สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ฝีคัณฑสูตร คือ อะไร อาการและวิธีการรักษามีอะไรบ้าง

ฝี เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับเชื้อบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย ลักษณะของฝีเป็นได้ทั้งไตแข็ง หรือเกิดการอักเสบบวมแดงบริเวณผิวหนัง ฝีเกิดได้ทั่วทั้งร่างกาย หากเกิดการอักเสบรุนแรงจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดบริเวณรอบของฝี อีกทั้งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ฝีคัณฑสูตร คือ ฝีที่เกิดจากการติดเชื้อและมีการอักเสบ โดยเกิดขึ้นใกล้กับทวารหนัก  [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของ ฝีคัณฑสูตร คือ อะไร ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) เกิดจากการติดเชื้อเรื้อรัง จากแก้มก้นที่เชื่อมต่อกับทวารหนัก โดยสาเหตุหลักส่วนใหญ่เกิดจากการเป็นฝีหนอง การติดเชื้อของต่อมที่มีหน้าที่ผลิตมูก เมื่อต่อมผลิตเมือกของทวารหนักอุดตัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในอุจจาระ รวมถึงของเสียหมักหมมภายในร่างกาย เมื่อติดเชื้อแล้วจะเกิดการอักเสบ กลายเป็นฝีหนอง และเพิ่มปริมาณมากขึ้น จึงค่อย ๆ เซาะไปตามชั้นกล้ามเนื้อของทวารหนัก ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และชั้นผิวหนังที่อยู่บริเวณรอบทวารหนัก จนออกมาให้เห็นด้านนอกทางผิวหนังที่บริเวณแก้มก้นและรอบรูทวารหนัก และพบมากในผู้ป่วยที่เคยเป็นฝีที่ทวารหนักมาก่อน สาเหตุของฝีคัณฑสูตร ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อโรคบางชนิด ติดเชื้อวัณโรค หรือพบในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งบางชนิด ลักษณะของฝีคัณฑสูตร ฝีคัณฑสูตรแบ่งได้เป็น 2 ชนิด Simple Fistula ลักษณะฝีคัณฑสูตรจะอยู่ตื้น ไม่ซับซ้อน จึงรักษาได้ง่าย Complex Fistula ลักษณะฝีคัณฑสูตรที่ซับซ้อน เช่น […]

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

ริมฝีปากแห้ง สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

ริมฝีปากแห้ง เป็นลักษณะของริมฝีปากที่แห้ง แตก และหลุดลอกออกเป็นแผ่น ๆ บางครั้งอาจทำให้เกิดแผล มีเลือดออก และอาการแสบบริเวณริมฝีปาก แต่มักจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศหนาว การขาดน้ำ การขาดวิตามิน การดูแลรักษาริมฝีปากอย่างเหมาะสม อาจสามารถช่วยป้องกันอาการริมฝีปากแห้งได้ ริมฝีปากแห้ง เกิดจากอะไร สำหรับสาเหตุที่ทำให้ริมฝีปากแห้ง อาจมีดังนี้ การขาดน้ำ ริมฝีปากแห้งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดน้ำของร่างกาย เพราะน้ำทำให้ร่างกายชุ่มชื้น ถ้าหากดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็อาจทำให้ริมฝีปากที่แห้งลง แตกหรือลอก ซึ่งไม่น่าดูแม้แต่น้อย เพราะฉะนั้น ควรดื่มน้ำให้ครบตามปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมในแต่ละวัน คือ ประมาณวันละ 8 แก้ว สภาพอากาศแห้ง สภาพอากาศที่แห้ง ขาดความชื้นในอากาศ เช่น ในช่วงหน้าหนาว อาจทำให้ผิวสูญเสียน้ำได้ง่าย และทำให้ริมฝีปากแตกแห้งด้วยเช่นกัน การเลียริมฝีปาก คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเลียฝีปากโดยไม่รู้ตัว บางคนเลียริมฝีปากจนติดเป็นนิสัย บางคนทำเพราะคิดว่า น้ำลายจะช่วยให้ปากชุ่มชื้นได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ควรเลียริมฝีปาก เนื่องจากริมฝีปากไม่ได้ประกอบไปด้วยชั้นน้ำมันธรรมชาติเหมือนกับผิวหนัง การเลียริมฝีปากอาจจะยิ่งทำให้ริมฝีปากแห้งลง หลังจากที่น้ำลายระเหยออกไป แสงแดด แสงแดดอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ริมฝีปากแตกและแห้ง  ดังนั้น จึงควรทาลิปมันที่มีลิปบาล์มที่มีค่ากันแดดหรือ SPF 50 เพื่อช่วยปกป้องผิวริมฝีปากจากรังสียูวี ยารักษาโรค ยาบางชนิดเช่น ยารักษาสิวอย่าง โพรพราโนลอล (Propranolol) หรือโปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine) […]


โรคผิวหนังอักเสบ

โรซาเซีย อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรซาเซีย (Rosacea) ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า สิวหน้าแดง เป็นโรคผิวหนังทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการแดงที่หน้า และมักจะทำให้เกิดรอยแผลแดง หรือแม้กระทั่งตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดการแดงที่จมูก คาง แก้มและหน้าผาก เมื่อเวลาผ่านไป ผิวหนังจะแดงขึ้น และจะเห็นหลอดเลือดได้ชัดมากขึ้น คำจำกัดความโรซาเซีย คืออะไร โรซาเซีย (Rosacea) ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า สิวหน้าแดง เป็นโรคผิวหนังทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการแดงที่หน้า และมักจะทำให้เกิดรอยแผลแดง หรือแม้กระทั่งตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดการแดงที่จมูก คาง แก้มและหน้าผาก เมื่อเวลาผ่านไป ผิวหนังจะแดงขึ้น และจะเห็นหลอดเลือดได้ชัดมากขึ้น สัญญาณและอาการของโรคจะรุนแรงเป็นบางช่วง อาจจะหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน แล้วก็ทุเลาลง มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโรซาเซียกับการเป็นสิว การแพ้ หรืออาการของโรคผิวหนังอื่น ๆ หากไม่รีบรักษา โรคนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น โรซาเซีย พบบ่อยแค่ไหน โรซาเซียพบได้ทั่วไป เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงและคนผิวขาว ช่วงวัยกลางคน ชาวยุโรปเหนือและคนที่มีผิวขาวก็มักเกิดอาการของโรคโรซาเชีย โรคนี้สามารถควบคุมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรคโรซาเซีย อาการและสัญญาณของโรคโรซาเซียอาจมีดังนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคโรซาเซียหลายคนอาจมีประวัติการแดงของผิวหนังอยู่บ่อยครั้ง อาการแดงอาจเกิดขึ้นและหายไป แต่ถือว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรค อาการหน้าแดงต่อเนื่องเหมือนชาวอินเดียนแดงหรือผิวไหม้แดด และไม่ทุเลาลง ผื่นหรือตุ่มหนอง ตุ่มแดง หรือสิว มักจะกลายเป็นโรคโรซาเซีย บางครั้งผื่นมีลักษณะคล้ายสิว แต่ไม่มีหัว หรืออาจทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บได้ อาจเห็นเส้นเลือดฝอยปรากฏที่ผิวหนังได้ชัด ตาอาจเกิดการระคายเคือง น้ำตาไหลหรือแดงก่ำ ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคโรซาเซีย อาการนี้เรียกว่า โรคตาโรซาเซีย […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ขนคุด การรักษาและวิธีป้องกันด้วยตัวเอง

ขนคุด คือ เส้นขนที่งอกโผล่พ้นผิวหนังแล้ว แต่งอกลับลงไปใต้ผิวหนังอีกครั้ง หรือเส้นขนที่งอกออกมาจากรูขุมขน หรือ ปุ่มรากผม ที่อยู่ใต้ผิวหนัง แต่ไม่โผล่พ้นผิวหนังตามปกติ กลับม้วนงออยู่ใต้ผิวหนัง หรือม้วนกลับลงไปในรูขุมขน ขนคุดอาจทำให้เสียความมั่นใจ หรืออาจสร้างความรำคาญใจเมื่อพบเห็นและสัมผัส นอกจากนี้ หากดูแลรักษาขนคุดไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้ตุ่มเล็ก ๆ ติดเชื้อ และลุกลามเป็นปัญหาผิวร้ายแรงได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] ขนคุด คืออะไร ขนคุด คือ เส้นขนที่งอกโผล่พ้นผิวหนังแล้ว แต่งอกลับลงไปใต้ผิวหนังอีกครั้ง หรือเส้นขนที่งอกออกมาจากรูขุมขน หรือปุ่มรากผม (Hair Follicle) ที่อยู่ใต้ผิวหนัง แต่ไม่โผล่พ้นผิวหนังตามปกติ กลับม้วนงออยู่ใต้ผิวหนัง หรือม้วนกลับลงไปในรูขุมขน ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นตุ่มนูน บางครั้งอาจมองเห็นเส้นขนอยู่ใต้ผิวหนัง และมักเกิดบริเวณเดียวกันเป็นหย่อม ๆ หากขนคุดเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ อาจเกิดเป็นตุ่มแดง หรือตุ่มหนอง ลักษณะคล้ายสิว ขนคุดสามารถเกิดได้ทุกที่ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดขนคุด คือ การกำจัดขนด้วยการโกน การถอน และการแว็กซ์ โดยบริเวณที่มักเกิดขนคุด ได้แก่ ใบหน้า ลำคอ รักแร้ อวัยวะเพศ และขา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดขนคุด ขนคุดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขนคุดอาจได้แก่ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหรือน้ำมันอุดตันรูขุมขน […]


สิว

สิวในหู ดูแลอย่างไรเพื่อช่วยคลายความเจ็บปวด

สิวในหู คือสิวที่เกิดขึ้นในหูซึ่งมักสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุการเกิดสิวในหูนั้นเกิดได้โดยมีสาเหตุเดียวกับการเกิดสิวประเภทอื่น ๆ คือ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังและต่อมไขมัน ทำให้เกิดตุ่มนูนเล็ก ๆ ขึ้น โดยปกติแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สิวอุดตัน และสิวอักเสบ ส่วนใหญ่สิวมักขึ้นที่ใบหน้าและแผ่นหลัง แต่บางครั้งสิวก็อาจเกิดเป็นสิวในหูได้ ซึ่งนับเป็นสิวที่ดูแลรักษายาก [embed-health-tool-bmr] ประเภทของสิว สิวมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทย่อมมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยสิวอุดตันเป็นประเภทของสิวที่พบได้บ่อยมากที่สุด สิวอุดตันหัวเปิดเรียกว่า สิวหัวดำ เกิดจากการที่สิวสัมผัสกับออกซิเจนจนกลายเป็นสีดำ สิวหัวดำที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือกำจัดออก อาจอักเสบกลายเป็นตุ่มสีแดง มีหนอง และกดเจ็บ เรียกว่าสิวอักเสบ ซึ่งอาจลุกลามกลายเป็นสิวอักเสบขนาดที่ใหญ่ขึ้น ที่เรียกกันว่า สิวหัวช้าง ได้ด้วย โดยปกติแล้วสิวขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย แต่พบมากที่สุดบนใบหน้า และแผ่นหลัง รวมทั้งสิวในหู และเป็นสิวที่อาจก่อให้เกิดอาการปวดและรักษายากกว่าบริเวณอื่น สาเหตุการเกิดสิวในหู  บริเวณหูชั้นนอกมีทั้งเซลล์ผิวหนัง เซลล์เส้นขน และต่อมน้ำเหลืองซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำมัน จึงอาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้เช่นเดียวกับผิวหนังบริเวณอื่น ๆ เพราะสิวเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตัน ทั้งจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และน้ำมันธรรมชาติหรือซีบัมที่คอยปกป้องผิว ผสมรวมกับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว นอกจากนี้ สิวในหู ยังอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นอีกหลายอย่าง ได้แก่ การใช้หูฟังสกปรก ใช้หูฟังร่วมกับบุคคลอื่น น้ำสกปรกหรือปนเปื้อนเข้าไปในหูจึงอาจทำให้หูชั้นนอกอักเสบ ระดับความเครียดเพิ่มขึ้น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน การใช้อุปกรณ์เจาะหูที่สกปรกหรือติดเชื้อ การสวมหมวกหรือหมวกกันน็อคเป็นเวลานานทำให้เกิดการอับชื้น แพ้ยาสระผมหรือผลิตภัณฑ์เสริมความงามซึ่งผ่านเข้าไปในช่องหู ทำอย่างไรเมื่อเป็นสิวในหู หากสิวในหูไม่ได้ทำให้รู้สึกปวดมาก […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

รังแคในหน้าหนาว สาเหตุ และการป้องกัน

รังแคในหน้าหนาว อาจเกิดจากความแห้งของอากาศ อาจสังเกตได้ง่ายในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดยจะเป็นเกล็ดสีขาว ซึ่งเป็นผิวหนังที่ตายแล้วอยู่บนศีรษะ บางครั้งอาจหล่นลงมาที่บนหัวไหล่ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการคันบริเวณหนังศีรษะ โดยปกติแล้ว การเกิดรังแค ไม่จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอ แต่หากสระผมด้วยแชมพูที่ใช้ปกติแล้วรังแคไม่ลดลง หรือหนังศีรษะมีอาการบวม แดง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษาและรับการรักษาที่เหมาะสม รังแค คืออะไร รังแค (Dandruff) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และลอกออกมาเป็นเกล็ด ๆ รังแคอาจไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงแต่ทำให้อาจเสียบุคลิกภาพ ดูไม่ดี และทำให้เสียความมั่นใจ โดยรังแคที่เกิดขึ้นอาจจัดการได้ โดยการสระผมเป็นประจำ เพื่อช่วยให้รังแคที่มีเพียงเล็กน้อยลดลงได้ แต่หากมีรังแคเป็นจำนวนมากควรใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาที่มีคุณสมบัติในการกำจัดรังแคโดยเฉพาะ อาการของรังแค รังแคอาจสังเกตได้ง่ายในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดยจะเป็นเกล็ดสีขาว ซึ่งเป็นผิวหนังที่ตายแล้วอยู่บนศีรษะ บางครั้งอาจหล่นลงมาที่บนหัวไหล่ นอกจากนี้ อาจทำให้มีอาการคันได้ อาการเหล่านี้จะมีมากขึ้นในฤดูหนาวเพราะความแห้ง และอาการจะดีขึ้นในฤดูร้อน นอกจากนี้ ยังมีรังแคชนิดหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กทารก เรียกว่า ไขบนหนังศีรษะ (Cradle Cap) เป็นรังแคชนิดที่อาจหายไปเองได้ ไม่มีอันตราย โดยปกติแล้ว การเกิดรังแคไม่จำเป็นต้องพบคุณหมอ หากแชมพูที่ใช้ปกติไม่ช่วยให้รังแคลดลง หรือหนังศีรษะมีอาการบวม แดง ควรปรึกษาคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง สาเหตุของ รังแคในหน้าหนาว สาเหตุที่ทำให้เกิดรังแคในหน้าหนาวอาจมีดังต่อไปนี้ ต่อมไขมันอักเสบ ผิวหนังมีการระคายเคืองและมัน ผิวหนังแบบนี้อาจพบได้บ่อยในการเกิดรังแค รังแคที่เกิดจากต่อมไขมันอักเสบมักเป็นเกล็ดสีขาวหรือเหลือง และอาจมีสีแดงปนอยู่ด้วย ซึ่งจะพบได้มากในบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ เช่น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

หูดฝ่าเท้า รักษาและป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หูดฝ่าเท้า เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ขึ้นบริเวณฝ่าเท้า เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า Human Papilloma Virus (HPV) โดยหูดฝ่าเท้ามักมีลักษณะเป็นก้อนไตขนาดเล็ก ยกเว้นบางรายอาจมีขนาดใหญ่ พื้นผิวสัมผัสจะแข็งหนา ขึ้นอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของฝ่าเท้า อาจรู้สึกเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ อย่างไรก็ตาม หูดฝ่าเท้าเป็นโรคผิวหนังที่สามารถป้องกันได้ [embed-health-tool-bmi] หูดฝ่าเท้า คืออะไร หูดฝ่าเท้า (Plantar wart) เป็นโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในชั้นบนสุดของผิวหนัง ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ที่เรียกว่า Human Papilloma Virus (HPV) ผิวหนังบริเวณที่หูดฝ่าเท้ามักมีลักษณะเป็นก้อนนไต แผ่นหนาแข็ง เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกด้าน มักปรากฏบนส้นเท้าหรือบริเวณที่มีการลงน้ำหนักที่เท้า โดยแรงกดลงที่เท้านี้ก่อให้เกิดหูดขึ้นข้างในผิวเท้า หูดฝ่าเท้า ไม่อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง หรือก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่รุนแรง แต่อาจกินระยะเวลานานประมาณ 2 ปี หูดฝ่าเท้าจึงหายไปเอง หากกดไปบนบริเวณที่เป็น อาจเกิดอาการระคายเคืองหรือปวดบ้าง หากมีปัญหาผิวหนังคล้ายหูดและต้องการเอาออก ควรปรึกษาแพทย์คุณหมอถึงวิธีเอาหูดฝ่าเท้าออก อาจด้วยการผ่าตัดหรือการใช้ยา ทั้งนี้ หากรักษาเองอาจเกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อได้ ลักษณะของหูดฝ่าเท้า หูดฝ่าเท้าที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักเป็นหูดขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวโพด แต่อาจมีการเจริญเติบโตจนใหญ่ขึ้น และกระจุกอยู่บริเวณเดียวกัน ในบางจุดของหูดมักมีจุดสีดำเล็ก ๆ ปรากฏอยู่ด้วย ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดขนาดเล็กไปโตอยู่ในหูดทำให้เห็นเป็นจุดสีดำ หูดที่เท้ามักจะไม่เป็นตุ่มนูนขึ้นอยู่เหนือผิวหนัง แต่จะแบนราบลงไป เพราะเกิดจากการกดทับจากการเดินและลงน้ำหนักที่เท้า การติดต่อของหูดฝ่าเท้า  หูดฝ่าเท้าสามารถติดต่อกันได้ หากเด็กที่เป็นหูดฝ่าเท้าเอามือไปแตะพื้นผิวสนามเด็กเล่นเมื่อเด็กคนอื่นสัมผัสทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หรือคนที่เป็นหูดฝ่าเท้าใช้ห้องอาบน้ำโดยไม่สวมรองเท้า เมื่ออีกคนใช้ห้องอาบน้ำต่ออาจส่งผลให้ผิวหนังเป็นหูดได้ หรือใช้พลาสเตอร์ปิดบริเวณที่เป็นหูดไว้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น […]


การดูแลเล็บ

ปัญหาสุขภาพจากการทำเล็บเจล และวิธีการดูแลเล็บ

เล็บเจล เป็นวิธีการตกแต่งเล็บรูปแบบหนึ่ง โดยใช้สีเจลที่ทำขึ้นจากสีทาเล็บผสมเจลเนื้ออ่อนสำหรับต่อเล็บมาทาลงบนเล็บ ก่อนจะอบด้วยแสงยูวี เพื่อทำให้เนื้อเจลแข็งและติดทน การทำเล็บเจลอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเล็บบาง เล็บฉีก เกิดแผลจนอาจนำไปสู่การติดเชื้อ หรือหากทำเล็บเจลบ่อย ๆ ก็อาจได้รับอันตรายจากรังสียูวี จนเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการดูแลเล็บให้ดี เพื่อช่วยให้เล็บมีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ทำไมบางคนถึงเล็บเจล จุดประสงค์ของการทำเล็บเจล อาจมีดังนี้ หากทาสีเล็บเจลถูกวิธี เล็บเจลจะติดแน่นทนทาน อยู่ได้นานโดยไม่ลอกร่อน ต่างจากยาทาเล็บธรรมดา นอกจากจะติดทนแล้ว สีเล็บเจลยังดูมันวาว สวยงามกว่ายาทาเล็บแบบอื่น ๆ การทาเล็บเจล อาจช่วยให้นิ้วน่ามองขึ้นได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเล็บ เช่น เล็บสีผิดปกติจากโรคบางชนิด เนื่องจากยาทาเล็บทั่วไปอาจกลบสีเล็บที่ผิดปกติไม่มิด แต่ การทาเล็บเจล สามารถทำได้ คนที่ไม่เหมาะกับการทาเล็บเจล คนที่ไม่เหมาะกับการทาเล็บเจล อาจมีดังนี้ ผู้ที่มีเล็บอ่อนแอหรือเปราะบาง การทาเล็บเจล ต้องมีการตะไบตกแต่งทรงเล็บ รวมถึงตะไบหน้าเล็บทั้งในขั้นตอนก่อนทาและล้างเล็บ ซึ่งอาจทำให้เล็บบางกว่าเดิมและฉีกขาดได้ ผู้ที่ผิวบอบบาง หรือแพ้ง่าย การทาเล็บเจลต้องใช้น้ำยาล้างเล็บเช็ดทำความสะอาดเล็บ และผิวหนังโดยรอบ รวมถึงใช้ล้างเล็บด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองได้ ผู้ที่ไวต่อรังสียูวี การทาเล็บเจลต้องมีการอบเล็บด้วยรังสียูวีเอ (UVA) เพื่อทำให้ยาทาเล็บเจลแข็งขึ้น และติดแน่นไปกับเล็บ ผู้ที่ไวต่อรังสียูวี ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม อาการป่วย หรือการใช้ยาหรืออาหารเสริม […]


โรคสะเก็ดเงิน

สะเก็ดเงิน (Psoriasis)

สะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดการแบ่งตัวไม่สมบูรณ์จนผลิตจำนวนเซลล์ผิวหนังเร็วเกินไป จนเกิดเป็นผื่นแดงขนาดเล็ก ๆ ตกสะเก็ดสีขาวหรือเห็นเป็นสีเงิน เป็นขุยโดยรอบและทำให้เกิดอาการคัน เฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งของผิวหนังหรือทั่วร่างกาย มีทั้งระดับเบาและรุนแรง เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการ ไม่ใช่โรคติดต่อ เป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม [embed-health-tool-”bmi”] คำจำกัดความ สะเก็ดเงิน คืออะไร สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นภาวะผิดปกติของเซลล์ผิวหนังที่ผลิตขึ้นมาเร็วเกินไป และเกิดการสะสม ทำให้ผิวหนังเกิดสะเก็ดสีขาวหรือสีเงิน แห้ง เป็นขุย  มีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง มักเกิดอาการคันอย่างหนัก ความรุนแรงของโรคมักเริ่มต้นจากความเครียด การติดเชื้อ การสัมผัสสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง โรคอ้วน  ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หรืออาจจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด สะเก็ดเงินพบได้บ่อยได้แค่ไหน สะเก็ดเงินนั้นพบได้มากทั่วไปในผู้ใหญ่ แต่เป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่มีความผิดปกติในยีนอยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อสัมผัสกับปัจจัยที่ไปกระตุ้นทำให้อาการของโรคแสดงออกขึ้นมาชัดเจน อาการ อาการของสะเก็ดเงินเป็นอย่างไร สัญญาณและอาการของโรคสะเก็ดเงินนั้น แตกต่างกันไปตามแต่ละคน ซึ่งโดยปกติอาจมีอาการดังต่อไปนี้ รอยหย่อมสีแดงบนผิวหนังที่ปกคลุมด้วยเกล็ดสีเงิน ตกสะเก็ดเป็นหย่อม ๆ (มักพบในเด็ก) ผิวแห้ง แตก และอาจมีเลือดออก มีอาการคัน แสบร้อน หรือเจ็บ เล็บหนา หยาบ หรือเล็บแคบ ข้อต่อบวมและแข็งเกร็ง ผิวหนังที่มักจะได้รับผลกระทบ คือ หนังศีรษะ ใบหน้า ข้อศอก มือ เข่า เท้า หน้าอก […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

กลากที่หนังศีรษะ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

กลากที่หนังศีรษะ หรือชันนะตุ (Tinea Capitis) เป็นการติดเชื้อราที่รากผม เส้นผม และหนังศีรษะ ทำให้เกิดอาการคัน ผมร่วงเป็นหย่อม หนังศีรษะลอก สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ผ่านการสัมผัสบริเวณที่ติดเชื้อหรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี ผ้าเช็ดผม โดยทั่วไป สามารถรักษากลากได้ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อราร่วมกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและของใช้โดยรอบ คำจำกัดความ กลากที่หนังศีรษะ คืออะไร กลากที่หนังศีรษะ หรือเชื้อราบนหนังศีรษะ หรือที่เรียกว่า “ชันนะตุ” เป็นการติดเชื้อราที่รากผม เส้นผม และหนังศีรษะ โดยเชื้อราจะทำให้เกิดผื่นวงแหวนที่มีขอบชัดเจนที่หนังศีรษะ ตรงกลางผื่นจะเรียบ ส่วนตรงขอบผื่นจะนูน การติดเชื้อนี้ส่งผลต่อทั้งหนังศีรษะและเส้นผม มักทำให้เกิดอาการคัน ผมร่วงเป็นหย่อม หนังศีรษะลอกลักษณะคล้ายรังแค กลากที่หนังศีรษะเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น หวี ผ้าเช็ดตัว หมวก หมอน โรคนี้สามารถพบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุ 4-14 ปี อาการ อาการของ กลากที่หนังศีรษะ อาการของกลากที่ศีรษะที่พบบ่อยที่สุด คือ มีผื่นคันบริเวณหนังศีรษะ ผมร่วงในบริเวณที่เป็นกลาก หนังศีรษะมีรอยแดง รอยด่าง หรือเป็นขุย และอาจสังเกตเห็นจุดดำบริเวณที่ผมร่วง หากปล่อยไว้ อาจทำให้กลากลุกลามเป็นวงกว้างได้ อาการอื่น ๆ ของโรคกลากมีดังนี้ ผมบาง เจ็บหนังศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต […]


สุขภาพผิว

เปลือกตามัน แต่งหน้าอย่างไร ให้เครื่องสำอางติดทนขึ้น

เปลือกตามัน เป็นปัญหาหนักอกหนักใจที่แก้อย่างไรก็ไม่หายสักที ถ้าวันที่นอนอยู่บ้านเฉย ๆ ก็ไม่เป็นปัญหามากนัก แต่ถ้าวันไหนต้องทำผม ต้องแต่งหน้าจัดเต็ม พอคล้อยบ่ายตาที่แต่งไว้ก็กลับเลอะเปรอะไปหมด จากสภาพสวยตอนเช้า กลายเป็นสภาพเหมือนหมีแพนด้าร้องไห้ตอนบ่าย แต่ใช่ว่าปัญหาเหล่านี้จะไม่มีวิธีรับมือ เพียงแค่รู้ต้นตอของปัญหาพร้อมเทคนิคช่วยแต่งเปลือกตามันก็สวยทั้งตอนก่อนออกจากบ้านและตลอดทั้งวันแน่นอน ตาม Hello คุณหมอ ไปดูเทคนิคดี ๆ กันเลย เปลือกตามัน ได้อย่างไรกัน  สาว ๆ หลายคนอาจจะคิดว่า เปลือกตามัน คือ เปลือกตาที่มีเหงื่อเยอะหรือเป็นไปตามสภาพผิว จะบอกว่าความคิดพวกนั้นเป็นความคิดที่ผิด สาว ๆ ที่เป็นคนหน้ามันอาจไม่ได้มีเปลือกตาที่มันด้วยก็ได้ เพราะเปลือกตามันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของระดับออร์โมนในร่างกาย ตำแหน่งของต่อมไขมัน การใช้ครีมบำรุงผิวบางชนิดที่มีส่วนผสมของน้ำมัน การกินยาบางชนิด การใช้ครีมกันแดดที่เพิ่มความมันบนใบหน้า หรือการใช้ครีมบำรุงผิวแบบผิดวิธีหรือมากจนเกินไป ดังนั้น สาว ๆ จึงควรหาสาเหตุของปัญหาเปลือกตามันของคุณแล้วจัดการซะ ก่อนที่การแต่งตาจะพังไม่เป็นท่า แต่ถ้าการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอมันช้าจนเกินไปแล้ว ดูไม่ทันใจก็มีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจช่วยให้การแต่งหน้าหรับสาวเปลือกตามัน ดูง่ายขึ้น รู้จักสภาพผิวของตัวเอง สาว ๆ หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่า สภาพผิวของเราแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ผิวแห้ง ผิวมัน และ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม