backup og meta

เบื่ออาหารหลังฉายรังสี ควรแก้ไขอย่างไรดี เพื่อสุขภาพของคุณ

เบื่ออาหารหลังฉายรังสี ควรแก้ไขอย่างไรดี เพื่อสุขภาพของคุณ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งและรับการรักษาด้วยการฉายรังสีนั้น มักจะมีผลกระทบที่ตามมาก็คือ อาการ เบื่ออาหารหลังฉายรังสี ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง หรือบางคนอาจจะถึงขั้นไม่อยากทานอะไรเลยก็เป็นได้ แต่เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็จะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ก็อาจจะอ่อนแอลงตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรกับอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นนี้ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

เบื่ออาหารหลังฉายรังสี เกิดขึ้นได้อย่างไร

หลายคนที่เป็นมะเร็ง และรักษาด้วยการฉายรังสี อาจเกิดอาการเบื่ออาหาร เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อการทานอาหาร โดยทำให้คุณรู้สึกเบื่ออาหาร เมื่อเกิดอาหารเบื่ออาหารขึ้นมาก็จะทำให้คุณทานอาหารได้ไม่มากเพียงพอ จึงส่งผลให้คุณน้ำหนักลดลง โดยน้ำหนักลดลงถือเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดของการรักษาโรคมะเร็ง เมื่อคุณทานอาหารได้ไม่เพียงพออาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งส่งผลต่อการรักษาแผล ทั้งยังทำให้เหนื่อยล้าและไม่สบายตัว ดังนั้น ในระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง คุณควรจะต้องได้รับการบำรุงอย่างดี ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสมดุล เพื่อให้อาหารเหล่านั้นเป็นพลังงานและเชื้อเพลิงให้กับร่างกาย ในการต่อสู้กับการติดเชื้อ และการพักฟื้น ในขณะที่คุณต้องเข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสี และการได้รับประทานอาหารอ่อนๆ จะเป็นการดีต่อร่างกายของผู้พักฟื้นเป็นอย่างมาก

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการ เบื่ออาหารหลังฉายรังสี

อาการเบื่ออาหารหลังฉายรังสีนั้น มันอาจรวมถึงการรักษาที่ต้องใช้เคมีบำบัด และการผ่าตัดด้วย หลังจากฉายรังสีแล้ว อาจจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งมันจึงกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดอาการเบื่อหลังฉายรังสี ซึ่งอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีดังนี้

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องผูก
  • โรคท้องร่วง
  • เจ็บปาก
  • ปากแห้ง
  • เคี้ยวหรือกลืนลำบาก
  • รสชาติและกลิ่นที่ได้รับมีการเปลี่ยนแปลง
  • เกิดความเมื่อยล้า
  • จำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ หรือโลหิตจาง
  • ติดเชื้อ
  • มีความกระตือรือร้นน้อยลง
  • หายใจลำบาก
  • วิตกกังวล หรือหดหู่
  • เกิดความรู้สึกแน่น เนื่องจากการสะสมของเหลวในช่องท้อง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า น้ำในช่องท้อง

แก้ไขอาการ เบื่ออาหารหลังฉายรังสี อย่างไรถึงจะดี

สำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง การรักษาน้ำหนักเอาไว้ถือเป็นเร่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก แม้จะเกิดอาการเบื่ออาหารระหว่างการรักษา หรือหลังจากฉายรังสีก็ตาม สำหรับวิธีการแก้ไขอาการเบื่ออาหารหลังฉายรังสี สามารถทำได้ดังนี้

รักษาช่วงเวลาในการทานอาหารและอาหารว่างให้ยืดหยุ่น

ความกังวลเกี่ยวกับการรักษา ก็สามารถส่งผลต่อความอยากอาหารได้ด้วย สิ่งที่ต้องทำใจยอมรับก็คือ จะมีอาหารเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่สามารถดึงดูดใจได้ แต่จำเป็นจะต้องเลือกอาหารที่มีความหลากหลาย พยายามอย่าข้ามมื้ออาหาร พยายามทานอาหารเป็นประจำแม้จะทานได้เพียงเล็กน้อยก็ตาม นอกจากนั้นลองทานมื้อเล็กๆ และของว่างตลอดทั้งวันเป็นการทดแทน บางคนเอาจกิดความอยากอาหารในช่วงเช้า ดังนั้น ทานอาหารเช้าเป็นมื้อใหญ่ และลองทานขนมก่อนเข้านอนเพิ่มทดแทนมื้ออาหารอื่นๆ และถ้าคุณเป็นผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง อย่าโทษพวกเขาที่ไม่ยอมทานอาหาร อย่าติดสินบน และอย่าข่มขู่ให้พวกเขาพยายามทานอาหาร

ทำอาหารให้ดูน่าดึงดูดและสนุกสนาน

ความอยากอาหารมักได้รับผลกระทบอย่างมากจากรูปลักษณ์ของอาหาร และสภาพแวดล้อมในการรับประทานอาหาร ดังนั้น จึงควรพยายามทำให้อาหารน่าดึงดูดและน่าสนุกสนาน ยกตัวอย่างเช่น ลองเปลี่ยนรูปแบบอาหาร แทนที่จะผสมผลไม้สดลงในมิลค์เชค ลองหาส่วนผสมอื่นที่น่าสนใจมาผสมลงไปแทน แต่ต้องทำใจยอมรับว่าสิ่งที่น่าดึงดูดในวันนี้ อาจจะไม่น่าดึงดูดในวันถัดไป ลองพยายามนำเสนออาหารด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เปลี่ยนขนาดของจาน การใช้แสงไฟช่วย การเปิดเพลง เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย วางดอกไม้ไว้บนโต๊ะอาหาร นอกจากนั้นการรับประทานอาหารร่วมกับครอบครัว เพื่อน หรือเชิญแขกพิเศษมาทานอาหารด้วย ก็อาจจะช่วยทำให้ทานอาหารได้มากขึ้น หรืออาจจะจัดกิจกรรมสนุกๆ ระหว่างช่วงมื้ออาหารก็ได้เช่นกัน

ปกปิดรสชาติและกลิ่น

การรักษาโรคมะเร็งบางครั้งสามารถเปลี่ยนรสชาติของอาหารได้  ลองเปลี่ยนอาหารใหม่ๆ เพื่อช่วยปกปิดรสชาติและกลิ่นที่อาจจะรบกวนผู้ป่วย และทำให้อยากอาหารอีกครั้ง ลองใช้เครื่องเทศใหม่ๆ เช่น ใบโหระพา จันทน์เทศ อบเชย ผักชีฝรั่ง แกงกะหรี่ ผักชี หรือโรสแมรี่ เพราะเครื่องเทศจะทำให้น้ำในปากมากขึ้นและเปลี่ยนรสชาติของอาหาร เพิ่มรสชาติใหม่ๆ เข้าไป โดยการใช้มะนาว ผักดอง น้ำสลัด น้ำส้มสายชู หรือน้ำผลไม้ ก็ได้

อาจจะหมักเนื้อสัตว์ในน้ำผลไม้ น้ำสลัด ซอสถั่วเหลืองหรือซอสบาร์บีคิว เพื่อเปลี่ยนรสชาติและทำให้เอาหารดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การเสิร์ฟอาหารที่อุณหภูมิห้อง เพื่อรสชาติและกลิ่นที่แรงก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี หรือจะใช้จานพลาสติกในการใส่อาหาร เพื่อป้องกันรสขมหรือรสโลหะก็ได้เช่นกัน ที่สำคัญทำความสะอาดช่องปากก่อนและหลังรับประทานอาหาร เพื่อกำจัดรสชาติตกค้างและทำให้ปากสดชื่นอีกด้วย

ทานอาหารที่มีแคลอรี่และโปรตีนสูง

การป้องกันการลดน้ำหนัก โดยการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ทานเข้าไป โดยเฉพาะแคลอรี่และโปรตีน ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถทานอะไรก็ได้ และเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ อย่างเช่น ทานอาหารเช้าเป็นประจำถ้าอาหารนั้นทำให้เกิดความอยากอาหาร กินของทานเล่นและมื้อเล็กๆ ทุก 1-2 ชั่วโมงตลอดทั้งวัน พยายามทานให้ได้เยอะๆ ในช่วงเวลาที่เกิดความอยากอาหาร

สำหรับของว่าง ควรจะมีโปรตีนและแคลอรี่ที่สูง และพร้อมทานหรือทานสะดวกเมื่อเกิดความอยากอาหารขึ้น ซึ่งของว่างนั้นอาจรวมถึง ชีส แคร็กเกอร์ ไอศกรีม เนยถั่ว และพุดดิ้ง เป็นต้น แต่เมื่อเกิดอาหารไม่อยากอาหาร ควรทานอาหารที่มีแคลอรี่และโปรตีนสูงแทน ซึ่งอาหารที่มีแคลอรี่และโปรตีนสูง ได้แก่ ปลา ไก่ ไข่ โยเกิร์ตและถั่ว เป็นต้น หรือจะเพิ่มเนยให้กับผัก ซุป พาสต้า ซีเรียลที่ปรุงสุก และข้าว เพื่อเพิ่มไขมันและแคลอรี่ นอกจากนั้นลองจิบเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่และโปรตีนสูงก็สามารถช่วยได้เช่นกัน เช่น มิลล์เชค สมูทตี้ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ เป็นต้น

ที่สำคัญที่สุดคือการตรวจสอบกับทีมดูแลสุขภาพหรือนักโภชนาการ เพื่อรับคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับการปรุงอาหารเพื่อเพิ่มความอยากอาหารให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารหลังฉายรังสี เนื่องจากผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ อาจจะต้องดูแลเรื่องของอาหารตามที่ได้รับคำแนะนำจากนักโภชนาการ

กระตุ้นความอยากอาหาร

บางครั้งผู้ที่เป็นมะเร็งจะสูญเสียความอยากอาหารเนื่องจากการรักษาและความทุกข์รวมถึงความเครียดหรืออารมณ์กังวล เราสามารถช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ หรือเดินก่อนทานอาหารในอากาศที่บริสุทธิ์ การทานอาหารในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย หรือการทานอาหารกับสมาชิกในครอบครัว และเพื่อนๆ ก็เป็นอีกวิธีที่ดี พยายามอย่าทานอาหารโดยลำพัง เนื่องจากการทานอาหารร่วมกับผู้อื่นจะหันเหความสนใจจากอาหาร และสามารถเพิ่มปริมาณการทานอาหารได้ด้วย นอกจากนั้น การดื่มน้ำมะนาว น้ำส้ม หรือน้ำผลไม้ที่มีกรด ก็สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้เช่นกัน

บางคนพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ หรือเบียร์ ในปริมาณเล็กน้อย สามารถช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและช่วยให้สนุกกับมื้ออาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากแอลกอฮอล์มีสารอาหารต่ำ และมีแคลอรี่สูง แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ แอลกอฮอล์อาจจะไปรบกวนยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจทำให้ยามีประสิทธิภาพที่ลดลง ทั้งยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เลวร้ายลงอีกด้วย นอกจากนั้น แอลกอฮอล์ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด ดังนั้น ก่อนจะดื่มแอลกอฮอล์ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรักษาอยู่จะเป็นการดีที่สุด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Radiation Therapy’s Effect on Appetite. https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/4535-radiation-therapys-effect-on-appetite. Accessed March 24, 2020

Loss of appetite. https://www.cancer.ca/en/cancer-information/diagnosis-and-treatment/managing-side-effects/loss-of-appetite/?region=on. Accessed March 24, 2020

Appetite loss and nausea. https://www.cancercouncil.com.au/cancer-information/cancer-treatment/radiation-therapy/side-effects/appetite-loss-and-nausea/. Accessed March 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง อาหารและเครื่องดื่มประเภทใดบ้าง

สังเกตตัวเอง คุณกำลังมีพฤติกรรมชอบ กินแก้เบื่อ อยู่หรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา