สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

สุขภาพ

Toxic คืออะไร และวิธีรับมือเมื่ออยู่ในสถานการณ์ Toxic

Toxic คือ คำที่มีความหมายว่า เป็นพิษ แต่อาจมีความหมายถึงผู้ที่แสดงความคิดและพฤติกรรมไม่ดีต่อผู้อื่นโดยที่อาจไม่รู้ตัวหรือตั้งใจ ทำให้บุคคลที่โดนกระทำไม่อยากอยู่ใกล้หรือเข้าสังคมกับคนกลุ่มนี้ แต่หากจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็ควรศึกษาถึงวิธีการรับมือกับพฤติกรรมหรือคำพูดที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่มีความสุข เครียดและวิตกกังวล Toxic คืออะไร ปัจจุบัน คำว่า Toxic มักใช้เพื่อบ่งบอกถึงพฤติกรรมและความคิดเห็นเชิงลบที่บางคนอาจแสดงออกมาทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจส่งผลไม่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น พฤติกรรมการหึงหวงมากผิดปกติ พฤติกรรม การนินทาลับหลังผู้อื่น การเอาแต่ใจยึดถือแต่ความคิดของตัวเอง Toxic นั้นไม่ถือเป็นโรคทางจิต แต่ปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจบางอย่างอาจส่งผลให้แสดงพฤติกรรมไม่ดีใส่ผู้อื่น เช่น ถูกละเลย ปัญหาในครอบครัว บาดแผลทางจิตใจที่เคยพบเจอมาแล้วจดจำไปแสดงต่อกับผู้อื่น ซึ่งหากไม่ปรับตัวลดความ Toxic ที่กระทำต่อผู้อื่นลงก็อาจส่งผลให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าและใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขได้ [embed-health-tool-heart-rate] ปัญหา Toxic ที่พบได้บ่อย ปัญหา Toxic ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้ Toxic People (บุคคลที่เป็นพิษ) บุคคลที่เป็นพิษ คือ กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะชอบเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางไม่รับฟังผู้อื่น เอาแต่ใจ ชอบได้รับความสนใจ อิจฉาริษยา มองโลกในแง่ลบ โดยจะแสดงพฤติกรรม ความคิด และคำพูดออกมาในเชิงลบที่ไม่สนใจความรู้สึกคนรอบข้างว่าจะรู้สึกอย่างไร เช่น การพูดจาดูถูก การพูดจาใส่ร้าย การนินทาและชักจูงผู้อื่นให้ร่วมต่อต้านบุคคลที่ตัวเองไม่ชอบ การอยู่ร่วมกับบุคคลกลุ่มนี้จึงอาจส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาเสพติด ส่งผลต่อสุขภาพกาย จิตใจและสังคมอย่างไร

ยาเสพติด ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม เนื่องจากยาเสพติดออกฤทธิ์กด กระตุ้น และหลอนประสาทจนทำให้เกิดอาการติดยาขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้เสพมีอาการเห็นภาพหลอน หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง ขาดสติ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผู้เสพมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาในสังคม เช่น การลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น เกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-bmr] ยาเสพติด คืออะไร ยาเสพติด คือ สารที่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือถูกสังเคราะห์ขึ้น และมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสมองและร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาในสังคมได้ด้วย โทษของยาเสพติด ต่อสุขภาพร่างกาย โทษของยาเสพติดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของยา ปริมาณ และความถี่ในการเสพ โดยอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อง่ายและป่วยง่าย ความผิดปกติของหัวใจ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ หัวใจวาย เส้นเลือดยุบตัว การติดเชื้อในกระแสเลือด อาการคลื่นไส้และปวดท้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหารจนอาจส่งผลให้น้ำหนักลดลง เซลล์และเนื้อเยื่อในตับอักเสบมาก เนื่องจากตับต้องทำงานหนักในการขับสารพิษจากยาอยู่ตลอดเวลา จึงอาจส่งผลให้ตับอักเสบและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาต่อตับได้ ความผิดปกติทางสมอง เช่น อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง ความสับสนทางจิตใจ สมองได้รับความเสียหาย โรคปอด โดยเฉพาะการใช้ยาเสพติดด้วยการสูดดม อาจทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้นจนลุกลามกลายไปเป็นโรคปอดได้ ปัญหาในการใช้ชีวิต […]


สุขภาพ

โรคทางพันธุกรรม คืออะไร

โรคทางพันธุกรรม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปสู่บุตรหลานรุ่นสู่รุ่น ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจดูแลตัวเอง ปรับวิถีการใช้ชีวิต หรือรับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โรคทางพันธุกรรม คืออะไร โรคทางพันธุกรรม คือ คำที่ใช้เรียกโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ ที่ส่งผลทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติและถ่ายทอดไปยังบุตรหลานรุ่นสู่รุ่น ดีเอ็นเอนั้นประกอบด้วย ยีนที่รวมตัวกันจนกลายเป็นโครโมโซม ที่มีลักษณะเป็นแท่งเกลียว สำหรับผู้หญิงจะมีโครโมโซม XX ส่วนผู้ชายจะมีโครโมโซม XY โดยปกติแล้วโครโมโซมจะมีจำนวน 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ เช่น ผิว ใบหน้า สีผม ความสูง จากพ่อแม่สู่ลูก แต่หากโครโมโซมมีความผิดปกติ ก็อาจส่งผลให้เด็กมีลักษณะผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรืออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรมบางอย่างได้ ประเภทของโรคทางพันธุกรรม ประเภทของโรคทางพันธุกรรม มีดังนี้ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว (Single Gene Disorder) คือ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติของยีน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. โรคที่เกิดจากยีนเด่น (Autosomal Dominant) คือ การที่ลูกได้รับยีนเด่นซึ่งเป็นยีนที่แสดงลักษณะเด่น เช่น ผมหยิก ห่อลิ้น พับลิ้นได้ […]


สุขภาพ

Introvert คืออะไร มีลักษณะอย่างไรบ้าง

Introvert (อินโทรเวิร์ต) คือ บุคคลที่มีบุคลิกแบบเก็บตัว ซึ่งอาจถูกผู้คนมองว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางจิตใจ แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องปกติและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนบุคคลอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สาเหตุบางอย่างอาจส่งผลให้เป็นอินโทรเวิร์ตโดยไม่รู้ตัว เช่น การต้องกักตัวในช่วงโควิด-19 ความเครียด ความเหนื่อยล้า การชอบความสงบ ซึ่งอาจทำให้มีอาการที่คล้ายกับภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาทางจิตใจอื่น ๆ ดังนั้น หากมีข้อกังวลหรือมีข้อสงสัยว่ามีความผิดปกติ ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอและแจ้งอาการที่เป็นให้คุณหมอทราบเพื่อรับการวินิจฉัยให้แน่ชัด [embed-health-tool-bmi] Introvert คืออะไร Introvert คือ บุคคลที่มีบุคลิกแบบเก็บตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าเข้าสังคมไม่ได้ แค่ชอบความเงียบสงบและรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่กับตัวเองหรือคนกลุ่มน้อยมากกว่า ซึ่งนับว่าเป็นบุคลิกทั่วไปของมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเป็นโรค การเป็นอินโทรเวิร์ตไม่ได้หมายความว่าจะชอบเก็บตัวเสมอไป บางคนอาจสามารถเข้าสังคมพบปะเพื่อนหรือชอบออกไปเที่ยวเหมือนคนอื่น ๆ เพียงแต่อาจจำเป็นต้องมีช่วงเวลาอยู่ตัวคนเดียวเพื่อเติมพลังให้ตัวเอง แตกต่างจากบุคลิกแบบเอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) ที่ชื่นชอบการอยู่รวมกับคนกลุ่มใหญ่ ไม่ชอบอยู่คนเดียว และรู้สึกว่าการใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ คือการเติมพลังให้ตัวเอง นอกจากนี้ คนที่เป็นอินโทรเวิร์ตบางคนอาจมีอาการคล้ายกับโรคทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า กลุ่มอาการด้านลบ (Negative Symptoms) ฮิคิโคโมริ ซินโดรม (Hikikomori Syndrome) ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์แปรปรวน เหม่อลอย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไทรอยด์ และโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับไทรอยด์

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคบางอย่างหรือเมื่อร่างกายตกอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่น อยู่ในภาวะหลังคลอดบุตร หรือได้รับการฉายแสง อาจส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ [embed-health-tool-bmi] ไทรอยด์คืออะไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ หรือข้างใต้ลูกกระเดือก เรื่อยไปจนถึงหลอดลม มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อแบ่งเป็นสองพูซึ่งเชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (Isthmus) โดยมีน้ำหนักรวมประมาณ 25 กรัม ไทรอยด์ สำคัญต่อร่างกายอย่างไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไธรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) และไธไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine หรือ T3) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่รับประทานให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ การทำงานของไทรอยด์ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ผ่านฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-stimulating Hormone หรือ TSH) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมไม่ให้ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากหรือน้อยเกินไป จนนำไปสู่ความผิดปกติภายในร่างกาย นอกจากนั้น ฮอร์โมนไธรอกซินและไธไอโอโดไธโรนีน ยังมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้ เร่งหรือชะลอการเต้นของหัวใจ เพิ่มหรือลดอุณหภูมิภายในร่างกาย เสริมสร้างพัฒนาการให้สมองส่วนต่าง ๆ ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ รักษาความแข็งแรงของผิวหนังและกระดูก โรคต่าง ๆ เกี่ยวกับ ไทรอยด์ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ […]


อาการของโรค

SLE คือ อะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

SLE คือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรืออาจเรียกว่า “โรคพุ่มพวง” ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเนื้อเยื่อร่างกายของตัวเอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่อาจสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือด ข้อต่อ ผิวหนัง ไต สมอง หัวใจ ปอด โรคแพ้ภูมิตัวเองไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่การรักษาอาจช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการได้ SLE คืออะไร  โรค Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE คือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ โดยปกติแล้ว เม็ดเลือดขาวจะมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม แต่ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้นระบบภูมิกันกลับไปทำลายเนื้อเยื่อร่างกายของตัวเอง เนื่องจากอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ข้อต่อ ผิวหนัง ไต  อาการของ SLE อาการของ SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยอาการที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ มีไข้  มีแผลบริเวณเพดานปาก  มีผื่นสีแดงรูปผีเสื้อบริเวณจมูกและแก้ม หรือตามลำตัว  ปวดศีรษะ สับสน มึนงง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

diabetes insipidus (โรคเบาจืด) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

diabetes insipidus หรือ โรคเบาจืด เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียความสมดุลของน้ำ ซึ่งมีผลมาจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone หรือ ADH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป อาจทำให้มีอาการกระหายน้ำมาก ปากแห้ง อ่อนเพลีย ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้ง จนอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้   คำจำกัดความdiabetes insipidus คืออะไร diabetes insipidus หรือ โรคเบาจืด คือ โรคที่ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป โดยอาจปัสสาวะมากถึง 20 ลิตร/วัน ซึ่งผู้ที่มีร่างกายปกติจะปัสสาวะเฉลี่ยเพียง 1-2 ลิตร/วัน เท่านั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาจืดจึงปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้ง เนื่องจากมีอาการกระหายน้ำตลอดเวลาและดื่มน้ำมากขึ้น หรือเรียกว่า ภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ (Polydipsia) โรคเบาจืดไม่เหมือนกับโรคเบาหวาน แม้ว่าจะมีอาการกระหายน้ำมากและมีการปัสสาวะมากขึ้นเหมือนกัน แต่โรคเบาหวานเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปและไตจะพยายามขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ส่วนโรคเบาจืดจะมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แต่ไตมีความผิดปกติที่ไม่สามารถขับปัสสาวะได้อย่างเหมาะสม อาการอาการของ diabetes insipidus อาการของโรคเบาจืดอาจสังเกตได้ ดังนี้ กระหายน้ำและต้องการดื่มน้ำมากขึ้น ปวดปัสสาวะมากขึ้น ประมาณ 20 ลิตร/วัน และปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน ปัสสาวะมีสีซีด ปวดกล้ามเนื้อ ร่างกายอ่อนแอ เหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หมดสติ อาการของโรคเบาจืดในทารกหรือเด็กเล็ก อาจมีดังนี้ ปัสสาวะรดผ้าอ้อมและที่นอน นอนหลับยาก มีไข้ อาเจียน น้ำหนักลดลง ท้องผูก การเจริญเติบโตล่าช้า หากมีอาการปัสสาวะมากเกินไปและกระหายน้ำผิดปกติควรรีบพบคุณหมอทันทีเพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุสาเหตุของ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วัคซีนมีความสำคัญอย่างไร และสามารถเข้ารับวัคซีน ได้ที่ไหนบ้าง?

การรับวัคซีน สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้เรียนรู้และเตรียมพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคก่อนที่ร่างกายจะได้รับเชื้อ เมื่อเชื้อโรคชนิดนั้นเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การรับวัคซีนสำคัญอย่างไร การฉีดวัคซีน อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้สนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรง โดยเมื่อระบบภูมิคุ้มกันตรวจพบซากเชื้อหรือเชื้อโรคที่ผ่านการดัดแปลงจนอ่อนแอลงภายในวัคซีน ก็จะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาจัดการกับเชื้อโรคนั้น ทำให้เมื่อได้รับเชื้อจริง ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นได้ทันที และลดโอกาสการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง นอกจากนี้ การรับวัคซีนสามารถป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและการเกิดโรคในผู้อื่นได้อีกด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับวัคซีน จากข้อมูลของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ประเทศไทย ระบุว่า สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่แรกเกิด และควรเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด ดังนี้ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิดภายใน 24 ชั่วโมง หลังคลอด วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด ก่อนจะออกจากโรงพยาบาล วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี (DTP-HB) อาจเริ่มฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน และเมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือนอาจเปลี่ยนฉีดเพียงแค่วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรน (DTP) และฉีดอีกครั้งเมื่ออายุ 4 […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธี เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน โควิด-19 และการดูแลตัวเองหลังฉีด

การศึกษา วิธี เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน ที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้แก่ร่างกาย โดยทั่วไป ผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนควรนอนหลับให้เพียงพอ งดออกกำลังกายหรือยกของหนักก่อนมาฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ควรศึกษาถึงวิธีการปฏิบัติตัวระหว่างรับการฉีดวัคซีน และวิธีดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีนด้วย เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 และช่วยให้วัคซีนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การ เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน การ เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน อาจทำได้ดังนี้ นอนหลับให้เพียงพอก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน ไม่ควรอดนอนเนื่องจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย กระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และอาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ได้แก่  วิตามิน เช่น วิตามินเอ ที่พบในเครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม และวิตามินซี ที่พบในผักและผลไม้ แร่ธาตุ เช่น สังกะสี ที่พบในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ปลา  โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นมพร่องหรือขาดมันเนย ชีสชนิดไขมันต่ำ เต้าหู้ ถั่วเหลือง จุลินทรีย์สุขภาพ […]


สุขภาพ

วิธีทำเจลล้างมือด้วยตัวเอง และวิธีใช้ที่ถูกต้อง

ในปัจจุบัน เจลล้างมือ เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ควรพกติดตัว เพื่อช่วยทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มือได้ ในกรณีที่ไม่สะดวกจะล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เจลล้างมือที่ดีควรมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60% ขึ้นไป เพื่อประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อโรค เจลล้างมือ คืออะไร เจลล้างมือ คือ เจลทำความสะอาดมือที่สามารถพกพาและใช้ในกรณีที่ไม่สะดวกล้างมือด้วยน้ำและสบู่ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำให้ใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60%-95% ถึงจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ ควรเก็บเจลล้างมือให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง  วิธีใช้เจลล้างมือ เคล็ดลับในการใช้เจลทำความสะอาดมืออย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้ หยดเจลล้างมือลงบนฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่ง  ถูเจลล้างมือให้ทั่วทั้งมือและรอบนิ้ว ง่ามนิ้ว รวมถึงบริเวณข้อมือ  ถูอย่างต่อเนื่อง 30-60 วินาที หรือจนกว่าเจลล้างมือจะแห้ง เพื่อฆ่าเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย โดยไม่ต้องล้างน้ำออก  อย่างไรก็ตาม หากมือสกปรกหรือเปื้อนมากเกินไป เช่น เปื้อนโคลน เปื้อนดิน การใช้เจลล้างมืออาจไม่เพียงพอต่อการทำความสะอาด ควรล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ช่วงเวลาใดบ้างที่ควรล้างมือ การล้างมือบ่อย ๆ อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ และลดการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่ผู้คนอื่นได้ เมื่อทำกิจกรรมบ้างอย่างควรล้างมือ เช่น ควรล้างมือทุกครั้งก่อนทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้ ก่อน ระหว่าง และหลังเตรียมอาหาร รวมไปถึงก่อนรับประทาน  ก่อนและหลังจากการดูแลผู้ป่วย  หลังจากไอหรือจาม  หลังจากเข้าห้องน้ำ  หลังจากสัมผัสสิ่งของบางอย่างที่อาจสกปรก หลังจากสัมผัสสัตว์ อาหารสัตว์ หรือมูลสัตว์ หลังจากสัมผัสขยะ  ข้อควรระวังในการใช้เจลล้างมือ ควรระมัดระวังและเก็บเจลล้างมือให้พ้นมือเด็กเล็ก และสัตว์เลี้ยง ควรใช้เจลล้างมือในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากเจลล้างมือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่เป็นสารระเหยง่าย และอาจติดไฟได้  เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์น้อยกว่า 60% อาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย  เจลล้างมือไม่สามารถช่วยกำจัดสารเคมีได้ เช่น ยาฆ่าแมลง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน