backup og meta

วิธีเลือกขนมปังสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

วิธีเลือกขนมปังสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

คนที่เป็น โรคเบาหวาน นั้น ก่อนที่จะรับประทานอะไร อาจจำเป็นจะต้องอ่านฉลาก เพื่อสร้างความมั่นใจว่า อาหารเหล่านั้นจะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้อาการเบาหวานของคุณแย่ลงกว่าเดิม เพราะเนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องมีการควบคุมปริมาณของน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในความสมดุลอยู่เสมอ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้มีคำแนะนำในการ วิธีเลือกขนมปังสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน สำหรับคนที่กำลังประสบกับ โรคเบาหวาน หรือบุคคลที่มีคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้ และมักชื่นชอบกินขนมปังมาฝากทุกท่านกันค่ะ

ขนมปังกับคนเป็นโรคเบาหวาน สัมพันธ์กันอย่างไร

ขนมปังมีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่ป่วยเป็น โรคเบาหวาน เนื่องจากขนมปังนั้นเป็นแหล่งของสารอาหารที่ชื่อว่า คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) โดยปกติแล้ว คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ในแต่ละวัน เราจึงจำเป็นต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่จะดูดซึมเอาสารอาหารไปใช้

ในขณะที่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น เมื่อรับประทานอาหารประเภทแป้ง ข้าว หรือขนมปัง ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตเข้าไป กลับทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายของเราจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ดังนั้น หากไม่ควบคุมการรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้เหมาะสม หรือกินคาร์โบไฮเดรตมากจนเกินไป ก็เสี่ยงที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการที่ทรุดลงได้

ขนมปังแบบไหนดีต่อสุขภาพผู้ป่วย โรคเบาหวาน

ใคร ๆ ก็ชอบกินขนมปัง แต่กับคนเป็นโรคเบาหวานนั้น จะรับประทานขนมปังแบบสุ่มสี่สุ่มห้าคงจะไม่ได้ เพราะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของระดับคาร์โบไฮเดรต มาดูกันว่าขนมปังแบบไหนถึงจะเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

  • ขนมปังที่มีส่วนผสมของแป้งสเปลท์ (Spelt) เมล็ดเจีย และแป้งอัลมอนด์

ขนมปังชนิดนี้จะให้โปรตีน ไฟเบอร์ และไขมันที่มีประโยชน์ แต่ควรระวังเรื่องของแคลอรี่ เพราะขนมปังชนิดนี้เพียง 1 ชิ้น อาจให้พลังงานชิ้นละ 100 แคลอรี่เลยทีเดียว จึงควรอ่านฉลากก่อนซื้อเสมอ

  • ขนมปังที่มีส่วนผสมของธัญพืชแบบไม่ขัดสี หรือแป้งตอติญ่า

ขนมปังชนิดนี้ รวมถึงแป้งตอติญ่า มีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่ไฟเบอร์สูง เพราะให้ไฟเบอร์สูงกว่าขนมปังแบบอื่น ๆ ถึงสองเท่า

  • ขนมปังแบบโฮลเกรน

ขนมปังโฮลเกรน หรือก็คือขนมปังที่ทำมาจากธัญพืชเต็มเมล็ด การรับประทานขนมปังโฮลเกรนแผ่นบาง ๆ จะได้ปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมคาร์โบไฮเดรต

  • ขนมปังข้าวเพาะงอก (Sprouted bread)

อาจจะฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูสำหรับบ้านเรา เพราะในขณะที่ขนมปังแบบอื่น ๆ มักจะทำมาจากแป้ง แต่ขนมปังข้าวเพาะงอกนั้น ทำมาจากธัญพืชหรือเมล็ดข้าวสาลีที่กำลังจะงอก ซึ่งจะต่างกับธัญพืชทั่วไปตรงที่ธัญพืชที่ใช้ทำแป้งชนิดนี้จะเป็นธัญพืชมีทั้งความชื้นและความอบอุ่นเตรียมพร้อมต่อการงอก ขนมปังข้าวเพาะงอกมีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำมาก แต่มีโปรตีนสูง สามารถย่อยได้ง่าย และยังได้ประโยชน์จากเมล็ดธัญพืชแบบเต็ม ๆ อีกด้วย

  • ขนมปังพัมเพอร์นิกเกิลแบบดั้งเดิม (Traditional pumpernickel bread)

ขนมปังพัมเพอร์นิกเกิลทำมาจากแป้งไรย์กับแป้งสาลี และหมักด้วยยีสต์ธรรมชาติที่เรียกว่า Sourdough Starter ขนมปังแบบนี้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากให้คาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่ข้อควรระวังคือ ควรเลือกแบบที่มีกากน้ำตาลน้อย เพราะถ้ารับประทานชนิดที่มีกากน้ำตาล ก็จะเป็นการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น

  • ขนมปังแบบไม่มีกลูเตน

ขนมปังประเภทนี้ นอกจากจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนกลูเตนจากธัญพืชแล้ว ยังเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอีกด้วย 

วิธีเลือกขนมปังสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน

แม้คุณหรือคนใกล้ตัวคุณจะเป็นโรคเบาหวาน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าชีวิตนี้จะต้องตัดขาดจากการรับประทานขนมปังไปเลย เพียงเพราะสาเหตุของการควบคุมคาร์โบไฮเดรต ถ้าหากคุณชอบขนมปังแต่เป็นเบาหวาน คุณสามารถเลือกขนมปังที่เหมาะกับคุณได้ ดังนี้

เป็นเบาหวานต้องเลือกแบบนี้

  • เลือกขนมปังที่มีส่วนผสมของธัญพืช
  • เลือกขนมปังที่มีไฟเบอร์ เฉลี่ยชิ้นละอย่างน้อย 3 กรัม
  • เลือกขนมปังที่มีพลังงานน้อยกว่า 100 แคลอรี่
  • หากไม่ใช่ขนมปัง ลองเปลี่ยนมาเป็นแป้งตอติญ่า เพราะให้คาร์โบไฮเดรตต่ำ มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • เลือกรับประทานขนมปังคู่กับแป้งตอติญ่า ช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มได้มากขึ้น แต่ยังได้รับปริมาณของคาร์โบไฮเดรตในระดับต่ำ 

เป็นเบาหวานแบบนี้ควรเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงขนมปังขาว หรือขนมปังที่ทำมาจากแป้งข้าวสาลีที่ผ่านการขัดสี
  • หลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของคำโฆษณา แต่ควรอ่านฉลากเพื่อความมั่นใจว่า ขนมปังที่กำลังจะซื้อนั้นมีส่วนผสมและสารอาหารจากธัญพืชจริง ๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมปังเปล่า ๆ แต่ควรเพิ่มโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ลงไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น

ที่สำคัญคุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ตามใบนัดอยู่เสมอ รวมทั้งกรณีที่มีอาการแทรกซ้อนเผยออกมา เพราะจะทำให้คุณ และแพทย์ทราบได้ว่าคุณควรมีการปรับพฤติกรรมในการดูแลตนเองในด้านใดอีกบ้าง เพื่อความปลอดภัยแก่สุขภาพ และร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Are the Best Breads for People with Diabetes?. https://www.healthline.com/health/diabetes/best-bread-for-diabetics.  Accessed on January 20, 2020.

Bread and diabetes. https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/enjoy-food/carbohydrates-and-diabetes/bread-and-diabetes.  Accessed on January 20, 2020.

Best and Worst Breads for People With Type 2 Diabetes. https://www.everydayhealth.com/type-2-diabetes/best-worst-breads-diabetes/.  Accessed on January 20, 2020.

7 Great Reasons to Add Sprouted Grain Bread to Your Diet. https://www.healthline.com/nutrition/sprouted-grain-bread.  Accessed on January 20, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/03/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล กับข้อควรรู้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ขนมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีขนมอะไรบ้างที่กินได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา