โรคผิวหนังติดเชื้อ

ทุกครั้งที่เราเกิดบาดแผลบนผิวหนัง เราก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง และกลายเป็น โรคผิวหนังติดเชื้อ ไป เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับ โรคผิวหนังติดเชื้อ ทั้งโรคผิวหนังที่พบบ่อย และการดูแลรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังติดเชื้อ

กลากเกิดจากอะไร วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ

กลากเป็นโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดิน เชื้อราจะทำให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยบริเวณอับชื้น สาเหตุสำคัญของกลาก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร พบบ่อยบริเวณอับชื้น [embed-health-tool-bmi] กลากเกิดจากอะไร กลาก กลุ่มโรคทิเนีย (Tinea) เป็นโรคติดเชื้อราที่เกิดกับผิวหนังชั้นตื้น (Superficial Fungal Infection) ที่พบได้บ่อย ๆ กลาก (Ringworm) จะมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ รอยโรคมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน ผื่นเป็นผื่นสีแดง  ขอบสีแดงชัดเจน  ขอบภายนอกมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังด้านใน  อาจมีขุยหรือสะเก็ดที่ขอบ  ตรงกลางมักเกลี้ยง มีอาการคัน  กลากบางแห่งอาจไม่เห็นเป็นวงหรือมีขอบสีแดง  สาเหตุสำคัญของกลาก เชื้อราที่ทำให้เกิดกลาก เป็นเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) เชื้อของกลากเป็นโรคติดต่อจากคนไปสู่คน จากสัตว์สู่คน หรือจากสิ่งแวดล้อมสู่คน ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสโดยตรง หรือผ่านสปอร์ราที่อยู่บนข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และเสื้อผ้า รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นก็อาจได้รับสปอร์ราเช่นกัน เชื้อราชนิดนี้จะเติบโตโดยเคราติน (Keratin) ในหนังกำพร้าเป็นอาหาร กลากจะเกิดที่ผิวหนังชั้นนอกสุด เส้นผมและเล็บ ได้แก่ กลากที่ลำตัว แขนและขา กลากที่หนังศีรษะและเส้นผม กลากที่ขาหนีบ รอบอวัยวะเพศและทวารหนัก กลากที่เล็บ กลากที่เท้าหรือโรคน้ำกัดเท้า ส่วนปัจจัยและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกลาก เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ […]

สำรวจ โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อราในร่มผ้า เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

เชื้อราในร่มผ้า หมายถึง การติดเชื้อราตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้ร่มผ้า เช่น ลำตัว แผ่นหลัง สะโพก อวัยวะเพศ เท้า โดยจะพบผื่นและอาการคันบริเวณที่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม เชื้อราในร่มผ้ามักรักษาให้อาการดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังป้องกันได้ด้วยการเลี่ยงใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่แน่นหรืออับชื้น รวมถึงการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจมีเชื้อราสะสมอยู่และทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้ [embed-health-tool-bmi] เชื้อราในร่มผ้าคืออะไร เชื้อราในร่มผ้าหมายถึงการติดเชื้อราตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้ร่มผ้า ไม่ว่าจะเป็นลำตัว เต้านม อวัยวะเพศ หรือเท้า ซึ่งมักทำให้เกิดผื่นขึ้นและมีอาการคัน นอกจากนั้น เชื้อราในร่มผ้า อาจหมายถึงโรคที่เกิดจากเชื้อรา ดังต่อไปนี้ กลาก เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) บริเวณลำตัว สะโพก หรือแขน เมื่อเป็นโรคนี้ จะพบผื่นแดงวงแหวนซึ่งมีขุย ขอบยก ร่วมกับมีอาการคัน สังคง เป็นการติดเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์บริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬา เพราะมักสวมใส่เสื้อผ้าที่ชุ่มเหงื่อเป็นเวลานาน ซึ่งเอื้อให้เชื้อราเติบโตได้ดี เมื่อเป็นโรคนี้ จะมีอาการคัน ผิวลอก และผื่นขึ้น บริเวณที่ติดเชื้อ น้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต เป็นการติดเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์บริเวณเท้า ทำให้มีแผลพุพอง […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

คุดทะราด คือโรคอะไร เป็นแล้วมีอาการอย่างไร

คุดทะราด เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิส เมื่อเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยจะมีตุ่มขึ้นตามร่างกาย ผิวหนังบริเวณมือและเท้าขรุขระหรือเป็นตะปุ่มตะป่ำคล้ายผิวของคางคก หากไม่รีบรักษา เชื้อแบคทีเรียอาจเข้าไปทำลายกระดูกและผิวหนัง จนทำให้พิการ อวัยวะผิดรูป หรือเสียโฉมได้ [embed-health-tool-bmi] คุดทะราดคือโรคอะไร คุดทะราด (Yaws) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม เพอทีนิว (Treponema Pallidum Pertenue) ซึ่งเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วน การสัมผัสกับผิวหนังที่ติดเชื้อ โดยทั่วไป คุดทะราดมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และเกาะทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ปัจจุบัน คุดทะราดไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่อาจรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคเมื่อเป็นในระยะสุดท้ายอาจยากต่อการฟื้นฟูสภาพผิวหนังและกระดูกที่เสียหายให้กลับมาเป็นปกติได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรไปพบคุณหมอตั้งแต่พบว่าเป็นโรคในระยะแรก ๆ คุดทะราด มีอาการอย่างไร คุดทะราดมีระยะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อจึงจะแสดงอาการ โดยอาการของโรคแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ผู้ป่วยมีตุ่มบวมและแผลเปื่อยขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมและเจ็บร่วมด้วย อาการในระยะนี้มักค่อย ๆ หายได้เองได้ภายใน 3-6 เดือน แต่มักทิ้งรอยแผลเป็นไว้ อย่างไรก็ตาม […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ฮ่องกงฟุต หรือโรคน้ำกัดเท้า เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

ฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) ที่ผิวหนังบริเวณเท้าซึ่งมักอับชื้น ทำให้เชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี ฮ่องกงฟุตมักพบในผู้ที่มีเหงื่อออกมากหรือเท้าเปียกชื้นเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดแผลคันตามง่ามเท้าและอาจลุกลามไปยังฝ่าเท้าและส้นเท้า ผิวหนังอาจบวมแดง แห้งลอก ระคายเคือง และมีตุ่มพุพองหรือตุ่มน้ำ โดยทั่วไป เชื้อราชนิดนี้สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงและการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่เป็นฮ่องกงฟุต ทั้งนี้ ควรรักษาสุขอนามัยของเท้าอยู่เสมอ เช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำหรือเท้าเปียกน้ำ และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการเกิดฮ่องกงฟุตและลดการแพร่กระจายของเชื้อ [embed-health-tool-bmi] ฮ่องกงฟุต เกิดจากอะไร ฮ่องกงฟุตหรือน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot หรือ Tinea pedis) เป็นโรคผิวหนังติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง หรือเกิดเป็นตุ่มพุพองบริเวณเท้า เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดกลากและเกลื้อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ชื้นและอบอุ่น เช่น แอ่งน้ำขัง สระว่ายน้ำ ห้องซาวน่า เชื้อราเหล่านี้มักกินเคราตินที่เป็นโปรตีนในผิวหนัง เส้นผม และเล็บเป็นอาหาร ฮ่องกงฟุตสามารถเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ได้เช่นกัน แต่เป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อย ปัจจัยเสี่ยงของฮ่องกงฟุต ปัจจัยเสี่ยงของฮ่องกงฟุต อาจมีดังนี้ สวมถุงเท้าและรองเท้าหุ้มส้นเป็นประจำ เป็นคนเหงื่อออกมาก ใช้สิ่งของ เช่น เสื่อ พรม ผู้ปูเตียง เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว รองเท้า ร่วมกับคนที่ติดเชื้อรา เดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเชื้อราอาจแพร่กระจายได้ง่าย เช่น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

สิว ยีสต์ คืออะไร รักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง

สิว ยีสต์ เป็นตุ่มบวมคล้ายสิว มีหนองอยู่ข้างใน เกิดจากรูขุมขนอักเสบ เนื่องจากการอับชื้นบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะหลังจากออกกำลังกายหรือเมื่อเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้น ทั้งนี้ สิว ยีสต์อาจบรรเทาให้ดีขึ้นได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการดูแลตัวเองด้วยการอาบน้ำทำความสะอาดผิวหน้าและร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยระบายความอับชื้นได้ [embed-health-tool-ovulation] สิวยีสต์ คืออะไร สิวยีสต์เป็นตุ่มบวมบนผิวหนัง มีหนองอยู่ข้างใน และอาจมีอาการคันร่วมด้วย มักพบบริเวณหน้าผาก แขน หน้าอก และแผ่นหลัง และบ่อยครั้งเกิดขึ้นเป็นกลุ่มหรือคลัสเตอร์ (Cluster) ทั้งนี้ สิวยีสต์ไม่จัดเป็นสิว เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเช่นเดียวกับสิวโดยทั่วไป แต่เกิดจากอักเสบของรูขุมขนเนื่องจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อรากลุ่มมาลาสเซเซีย (Malassezia) บนผิวหนัง จากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ผิวหนังมีความชื้นเพิ่มขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น หรือระบายความชื้นได้ไม่ดี การสวมใส่เสื้อผ้าซ้ำโดยที่ยังไม่ได้ซัก การใช้ยาต้านแบคทีเรีย ซึ่งส่งผลให้สมดุลระหว่างแบคทีเรียและเชื้อราบนผิวหนังถูกทำลาย การบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราบนผิวหนัง ทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว การอาศัยอยู่ในบริเวณที่ร้อนและอับชื้นเป็นเวลานาน ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรืออาการป่วยอย่างการติดเชื้อเอชไอวี สิว ยีสต์ รักษาอย่างไร คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าสิวยีสต์และสิวโดยทั่วไปนั้นเหมือนกันจึงเลือกรักษาสิวยีสต์ด้วยยาต้านสิว ซึ่งทำให้สิวยีสต์ไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ การรักษาสิวยีสต์ที่เหมาะสม ควรปฏิบัติตัว ดังนี้ รับประทานยาต้านเชื้อรา จัดเป็นวิธีรักษาสิวยีสต์ที่อาจให้ผลลัพธ์ชัดเจนมากกว่าวิธีอื่น ๆ โดยยาที่คุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญจ่ายให้มักเป็นไอทราโคนาโซล (Itraconazole) แต่หากไม่ได้ผลคุณหมออาจจ่ายยาไอโซเทรติโนอิน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

หัดกุหลาบ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการดูแลตัวเอง

หัดกุหลาบ หรือที่เรียกว่า ผื่นกุหลาบ หรือส่าไข้ (Pityriasis rosea) คือ โรคผิวหนังชนิดไม่ติดต่อที่ทำให้เกิดผื่นสีแดงหรือสีชมพูอ่อน คล้ายสีของดอกกุหลาบ กระจายบนผิวหนังบริเวณใบหน้า หน้าอก หน้าท้อง แผ่นหลัง สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด เช่น ไวรัสเริมบางสายพันธุ์ โรคนี้มักเกิดในหน้าฝน พบได้ในคนทุกวัย แต่พบบ่อยในคนอายุ 10-35 ปี การดูแลตัวเองด้วยการใช้ยาแก้คัน ยาแก้แพ้ ร่วมกับการทามอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น อาจช่วยให้หัดกุหลาบหายเร็วขึ้น โดยทั่วไป อาการของหัดกุหลาบมักหายไปเองภายใน 10 สัปดาห์ และมักจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ หัดกุหลาบ สาเหตุของโรคหัดกุหลาบ อาจมีดังนี้ การติดเชื้อไวรัส (Viral infections) การติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์หรือเอชพีวีชนิดที่ 6 และชนิดที่ 7  รวมไปถึงโรคติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (H1N1 influenza A) โรคโควิด-19 (COVID-19) อาจทำให้เกิดหัดกุหลาบได้ การตอบสนองต่อยาหรือการแพ้ยา […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เป็นฝีที่ก้น อาการ ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

เป็นฝีที่ก้น อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในก้น หรืออาจเกิดจากแผลบริเวณเยื่อบุขอบทวารหนักติดเชื้อจนพัฒนากลายเป็นฝี ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุทวารหนักหรือบริเวณรอบข้างก้น ส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวด มีหนอง เลือดออกขณะขับถ่าย หรือไม่สามารถอั้นอุจจาระได้ สำหรับการรักษาฝีที่ก้นอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ เป็นฝีที่ก้น เกิดจากอะไร เป็นฝีที่ก้น อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในก้นที่ทำให้ฝีพัฒนาขึ้นเองในก้นหรือบริเวณรอบข้างก้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากแผลบริเวณเยื่อบุขอบทวารหนักติดเชื้อ จนอาจทำให้มีอาการเจ็บปวดหรือมีเลือดออกขณะขับถ่าย นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือต่อมทวารหนักอุดตัน จนทำให้เกิดการติดเชื้อและพัฒนาไปเป็นฝีที่ก้นได้ อาการเมื่อเป็นฝีที่ก้น เป็นฝีที่ก้นอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ เกิดโพรงที่ผิวหนังบริเวณก้น ผิวหนังบริเวณก้นเกิดการอักเสบ แดง และระคายเคือง มีหนอง เลือด หรืออุจจาระไหลออกจากช่องทวารหนัก มีกลิ่นเหม็นออกมาจากก้น ปวดตุบ ๆ บริเวณรอบ ๆ ก้นและด้านในก้น โดยเฉพาะเวลาขยับตัว นั่ง ไอ หรือขณะถ่ายอุจจาระ มีไข้ หนาวสั่น มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้ จนไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นฝีที่ก้น ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นฝีที่ก้น มีดังนี้ ผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงสูงในการเป็นฝีที่ก้น เนื่องจากความอ่อนแอของสุขภาพร่างกาย หรืออาจมีปัญหาบริเวณก้น ผู้ที่เป็นโรคโครห์น (Crohn's Disease) หรือโรคลำไส้อักเสบ เคยเป็นฝีที่ก้นมาก่อนหน้านี้ เกิดการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อที่บริเวณก้น เคยเข้ารับการผ่าตัดหรือการฉายรังสีรักษามะเร็งทวารหนัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นฝีที่ก้น เป็นฝีที่ก้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เกลื้อน สาเหตุ อาการ และการรักษา

เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไป เช่น อากาศร้อนชื้น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้เกิดจุดบนผิวหนัง ซึ่งอาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวหนัง ผิวหนังเป็นสะเก็ด และมีอาการคัน ดังนั้น หากสังเกตว่ามีจุดหรือรอยด่างตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความ เกลื้อนคืออะไร เกลื้อน คือ โรคผิวหนังจากการติดเชื้อ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเชื้อราที่อาศัยบนผิวหนังตามธรรมชาติเจริญเติบโตมากเกินไป อย่างไรก็ตาม เกลื้อนไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อาจส่งผลให้มีอาการคันจนต้องเกาบ่อย ๆ ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ เกลื้อนพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ เพราะเป็นช่วงวัยที่ต่อมไขมันผลิตไขมันมาก ทำให้ผิวมัน และอาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อราได้ อาการ อาการของเกลื้อน เกลื้อน มีอาการดังต่อไปนี้ จุดเล็ก ๆ สีขาว สีแดง สีชมพู หรือสีน้ำตาลบนผิวหนัง อาจมีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไปหรืออาจขยายเป็นปื้นใหญ่ จุดของเกลื้อนอาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวหนังโดยรอบ มักเกิดขึ้นบ่อยบริเวณคอ หลัง หน้าอก และแขน ผิวหนังที่เป็นเกลื้อนอาจมีลักษณะเป็นขุยบาง ๆ ควรพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา หากสังเกตว่าอาการไม่ดีขึ้น จุดเกลื้อนมีขนาดใหญ่ หรือมีการติดเชื้อราซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง สาเหตุ สาเหตุของเกลื้อน เกลื้อนเกิดจากการติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังและมักบริโภคไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร หากต่อมไขมันผลิตไขมันมากก็อาจส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไปจนเกิดการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของเกลื้อน ปัจจัยเสี่ยงของเกลื้อน มีดังนี้ สภาพอากาศร้อนชื้น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

วิธีรักษาฝี และการป้องกันฝีตามร่างกาย

ฝีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) ทางบาดแผลหรือรูขุมขนทำให้ผิวหนังนูนเป็นตุ่มมีหนองอยู่ภายใน วิธีรักษาฝี อาจดูแลตนเองเบื้องต้นได้ด้วยการประคบร้อนและไม่แกะหรือเกาบริเวณที่เป็นฝี แต่หากอาการรุนแรง ควรไปพบคุณหมอซึ่งอาจรักษาด้วยการให้รับประทานยาต้านแบคทีเรีย หรือผ่าฝีเพื่อระบายหนองออกและทำให้ฝียุบตัว นอกจากนั้น ฝียังป้องกันได้ด้วยการดูแลและรักษาความสะอาดสุขอนามัยของตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ล้างมือสม่ำเสมอ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น หากเป็นแผลควรล้างแผลและใส่ยา [embed-health-tool-bmr] ฝีเกิดจากอะไร ฝี กิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส อย่างสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) หรือสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus Pyogenes) ซึ่งปกติแบคทีเรียดังกล่าวมักไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยกเว้นเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล รอยขีดข่วน หรือรูขุมขน ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือเป็นฝีได้ ลักษณะของฝี คือ ตุ่มบวมแดงอมชมพู มีหนองอยู่ข้างใน และมีหัวสีออกเหลือง มักทำให้รู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองเมื่อผิวหนังบริเวณดังกล่าวถูกเสียดสีหรือโดนสัมผัส ฝีอาจเกิดได้ทั้งบริเวณผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในรูจมูก รวมทั้งฝีภายในร่างกาย โดยเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียจากภาวะสุขภาพต่าง ๆ เช่น เมื่อไส้ติ่งแตก แบคทีเรียจะกระจายไปยังช่องท้อง และทำให้เป็นฝีในช่องท้องได้เมื่อเป็นฝี วิธีรักษาฝี และการดูแลตนเอง ฝีเม็ดเล็ก หรือฝีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร อาจหายได้เอง หรือค่อย ๆ แห้งและยุบลงด้วยการดูแลตนเอง ดังนี้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง คือ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ พบได้ในคนทุกวัยแต่พบได้บ่อยเด็ก มักเกิดจากกรรมพันธุ์ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดง ผิวแห้งเป็นขุย อาจทำให้รู้สึกคันและระคายเคือง และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล ร่วมด้วย เมื่อแกะหรือเกาผิวหนังส่วนที่มีปัญหา อาจทำให้เกิดแผลหรือติดเชื้อได้ง่าย อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังมักเป็น ๆ หาย ๆและกำเริบเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่นละออง อาหารที่แพ้ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการกำเริบได้ เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ [embed-health-tool-bmi] โรคภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร โรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic dermatitis) เป็นภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดไม่ใช่โรคติดต่อที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากการมีลักษณะทางกรรมพันธุ์ผิดปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ไวเกินไป จนส่งผลให้เกิดอาการผิวแห้ง คัน ระคายเคือง อักเสบ หรือสะเก็ดแผล หากแกะหรือเกาผิวหนังอาจทำให้เป็นแผล ติดเชื้อ และเกิดเป็นตุ่มแดงที่มีหนองไหลออกมา เมื่อผิวหนังสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้อาจทำให้อาการแพ้ที่ผิวหนังกำเริบอยู่ช่วงหนึ่งแล้วอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา หากมีปัจจัยมากระตุ้นผิวหนังให้เกิดอาการแพ้ เช่น ฝุ่นละออง สารเคมี […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคฝีดาษ สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคฝีดาษ (Smallpox) หรือไข้ทรพิษ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่สามารถติดต่อจากคนสู่คน ผ่านละอองสารคัดหลั่งจากการไอ การจาม และน้ำมูก หรือจากการใช้สิ่งของร่วมกัน โดยอาจสังเกตจากอาการผิวหนังเป็นตุ่มเล็ก ๆ ร่วมกับอาการเจ็บที่ตุ่ม ผื่นมักขึ้นบริเวณที่สัมผัสสารคัดหลัง หรือ ผื่นของผู้ป่วย มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และอ่อนเพลีย มีวิธีรักษาตามอาการที่เป็น เพื่อช่วยบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคฝีดาษ คืออะไร โรคฝีดาษ คือ โรคที่ส่งผลให้เกิดตุ่มขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยระยะการฟักตัวของเชื้อจะอยู่ที่ 7-21 วัน ซึ่งมักจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ แต่หลังจากนั้นอาจมีตุ่มขึ้นบนผิวหนังซึ่งสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ผ่านละอองสารคัดหลั่งจากการไอ การจาม หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือการสัมผัสกับตุ่มของโรคฝีดาษโดยตรง โรคฝีดาษสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาการ อาการของโรคฝีดาษ อาการของโรคฝีดาษ มีดังนี้ มีตุ่มแดงเล็ก ต่อมาตุ่มพัฒนาเป็น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ โดยอาจเริ่มจากใบหน้า มือ แขน และลำตัว บางคนอาจมีตุ่มขึ้นในช่องปากและลำคอ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาเจียน หลังจากผ่านไป 5 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน