backup og meta

ประโยชน์ของถั่วดำ ที่จะทำให้สุขภาพดีได้ทุกวัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    ประโยชน์ของถั่วดำ ที่จะทำให้สุขภาพดีได้ทุกวัน

    ถั่วดำ เป็นธัญพืชที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งกินเป็นธัญพืช หรือกินเป็นของหวาน นอกจากความอร่อยแล้ว ถั่วดำยังเป็นอาหารสุขภาพอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมาดูว่า ประโยชน์ของถั่วดำ ต่อร่างกายของเรานั้น มีอะไรบ้าง

    คุณค่าทางโภชนาการของถั่วดำ

    ถั่วดำ นั้นเต็มไปด้วยไฟเบอร์และโปรตีน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิด  ได้แก่ วิตามินเอ  ธาตุเหล็ก แมงกานีส และแคลเซียม ถั่วชนิดนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง มีส่วนช่วยในการต้านมะเร็ง และยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 หรือที่รู้จักกันว่าเป็นไขมันดี มีกรดโฟเลต หรือ กรดโฟลิก (Folate) ซึ่งดีต่อสุขภาพของเด็กเล็ก ๆ และคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ที่น่าสนใจไปกว่านั้น ถั่วดำมีระดับของโมลิบดีนัม (Molybdenum) สูงมาก ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบได้ยากและให้ประโยชน์ต่อร่างกายสูง

    ประโยชน์ของถั่วดำ ที่มีต่อสุขภาพ

    ดีต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจ

    ไฟเบอร์ในถั่วดำนั้น จัดว่าเป็นไฟเบอร์ชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยในการลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงของภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และทำให้ความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดง ภาวะหัวใจวาย และหลอดเลือดตีบน้อยลงอีกด้วย นอกจากนี้ กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในถั่วดำ ยังมีสรรพคุณต้านทานความเป็นลบของกรดไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดความดันโลหิต และลดภาวะเครียดที่เกิดจากการออกซิเดชันในระบบหลอดเลือดหัวใจได้

    ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

    ถั่วดำนั้นมีฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ถึง 8 ชนิด ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิดได้ หนึ่งในสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ก็คือแอนโทไซยานิน  (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถชะลอการเติบโตของเซลล์ที่เป็นอันตราย และเพิ่มความเร็วในการสลายเซลล์มะเร็งอีกด้วย

    ดีต่อระบบย่อยอาหาร

    ถั่วดำ มีปริมาณโปรตีนและไฟเบอร์สูง จึงสามารถช่วยในการจัดการปัญหาในระบบย่อยอาหารได้ ช่วยให้อาหารสามารถเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ดีขึ้น ทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น และยังช่วยทำความสะอาดลำไส้อีกด้วย และเพราะถั่วดำมีไฟเบอร์ที่สามารถละลายน้ำได้ จึงช่วยลดอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี

    ประโยชน์ต่อระดับน้ำตาลในเลือด

    ถั่วดำ ดีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะถั่วดำมีสรรพคุณในการกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร จึงมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ เพราะมีผลการวิจัยพบว่า การมีระบบย่อยอาหารที่ไม่ปกติ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือต่ำลงได้

    ช่วยต่อต้านสารซัลไฟต์ (Sulfite)

    ซัลไฟต์ (Sulfite) เป็นกรดที่อยู่ในไวน์ ผลไม้อบแห้ง และผักต่าง ๆ เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการปวดหัว มึนงง หรือวิงเวียน แต่ถั่วดำมีสารที่ชื่อว่า โมลิบดีนัม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่หาได้ยาก และมีบทบาทสำคัญในการกำจัดซัลไฟต์ (Sulfite) และขจัดสารพิษของซัลไฟต์ (Sulfite) และการบริโภคโมลิบดีนัมเป็นประจำยังช่วยลดปัญหาการไร้สมรรถภาพทางเพศ และการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศได้อีกด้วย

    คำแนะนำสำหรับการบริโภคถั่วดำ

    เปลือกของเมล็ดถั่วดำนั้นมีกรดไฟเตต (Phytic acid) สารเคมีที่กีดขวางร่างกายในการดูดซึมแคลเซียม แมกนีเซียม และทองแดง เมื่อสะสมไม่มากขึ้นเรื่อย ๆ  และแร่ธาตุเหล่านั้นไม่ได้รับการดูดซึมและสะสมในร่างกาย ก็จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ท้องไส้ปั่นป่วนไปจนถึงมีการรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย หรืออาจทำให้ระบบการทำงานของสมองถูกขัดขวาง ดังนั้น ก่อนจะกินถั่วดำ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ แช่ถั่วดำในน้ำก่อนนำมาประกอบอาหาร เพื่อให้สารไฟเตต (Phytic acid) ที่เปลือกหลุดออกไปให้มากที่สุด นอกจากนี้ถั่วดำยังมีโอลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharide) หรือน้ำตาลเชิงซ้อนที่ร่างกายไม่สามารถทำลายได้ เพราะร่างกายของเราขาดเอนไซม์ที่จะไปสลายสารดังกล่าว และสารโอลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharide) ที่ว่านี้ จะผลิตก๊าซมีเทนซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ เสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและมีอาการทางสุขภาพตามมาได้

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา