เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ เด็กทารก

การดูแลทารก

วิธีดูแลทารกตัวเหลือง และการรักษาทารกตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองหรือดีซ่าน (Jaundice) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในทารกแรกเกิด มักเกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารเคมีสีเหลืองในเลือดมากเกินไป จนส่งผลให้มีสีผิวหรือสีตาขาวเป็นสีเหลือง วิธีดูแลทารกตัวเหลือง ในเบื้องต้น ทำได้ด้วยการให้ทารกกินนมแม่บ่อยขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายขับบิลิรูบินส่วนเกินออกทางอุจจาระ อาจช่วยให้ภาวะตัวเหลืองดีขึ้นได้ โดยปกติแล้วทารกตัวเหลืองไม่ต้องรับการรักษา เว้นแต่ทารกจะมีระดับบิลิรูบินสูงเกินไป เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีภาวะขาดน้ำ หรือป่วยจนอาการตัวเหลืองไม่สามารถหายไปเองได้ ทั้งนี้ หากดูแลเบื้องต้นแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ทารกยังตัวเหลืองหรือมีอาการแย่ลง ควรพาทารกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ทารกตัวเหลืองเกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารเคมีสีเหลืองที่ถูกเปลี่ยนมาจากฮีโมโกลบินที่เซลล์เม็ดเลือดแดงปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการสลายเม็ดเลือดในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้ตาขาวและผิวหนังของทารกแรกเกิดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากบริเวณใบหน้าและหนังศีรษะ แล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ภาวะตัวเหลืองในทารกมักพบหลังจากทารกเกิดได้ประมาณ 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วันหลังคลอด โดยปกติแล้ว ร่างกายของทารกสามารถกำจัดบิลิรูบินออกไปได้เอง แต่หากตับของทารกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้กำจัดบิลิรูบินไม่ทันและมีสารชนิดนี้สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไปจนทำให้ตัวเหลืองได้ สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลือง อาจมีดังนี้ การได้รับน้ำนมแม่น้อยเกินไป ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ยังผลิตน้ำนมเหลืองหรือโคลอสตรุม (Colostrum) ได้น้อยกว่าน้ำนมขาวทั่วไป จึงอาจทำให้ทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ และร่างกายไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินส่วนเกินได้ทัน ส่งผลให้ทารกตัวเหลืองได้ จึงควรให้กินนมแม่บ่อยขึ้น สารบางชนิดในน้ำนมแม่ (Breast milk jaundice) บางครั้งการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวก็อาจทำให้ทารกไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินส่วนเกินได้ทัน ทารกที่มีภาวะนี้อาจต้องงดกินนมแม่แล้วกินอาหารเสริมอื่น […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Colostrum หรือน้ำนมเหลือง อาหารเสริมภูมิคุ้มกันจากอกแม่

Colostrum หรือโคลอสตรุม คือ น้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนม มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองข้นที่หลั่งออกมาจากเต้านมของคุณแม่ในช่วงประมาณ 1-3 วันหลังคลอด น้ำนมชนิดนี้มีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับทารกแรกเกิด ทั้งยังมีแอนติบอดีที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกได้เป็นอย่างดี และจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นน้ำนมสีขาวภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด ทั้งนี้ คุณแม่ควรให้ทารกกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากนมแม่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กในวัยนี้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Colostrum คืออะไร โคลอสตรุม (Colostrum) หรือน้ำนมเหลือง บางครั้งเรียกว่า หัวน้ำนม เป็นของเหลวสีเหลืองข้นที่หลั่งออกมาในช่วงประมาณ 1-3 วันหลังคลอด Colostrum มีความเข้มข้นสูงและอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลากหลายที่ดีต่อสุขภาพของทารกแรกเกิด แต่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ น้ำนมเหลืองปริมาณ 100 มิลลิลิตรให้พลังงานประมาณ 58-67 กิโลแคลอรี หรือประมาณ 17 กิโลแคลอรี/ 1 ออนซ์ สีเหลืองอ่อนของน้ำนมเหลืองเกิดจากสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) อีกทั้งในน้ำนมเหลืองยังมีวิตามินเอ วิตามินเค โปรตีน สารช่วยในการเจริญเติบโต และเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทานซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค จึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับทารกแรกเกิดได้ เนื่องจากโคลอสตรุมหรือน้ำนมเหลืองผลิตมาจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่รกสร้างขึ้น เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การเก็บน้ำนมให้อยู่ได้นาน สำหรับคุณแม่มือใหม่

ทารกจำเป็นต้องกินนมทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ การเก็บน้ำนม ด้วยการปั๊มนมหรือบีบนมจากเต้าเก็บไว้ใช้งานภายหลังจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณแม่ไม่สะดวกให้นมจากเต้า โดยทั่วไป สามารถเก็บน้ำนมแม่ในช่องแช่แข็งได้นาน 12 เดือน เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ไม่เกิน 4 วัน และไม่เกิน 4 ชั่วโมงเมื่อปั๊มนมแล้วนำมาวางในอุณหภูมิปกติหรืออุณหภูมิห้อง ทั้งนี้ เมื่อเปิดถุงเก็บน้ำนมแล้วเทน้ำนมแม่ใส่ขวดนมให้ทารกกินแล้ว ควรให้ทารกกินนมในขวดหรือนมจากถุงนั้นให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารจากน้ำนมแม่มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่จะแตกต่างไปตามสถานที่และอุณหภูมิที่เก็บน้ำนม โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้ เก็บน้ำนมในอุณหภูมิห้อง ที่อุณหภูมิไม่เกิน 26 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 4 ชั่วโมง แต่ควรนำมาใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนเพราะอาจเร่งให้น้ำนมเสียได้เร็วขึ้น เก็บน้ำนมในถังน้ำแข็ง สามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง นิยมใช้เมื่อต้องเดินทางและไม่สามารถเก็บน้ำนมไว้ในภาชนะที่อุณหภูมิคงที่ได้ ทั้งนี้ ควรรีบใช้ให้เร็วที่สุด ก่อนที่คุณภาพของน้ำนมจะลดลง เก็บน้ำนมในตู้เย็น ที่อุณหภูมิ 0-3.9 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 4 วัน เหมาะสำหรับการเก็บน้ำนมที่ใกล้จะนำไปใช้ ควรวางภาชนะใส่น้ำนมไว้ชิดด้านในสุดของตู้เย็น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเย็นสูงสุด […]


การดูแลทารก

ล้างจมูกทารก ช่วยเรื่องอะไร และวิธีล้างจมูกทารกอย่างปลอดภัย

การ ล้างจมูกทารก เป็นวิธีที่ช่วยให้ทารกที่มีอาการคัดจมูกหรือจมูกตันจากไข้หวัดสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในช่วงให้นมและขณะนอนหลับ วิธีล้างจมูกทารกอย่างปลอดภัย โดยทั่วไปสามารถทำได้ด้วยการใช้หลอดหยด (Dropper) ดูดน้ำเกลือ จากนั้นค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูกของทารก เมื่อจมูกชุ่มชื้นเพียงพอจึงสอดปลายลูกยางแดงขนาดเล็กเข้าไปในรูจมูกแล้วดูดน้ำมูกออกมา ทั้งนี้ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนล้างจมูกทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และหลังล้างจมูกทารกทุกครั้ง ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ล้างจมูก ตากให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในภาชนะสะอาด [embed-health-tool-vaccination-tool] ล้างจมูกทารก ช่วยเรื่องอะไร บางครั้งเมื่อทารกเป็นหวัด มีไข้ หรือไม่สบายจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาจทำให้มีน้ำมูกหรือคราบมูกเหนียวค้างอยู่ในจมูกจนคัดจมูก หายใจไม่สะดวก และส่งผลให้ทารกงอแงในตอนกลางคืนหรือนอนไม่หลับ และหากป่วยนานเกินสัปดาห์หรือภูมิแพ้กำเริบบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบในทารก (Sinusitis) เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ เพราะมีของเหลวคั่งค้างอยู่ภายในโพรงไซนัสเรื้อรัง ทำให้มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกสีเขียวหรือสีเหลือง จมูกไม่รับกลิ่น ไอแบบมีเสมหะ เป็นต้น การล้างจมูกทารกด้วยน้ำเกลือจึงอาจช่วยกำจัดน้ำมูกที่เหนียวข้นหรือแห้งกรังออกจากช่องจมูก ช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจล้างจมูกให้ทารกก่อนให้นมและก่อนนอนประมาณ 15 นาที เพื่อช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขณะกินนม และสามารถหลับสนิทได้ในช่วงงีบระหว่างวันและตอนกลางคืน ล้างจมูกทารกอันตรายไหม การล้างจมูกทารก คือ การทำความสะอาดช่องจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อขจัดมูกเหนียว คราบมูกที่แห้งกรัง หรือหนองบริเวณโพรงจมูก ซึ่งจะช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขึ้น หากล้างจมูกอย่างถูกวิธีจะไม่ทำให้ทารกสำลักหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นคนล้างจมูกให้ทารกควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่และหลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุอื่น ๆ ก่อนล้างจมูกให้ทารก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ และการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เด็ก 1 ขวบ เป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กทารกไปเป็นเด็กวัยเตาะแตะที่กระตือรือร้นและสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กวัยนี้สามารถสื่อสารและแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้หลากหลายขึ้น พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ โดยทั่วไปที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต เช่น หยิบอาหารเข้าปากเองได้ ชอบใช้นิ้วชี้วัตถุหรือรูปภาพ พูดคำที่มีความหมายได้เป็นครั้งแรก การพูดคุย รับฟัง ร้องเพลง เล่านิทาน กระตุ้นให้เด็กขยับร่างกายบ่อย ๆ และให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย การสื่อสาร สังคม และสติปัญญาให้เป็นไปตามวัย ทั้งนี้ หากพบว่าเด็กอาจมีพัฒนาการผิดปกติ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ในด้านต่าง ๆ อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ ยื่นนิทานให้คุณพ่อคุณแม่เมื่อต้องการฟังหรือดูหนังสือนิทานไปพร้อม ๆ กัน ร้องไห้เมื่อไม่เห็นคนคุ้นเคย เขินอายเมื่ออยู่ใกล้คนแปลกหน้า มีสิ่งของที่ชอบ เช่น ของเล่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา และมักถือของสิ่งนั้นไว้เสมอ พูดทวนคำเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนที่อยู่ด้วย พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เรียกคุณพ่อคุณแม่ว่า "ป๊า แม่" หรือเรียกชื่อคนคุ้นเคยได้แล้ว โบกมือไปมาเพื่อบอกลาได้ พยายามพูดทวนคำที่ได้ยินจากคนอื่น เข้าใจคำศัพท์ง่าย […]


เด็กทารก

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน และวิธีส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย

เด็กอายุ 10 เดือนเป็นวัยที่เริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็น พัฒนาการเด็ก 10 เดือน ที่เด่นชัด เช่น เปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืนเองได้ หยิบสิ่งของที่วางไว้ขึ้นมาถือได้ พยายามประกอบคำ 1-2 คำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ทำพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบข้าง เข้าใจความหมายของคำศัพท์มากขึ้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ และเด็กในวัยนี้อาจมีสิ่งของที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ เช่น หนังสือ เพลง เกม ผ้าห่ม ตุ๊กตา หากคุณพ่อคุณแม่พูดคุยตอบโต้ ร้องเพลง อ่านนิทาน เล่นด้วยกัน และชักชวนให้เด็ก 10 เดือนขยับร่างกายและบริหารกล้ามเนื้อบ่อย ๆ อาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 10 เดือน มีอะไรบ้าง พัฒนาการทั่วไปของเด็กอายุ 10 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ให้ความร่วมมือมากขึ้นเมื่อมีคนแต่งตัวให้ เช่น ยกแขนขึ้นสูงให้ใส่เสื้อ ยกขาเมื่อมีคนใส่กางเกงให้ ไม่ชอบอยู่ห่างจากคนคุ้นเคย และร้องหาเมื่อคนเหล่านั้นหายไปจากสายตา ตระหนักถึงความต้องการของตัวเองมากขึ้น และจะแสดงออกให้คนอื่นรับรู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร เช่น ร้องไห้เมื่อถูกห้ามไม่ให้ทำสิ่งที่อยากทำ พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ทำเสียงเลียนแบบคำศัพท์หรือเสียงง่าย ๆ ที่ได้ยิน ทำตามคำสั่งง่าย […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หย่านม อย่างไรให้ถูกวิธี และควรให้เด็กหย่านมเมื่อไหร่

การ หย่านม คือ การให้ลูกเลิกกินนมแม่หลังจากลูกกินนมแม่เป็นระยะเวลาหนึ่ง คุณแม่อาจหยุดให้นมจากเต้าและเปลี่ยนมาปั๊มนมใส่ขวดให้เด็กกินแทน การหย่านมอาจทำได้ด้วยการค่อย ๆ ลดความถี่ในการให้นมจากเต้าและสอนให้เด็กรู้จักการกินนมจากขวดแทน ทั้งนี้ควรให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากน้ำนมแม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ หย่านม โดยปกติ เด็กทารกควรดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นอาจให้เด็กรับประทานอาหารอ่อน ๆ อย่างอื่น เช่น กล้วยบด ผักสุกบด ปลาต้มบด ผลไม้ หรือนมผง ควบคู่กับการกินนมแม่ เพื่อเสริมโภชนาการให้กับเด็ก หากเป็นไปได้ อาจให้เด็กกินนมแม่อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป ได้หากมารดายังมีน้ำนมเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากนมแม่มากที่สุด แต่ต้องรับประทาน อาหารตามวัยควบคู่ไปด้วย ช่วงอายุในการหย่านมแม่ของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแม่และความต้องการของตัวเด็กเอง เช่น คุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน คุณแม่ไม่สะดวกปั๊มนมและเลือกใช้นมผงแทน ปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถให้นมจากเต้าได้อีกต่อไป หรือเด็กมีท่าทีสนใจอาหารอื่นมากกว่านมแม่ เด็กบางคนอาจหย่านมแม่ ตั้งแต่อายุไม่ถึง 6 เดือน และเปลี่ยนมากินนมผงจากขวดนมแทน ในขณะที่บางคนอาจกินนมแม่จากเต้าถึงอายุ 6 เดือนจึงเปลี่ยนเป็นกินนมแม่จากขวดนมจนอายุครบปี ทั้งนี้ สามารถให้เด็กเริ่มใช้ขวดนมเมื่อเด็กอายุอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ และควรหย่านมทั้งจากเต้านมและขวดนมเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป สัญญาณที่แสดงว่าเด็กพร้อม […]


เด็กทารก

พัฒนาการเด็ก4เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการอย่างถูกวิธี

เด็กทารกวัย 4 เดือน เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ชอบเอื้อมไปหยิบสิ่งของเข้าปาก สามารถแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของตัวเอง ทั้งยังชอบส่งเสียงเพื่อสื่อสารกับคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรใช้เวลาทำกิจกรรมง่าย ๆ เช่น การพูด การฟัง การร้องเพลง การอ่าน ร่วมกับเด็กเป็นประจำเพื่อส่งเสริม พัฒนาการเด็ก4เดือน ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก4เดือน มีอะไรบ้าง พัฒนาการทั่วไปของเด็กอายุ 4 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม แสดงท่าทางร่าเริงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง สามารถทำเสียงคิกคักถูกใจเมื่อมีคนมาเล่นด้วย แต่ไม่ถึงกับหัวเราะออกมา สามารถส่งสายตา เคลื่อนไหว หรือส่งเสียงเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ แสดงอารมณ์หรือความรู้สึก เช่น ไม่พอดี ดีใจ เสียใจ ได้ค่อนข้างชัด พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ส่งเสียงอ้อแอ้หรือ อู อา และพยายามเลียนเสียงที่ได้ยิน พูดคุยตอบกลับด้วยภาษาของตัวเองเมื่อมีคนมาคุยด้วย หันหน้าตามเสียงที่ได้ยิน พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มีแรงประคองศีรษะของตัวเองให้อยู่นิ่ง ๆ ได้ในขณะที่ถูกอุ้ม ถือของเล่นค้างไว้ได้เมื่อมีคนหยิบของเล่นไปวางไว้ในมือ เอามือเข้าปากบ่อย ๆ เหวี่ยงแขนใส่ของเล่น ยันตัวขึ้นได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักไปยังข้อศอกและปลายแขน เมื่อนอนคว่ำ พัฒนาการด้านสติปัญญา เมื่อรู้สึกหิวจะอ้าปากรอกินนมหากเห็นขวดนมหรือเต้านมอยู่ใกล้ ๆ […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็กทารก ที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย มีอะไรบ้าง

อาหารเด็กทารก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากทารกเป็นช่วงวัยที่ต้องการพลังงานจากอาหาร เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง ดังนั้น เด็กทารกควรได้รับสารอาหารจากอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะและเหมาะสมกับช่วงอายุ เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กทารก อาหารเด็กทารก ที่เหมาะสมตามช่วงอายุ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมองของเด็กทารก คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้อาหารเด็กทารก ดังนี้ อาหารเด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน เด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน มีความต้องการอาหารเป็นอย่างมาก แต่สามารถดื่มได้แค่นมแม่หรือนมผงเท่านั้น เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถย่อยอาหารแข็งได้ ส่งผลให้ใน 1 วันเด็กทารกต้องดื่มนมบ่อย ๆ ดังนั้น จึงควรให้นมแม่กับเด็กทารก 1-2 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 8-12 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กทารกได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ สำหรับเด็กทารกที่ต้องกินนมผง คุณแม่สามารถให้นมเด็กแรกเกิดในช่วง 2-3 วันแรก ประมาณ 1-2 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 8-12 ครั้ง/วัน และหลังจากนั้นสามารถให้นมผงเพิ่มเป็น 2-3 ออนซ์ ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง ประมาณ […]


การดูแลทารก

ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร และควรดูแลลูกอย่างไร

ลูกแหวะนม หรืออาการที่ลูกมีนมไหลออกมาทางปากหลังกินนม เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนมักมีกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้อาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ควรให้ลูกดื่มนมอย่างระมัดระวัง เพราะนมอาจไหลย้อนออกทางจมูกจนอาจทำให้เกิดการสำลักได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน มักมีอาการแหวะนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารในเด็กทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาได้บ่อย ๆ นอกจากนี้ เด็กยังมีขนาดกระเพาะอาหารและท้องที่เล็กมาก การให้นมลูกในปริมาณที่มากเกินไปจึงอาจทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น ลูกแหวะนมและลูกอาเจียน แตกต่างกันอย่างไร การแหวะนมเป็นการไหลย้อนกลับของนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยนมและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ ไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารและออกทางปากอย่างช้า ๆ ซึ่งการแหวะนมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา แต่สำหรับการอาเจียนในเด็กทารกเป็นอาการที่รุนแรง โดยอาหารกับน้ำย่อยจะไหลย้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ในบางรายอาจเกิดลักษณะอาเจียนพุ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องถูกกระตุ้นโดยศูนย์ควบคุมการอาเจียน (Vomiting Center) ที่รับสัญญาณมาจากระบบประสาท ซึ่งอาจทำให้เด็กมีอาการร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ มีไข้ ไม่สบายตัว ท้องเสีย ท้องบวม ท้องอืด ไม่กินอาหาร และเหนื่อยล้า อาการเมื่อลูกแหวะนม เมื่อลูกแหวะนมอาจมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้ ลูกอาจแหวะนมออกมาทางปากและทางจมูก ลักษณะของน้ำนมที่ลูกแหวะออกมา อาจเป็นก้อนลิ่มคล้ายเต้าหู้ ลูกร้องไห้และงอแงหลังกินนมเสร็จ ลูกนอนบิดตัวไปมา เพราะอาจมีอาการไม่สบายท้อง การดูแลและการป้องกันลูกแหวะนม หากลูกแหวะนมบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจทำตามวิธีต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการแหวะนมของลูก ควรให้นมลูกในท่ายกหัวสูง เช่น ใช้หมอนรองคอลูก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม