มอาหารของแบคทีเรียชนิดดี อย่างพรีไบโอติก Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับเจ้า “พรีไบโอติก” นี้ให้มากขึ้น แล้วคุณจะรู้ว่าพรีไบโอติกมีดีต่อสุขภาพของเด็ก มากกว่าแค่ช่วยป้องกันลูกท้องผูก พรีไบโอติก คืออะไร พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่ระบบย่อยอาหารของเราย่อยไม่ได้ จึงสามารถผ่านเข้าสู่ลำไส้ และกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดี และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ ในลำไส้ เมื่อร่างกายได้รับพรีไบโอติกอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและเสริมสร้างการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่าย พรีไบโอติกสำคัญกับเด็กยังไงบ้าง ช่วยป้องกันท้องผูก ท้องเสีย พรีไบโอติก เป็นไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารชนิดหนึ่ง เมื่อได้รับในปริมาณพอเหมาะ จะช่วยให้เด็กขับถ่ายสะดวกขึ้น จึงช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกในเด็กได้ อีกทั้งยังช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการท้องเสียบางชนิดได้ เช่น อาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea) ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับช่องท้องอื่นๆ เมื่อเด็กได้รับพรีไบโอติก นอกจากจะช่วยลดอาการท้องผูก ท้องเสียได้แล้ว ยังช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหาในช่องท้องอื่นๆ เช่น อาการปวดท้อง แน่นท้อง […]


สุขภาพเด็ก

อาหารที่เสี่ยงทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ และอาหารบรรเทาอาการภูมิแพ้

ปฏิกิริยาความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้  (IgE-mediated)ได้รับอิทธิพลมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม มลพิษ การเลี้ยงดู รวมไปถึงการที่คุณแม่รับประทาน โดเยเฉพาะถ้าเป็น อาหารที่เสี่ยงทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ ก็จะสามารถส่งผลไปยังทารกในครรภ์ รวมถึงส่งผลต่อองค์ประกอบของน้ำนมแม่ด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สารอาหาร และโภชนาการ สามารถส่งผลทางอ้อม ต่อการพัฒนาของอาการแพ้ รวมไปถึง โรคภูมิแพ้ ในระหว่างการพัฒนามดลูกหลังคลอด ในระหว่างการให้นมบุตร หรือการให้นมขวดหลังจากหย่านมได้อีกด้วย สังเกตอาการของโรคภูมิแพ้ได้อย่างไร อาการและความรุนแรงของ โรคภูมิแพ้ จะมีความแตกต่างกันไป บางครั้งอาจจะไม่รุนแรง แต่บางครั้งอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ที่เรียกว่าแอแนฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น การสังเกตอาการแพ้ ที่เกิดขึ้นกับลูก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้ ผื่นขึ้นบนผิวหนัง มีอาการคัน และเป็นลมพิษ บวมบริเวณริมฝีปากและลำคอ หายใจถี่ หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง รวมถึงหายใจทางปาก วิงเวียนศีรษะ และเป็นลม ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย อาหารที่เสี่ยงทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ ที่พบบ่อยที่สุด อาหาร 8 ชนิดที่จะกล่าวต่อไปนี้ ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

โรคผิวหนังในเด็กมีอะไรบ้าง ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

โรคผิวหนังในเด็ก หรืออาการทางผิวหนังในเด็ก อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคเพียงอย่างเดียว โรคหรืออาการบางอย่างอาจติดตัวมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นเพราะสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ อุบัติเหตุ บางรายโรคผิวหนังอาจไม่ได้สร้างความเจ็บป่วยทางกาย แต่อาจสร้างผลกระทบทางจิตใจ จึงจำเป็นที่ผู้ปกครองต้องใส่ใจดูแลไม่ต่างจากโรคอื่นๆ โรคผิวหนังในเด็กที่ไม่เกิดจากเชื้อโรคมีอะไรบ้าง หิมะกัด ถึงแม้ว่าในเมืองไทยนั้นอาจจะไม่ได้มีความเย็นถึงขนาดที่หิมะตก แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการจะพาลูกน้อยไปเที่ยวต่างประเทศแล้วต้องไปสัมผัสกับหิมะนั้น ควรระวังอันตรายจากหิมะ เนื่องจากความหนาวเย็นจัดที่ร่างกายลูกไม่คุ้นเคย ควรหาวิธีป้องกันการสัมผัสกับหิมะเป็นเวลานาน และแต่งตัวให้มิดชิดเพื่อป้องกันความหนาวเย็นจากอาการหิมะกัด ปาน ปาน มีหลายรูปแบบ ทั้งปานแดง และปานดำ มีความเข้มหรืออ่อนแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ปานไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกาย แต่อาจมีผลต่อจิตใจของเด็ก ทำให้สูญเสียความมั่นใจหากมีปานอยู่ในบริเวณนอกร่มผ้า อย่างไรก็ตามควรมีการปรึกษากับแพทย์ถึงการกำจัดปานออก อาจทำได้ด้วยวิธีใช้เลเซอร์ ไฝ ไฝ เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด อาจไม่ได้ส่งผลร้ายต่อสุขภาพแต่อย่างใด แต่อาจมีผลต่อความมั่นใจของเด็กได้ โดยสีของไฝมักมีหลากหลายสี โดยมีตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีดำ อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีความกังวลใจเกี่ยวกับลักษณะหรือขนาดของไฝควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำในการกำจัดไฝออกอย่างปลอดภัย การถูกแดดเผา ผิวหนังของเด็กนั้นบอบบาง การถูกแสงแดดเผาอาจทำให้ผิวไหม้ เป็นผื่น เกิดเป็นโรคผิวหนังในเด็กได้ และยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนัง สำหรับวิธีป้องกันผิวจากการถูกแดดเผา คือ พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแสงแดดจ้า สวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าแขนขายาว และกางร่ม ใช้ครีมกันแดดที่มีสารกันแดดSPF 30+ขึ้นไป และมีคุณสมบัติกันน้ำ  ผื่นในฤดูหนาว เมื่ออุณหภูมิลดลงความชื้นในผิวหนังของเด็กก็จะลดลงเช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผื่นหรือโรคผิวหนังในเด็กขึ้นในช่วงฤดูหนาวได้ ผื่นในฤดูหนาวจะทำให้ผิวระคายเคือง โดยมากมักเกิดจากผิวแห้ง ดังนั้นเมื่ออากาศเริ่มเย็น ผู้ปกครองควรหาวิธีที่จะทำให้ผิวของลูกแข็งแรงและชุ่มชื้นตลอดเวลา เช่น การทาครีมมอยเจอไรเซอร์ที่อ่อนโยนต่อผิว […]


สุขภาพเด็ก

เด็กเป็นโรคเบาหวาน บุคลากรในโรงเรียนควรดูแลอย่างไร

เด็กเป็นโรคเบาหวาน นอกจากจะต้องได้รับการดูแลจากครอบครัวเมื่ออยู่ที่บ้านแล้ว เมื่ออยู่ที่โรงเรียนก็ต้องได้รับการดูแลจากคุณครูหรือพยาบาลประจำโรงเรียนด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลเด็กที่เป็นโรคเบาหวานเมื่ออยู่ที่โรงเรียน จึงถือเป็นเรื่องที่บุคลากรในโรงเรียนควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เด็กเป็นโรคเบาหวาน คุณครูควรทำอย่างไร หากเด็กเป็นโรคเบาหวาน ผู้ปกครองควรแจ้งให้ครูหรือบุคลากรในโรงเรียนทราบโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที ขณะเดียวกัน คุณครูหรือบุคลากรในโรงเรียนควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเบาหวานได้ดีขึ้น หาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่พบมากในเด็ก เรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณสำคัญต่าง ๆ เช่น อาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้รับมือ หรือพาเด็กไปพบคุณหมอได้ทันเวลา พูดคุยกับผู้ปกครองถึงข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่ครูควรจะต้องทราบ คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือแนวทางและวิธีการต่าง ๆ ต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ใส่ใจเรื่องอาหารการกินของเด็ก คุณอาจต้องแจ้งกับทางโรงอาหารให้ดูแลเป็นพิเศษ หรือสอบถามเด็กเกี่ยวกับการรับประทานอาหารอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจะไม่ได้รับประทานอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงของโรค สร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง เด็กที่เป็นโรคเบาหวาน กับเพื่อนคนอื่น ๆ เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อน ๆ จะได้รับรู้สัญญาณต่าง ๆ และแจ้งให้ครูทราบได้ ข้อที่สำคัญที่สุด คือ ครูต้องเข้าใจ และเต็มใจที่จะดูแลเด็กนักเรียน หากโรงเรียนมีพยาบาลประจำโรงเรียน ความรับผิดชอบหลักของพยาบาลประจำโรงเรียน เช่น การคอยดูแลเด็กที่เป็นมีอาการป่วย ฉะนั้นเราก็ต้องมั่นใจได้ว่า เจ้าหน้าที่คนนั้นมีความชำนาญในวิชาชีพ และเคยได้รับการฝึกอบรมวิธีดูแลเด็กมาก่อน ซึ่งทางโรงเรียนควรมีข้อปฎิบัติ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ผื่นผ้าอ้อม เกิดขึ้นได้อย่างไร รักษาอย่างไรจึงจะหาย

ผื่นผ้าอ้อม อาจพบได้บ่อยในทารกที่ยังสวมใส่ผ้าอ้อม ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และมีอาการงอแงเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกบ่อย ๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องสังเกตตามบริเวณผิวหนัง รวมถึงอาการผิดปกติของทารกที่อาจปรากฏให้เห็นอีกด้วย ผื่นผ้าอ้อม เกิดขึ้นได้อย่างไร ผื่นผ้าอ้อม เป็นรูปแบบทั่วไปของโรคผิวหนังอักเสบ โดยผื่นผ้าอ้อมนี้เกิดจาก ผ้าอ้อมที่เปียก หรืออับชื้น ทำให้ผิวหนังของลูกน้อยเกิดความระคายเคือง จนทำให้มีผื่นสีแดงเกิดขึ้นที่ผิวหนัง ซึ่งผื่นผ้าอ้อมนี้จะทำการรบกวนตัวเด็กทารก ให้รู้สึกไม่สบายตัว และระคายเคืองผิวหนัง นั่นเอง สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมอาจมีดังนี้ ปล่อยให้ผ้าอ้อมเปียก หรือสกปรก เป็นเวลานานเกินไป ผิวหนังมีรอยถลอกที่เกิดขึ้นจากการถูกับผ้าอ้อม การติดเชื้อยีสต์ การติดเชื้อแบคทีเรีย ปฏิกิริยาต่อการแพ้ผ้าอ้อม โดยทารกอาจมีผื่นผ้าอ้อมบ่อยขึ้น เมื่อทำสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ มีอายุอยู่ในระหว่างช่วง 9-12 เดือน นอนในผ้าอ้อมสำเร็จรูป มีอาการท้องร่วง รับประทานอาหารแข็ง ใช้ยาปฏิชีวนะ อาการของผื่นผ้าอ้อม สำหรับอาการของผื่นผ้าอ้อมที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ ดังนี้ สัญญาณที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ผื่นผ้าอ้อมจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดงเกิดขึ้นบนผิวหนังที่อ่อนโยน นอกจากนั้น ยังอาจเกิดบริเวณก้น ต้นขา และอวัยวะเพศ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตเห็นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทากอาจจะมีอาการอึดอัดกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่เปลี่ยนผ้าอ้อม นอกจากนี้ทารกที่เป็นผื่นผ้าอ้อมมักจะร้องไห้ เมื่อบริเวณที่เป็นผื่นถูกล้าง หรือถูกสัมผัส วิธีการรักษาผื่นผ้าอ้อม เมื่อทารกเป็นผื่นผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามตรวจสอบผ้าอ้อมบ่อย ๆ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ลูกเป็นผื่น ผิวสาก ๆ อาการและวิธีดูแลที่ควรรู้

ผิวหนังของลูกนั้นมีความบอบบางและจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เมื่อ ลูกเป็นผื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาลักษณะอาการที่เกิดร่วมด้วย เช่น มีไข้ แผลพุพอง แผลจุดเล็ก ๆ เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น และจะได้สามารถทำการรักษาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้สามารถสังเกตพบอาการที่ผิดปกติ และพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที อาการที่อาจพบเมื่อ ลูกเป็นผื่น สำหรับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อลูกเป็นผื่น อาจมีดังนี้ ผื่นขณะมีไข้ มีไข้และมีจุดสีแดงที่แก้ม ลักษณะอาการเช่นนี้ลูกอาจเป็นหวัดและ เป็นผื่น ลุกลามไปทั่วร่างกาย โดยปกติจะหายไปภายในหนึ่งสัปดาห์ แผลพุพองที่มือ เท้า และปาก โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่อาจพบได้บ่อยในวัยเด็ก ทำให้เกิดแผลพุพองที่มือและเท้า รวมไปถึงทำให้เกิดแผลที่ลิ้นด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เด็กมีไข้ และในบางรายอาจเป็นหวัด  ผื่นจากไข้อีดำอีแดง ไข้อีดำอีแดง ทำให้เกิด เป็นผื่น แดงสีชมพูทั่วร่างกาย ลักษณะคล้ายผิวไหม้ โดยจะเริ่มต้นอาการจากลิ้นบวม เจ็บคอ ปวดศีรษะ และมีไข้ ไข้อีดำอีแดงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จุดแดงเล็ก ๆ และแผลพุพอง อาการจุดแดงเล็ก ๆ และแผลพุพองที่เกิดขึ้นตามตัว อาจเกิดขึ้นจากโรคอีสุกอีใส ทำให้เกิดรอยแดง จุดสีแดงบนใบหน้า แขน และลำตัว ซึ่งมีอาการคัน เด็กบางคนอาจเผลอเกาจนทำให้เป็นแผล ผื่นจากอากาศร้อน ความร้อนและเหงื่ออาจทำให้เกิดรอยแดงเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ผด หรือผดผื่น ในบางรายนอกจาก […]


สุขภาพเด็ก

แผลเป็น เด็ก จะรักษาได้อย่างไร

แผลเป็น เด็ก หมายถึงผิวหนังที่นูนขึ้นมาหรือบวมขึ้นมา หลังจากที่แผลหายแล้ว โดยไม่ส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่อาจส่งผลกระทบต่อลักษณะภายนอก รวมถึงสภาพจิตใจของเด็กได้ หากรอยแผลเป็นมีขนาดใหญ่ หรือเกิดขึ้นในบริเวณที่เห็นได้ชัด เช่น ใบหน้า มือ แขน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการรักษารอยแผลเป็นของเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดรอยแผลเป็นที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีดูแล แผลเป็น เด็ก เป็นเรื่องปกติธรรมดาของเด็ก ๆ ที่จะเล่นสนุก และซุกซนกันตามประสา จนบางครั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้ หากไม่มีการรักษาหรือดูแลที่ถูกต้อง เมื่อลูกเป็นแผล ให้ล้างแผลเบา ๆ ด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา5นาที เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อและป้องกันรอยจุดด่างดำที่เกิดจากสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ในผิวหนัง หลังทำความสะอาดแผล ทาครีมต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อรักษาแผลให้ชุ่มชื้นและปิดด้วยผ้าก็อซหรือผ้าพันแผล หรืออาจพาลูกไปพบกับคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างละเอียดและเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นได้ รอยแผลเป็นของเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร แผลเป็น คือ กระบวนการที่ผิวหนังสร้างขึ้นเพื่อรักษาแผลตามธรรมชาติ โดยปกติผิวจะมีคอลลาเจน เป็นเส้นใยโปรตีนทำหน้าที่เหมือนสะพานที่เชื่อมต่อผิวหนังที่เสียหาย ในขณะที่ร่างกายกำลังทำการรักษาแผลตัวเอง ผิวหนังบริเวณที่เป็นแผลก็จะเริ่มแห้ง เรียกว่าการตกสะเก็ด โดยการตกสะเก็ดคือกระบวนการปกป้องแผลในขณะที่ผิวหนังได้รับความเสียหาย และเมื่อสะเก็ดหมดไปผิวหนังที่ได้รับการซ่อมแซมนั้นก็มักจะเป็นแผลเป็น แผลเป็น เด็ก ส่งผลอย่างไร ในบางครั้งแผลเป็นอาจทำให้เด็ก ๆ หลายคนสูญเสียความมั่นใจ เด็กบางคนอาจจะชอบใส่กางเกงขาสั้นไปโรงเรียน หรือทำกิจกรรม แต่บางครั้งถ้าผิวบริเวณนั้นมีแผลเป็น เพื่ออาจจะล้อ ทำให้ลูกหมดความมั่นใจในการสวมกางเกงตัวเก่ง  หรือโดยเฉพาะกับแผลเป็นที่ส่วนใหญ่มักจะพบบริเวณใบหน้านั้นมีส่วนที่จะทำให้เด็กๆ หมดความมั่นใจในตนเองได้สูงมาก เด็ก ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกเป็นแผลในปาก เกิดจากการที่ผู้ใหญ่หอมแก้มได้หรือไม่

ทารกเป็นแผลในปาก คือ อาการที่ทารกมีแผลอยู่ในปาก แผลอาจจะมีลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นตุ่มขาว และทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด จนบางไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มนมได้ มักเกิดจาการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอย่างไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริม โดยมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อมาหอมแก้มหรือสัมผัสทารก คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากได้ สัญญาณและอาการแผลในปากของทารก แผลในปากของทารก มักจะมีลักษณะเป็นวงกลม เป็นตุ่มขาวภายในช่องปาก รวมทั้งเป็นแผลบนริมฝีปาก ภายในกระพุ้งแก้ม หรือเป็นแผลภายในช่องปาก บนเหงือกและบนลิ้น ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะเวลาดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่มีรสจัดเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแสบบริเวณแผลได้ ทำให้ในบางครั้งทารกไม่ยอมดื่มนมและร้องไห้ไม่หยุดเพราะความเจ็บปวด หากพบว่าทารกมีแผลในปากควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน สาเหตุที่ทำให้ ทารกเป็นแผลในปาก แผลในปากของเด็กทารกสามารถเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริมได้ ซึ่งอาจติดเชื้อมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อไวรัสชนิดนี้หอมแก้มหรือมาสัมผัสผิวหนัง นอกจากนั้น การที่ทารกเป็นแผลในปาก อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ ความเหนื่อยล้า หากทารกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารโดยได้สารอาหารไม่ครบถ้วนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนเกิดเป็นแผลในปากได้ง่าย ความเครียดและความกังวล การเคี้ยวหรือกัดกระพุ้งแก้มตัวเองโดยไม่ตั้งใจ อาจทำให้เกิดเป็นแผลในปากได้ด้วย ใช้แปรงสีฟันที่ไม่เหมาะกับวัย จนทำให้เนื้อเยื่อภายในช่องปากของทารกเกิดความเสียหาย บาดเจ็บเนื่องจากนำวัตถุบางอย่างที่มีคมหรือเป็นอันตรายเข้าปาก แผลในปากของเด็ก ๆ คล้ายของผู้ใหญ่ ที่เมื่อเป็นแล้วก็จะหายได้ภายในเวลาไม่นาน แต่ทั้งนี้ ทารกควรได้รับการรักษาจากคุณหมอเนื่องจากผิวที่บอบบางและภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีนักอาจติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม