backup og meta

ไข่เป็ด อีกหนึ่งอาหารเสริมสุขภาพ ที่มีดีไม่แพ้ ไข่ไก่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 07/01/2021

    ไข่เป็ด อีกหนึ่งอาหารเสริมสุขภาพ ที่มีดีไม่แพ้ ไข่ไก่

    ไข่เป็ด ถือเป็นอีกหนึ่งในผลผลิตจากสัตว์ ที่เราสามารถนำมารับประทาน หรือประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ ได้ไม่แพ้ไข่ไก่เลยทีเดียว และด้วยรสชาติเฉพาะตัวที่กลมกล่อม หอมมัน จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่นั้น หันมานิยมรับประทานกันมากขึ้น บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับคุณประโยชน์ของไข่เป็ด พร้อมข้อควรระวัง มาฝากสำหรับผู้ที่อยากจะลิ้มลอง ก่อนเริ่มรับประทานกันค่ะ

    โภชนาการอาหารของ ไข่เป็ด

    โดยปกติ ไข่ เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงแต่เดิมอยู่แล้ว แต่หากเมื่อต้องนำมาเลือกรับประทานระหว่างไข่เป็ด และไข่ไก่ ไข่เป็ดนั้นอาจให้คุณค่าทางโภชนาการได้มากกว่า ตามตารางการเปรียบเทียบ ดังต่อไปนี้

      ไข่เป็ด ไข่ไก่
    แคลอรี่ 185 148
    โปรตีน 13 กรัม 12 กรัม
    ไขมัน 14 กรัม 10 กรัม
    คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม 1 กรัม
    คอเลสเตอรอล 295% ต่อวัน (Daily Value) 141% ต่อวัน (Daily Value)
    วิตามินบี12 90% ต่อวัน (Daily Value) 23% ต่อวัน (Daily Value)
    ซีลีเนียม 52% ต่อวัน (Daily Value) 45% ต่อวัน (Daily Value)
    ไรโบฟลาวิน 24% ต่อวัน (Daily Value) 28% ต่อวัน (Daily Value)
    ธาตุเหล็ก 21% ต่อวัน (Daily Value) 10% ต่อวัน (Daily Value)
    วิตามินดี 17% ต่อวัน (Daily Value) 9% ต่อวัน (Daily Value)
    โคลีน (Choline) 263 มิลลิกรัม 251 มิลลิกรัม

    ประโยชน์ของการรับประทาน ไข่เป็ด

    เนื่องจากสารอาหารค่อนข้างสูงที่มีอยู่ในไข่เป็ดนั้น อาจสามารถเข้าไปช่วยบำรุงร่างกายจากภายในสู่ภายนอกได้ ดังต่อไปนี้

  • สร้างมวลกล้ามเนื้อ

  • เป็นที่ทราบกันดีว่าโปรตีนที่อยู่ในไข่ล้วนสามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และช่วยรักษาความสมดุล ฟื้นฟูกล้ามเนื้อของคุณหลังจากการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันการเกิดอาการบาดเจ็บเบื้องต้น เมื่อมีการทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายอย่างหนัก

    • ปรับปรุงสุขภาพจิต

    แร่ธาตุในไข่ที่ประกอบไปด้วยซีลีเนียม (Selenium) นับว่าเป็นแร่ธาตุที่สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า และความวิตกกังวลในจิตใจของเราได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังอาจช่วยปรับปรุงความผิดปกติทางอารมณ์ของผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนก่อนเป็นประจำเดือนได้อีกด้วย

    • บำรุงสุขภาพผิว

    การศึกษาล่าสุดพบว่า ไข่เป็ดนั้น อุดมไปด้วยวิตามินบี 8 ชนิดที่สามารถช่วยเข้าไปบำรุงผิวพรรณของเราให้ดูกระจ่างใสขึ้น โดยจำแนกสรรพคุณต่าง ๆ ออกได้ ดังนี้

  • วิตามินบี 1 เป็นวิตามินที่ช่วยต้านความเครียดที่ก่อให้เกิดสิวบนผิว
  • วิตามินบี 2 ช่วยลดการอักเสบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งรักษาความสมดุลคอลลาเจน
  • วิตามินบี 3 ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น สิว กลาก เป็นต้น
  • วิตามินบี 5 สามารถช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้อยู่คู่บนชั้นผิวหนังได้อย่างยาวนานขึ้น
  • วิตามินบี 6 ช่วยให้ร่างกายสามารถรับมือกับความเครียด พร้อมทั้งป้องกันการเกิดผิวแห้งแตก อักเสบ
  • วิตามินบี 7 ช่วยปกป้องผิวให้ห่างจากการติดเชื้อ และรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง
  • วิตามินบี 9 สามารถช่วยกระตุ้น หรือสร้างเซลล์ใหม่ของผิวหนังขึ้น เมื่อมีการผลัดเซลล์เก่าที่ตายแล้วออก
  • วิตามินบี 12 ช่วยลดการอักเสบ และการเกิดสิว
  • ที่สำคัญในการรับประทานไข่เป็ดทุกครั้ง คุณควรมีชำระล้างเปลือกไข่ภายนอก และหมั่นปรุงสุกเสมอไม่ว่าจะนำไปประกอบอาหารเป็นเมนูใดก็ตาม เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรค และแบคทีเรียอื่น ๆ ที่ปนเปื้อน มากับไข่ ก่อนที่จากจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มเปี่ยมในข้างต้น แต่กลับกลายเป็นได้รับโทษต่อสุขภาพแทน

    ข้อควรระวังการรับประทาน ไข่เป็ด ที่คุณควรรู้

    บางครั้งการรับประทานไข่เป็ดนั้นอาจไม่ได้เหมาะสมกับทุกคนเสมอไป โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ป่วยที่กำลังประสบกับภาวะทางสุขภาพ เหล่านี้

    • อาการแพ้ไข่

    อาการแพ้ไข่ เป็นอาการแพ้อาหารอย่างหนึ่งทีอาจพบได้บ่อยตั้งแต่ทารก จนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ที่แพ้ไข่นั้น เมื่อได้รับประทานเข้าไปโดยที่ไม่รู้ตัว ก็อาจทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย อาเจียน ผื่นขึ้นตามผิวหนัง ยิ่งถ้าหากเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกรณีแพ้ขั้นรุนแรง ก็สามารถส่งผลต่อระบบหายใจได้อีกด้วย นับว่าเป็นอาการที่อันตรายอย่างมากที่คุณควรพึงระวังไว้ให้ดี

    • โรคหัวใจ

    ถึงจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพียงใด แต่ถึงอย่างไรผู้ป่วยที่มีประวัติ หรือประสบกับโรคหัวใจอยู่ ก็อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทาน เนื่องจากไข่เป็ดมีระดับคอเรสเตอรอลค่อนข้างเยอะอยู่พอสมควร จึงอาจส่งผลระดับ Trimethylamine N-oxide (TMAO) ในเลือดนั้นมีค่าสูงขึ้นตาม ซึ่งส่งผลเสียอย่างมากแก่ผู้ที่ประสบกับโรคหัวใจ และโรคเบาหวาน

    ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย คุณอาจขอเข้ารับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนได้ พร้อมขอคำปรึกษาเบื้องต้น ถึงการรับประทานไข่เป็ดอย่างปลอดภัย เพราะผู้ป่วยแต่ละบุคคลนั้นย่อมมีประวัติทางสุขภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งบางกรณีก็อาจรับประทานมาก-น้อย ไม่เท่ากัน หรือมิควรรับประทานไข่เป็ดแม้แต่นิดเดียวเลยก็เป็นไปได้เช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 07/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา