โรคหัวใจ

โรคหัวใจ คือหนั่งใตสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค อาการ การรักษา และการป้องกันโรคหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

สำรวจ โรคหัวใจ

โรคหัวใจ

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ

น้ำตาล คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน การรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปก็ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน เบาหวาน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงถึงความเชื่อมโยงของการบริโภค น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ โดยระบุว่าหากได้รับน้ำตาลในปริมาณมาก ก็สามารถทำลายเนื้อเยื่อหัวใจได้ น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ ส่งผลต่อกันอย่างไรบ้าง หนึ่งในงานวิจัยชี้ว่า การกินน้ำตาลปริมาณมากสามารถทำลายเนื้อเยื่อหัวใจ นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเบาหวานที่ไม่มีการควบคุม จะนำไปสู่โรคหัวใจ หรือก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป อินซูลินที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดจะส่งผลกระทบต่อหลอดเลือด  มันจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว นำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างต่อเนื่องยังไปลดประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป จะนำไปสู่โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว และโรคเส้นเลือดในสมอง ได้ในที่สุด นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า การกินน้ำตาลน้อยลงจะช่วยลดความดันโลหิตซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจ ผู้ที่กินน้ำตาลเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% ของแคลอรี่ที่มาจากน้ำตาล มีโอกาสเสี่ยงเป็นสองเท่าที่จะตายจากโรคหัวใจของผู้ที่มีการเพิ่มน้ำตาลน้อยกว่า 10% ของน้ำตาลทั้งหมด บทความในวารสารการแพทย์ JAMA Internal Medicine ระบุว่าตลอดระยะเวลาการศึกษา 15 ปีพบว่าการบริโภคน้ำตาลสูงมีความสัมพันธ์กับอัตราความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โดยผู้ที่ได้รับสัดส่วนน้ำตาลร้อยละ 17-21 จากพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน จะมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับหัวใจสูงกว่าผู้ที่บริโภคน้ำตาลเพียงร้อยละ 8 จากพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน โดยรวมแล้ว […]


โรคหัวใจ

นั่งสมาธิ มีส่วนช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ของเราดีขึ้นได้อย่างไร

นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย และการควบคุมอาหาร คือวิธีที่ดีที่สุด สำหรับการดูแลรักษา สุขภาพหัวใจ ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดยืนยันว่าคนที่ฝึกทำสมาธิ มีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจวายน้อย นอกจากนี้การทำสมาธิยังช่วยลดความเครียดและความหวาดวิตกลงได้ด้วย ยังไงน่ะเหรอ? Hello คุณหมอมีข้อมูลมาแบ่งปัน ดังนี้ การ นั่งสมาธิ ช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ดีขึ้นได้ การนั่งสมาธิเป็นวิธีเสริมสร้างศักยภาพทางจิตใจ ให้เกิดผลทางด้านบวกกับร่างกายนั้น เป็นวิธีที่ใช้ในการทำให้จิตใจสงบกันมานานแล้ว และการทำสมาธินั้นก็อาจส่งผลที่ดีต่อสุขภาพหัวใจของเราด้วย ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิและสุขภาพหัวใจจะยังมีไม่ค่อยมาก แต่การศึกษาวิจัยบางชิ้นก็แสดงให้เห็นว่า การฝึกนั่งสมาธิจะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ การนั่งสมาธิช่วยหัวใจเราได้อย่างไร โดยปกติแล้ว การนั่งสมาธิมักจะเพ่งความสนใจไปที่เสียง ความคิด วัตถุ จังหวะเวลา การสร้างภาพ หรือคำสวด นอกจากนี้ยังต้องทำจิตใจให้นิ่ง รับรู้การหายใจ และมีการแผ่เมตตาด้วย ฉะนั้น จึงเชื่อกันว่าการนั่งสมาธิจะช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจ รวมทั้งยังมีหลักฐานแสดงให้เห็นด้วยว่า การนั่งสมาธิอาจช่วยกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้ความดันโลหิตลดลง และการทำให้หัวใจเต้นช้าลง ในระหว่างที่ปฎิบัติตัวให้รู้สึกผ่อนคลายอยู่นั้น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิและสุขภาพหัวใจ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ที่รายงานโดยโดยสมาคมโรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2017 นั้น แสดงให้เห็นว่าการนั่งสมาธิช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจลงได้ และจากการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ นักวิจัยก็พบว่าการนั่งสมาธิมีส่วนช่วยในการลดความเครียด ความหวาดวิตก และอาการซึมเศร้า แถมยังช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น และทำให้สุขภาพโดยทั่วไปดีขึ้นด้วย สมาคมโรคหัวใจในอเมริกายังบอกอีกด้วยว่า การนั่งสมาธิยังช่วยลดความดันโลหิต ช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ และช่วยลดความเสี่ยงของหัวใจวาย ซึ่งนักวิจัยระบุว่า ยังต้องทำการศึกษาวิจัยให้ละเอียดและครอบคลุมมากว่ากว่านี้ […]


โรคหัวใจ

โรคหัวใจ มีกี่ประเภท อาการและสาเหตุของโรคหัวใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือภาวะหัวใจวาย อาการและสาเหตุของโรคในกลุ่มโรคหัวใจแต่ละโรคจะแตกต่างกันไป แต่อาจมีอาการบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ การลดปัจจัยเสี่ยงและดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ โรคหัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ หมายถึง กลุ่มโรคและภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดง อย่างเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ อย่างภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart defects) คำว่า “โรคหัวใจ” มักถูกนำมาใช้สลับกันบ่อยๆ กับคำว่า “โรคหัวใจและหลอดเลือด” โรคหัวใจและหลอดเลือดโดยทั่วไป หมายถึงอาการที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ที่สามารถนำไปสู่โรคหัวใจวาย เจ็บหน้าอก หรือหลอดเลือดในสมองแตก ปัญหาหัวใจอื่นๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือชีพจรหัวใจ ถือว่าเป็นรูปแบบของโรคหัวใจรูปแบบหนึ่ง ทำไมต้องกังวล ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหัวใจล้มเหลวประมาณ 17.1 ล้านคนต่อปี ในประเทศไทย ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2557 […]


โรคหัวใจ

โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ ความเชื่อมโยงที่ไม่ควรละเลย

โรคอ้วน (Obesity) มีความเชื่อมโยงสำคัญกับปัญหาสุขภาพหลายอย่าง โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติและโรคหัวใจ โดยเฉพาะ โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ นั้น หากคุณน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่หยุด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากไลฟ์สไตล์ อย่างการบริโภคอาหารที่มีไขมัน และไม่ออกกำลังกาย สามารถที่จะสร้างความเสียให้แก่หัวใจได้เป็นอย่างมาก Hello คุณหมอมีข้อมูลดีๆ มาให้อ่านกันว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร คำจำกัดความของโรคอ้วน โรคอ้วน วินิจฉัยได้โดยอ้างอิงจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ค่าดัชนีมวลกายคำนวณได้โดยการเอาน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เป็นเมตร) ค่าดัชนีมวลกายที่อยู่ระหว่าง 30 และ 40 หมายความว่าคุณเป็นคนอ้วน และหากค่าดัชนีมวลกายของคุณเกิน 40 คุณจะถูกวินิจฉัยว่า คุณเป็นโรคอ้วน นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ค่าดัชนีมวลกายที่สูงมากๆ เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ อย่างเช่น หัวใจวายและหัวใจล้มเหลว โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ เป็นที่สงสัยกันว่า เนื้อเยื่อไขมันบริเวณรอบเอว สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ ถึงแม้จะไม่มีความเสี่ยงอื่นของโรคหัวใจก็ตาม ในการสนับสนุนทฤษฎีนี้ นักวิจัยได้ทำการประเมินหาสัญญาณของสภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน อาการนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างห้องสูบฉีดหัวใจ (หัวใจห้องล่างซ้าย) ซึ่งขัดขวางการสูบฉีดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างชีพจรการเต้นของหัวใจ สภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย จะไม่แสดงอาการอะไร แต่มันเป็นสัญญาณของโรคหัวใจล้มเหลวได้ในอนาคต โรคหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหรือแข็งเกินไป […]


โรคหัวใจ

สัญญาณบอกเหตุ โรคหัวใจในผู้หญิง ที่ไม่ควรละเลย

โรคหัวใจในผู้หญิง สามารถพบได้บ่อยเช่นเดียวกับโรคหัวใจในผู้ชาย แต่อาการของโรคหัวใจในแต่ละคนนั้นอาจมีความแตกต่างกันได้ และ อาการของ โรคหัวใจในผู้หญิง นั้นอาจแตกต่างกับอาการที่เกิดกับผู้ชายได้ โรคหัวใจในผู้หญิง กับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ สัญญาณของหลอดเลือดหัวใจตีบอาจจะไม่ใช่การเจ็บหน้าอกในผู้หญิง โดยทั่วไปอาการของหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ชาย จะเป็นการเจ็บหน้าอกที่ร้าวไปถึงขากรรไกรหรือไหล่ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีอาการปวดเมื่อสัมผัส ซึ่งอาจจะเกิดที่หลัง ไหล่ แขน หรือขากรรไกร ยิ่งไปกว่านั้นบ่อยครั้ง อาจจะไม่ได้มีอาการเจ็บหน้าอกเลยก็ได้ แพทย์จำนวนไม่น้อยอาจเชื่อตามความเชื่อดั้งเดิมว่า โรคหลอดเลือดหัวใจนั้นไม่ค่อยจะเกิดในผู้หญิง แพทย์อาจจะสรุปว่าอาการดังกล่าวนั้นเป็นการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก หรือความผันแปรทางอารมณ์ ที่ทำให้มีผลต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ (หรืออาการที่น้อยกว่านี้) ยิ่งไปกว่านี้ผู้หญิงอาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่าผู้ชาย เมื่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเป็นปกติ ระหว่างการสวนหัวใจและหลอดเลือด แต่พวกเธออาจจะแจ้งว่า เกิดความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือแย่ไปกว่านั้นจะบอกว่า เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับศีรษะ ทั้งที่ความจริงเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาจจะมีอาการที่แตกต่างกันในผู้หญิง เปรียบเทียบกับผู้ชาย บ่อยครั้งผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย หายใจตื้น หรือเหนื่อยล้ารุนแรงและทันที แต่ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก อย่างไรก็ตาม แพทย์มักจะระบุว่า อาการเหล่านี้เป็นอาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับโรคหัวใจ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเงียบๆ มากกว่าผู้ชาย นั่นหมายความว่า อาจจะเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการอะไรเลยอย่างกะทันหัน ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยได้เพียงแต่เมื่อเกิดอาการโรคหัวใจแล้วเท่านั้น เมื่อไรที่จะต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ในเมื่ออาการโรคหัวใจในผู้หญิงไม่เป็นไปตามตำรา คุณจะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อไรคุณควรที่จะขอความช่วยเหลือ เกี่ยวกับอาการที่อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ กฎที่คุณควรจะทำตามง่ายๆ ก็คือ […]


โรคหัวใจ

การวินิจฉัยโรคหัวใจและการตรวจหัวใจด้วย Computed Tomography (CT)

โรคหัวใจเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับ หัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจขึ้น ก็จะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายบางส่วนทำงานได้ลำบากมากขึ้น ในปัจจุบันที่วงการแพทย์ได้มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีอุปกรณ์ที่ช่วยในการตรวจหัวใจ อย่าง การตรวจหัวใจด้วย CT ทาง Hello คุณหมอจะพาไปทำความรู้จักว่า CT คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ การตรวจหัวใจด้วย CT หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์คืออะไร Computed Tomography (CT) คือ การทดสอบที่ ไม่ล้วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย โดยใช้เอกซเรย์ในการสร้างภาพของหัวใจ CT สแกนเนอร์ที่ทันสมัย (Multidetector CT หรือ MDCT) ทำงานได้อย่างรวดเร็วและละเอียด โดยสามารถถ่ายภาพการเต้นของหัวใจ แสดงแคลเซียมและสิ่งที่ขัดขวางในเส้นเลือดแดงได้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ CT MDCT คือหนึ่งในประเภทของ CT scan ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว MDCT ทำให้เกิดภาพของส่วนของหัวใจที่ปกติและส่วนที่เป็นโรค โดยภาพนี้สามารถดูได้จากมุมมองใดก็ได้ รูปภาพที่แสดงออกมาเหล่านี้สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยถึงปัญหาที่เกิดในโครงสร้างของหัวใจและการสูบฉีดเลือดของหัวใจได้ EBCT สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด ที่เกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดหัวใจ ทำไมจึงต้องทำ MDCT แพทย์อาจให้คุณทำ MDCT เมื่อการตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น การเอกซเรย์หน้าอก การทำ electrocardiograms (ECG), Echocardiograms (echocardiography) […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม