มายองเนส คือซอสที่ทำมาจากไข่แดง น้ำมันพืช และน้ำมะนาว ตีให้ส่วนผสมให้เข้ากันจนได้ซอสครีมเนื้อข้น การที่ของเหลวทั้งหมด เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวเรียกว่า อิมัลชัน (Emulsion) ซึ่งเกิดจากการตีส่วนผสมทั้งหมดอย่างเร็ว ๆ จนส่วนผสมเข้ากันดีและไม่เกิดการแยกชั้น สำหรับผู้ที่รับประทานเจ ก็จะไม่สามารถรับประทานมายองเนสได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี สูตรมายองเนสถั่วเหลือง มาฝากสำหรับใครที่กินเจและต้องการลดคอเลสเตอรอล
สูตรมายองเนสถั่วเหลือง
ส่วนประกอบมายองเนสถั่วเหลือง | |
ส่วนผสม | ปริมาณ |
ถั่วเหลืองซีก | 150 กรัม |
น้ำมันรำข้าว | 300 มิลลิลิตร |
น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล | 2 ช้อนโต๊ะ |
เกลือปรุงรส |
วิธีทำมายองเนสถั่วเหลือง
- นำถั่วเหลืองสำหรับทำมายองเนสมาล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน
- ปั่นถั่วเหลืองที่แช่น้ำไว้รวมกับน้ำสะอาด 3 ถ้วย กรองด้วยผ้าขาวบาง เมื่อได้น้ำนมถั่วเหลืองแล้ว นำไปตั้งไฟ พอเดือดให้ลดไปลง และหมั่นคนเป็นระยะ ๆ เคี่ยวเป็นเวลานาน 15 นาที ยกลงพักให้เย็น
- ตวงน้ำนมถั่วเหลือง 1 ถ้วยใส่ลงเครื่องปั่น เทน้ำส้มสายชูแอปเปิลและเกลือลงไปปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นค่อย ๆ เทน้ำมันรำข้าวลงในโถปั่น เมื่อส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันจนเป็นเนื้อข้นเนียน ๆ แล้ว เราก็จะได้ มายองเนสถั่วเหลือง ไว้รับประทานกันแล้วค่ะ
โภชนาการของ ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง ถือเป็นโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งเป็นอาหารจากพืชไม่กี่ชนิดที่มีกรดอมิโนจำเป็นทั้งหมดที่สามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ นอกจากโปรตีนแล้ว ถั่วเหลืองยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้
- ไฟเบอร์สูง
- ไขมันอิ่นตัวต่ำ
- ปราศจากคอเลสเตอรอล
- ปราศจากแลคโตส
- มีกรดไขมันโอเมกา 3
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ถั่วเหลือง ถั่วที่อุดมไปด้วยคุณค่ามากมาย
ถั่วเหลือง อยู่ในตระกูลของถั่ว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่รับประทานอาหารมังสวิรัติและกินเจ เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นถั่วที่มีปริมาณโปรตีนที่สูง ซึ่งสามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ที่สำคัญถั่วเหลืองยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นนมและโปรตีนเกษตรสำหรับทดแทนเนื้อสัตว์ได้มากมาย เช่น เต้าหู้
นอกจากนี้ถั่วเหลืองยังมีสารประกอบจากพืชชื่อ ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งเป็นสารที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งการได้รับสารนี้ส่งผลดีต่อสุขภาพ สำหรับผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มีหลักฐานชี้ว่าการรับประทานถั่วเหลืองเป็นประโยชน์ต่อวัยทอง และช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ ที่มักเกิดขึ้นในช่วงวัยทองได้ด้วย ที่สำคัญการรับประทานอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองยังช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด และช่วยทำให้กระดูกนั้นแข็งแรงขึ้น
การรับประทานถั่วเหลืองนั้น นอกจากนำมาปรุงอาหารแบบสด ๆ แล้วยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้มากมาย โดยแบ่งเป็นแบบไม่ผ่านการหมักดองและของหมักดอง อาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง โดยไม่ผ่านการหมักดองมีมากมายตั้งแต่ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ถั่วแระ และถั่วงอก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักดองถั่วเหลือง คือ มิโซะ เทอเป้ นัตโตะ และซอสถั่วเหลือง ซึ่งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองบางชนิดเป็นแหล่งของแคลเซียมและธาตุเหล็กที่ดี
[embed-health-tool-bmi]