backup og meta

วิธีการรับมือกับความวิตกกังวล ควรทำอย่างไรบ้าง

วิธีการรับมือกับความวิตกกังวล ควรทำอย่างไรบ้าง

คนส่วนใหญ่มักรู้สึกวิตกกังวล หรือหวาดกลัวในบางครั้ง ซึ่งบางครั้งมันอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในการทำหลายๆ สิ่งได้ บางครั้งมันอาจจะเป็นไปได้ยากที่จะรับมือกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในทันที แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไร วันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องเกี่ยวกับ วิธีการรับมือกับความวิตกกังวล มาฝากกัน

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความวิตกกังวล

อาการวิตกกังวลและหวาดกลัวอย่างกระทันหัน อาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยมากมาย โดยแบ่งเป็น อาการทางกายภาพ อาการทางจิต และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ซึ่งอาการต่างๆ จะแสดงออกดังนี้

อาการทางกายภาพ

  • รู้สึกสูญเสียการควบคุม
  • เหงื่อออก ตัวสั่น
  • หายใจถี่ หรือหายใจเร็วมาก
  • รู้สึกไม่สบาย
  • คลื่นไส้
  • ปวดหัว
  • รู้สึกมึนและวิงเวียน
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้นอย่างผิดปกติ

อาการทางจิต

  • รู้สึกเครียด
  • ไม่สามารถผ่อนคลายได้
  • กังวลเกี่ยวกับอดีตหรืออนาคต
  • น้ำตาไหล
  • ไม่สามารถนอนหลับได้

การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

  • ไม่สามารถเพลิดเพลินกับเวลาว่างได้
  • ไม่ค่อยดูแลตัวเอง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิในการทำงาน
  • ดิ้นรนเพื่อสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ต่างๆ
  • กังวลเกี่ยวกับการต้องลองสิ่งใหม่ๆ

ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้มักใช้เวลาประมาณ 5-30 นาที แม้อาการที่เกิดขึ้นจะสร้างความหวาดกลัวให้กับคุณ แต่มันก็ไม่ได้อันตรายแต่อย่างใด

วิธีการรับมือกับความวิตกกังวล สามารถทำได้ดังนี้

ความวิตกกังวลของคุณอาจเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่คุณได้พบเจอ ดังนั้น เมื่อเกิดความวิตกกังวล ความกลัว หรือความตื่นตระหนกขึ้น คุณสามารถรับมือได้ด้วยวิธีการเหล่านี้

  • ลองตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปแบบความคิดของคุณ

ความคิดเชิงลบ สามารถหยั่งลึกลงไปในจิตใจของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนั้นมันยังทำให้คุณสามารถบิดเบือนสถานการ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วย ดังนั้น วิธีการรับมือที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ ลองท้าทายความกลัวของคุณว่าความคิดลบที่เกิดขึ้นในจิตใจนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และดูว่าคุณจะสามารถควบคุมมันได้มากน้อยขนาดไหน

  • ฝึกการหายใจลึกๆ

ลองหายใจเข้า 4 ครั้ง แล้วหายใจออก 4 ครั้ง รวม 5 นาที การฝึกหายใจนั้นจะช่วยทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง นั่นจึงช่วยทำให้คุณสงบลงได้ด้วย

  • ใช้น้ำมันหอมระเหย

การใช้น้ำมันหอมระเหย จะช่วยเปิดการรับรู้บางอย่างในสมองของคุณ ซึ่งอาจทำให้คลายความวิตกกังวลได้ นอกจากน้ำมันหอมระเหยแล้ว การใช้ธูป หรือเทียนที่มีกลิ่มหอมๆ เช่น ลาเวนเดอร์ ดอกคาโมไมล์ และไม้จันทน์ ก็สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายได้เช่นกัน

  • ออกไปเดินเล่นหรือทำโยคะ 15 นาที

อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการหยุดความวิตกกังวล คือ การเดินออกจากสถานการณ์ตึงเครียดที่คุณกำลังเผชิญอยู่ แล้วมุ่งความสนใจไปยังร่างกายและสภาพจิตใจของคุณจะดีที่สุด บางครั้งการออกไปเดินเล่นสักพัก อาจช่วยบรรเทาความกังวลของคุณได้ หรือแม้กระทั่งกายเล่นโยคะที่มุ่งเน้นไปยังลมหายใจ ก็อาจทำให้คุณผ่อนคลายความวิตกกังวลได้เช่นกัน

  • เขียนความคิดของคุณ

การเขียนความคิดหรือเขียนระบายความรู้สึกของคุณลงในสมุด เป็นการเอาความวิตกกังวลออกไปจากหัว และทำให้ความวิตกกังวลนั้นลดน้อยลงไป

  • ทำสมาธิทุกวันหรือทำเป็นประจำ

การทำสมาธิอย่างมีสติ เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอจะสามารถช่วยให้คุณฝึกสมองของคุณให้เลิกคิดวิตกกังวลได้เมื่อความวิตกกังวลนั้นเกิดขึ้น วิธีการเริ่มฝึกสมาธิที่ดีที่สุดคือ เริ่มต้นด้วยโยคะ เพราะการนั่งนิ่งๆ และจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากของผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกการทำสมาธินั่นเอง

  • ลองอาหารเสริมหรือเปลี่ยนอาหารที่ทานประจำ

การเปลี่ยนแปลงอาหารที่ทานเป็นประจำ หรือการรับประทานอาหารเสริม ถือเป็นกลยุทธ์ระยะยาว จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาหารเสริม หรือสารอาหารบางอย่างนั้น สามารถช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ อาหารที่ช่วยคลายความวิตกกังวล ได้แก่

อย่างไรก็ตาม การทานอาหารเสริมหรือการเปลี่ยนแปลงอาหารที่ทานเป็นประจำ อาจใช้เวลาถึง 3 เดือน ก่อนที่ร่างกายของคุณจะได้รับสารอาหารของสมุนไพรหรืออาหารที่เราเปลี่ยนแปลงไป หากคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจ หรือปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมจะเป็นการดีที่สุด

  • รักษาร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารให้สมดุล นอนหลับให้สนิท และพยายามพูดคุยกับผู้ที่ห่วงใยคุณ ถือเป็นอีกวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณป้องกันตัวเองจากอาการวิตกกังวลได้

แต่หากความวิตกกังวลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งชีวิตของคุณ คุณจำเป็นจะต้องหาวิธีอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยคุณในการตรวจสอบอารมณ์ ซึ่งมันอาจจะต้องใช้วิธีการผสมผสานกัน เช่น การพูดคุยเพื่อบำบัด ผสมผสานกับการทำสมาธิ ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ การคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตดูจะเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด เพราะผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำสิ่งที่คุณไม่เคยคาดคิดมากก่อน ซึ่งการระบุความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือจากนักบำบัด อาจจะทำให้คุณเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่า ความวิตกกังวลของคุณเกิดขึ้นจากอะไร ยกตัวอย่างเช่น คาเฟอีน ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ บางครั้งสถานการณ์ทางการเงิน หรืองานที่คุณทำอยู่ ก็อาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลในระยะยาว ก็เป็นได้

วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการกับความวิตกกังวลก็คือ พยายามควบคุมสิ่งที่คุณสามารถทำได้ และยอมรับกับสิ่งที่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นั่นเอง นอกจากนั้น การช่วยเหลือของเพื่อนหรือครอบครัว ก็ดูจะเป็นการช่วยทำให้คุณคลายความวิตกกังวลได้ดีขึ้น หากยังไม่ดีขึ้นการเข้าพบกับนักบำบัดโรค หรือการใช้ยา ดูจะเป็นทางออกที่คุณควรเลือกมากที่สุด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Anxiety, fear and panic. https://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/understanding-panic/. Accessed March 11, 2020

Do You Live with Anxiety? Here Are 11 Ways to Cope. https://www.healthline.com/health/mental-health/how-to-cope-with-anxiety. Accessed March 11, 2020

Coping With Anxiety. https://www.webmd.com/anxiety-panic/features/coping-with-anxiety#3. Accessed March 11, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง

เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย (Target Heart Rate Calculator)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา