backup og meta

สมุนไพรคลายเครียด ลดความกังวล ป้องกันซึมเศร้า ด้วยวิธีทางธรรมชาติ

สมุนไพรคลายเครียด ลดความกังวล ป้องกันซึมเศร้า ด้วยวิธีทางธรรมชาติ

ความเครียดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าใครต่างก็สามารถมีความเครียดได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความเครียดในเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือเรื่องความสัมพันธ์ แต่รู้หรือไม่คะ ว่ามีตัวช่วยดี ๆ ในการช่วยลดความเครียดจากธรรมชาติ อย่าง สมุนไพรคลายเครียด ที่จะมาช่วยบรรเทาความกังวล และยังอาจช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย สมุนไพรเหล่านี้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

สมุนไพรคลายเครียด ตัวช่วยดี ๆ จากธรรมชาติ

ขิง (Ginger)

ขิงเป็นพืชสมุนไพรที่เรานิยมนำมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นที่หอม แต่ขิงก็มีการนำมาใช้ในยาแผนโบราณ เพื่อใช้สำหรับการบรรเทาความเครียด และช่วยลดความวิตกกังวลได้ด้วยเช่นกัน

ในขิงนั้นจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า จินเจอรอล (Gingerol) ที่ช่วยในการต่อต้านสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่ร่างกายของเหล่าหลั่งออกมาเมื่อรู้สึกเครียด อีกทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากนี้ กลิ่นหอมของขิงยังทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และช่วยบรรเทาความเครียดได้อีกด้วย

โสมอินเดีย (Ashwagandha)

โสมอินเดียนั้นมีสรรพคุณช่วยลดความเครียดได้ เนื่องจากมีสารปรับสมดุล (Adaptogen) ที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายและฮอร์โมนภายในร่างกาย ช่วยปรับสมดุลการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ

งานวิจัยที่ทำการทดลองประสิทธิภาพของการใช้โสมอินเดีย เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับสารสกัดจากโสมอินเดีย ในปริมาณ 600 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีระดับฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล (Cortisol) น้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยาหลอก หรือกลุ่มที่ใช้สารสกัดจากโสมอินเดียวันละ 250 มก. อีกทั้งยังสามารถนอนหลับได้ดีกว่าอีกด้วย

คาโมมายล์ (Chamomile)

คาโมมายล์นั้นขึ้นชื่อเรื่องคุณสมบัติที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ เนื่องจากคาโมมายล์จะช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและสมอง ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยลดอาการของโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าได้

มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้คาโมมายล์ เพื่อรักษาโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder : GAD) ในระยะยาว โดยให้ผู้ทดลองรับประทานสารสกัดคาโมมายล์ในปริมาณ 1,500 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าแม้ว่าผู้ที่ใช้คาโมมายล์นั้นจะยังคงมีอาการของโรควิตกกังวลอยู่ แต่ก็มีอาการที่รุนแรงน้อยลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก

อย่างไรก็ตาม คาโมมายล์นั้นอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่น เช่น ยาเจือจางเลือด หรือยาลดการแข็งตัวของเลือด สำหรับผู้ที่มีลิ่มเลือดและกำลังใช้ยาเหล่านี้ ควรระมัดระวังการบริโภคคาโมมายล์

ลาเวนเดอร์ (Lavender)

เรามีการใช้ลาเวนเดอร์เพื่อช่วยผ่อนคลายและบรรเทาความเครียดกันมานาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นดอกลาเวนเดอร์ หรือใส่ลาเวนเดอร์ลงในอาหาร เพื่อช่วยเพิ่มสีและกลิ่นให้ดูน่ากิน มีงานวิจัยที่พบว่า การนวดโดยใช้น้ำมันดอกลาเวนเดอร์นั้น สามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ เนื่องจากลาเวนเดอร์มีฤทธิ์กล่อมประสาท ออกฤทธิ์โดยตรงกับสมองส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ จึงทำให้เรารู้สึกดี ผ่อนคลาย ไม่เครียด และยังช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอลได้อีกด้วย

สะระแหน่ (Lemon balm)

มีงานวิจัยที่พบว่า สะระแหน่นั้นสามารถช่วยบรรเทาความเครียด และลดอาการของโรควิตกกังวล เช่น ประหม่า และตื่นเต้นได้ โดยทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสงบ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยรักษาอาการอ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดฟัน และช่วยบำรุงหัวใจ กลิ่นหอมของใบสะระแหน่ยังทำให้เรารู้สึกสดชื่นอีกด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

6 Natural Herbs for Anxiety to Calm You Down https://food.ndtv.com/food-drinks/6-natural-herbs-for-anxiety-to-calm-you-down-1674389

4 Powerful Herbs Proven to Reduce Stress https://foodrevolution.org/blog/herbs-reduce-stress/

9 herbs for anxiety https://www.medicalnewstoday.com/articles/herbs-for-anxiety

Herbal treatment for anxiety: Is it effective? https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/herbal-treatment-for-anxiety/faq-20057945

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/03/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด เชื่อมาผิดๆ มารู้ความจริงกันใหม่ดีกว่า

จบทุกปัญหา อาการนอนไม่หลับ ได้ง่ายๆ ด้วย ชาคาโมมายล์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 14/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา