backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 หรือประมาณ 7 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจโตพอที่จะเริ่มต่อต้านเวลาที่พ่อแม่แสดงความรัก กอด อุ้ม หรือเวลาที่ถูกแย่งเอาของเล่นไป อีกทั้งยังอาจสามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ได้คล่องขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังไม่ให้ลูกเอานิ้วมือไปแหย่จุดที่อันตราย เช่น ปลั๊กไฟ พัดลม

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

ในช่วงนี้แม่สามารถบอกลูกให้เข้าใจได้แล้วว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ของเล่น เครื่องดนตรีไม่ได้มีเอาไว้ขว้างปา หรือห้ามดึงผมคนอื่น เด็กในวัยนี้จะเริ่มขัดขืนคำสั่งแม่แล้ว เช่น การไม่ยอมทำตามที่แม่บอก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการไม่เชื่อฟังแม่ แต่เป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็นของเด็กวัยนี้นั่นเอง

พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 30

  • นั่งเองได้โดยไม่ได้ต้องมีคนช่วย
  • พยายามรั้งตัวเองไว้ตอนแม่อุ้ม
  • เริ่มต่อต้านถ้าแม่เอาของเล่นของลูกไป
  • หาทางออกจากของเล่นได้
  • หาของที่ตกได้เอง
  • เอานิ้วแหย่ของหรือถือของไว้ในมือตัวเองได้แล้ว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย แม่ควรนำสิ่งของที่มีอันตรายให้อยู่ห่างจากเด็ก

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

แม่ต้องจำไว้ว่าลูกยังไม่สามารถจดจำสิ่งที่เราพูดได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้คำพูดง่าย  ๆ ว่า  “ไม่”  ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่าลูกจะไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้

เด็กส่วนใหญ่จะชอบเล่นจ๊ะเอ๋มาก และการเล่นแบบนี้จะช่วยส่งเสริมให้ลูกรับรู้ได้ว่า มีผู้คนรอบ  ๆ ตัวลูกอยู่ตั้งมากมาย

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ ถ้าคิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัยปรึกษากับหมอในครั้งถัดไป และหากเกิดปัญหาหรือถ้ามีข้อกังวลใด  ๆ เป็นพิเศษ แนะนำว่าควรโทรปรึกษาหมอทันที ไม่ควรรอจนถึงการนัดครั้งถัดไป

สิ่งที่ควรรู้

ภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางเกิดจากปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกายต่ำ ส่งผลให้จำนวนฮีโมโกลบินในเลือดต่ำลง (ฮีโมโกลบินคือสารสีแดงทำหน้าที่นำออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อต่าง  ๆ และรับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารจนกลายเป็น ‘เลือดดำ’ ไปส่งให้ปอด เพื่อทำการฟอกให้เป็นเลือดแดง)  ภาวะโลหิตจางทำให้ร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการอ่อนเพลีย

ภาวะโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงภาวะขาดสารอาหาร ภาวะผิดปกติทางพันธุกรรม การใช้ยา การติดเชื้อ และโรคเรื้อรังต่าง  ๆ ส่วนสาเหตุที่พบมากที่สุดสำหรับภาวะโลหิตจางในเด็กก็คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นผลมาจากการรับประทานธาตุเหล็กไม่เพียงพอ การที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเหมาะสม หรือการมีเลือดออกเรื้อรัง เช่น ภาวะเลือดออกในลำไส้ ภาวะโลหิตจางบางชนิดเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

แม้ว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีภาวะโลหิตจางตั้งแต่กำเนิด แต่ทารกที่คลอดตามปกติก็ควรได้รับธาตุเหล็กเพิ่มเช่นกัน ในช่วง 6 เดือนแรกนั้น ปริมาณธาตุเหล็กจะลดลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องเพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กให้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย บางครั้งในช่วงระหว่างเดือนที่ 9 ถึงเดือนที่ 13 ที่แม่ต้องพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพ คุณหมอจะทำการตรวจเช็คปริมาณฮีโมโกลบิน เพื่อดูว่าลูกน้อยอยู่ในภาวะโลหิตจางหรือเปล่า

อาการของภาวะโลหิตจาง ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย ไม่สบาย เบื่ออาหาร ริมฝีปากและผิวซีด ซึ่งถ้ามีภาวะโลหิตจางในขั้นรุนแรงก็อาจมีอาการหายใจถี่ เป็นโรคหัวใจ มีปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างถาวร และทำให้เด็กรู้สึกอ่อนไหวมากขึ้น และอาจนำไปสู่อาการเป็นพิษได้

ถ้าผลการตรวจเลือดระบุว่าเด็กขาดธาตุเหล็ก หมออาจแนะนำให้เปลี่ยนอาหารหรือให้กินอาหารเสริม แต่การใช้อาหารเสริมพวกนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ การให้ธาตุเหล็กเกินขนาดก็ทำให้ส่งผลที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อเด็กได้เช่นกัน

แม่สามารถป้องกันและให้การรักษาภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กได้ โดยการให้ลูกน้อยได้รับอาหารเสริมธาตุเหล็กที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และนี่คือสิ่งที่แม่ควรทำ

  • พิจารณาว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด การมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย
  • แม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำในการปรับอาหาร หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมธาตุเหล็กกับลูกน้อย
  • ควรให้นมแม่แก่ทารกให้นานที่สุด นมแม่ประกอบด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งดูดซึมง่ายกว่าจากอาหารประเภทอื่น ๆ
  • หากลูกอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ก็ไม่ควรให้ดื่มนมวัว เนื่องจากมีส่วนประกอบของธาตุเหล็กในปริมาณต่ำ และอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองในลำไส้ได้
  • เมื่อลูกอายุครบ 8 เดือน ควรเริ่มให้กินซีเรียลเสริมธาตุเหล็ก รวมทั้งอาหารอื่น  ๆ ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ถั่ว ผักโขม ไข่แดง เนื้อแดง ไก่ ปลา
  • ควรให้อาหารที่มีวิตามินซีสูงกับลูกน้อยด้วย เพราะจะช่วยทำให้ร่างดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น  อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ได้แก่ พริกหยวกแดง มะละกอ แคนตาลูป บร็อคโคลี่ สตรอว์เบอร์รี่ และส้ม

ให้ลูกกินของว่าง

บางครั้งแม่บางคนก็อยากให้ลูกกินของหวานในระหว่างมื้อ แต่จริง  ๆ แล้ว การกินของว่างในปริมาณที่เหมาะสมนั้น มีส่วนสำคัญทางด้านโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโภชนาการสำหรับเด็ก จึงควรเลือกของว่างที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ในช่วงทานอาหารว่างนั้น ลูกน้อยจะมีโอกาสได้ถือขนมปังกรอบ และส่งเข้าปากโดยไม่ต้องกลัวว่าจะพอดีคำหรือเปล่า เพราะบางครั้งวิธีกินของเด็กก็ดูง่ายเกินไป ควรสอนทักษะในการกินอาหารให้ลูกน้อยบ้าง

เด็กมักจะมีกระเพาะอาหารเล็ก จึงมักอิ่มเร็วและหิวง่าย อาหารมื้อหลักจึงอาจไม่สามารถทำให้เด็กรู้สึกอิ่มไปจนถึงเวลาอาหารมื้อต่อไปได้ อาหารว่างจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อลูกน้อยในช่วงนี้ การกินของว่างจะทำให้ลูกน้อยได้มีเวลาผ่อนคลาย เด็กก็ต้องการเวลาพัก ถ้าไม่ให้ลูกกินของว่างในระหว่างมื้อ ลูกก็จะเรียกร้องหานมแม่หรือนมขวด ของว่างจึงช่วยลดการป้อนนม และช่วยให้เด็กหย่านมได้ในที่สุด

แต่อย่างไรก็ตามของว่างก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน แม่จึงควรระมัดระวังในสิ่งต่อไปนี้ด้วย

  • ให้กินของว่างทุกชั่วโมง เพราะการให้กินของว่างในช่วงเวลาใกล้  ๆ กับมื้อหลัก อาจทำให้เด็กอิ่มจนไม่อยากกินอาหารมื้อหลัก จึงควรให้ลูกกินในระหว่างมื้ออาหาร การให้ลูกกินอาหารว่างอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ลูกชินกับการมีอะไรอยู่ในปากตลอดเวลา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่จะสิ่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกต่อไปได้ในอนาคต เช่น ก่อให้เกิดปัญหาฟันผุ โดยเฉพาะพวกแป้ง เนื่องจากเมื่อแป้งโดนน้ำลายก็จะกลายสภาพเป็นน้ำตาลได้

ควรให้อาหารว่างในช่วงเช้าหรือเที่ยง หรือถ้าช่วงระหว่างอาหารเย็นและก่อนนอนห่างกันมาก แม่สามารถเพิ่มอาหารว่างได้  แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่กฎตายตัว แม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

  • แม่ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารว่างกับลูกน้อย เวลาที่ลูกน้อยรู้สึกเหนื่อย ไม่สบาย หรืออย่าใช้อาหารว่างเป็นรางวัลเวลาที่ลูกน้อยทำอะไร ทางที่ดีควรเอ่ยปากชมหรือตบมือให้จะดีกว่า
  • แม่ควรให้ลูกน้อยกินอาหารว่างในสถานที่ที่ปลอดภัย การป้อนอาหารในขณะที่ลูกนอนหงาย กำลังคลาน หรือเดิน ก็อาจทำให้เกิดการสำลักอาหารได้ง่าย ลูกน้อยควรนั่งและรับประทานอาหารด้วยท่าทางที่เหมาะสม และที่สำคัญเด็กควรได้เรียนรู้ถึงกฎการกินอาหารในขณะนั่งกินอยู่บนโต๊ะ

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ลูกน้อยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ความจริงแล้ว ทารก เด็กวัยเตาะแตะ หรือแม้แต่เด็กโต อาจแสดงพฤติกรรมกับอีกแบบ ต่างจากเวลาที่อยู่กับพี่เลี้ยง นี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกน้อยจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยเมื่ออยู่กับ เพราะลูกสัมผัสได้ถึงความรักที่ไม่มีเงื่อนไขจาก ดังนั้นลูกจึงแสดงพฤติกรรมที่แท้จริงออกมา โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเสียความรักจากแม่ไป

แม่อาจจะกลับจากที่ทำงานมาเจอลูกที่บ้านในช่วงที่ลูกกำลังงอแง หงุดหงิด หรือหิวพอดี แม่เองก็อาจจะเครียดจากปัญหาในที่ทำงาน เมื่อมาเจอกับปัญหาลูกน้อยที่บ้านอีก จึงควรระมัดระวังการแสดงออกทางอารมณ์เอาไว้ให้ดี เพราะอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของลูกน้อยได้ และถ้ายิ่งไม่ใส่ใจลูกน้อย ลูกอาจจะยิ่งแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องความสนใจจากมากขึ้นไปอีก

เพื่อให้แม่สามารถจัดการกับปัญหาต่าง  ๆ ได้ง่ายขึ้น ควรทำตามวิธีการดังต่อไปนี้

  • ไม่ควรกลับบ้านในช่วงเวลาที่ทารกกำลังหิวหรืองอแง ควรให้พี่เลี้ยงป้อนอาหารก่อนที่จะกลับถึงบ้าน 1 ชม. การให้ลูกได้งีบหลับจะช่วยป้องกันอาการงอแงได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ลูกนอนนานเกินไป มิฉะนั้นลูกอาจจะตื่นในช่วงที่ไม่ควรตื่นได้
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนกลับเข้าบ้าน เช่น ออกกำลังกาย ดีกว่าจะมานั่งเครียดกับงานยังค้างอยู่ แม่ควรจะหลีกเลี่ยงความวิตกกังวล และทำตัวเองให้สดชื่อผ่อนคลาย ก่อนเดินเข้าบ้านไปเจอลูกน้อย
  • ให้ลูกได้มีส่วนช่วยในกิจกรรมที่แม่กำลังทำอยู่ เมื่อทั้งแม่และลูกอารมณ์ดี ก็จะสามารถทำงานบ้านได้อย่างสบายใจ สามารถวางลูกน้อยไว้บนพื้นในเวลาที่กำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อที่จะสามารถจับตาดูลูกได้ตลอด สามารถอุ้มลูกในขณะที่เช็คอีเมล์ หรือปล่อยให้ลูกน้อยนั่งถือของเล่นอยู่บนเก้าอี้สำหรับเด็ก ในขณะที่กำลังลงมือเตรียมอาหารค่ำ หรือแม่อาจจะล้างผักพร้อม  ๆ กับลูกน้อยไปด้วยก็ได้
  • พ่อแม่ที่ทำงานไปด้วยส่วนใหญ่อาจต้องเจอกับภาวะซึมเศร้าเมื่ออยู่ที่บ้าน ฉะนั้นจึงควรทำให้มีอารมณ์แจ่มใสเข้าไว้หลังจากมีลูกน้อย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Infant development: Milestones from 7 to 9 months. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/infant-development/art-20047086#:~:text=By%20this%20age%2C%20most%20babies,themselves%20to%20a%20standing%20position.. Accessed June 10, 2022.

Baby Development: Your 7-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-7-month-old. Accessed June 10, 2022.

7-8 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/7-8-months. Accessed June 10, 2022.

Your baby’s growth and development – 7 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-7-months-old. Accessed June 10, 2022.

6-7 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/6-7-months. Accessed June 10, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/06/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อันตรายจากปัญหา ลูกไม่นอน และวิธีการแก้ไข

ไข้สูง ปัญหาสุขภาพวัยเด็กที่พบบ่อยกับวิธีดูแลในเบื้องต้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา