โรคผิวหนังแบบอื่น

นอกเหนือจากโรคผิวหนังติดเชื้อ โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผิวหนังอักเสบที่อาจพบได้บ่อยแล้ว ยังมีโรคผิวหนังอีกมากที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และต้องการการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคผิวหนังแบบอื่น มาไว้ที่นี่ เพื่อเป็นความรู้ให้แก่ทุกคน

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังแบบอื่น

6 โรคผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว

ในช่วงฤดูหนาว มักส่งผลให้ผิวเราขาดความชุ่มชื้นและสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ 6 โรคผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว กันค่ะ จะมีโรคอะไรบ้างมาดูพร้อมกันเลย  ทำความรู้จัก โรคผิวหนังในช่วงฤดูหนาว หลาย ๆ คน ที่ปรับตัวไม่ทันในช่วงฤดูหนาว นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บป่วยแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนังอีกด้วย เช่น โรคอีสุกอีใส โรคเริม โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคกลาก  ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้เหมาะสมกับในช่วงฤดูหนาว เช่น ใส่เสื้อผ้าที่หนาให้ความอบอุ่นร่างกาย ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ลดเครื่องดื่มที่ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำ อย่าง ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น  6 โรคผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว โรคสะเก็ดเงิน  ผิวจะมีลักษณะแห้ง ลอก เป็นขุย บางรายอาจเกิดการอักเสบ แดง คัน หากคุณเริ่มมีตุ่มสีแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นบริเวณผิวหนังและค่อย ๆ ลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ศีรษะ หัวเข่า มือ และเท้า […]

สำรวจ โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนังแบบอื่น

ผิวหนังหนา จากการเกาและเสียดสี มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ผิวหนังหนา หมายถึง ภาวะผิวหนังหยาบกระด้าง ด้าน หนา แข็ง หรือขรุขระขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการเสียดสีของผิวหนังสะสมเป็นเวลานาน รวมทั้งการเกาและถูผิวหนังอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งใบหน้า หน้าอก ข้อมือ ต้นขา อย่างไรก็ตาม ภาวะผิวหนังแข็งตัวสามารถบรรเทาอาการและสามารถฟื้นฟูสุขภาพผิวให้ดีขึ้นได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาและวิธีการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ผิวหนังหนา คืออะไร ผิวหนังหนา หรือภาวะผิวหนังหนาตัว (Lichenification) หมายถึง ภาวะที่ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า หนังศีรษะ ลำคอ หน้าอก ช่องคลอด อัณฑะ ข้อมือ ปลายแขน ต้นขา ขาส่วนล่าง มีลักษณะแข็งและหนาขึ้น โดยอาจมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากพฤติกรรมเกาหรือถูผิวอย่างรุนแรง แต่ในบางรายอาจเกิดจากผลข้างเคียงของภาวะโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน กลาก ภาวะผิวแห้ง การพัฒนาของเซลล์ผิดปกติ ผิวหนังติดเชื้อ การได้รับสารก่อมะเร็งเข้าไปทำลายผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรควิตกกังวล พิษจากแมลงกัดต่อย […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้น ที่ควรระวัง มีกี่โรค อะไรบ้าง

โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้น เกิดจากการหมักหมกบริเวณอวัยวะเพศจนกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค รวมทั้งการทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้อง จนก่อให้เกิดโรคผิวหนังตามมา เนื่องจากจุดซ่อนเร้นเป็นบริเวณผิวหนังที่ค่อนข้างบอบบางและอับชื้นได้ง่าย ควรได้รับการดูแลทำความสะอาดอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาผิวหนังและโรคอื่น ๆ [embed-health-tool-ovulation] โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้น ที่พบบ่อย คืออะไร โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้นที่พบได้บ่อย และควรระวัง มีดังนี้ 1. โรคซิฟิลิส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ จนก่อให้เกิดแผลเล็ก ๆ หรือผื่นบนผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ช่องคลอด และทวารหนัก บางกรณีอาจส่งผลปรากฏเป็นผื่นขึ้นปกคลุมทั่วร่างกาย ริมฝีปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า การรักษา คุณหมออาจวินิจฉัยก่อนว่าป่วยเป็นโรคซิฟิลิสในระยะใดจึงจะสามารถแนะนำยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมสำหรับระยะของโรคและอาการได้ ส่วนใหญ่แล้วผื่นซิฟิลิสมักหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่เชื้อจะยังสะสมอยู่ในร่างกาย และโรคจะพัฒนาเข้าสู่ระยะถัดไปแล้วแสดงอาการออกมาในรูปแบบผื่นที่แตกต่างออกไป หรือในบางคนไม่มีอาการอีกเลยแต่เชื้อก็ยังคงอยู่ แม้จะรักษาโรคซิฟิลิสหายแล้ว อาการก็อาจกำเริบได้อีก โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2. โรคเริม เชื้อไวรัสเริมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด โดยชนิดที่ 1 คือ เริมในช่องปาก และชนิดที่ 2 คือ เริมที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือจุดซ่อนเร้น เริมทั้ง 2 ชนิดอาจได้รับมาจากสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อไวรัส ก่อให้เกิดเป็นแผลพุพองรอบ ๆ จนทำให้รู้สึกเจ็บแสบอย่างมาก การรักษา […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนังในหน้าฝน ที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง

โรคผิวหนังในหน้าฝน เกิดจากร่างกายอับชื้นเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่อาจท่วมขังกลายเป็นแหล่งเชื้อโรค รวมทั้งการที่เมื่อโดนฝนแล้วไม่รีบอาบน้ำเช็ดตัวและเป่าผมให้แห้ง ทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบนผิวหนังและเกิดโรคผิวหนังตามมา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคผิวหนังในหน้าฝน ควรทำให้ร่างกายแห้งอยู่เสมอ และหมั่นสังเกตผิวพรรณ หากพบความผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอโรคผิวหนังเพื่อรักษาต่อไป [embed-health-tool-bmi] โรคผิวหนังในหน้าฝน ที่พบได้บ่อย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ความอับชื้น เฉอะแฉะ และอบอ้าว มักตามมา จนบางครั้งส่งผลให้ผิวหนังเกิดปัญหาสุขภาพได้  โดยเฉพาะผิวหนังที่เปียกฝนและไม่ได้ทำความสะอาดทันที อาจพัฒนาเกิดเป็นโรคผิวหนังต่าง ๆ ดังนี้ 1. โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อราบางชนิด ส่วนมากมักเกิดบริเวณง่ามนิ้วเท้า ส่งผลให้ผิวหนังเปื่อย แข็งแห้งแตกออก และอาจมีเลือดออก หรือรู้สึกเจ็บร่วมด้วย โรคน้ำกัดเท้ารักษาให้หายได้ ด้วยการทาครีม พร้อมกับการรักษาความสะอาด และเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหากเปียกน้ำ เพื่อป้องกันเชื้อราจากฝน หรือสิ่งสกปรกโดยรอบที่อาจเข้าไปทำลายผิวหนัง 2. โรคกลาก โรคกลากจะก่อให้เกิดตุ่มแดง ผิวหนังหนา ตกสะเก็ด และมีอาการคัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา มักเป็นบริเวณผิวหนังที่อับชื้น หากเป็นโรคกลากควรรีบเข้ารับการรักษาจากคุณหมอด้านผิวหนัง เพื่อรับยาที่เหมาะสม และควรดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย เช่น ไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ถ้าเหงื่อเยอะควรรีบล้างทำความสะอาด ไม่ปล่อยให้หมักหมม 3. โรคเกลื้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ลักษณะอาการคือ เกิดจุดเล็ก ๆ หรือรอยด่างสีแดง หรือสีชมพู ขึ้นบริเวณแผ่นหลัง หน้าอก คอ และแขน วิธีรักษาเบื้องต้นอาจหาซื้อยาต้านเชื้อราเฉพาะที่จากร้านขายยา […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

ลูปัสที่ผิวหนัง (cutaneous lupus) สาเหตุ อาการ การรักษา

ลูปัสที่ผิวหนัง (Skin lupus หรือ cutaneous lupus) เป็นหนึ่งในโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ โรคพุ่มพวง เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการทางผิวหนังต่าง ๆ  เช่น ผื่นแดง แผลตกสะเก็ด อาการคัน ซึ่งในแต่ละคนอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน บางรายรักษาหายได้แต่ในบางรายอาจกลับมาเป็นอีก คำจำกัดความ ลูปัสที่ผิวหนัง คืออะไร ลูปัสที่ผิวหนัง (Skin lupus หรือ cutaneous lupus) เป็นหนึ่งในโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ และสารแอนติบอดี้เข้าโจมตีเซลล์ผิวหนังที่แข็งแรงภาย ทำให้เกิดเป็นอาการทางผิวหนังต่าง ๆ เช่น ผื่นแดง แผลตกสะเก็ด อาการคัน โรคลูปัสที่ผิวหนัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังต่อไปนี้ ผื่นดีสคอยด์ หรือผื่นดีแอลอี (Discoid lupus erythematosus) เป็นผื่นเรื้อรังที่มีลักษณะเป็นวงกลม มักพบในบริเวณหนังศีรษะและใบหน้า ผื่นชนิดกึ่งเฉียบพลัน (Subacute cutaneous lesions) เป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นวงแหวน พร้อมอาการแผลตกสะเก็ด มักเกิดขึ้นในบริเวณที่โดนแสงแดด เช่น แขน มือ ใบหน้า […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

ผื่นในฤดูหนาว ปัญหาผิวหนัง ที่มาพร้อมกับความเย็น

ผื่นในฤดูหนาว เป็นผื่นที่เกิดจากการที่สภาพอากาศหนาวเย็นเข้าไปลดความชุ่มชื่นของชั้นผิวหนัง จนส่งผลให้ผิวแห้ง และเป็นผดผื่น แม้ผื่นชนิดนี้อาจไม่มีอันตราย แต่ก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลและบำรุงผิวในฤดูหนาว เพราะหากละเลยการดูแลผิว นอกเหนือจากผื่นหน้านาวแล้ว ก็อาจเกิดโรคทางผิวหนังรุนแรงบางอย่างได้ ผื่นในฤดูหนาว คืออะไร ผื่นในฤดูหนาว (Winter Rash) คือ ผื่นที่เกิดจากการที่สภาพอากาศหนาวเย็นเข้าไปลดความชุ่มชื่นของชั้นผิวหนัง จนส่งผลให้ผิวแห้งและเป็นผดผื่น แม้ว่าอาจจะไม่มีอันตราย แต่ก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลและบำรุงผิวในฤดูหนาว เพราะหากละเลยการดูแลผิว นอกเหนือจากผื่นหน้านาวแล้ว ก็อาจเกิดโรคทางผิวหนังรุนแรงบางอย่างได้ดังนี้ โรซาเซีย (Rosacea) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดผดผื่น และมีตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) อาจเกิดจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นและแห้ง จนทำให้ผิวหนังเกิดเป็นผื่นแดง และขุยสีขาวลอกออกมาเป็นแผ่นหนาได้ โรคผิวหนัง (Dermatitis) คือ การอักเสบของผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการไหลเวียนของเลือดติดขัด หรือการเผลอสัมผัสกับสารอันตรายจนเกิดการติดเชื้อขึ้น ลมพิษที่เกิดจากความเย็น (Cold Urticaria) ถึงแม้ว่าภาวะนี้อาจพบได้ยาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้หากผิวหนังสัมผัสกับความเย็นจนมากเกินไป จนส่งผลให้ผิวหนังมีอาการบวมแดง คัน และผื่นขึ้น แต่ผื่นที่เกิดอาจอยู่เพียงชั่วคราวประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น อาการของผื่นหน้าหนาว นอกเหนือจากอาการผดผื่นแล้ว ผื่นหน้าหนาวก็อาจมาพร้อมกับอาการดังต่อไปนี้ อาการคัน ผิวหนังเป็นสะเก็ด แผลพุพอง ผิวหนังบวมอักเสบ ผื่น และรอยแดง หากมีอาการแทรกซ้อนอื่น […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

สิวข้าวสาร (Milium Cysts)

สิวข้าวสาร (Milium Cysts)  คือก้อนซีสต์ขนาดเล็กเท่าหัวเมล็ดข้าวสาร มีลักษณะเป็นสีขาวหรือสีเหลือง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือเคราติน (Keratin) ที่สะสมไว้ใต้ผิวหนัง จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ มักพบบริเวณใบหน้า เปลือกตาและใต้ตา [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ สิวข้าวสาร (Milium Cysts) คืออะไร สิวข้าวสาร (Milium Cysts) คือ ก้อนซีสต์ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นสีขาวหรือสีเหลือง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือเคราติน (Keratin) ที่สะสมไว้ใต้ผิวหนัง จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ มักพบบริเวณใบหน้า เปลือกตาและใต้ตา พบได้บ่อยเพียงใด สิวข้าวสารเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็กทารก อาการ อาการของสิวข้าวสาร (Milium Cysts) สิวข้าวสารมีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวหรือเหลือง ขึ้นเป็นกระจุก มักพบบริเวณ ใบหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา แก้ม ตามลำตัว และอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสิวข้าวสารจะไม่มีอาการคันหรือรู้สึกเจ็บปวด แต่อาจทำให้เรารู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามอาการ สาเหตุ สาเหตุของสิวข้าวสาร (Milium Cysts) สิวข้าวสารเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหรือเคราติน (โปรตีนที่พบในผิวหนังและเส้นผม) สะสมอยู่ภายใต้ผิว จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ  ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของสิวข้าวสารในทารกแรกเกิด หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิวในทารก แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาวะที่ถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนและทำให้เกิดการอักเสบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสิวข้าวสาร […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

หนังแข็ง (Scleroderma) อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคหนังแข็ง หรือโรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผิวหนังแข็งและหนาขึ้น เกิดขึ้นได้กับผิวหนังบริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น มือ เท้า แขน ใบหน้า ทั้งยังส่งผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ปอด ลำไส้ หลอดเลือด หัวใจ ไต ทำงานผิดปกติเกิดเป็นปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรค หนังแข็ง คืออะไร โรคหนังแข็ง หรือโรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง หรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดหายากและเรื้อรัง ที่เกี่ยวข้องกับการหนาและแข็งตัวขึ้นของเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้จะส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แต่ในบางกรณีก็อาจส่งผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ทางเดินอาหาร ปอด ไต หัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ หากเป็นในกรณีเหล่านี้ ส่วนใหญ่อาการมักจะรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคหนังแข็งทั่วตัว (Systemic scleroderma) สามารถแยกออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ โรคหนังแข็งทั่วตัวแบบลิมิเต็ด หรือแบบจำกัด (Limited scleroderma) อาการของโรคจะพัฒนาอย่างช้า ๆ มักส่งผลกระทบกับผิวหนังบริเวณใบหน้า […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

จุดสีขาวบนใบหน้า ปัญหาผิวที่ควรรักษา

จุดสีขาวบนใบหน้า บางครั้งอาจเกิดจากสิวอักเสบ หลุมสิว แต่นอกจากสาเหตุเหล่านี้ยังอาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ เช่น กลากน้ำนม เกลื้อน โรคด่าวขาว โรคกระขาว ซึ่งอาจทำให้ใบหน้าไม่เรียบเนียน มีรอยแผล และส่งผลต่อความมั่นใจ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุของการเกิดจุดสีขาวบนใบหน้า อาจช่วยให้รักษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดมากขึ้น [embed-health-tool-bmr] จุดสีขาวบนใบหน้า ที่ควรรักษา ผิวหน้าของแต่ละคนอาจประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพผิว ซึ่งจุดสีขาวบนใบหน้าที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากสิวเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ ดังนี้ 1. กลากน้ำนม กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง โดยส้วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย กลากน้ำนมอาจส่งผลให้บริเวณผิวหนังมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงวงกลมหรือวงรี แห้ง มีขนาดตั้งแต่ 0.6-2.5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณใบหน้า ต้นแขน คอ หน้าอก หลัง วิธีรักษากลากน้ำนม อาการที่เกิดขึ้นอาจจางหายไปเองภายในไม่กี่เดือน แต่ในบางคนอาจทิ้งร่องรอยไว้เล็กน้อยนานหลายปี การรักษาอาจขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ้คุณหมออาจสั่งจ่ายยาสเตรียรอยด์ที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรืออาจแนะนำมให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและลดความแสบร้อนโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า 2. สิวหิน หรือมิเลีย สิวหิน หรือสิวข้าวสาร คือ ก้อนซีสต์มิเลีย (Milia) ขนาดเล็กที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

อาบแดด ประโยชน์และข้อควรระวัง

การ อาบแดด ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นวิธีการที่ช่วยทำให้ผิวมีสีแทน ดูสุขภาพดี ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ และอาจช่วยเพิ่มความมั่นใจให้หลาย ๆ คน แต่การอาบแดดก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะอาจส่งผลให้มีอาการแดดเผา แสบร้อนผิว ทำให้ผิวแก่ก่อนวัยอันควร และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้น จึงไม่ควรอาบแดดเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง และควรทาครีมกันแดดทุกครั้งเพื่อช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีที่อาจทำร้ายสุขภาพผิว [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของแสงแดดและการอาบแดด อีกหนึ่งสูตรความงามในปัจจุบันที่มีคนให้ความสนใจมากนั่นก็คือ การมีผิวแทน หรือการไปอาบแดดเพื่อให้มีผิวแทน เนื่องจากรสนิยมที่มองว่าผิวสีแทนนั้นเป็นผิวที่ดูสุขภาพดี เสริมเสน่ห์ให้แก่ตัวบุคคล และสร้างความมั่นใจได้ ซึ่งการอาบแดดนั้น นอกจากจะให้ข้อดีในเรื่องของความสวยความงามอย่างการมีผิวที่ดูสวยและสุขภาพแล้ว ยังดีต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ แสงแดดช่วยปรับสภาพอารมณ์และความรู้สึก ผู้ช่วยเชี่ยวด้านสุขภาพอย่าง ดร.แครีย์ บลิการ์ด (Carey Bligard, MD, UnityPoint Health) กล่าวว่า แสงแดด ช่วยในการกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นอย่างดี การออกไปรับแสงแดดจะช่วยให้รู้สึกถึงการมีพลังงาน ช่วยในการกระตุ้นระดับของฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยทำให้อารมณ์ดี ประโยชน์จากวิตามินดี วิตามินดี เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยดูแลให้กระดูกแข็งแรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารและอาหารเสริมทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การออกไปรับแสงแดดราว 15 นาที ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจาก แสงแดด ได้เช่นกัน ปลดปล่อยความเครียด ความเครียดเป็นปัญหาทางจิตใจที่ใคร ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญกันอยู่แล้ว การทำกิจกรรมเพื่อช่วยในการคลายเครียดนั้นมีอยู่หลายวิธี […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

รังสียูวี (UV) กับผลกระทบต่อสุขภาพผิวที่ควรระวัง

รังสียูวีหรือรังสีอัลตร้า ไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation-UV) ) คือ รังสีที่มาจากดวงอาทิตย์ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งสามารถแบ่งประเภทออกได้เป็น รังสียูวีเอ รังสียูวีบี และรังสียูวีซี ซึ่งมีความแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วร่างกายได้รับรังสียูวีเอเป็นหลัก และรังสียูวีบีบางส่วน ส่วนรังสียูวีซียังไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่ผิวโลกได้ ทั้งนี้ หากได้รับรังสียูวีมากเกินไปมักส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพผิวหนัง ควรหาวิธีป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงแดด [embed-health-tool-bmi] รังสียูวี คืออะไร ในโลกประกอบไปด้วยรังสีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น รังสีสำหรับการเอกซเรย์ รังสีแกมมา หรือแม้แต่คลื่นวิทยุเองก็นับว่าเป็นรังสีด้วยเช่นกัน สำหรับ รังสียูวี คือ รังสีที่มาจากดวงอาทิตย์ หรือรังสีที่ใช้ในการอบผิวทำให้ผิวแทน หรือการเชื่อมโลหะ และในรังสียูวีก็ยังมีการแยกประเภทออกไปได้อีกตามพลังงานที่รังสีแต่ละประเภทนั้นมีอยู่ รังสียูวีจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ยูวีเอ (UVA rays) รังสียูวีเอ เป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรังสียูวีทั้งหมด ยูวีเอ สามารถทำร้ายอายุของเซลล์ผิว และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบดีเอ็นเอในผิวหนังทางอ้อมได้อีกด้วย ปัญหาสุขภาพผิวในระยะยาวที่มาสาเหตุมาจากรังสียูวีเอคือการมีริ้วรอยและรอยเหี่ยวย่นต่าง ๆ รวมถึงเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งด้วย ยูวีบี (UVB rays) รังสียูวีบีมีพลังงานมากกว่ายูวีเอ ยูวี ประเภทนี้สามารถทำลายระบบดีเอ็นเอที่อยู่ในเซลล์ผิวได้โดยตรง เป็นสาเหตุหลักของปัญหาผิวไหม้หรือแดดเผา โดยรังสียูวีบีจัดว่าเป็นรังสีที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาผิวหนังมากที่สุด ยูวีซี (UVC rays) รังสียูวีซีเป็นรังสีที่มีพลังงานมากที่สุดในบรรดารังสียูวีทั้งหมด เป็นรังสีที่พบได้ในชั้นโอโซนและชั้นบรรยากาศต่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน