backup og meta

สัญญาณเหล่านี้ บ่งบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่คุณควร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ

สัญญาณเหล่านี้ บ่งบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่คุณควร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ

ปัญหาด้านการนอนหลับ นอนไม่ค่อยหลับ หลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ จนทำให้ตัวเองนั้นนอนหลับไม่เพียงพอ ปัญหาการนอนเหล่านี้อาจกลายมาเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในการนอนไม่หลับนั้นก็อาจจะมีจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ปัญหาจากโรคประจำตัว ซึ่งหลายคนที่มีปัญหาในการนอนหลับอาจจะชินกับปัญหาในการนอนที่เกิดขึ้นจนละเลยไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีสัญญาณมาให้ทุกคนตรวจสอบตัวเองกันว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่คุณควร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ คือใคร

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เป็นผู้ที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการนอนหลับ หลายๆ ครั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับก็อาจจะเป็นแพทย์หรือจิตแพทย์ ซึ่งจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการนอนหลับ (Sleep medicine) ซึ่งเป็นศาสตร์เฉพาะทางที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติในการนอนหลับและปัญหาในการนอนหลับ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาในการนอนหลับ

สัญญาณที่บ่งบอกว่าควร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ

มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง

หากคุณมีปัญหาในการนอนไม่หลับ นอนไม่หลับในตอนกลางคืน ตื่นระหว่างคืนบ่อย หรือบางคนอาจมีอาการตื่นเร็วในตอนเช้าและไม่สามารถกลับไปนอนได้อีก แม้ว่าคุณจะรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลียขนาดไหนแต่ร่างกายกลับหลับไม่ลง การนอนไม่หลับเป็นครั้งคราวอาจทำให้ร่างกายคุณอ่อนล้า แต่หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังอาจจะต้องไปพบคุณหมอ ก่อนที่ร่างกายจะเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ซึ่งอาการนอนไม่หลับนั้นอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้

รู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน

อาการรู้สึกง่วงนอนผิดปกติในตอนกลางวัน (Excessive daytime sleepiness หรือ EDS) เป็นอาการที่คุณจะรู้สึกง่วงนอนมากในตอนกลางวัน แม้ในตอนกลางคืนจะนอนมากขนาดไหน แต่ยังสามารถเกิดอาการง่วงได้ ซึ่งอาการง่วงนอนในตอนกลางวันนั้นอาจส่งผลทำให้คุณไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรืออาจทำให้เกิดอันตรายต่อการทำกิจกรรมบางอย่างเช่น การขับรถ การทำงานกับเครื่องจักร นอกจากนี้การง่วงในตอนกลางวันยังทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด

มีอาการกรนขณะนอนหลับ

การนอนกรนเสียงดังในเวลากลางคืนนั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่เป็นอันตราย ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมักจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง บางร้ายอาจอันตรายจนเสียชีวิตได้

ประสบกับโรคขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome)

โรคขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome หรือ RLS) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะขยับขาอยู่บ่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นที่ขา อย่างอาการปวดเมื่อย ปวดขาช่วงล่าง ซึ่งอาจทำให้คุณนอนหลับได้ยากในเวลากลางคืน ซึ่งโรคขาอยู่ไม่สุขนั้นยังมีความเกี่ยวข้องกับการขาดสารโดปามีน (Dopamine) ในสมอง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาทอย่างโรคพาร์กินสัน (Parkinson) ซึ่งส่งผลให้หลับได้ยากในเวลากลางคืนหากใครที่มีอาการเช่นนี้ควรรีบเข้าปรึกษากับคุณหมอทันที

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ช่วยอะไรได้บ้าง

การนอนไม่หลับไม่เพียงพอนั้นมีผลต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ เมื่อคุณเข้ารับการปรึกษาการนอนหลับกับผู้เชี่ยวชาญ จะเริ่มต้นด้วยการวินิจฉัยถึงสาเหตุของการเกิดปัญหาในการนอนไม่หลับ ซึ่งความผิดปกติที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เจอนั้นมาจากปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ โรคขาไม่อยู่สุข เมื่อคุณไม่ได้รับการนอนที่มีประสิทธิภาพและไม่เพียงพอ จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า เครียด และไม่มีพลังในการทำกิจกรรมระหว่างวัน การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญนั้นจะทำให้คุณรู้สาเหตุและรักษาได้ตรงจุด จนสามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่กระทบกับการใช้ชีวิต

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Sleep Rx

https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/sleep-rx-specialist#1

7 Signs You Should See a Sleep Specialist

https://www.healthline.com/health/narcolepsy/see-a-sleep-specialist

When to See a Sleep Specialist

https://www.rwjbh.org/blog/2020/january/when-to-see-a-sleep-specialist/

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/06/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนบนพื้น ดีต่อสุขภาพหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพกันแน่

5 สาเหตุสำคัญ ที่อาจทำให้คุณเป็น โรคนอนไม่หลับ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 30/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา