backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคลิ้นหัวใจ (Heart Valve Disease)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 18/03/2021

โรคลิ้นหัวใจ (Heart Valve Disease)

โรคลิ้นหัวใจ เกิดขึ้นเมื่อลิ้นหัวใจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ในหัวใจมีลิ้นหัวใจ 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมให้เลือดไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง

คำจำกัดความ

โรคลิ้นหัวใจ คืออะไร

โรคลิ้นหัวใจเกิดขึ้นเมื่อลิ้นหัวใจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติในหัวใจมีลิ้นหัวใจ 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมให้เลือดไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง ขณะที่หัวใจเต้นหนึ่งครั้ง ลิ้นหัวใจก็จะเปิดและปิดหนึ่งครั้ง ถ้าลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติไปด้วย โรคลิ้นหัวใจรวมถึงอาการหรือโรคใด ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจทั้งหมด เช่น โรคหลอดเลือดแดงคาโรติค (Carotid Stenosis) โรคลิ้นหัวใจอาจนำไปสู่อาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ ได้อีก เช่น ความดันโลหิตสูง และหัวใจวาย

โรคลิ้นหัวใจพบได้บ่อยแค่ไหน

โรคลิ้นหัวใจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ก็มีโอกาสเกิดได้กับทุกวัย โรคนี้ควบคุมได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ โรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจทำให้เกิดอาการหลายแบบ สัญญาณและอาการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้

  • หายใจได้สั้น
  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • เจ็บหน้าอก
  • เวียนหัว อ่อนเพลีย
  • เป็นลม
  • ปวดศีรษะ
  • ไอ
  • ภาวะคั่งน้ำที่ทำให้บริเวณส่วนล่างของแขนขาและท้องน้อยบวม
  • ปอดบวมน้ำ
  • ข้อเท้า เท้า หรือท้องบวม
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โรคลิ้นหัวใจรั่วอาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไว้เบื้องต้น หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากพบสัญญาณหรืออาการของการติดเชื้อ เช่น เจ็บคอ ปวดตามเนื้อตัวหรือเป็นไข้  ควรปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกันไป

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคลิ้นหัวใจ

ในบางกรณีโรคลิ้นหัวใจเป็นโรคแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ มีดังต่อไปนี้

  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Infective Endocarditis) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับเยื่อบุของหัวใจ
  • ไข้รูมาติก เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียตระกูลสเตรปโตคอคคัส
  • โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aortic Aneurysm) จะมีอาการบวมผิดปกติที่หลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta)
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
  • การเสื่อมของลิ้นหัวใจ (Myxomatous Degeneration) คือการที่เนื้อเยื่อยึดต่อในลิ้นหัวใจไมทรัล (Mitral Valve) อ่อนแอ
  • โรคลูปัส (Lupus) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมและซิฟิลิส
  • โรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อยึดต่อ
  • เนื้องอก ยาบางชนิด และการได้รับรังสี

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ ตัวอย่างเช่น

  • อายุมาก
  • ไม่ค่อยได้ออกกำลัง
  • มีประวัติเคยป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ความดันโลหิตสูง หรือไข้รูมาติก
  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลต่อไปนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจ

    แพทย์จะฟังเสียงหัวใจด้วยการใช้สเตทโตสโคประหว่างที่ตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติของการเต้นของหัวใจที่อาจเป็นผลมาจากปัญหาจากลิ้นหัวใจ

    การตรวจแบบอื่นต่อจากการตรวจร่างกายคือการตรวจการไหลเวียนเลือด จากการตรวจจะทำให้แพทย์เห็นว่าการทำงานของลิ้นหัวใจเป็นอย่างไร เพื่อที่แพทย์จะได้เลือกวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสม

    • การเอ็กซเรย์ทรวงอก จะทำให้แพทย์ทราบขนาด รูปทรง และตำแหน่งของหัวใจ บางครั้งโรคลิ้นหัวใจจะทำให้หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง และการตรวจหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร การตรวจแบบนี้จะใช้คลื่นเสียง (อัลตร้าซาวน์) ในการสร้างและแสดงภาพหัวใจรวมถึงเส้นเลือดรอบ ๆ หัวใจ
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้แพทย์ทราบว่ามีความผิดปกติในระบบไหลเวียนเลือดหรือไม่ เพราะความผิดปกตินั้นอาจมาจากลิ้นหัวใจ

    การรักษาโรคลิ้นหัวใจ

    การรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคลิ้นหัวใจและอาการที่เป็น แพทย์ของคุณจะช่วยแนะนำการรักษาที่เหมาะสม หากคุณสูบบุหรี่ คุณอาจต้องเลิก นอกจากนี้ยังต้องรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

    แพทย์ของคุณอาจสั่งยาเพื่อรักษาอาการของคุณ เช่น เบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) และแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium Channel Blockers) ซึ่งจะช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและการไหลเวียนเลือด ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เพื่อช่วยลดของเหลวที่ตกค้างในร่างกาย หรือยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators) ที่จะช่วยให้เปิดหรือขยายหลอดเลือดได้

    ในกรณีที่อาการของคุณรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด การผ่าตัดนี้อาจซ่อมแซมลิ้นหัวใจของคุณด้วยเนื้อเยื่อในร่างกายของคุณเอง หรือเนื้อเยื่อจากสัตว์ อาจใช้ลิ้นหัวใจที่ได้รับบริจาคจากคนอื่น หรือลิ้นหัวใจเทียม

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    วิธีต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับโรคลิ้นหัวใจได้

    • รู้จักประเภทของโรคลิ้นหัวใจที่เป็น
    • พบคุณหมอและทันตแพทย์ หากคุณเป็นโรคลิ้นหัวใจ
    • หากมีอาการหรือการติดเชื้อให้แจ้งแพทย์ให้ทราบ
    • ดูแลฟันและเหงือก
    • ใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่คุณจะต้องทำกระบวนการใด ๆ ที่จะทำให้เลือดออก
    • รับประทานยาและเข้ารับการรักษาตามที่แพทย์กำหนด
    • ไปพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 18/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา