backup og meta

น้ำมันข้าวโพด อีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

น้ำมันข้าวโพด อีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

เรารู้จักกับน้ำมันที่มีการสกัดจากพืชกันมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันรำข้าว แต่ถ้าจะพูดถึงน้ำมันข้าวโพด หลายคนอาจจะงง และคิดไม่ถึงว่า ข้าวโพดจะนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันได้ด้วยหรือ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับคุณประโยชน์ดี ๆ ที่เราจะได้รับจาก น้ำมันข้าวโพด กัน

น้ำมันข้าวโพด คืออะไร

น้ำมันที่เรารู้จักกันในชื่อ “น้ำมันข้าวโพด (Corn Oil)” คือ น้ำมันที่ได้รับการสกัดจากเมล็ดของ ข้าวโพด มักใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมและการผลิตเครื่องสำอาง และมีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าที่จะสามารถกลั่นมาเป็นน้ำมันข้าวโพดได้

น้ำมันข้าวโพดก็เป็นน้ำมันจากพืชอีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 

สารอาหารในน้ำมันข้าวโพด

ในน้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 15 มิลลิลิตร มีไขมันเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีโปรตีน และไม่มีคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานต่อร่างกายมากถึง 122 แคลอรี กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ประมาณ 14 กรัม และยังให้วิตามินอีที่มีประโยชน์อีกด้วย

นอกจากสารอาหารข้างต้นแล้ว สารต้านอนุมูลอิสระก็เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำมันข้าวโพด ซึ่งสารต้านอนมูลอิสระนี้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย

ประโยชน์ของน้ำมันข้าวโพด

สารอาหารที่อยู่ในน้ำมันข้าวโพดล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี ต่อไปนี้คือประโยชน์ของน้ำมันข้าวโพดที่มีต่อผู้บริโภค

  • ช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอล

ในน้ำมันข้าวโพดมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ ควบคุมระดับของคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่สมดุล ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • ลดอาการอักเสบ

น้ำมันข้าวโพดอุดมไปด้วยกรดไขมันอีกชนิดที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ กรดไขมันโอเมก้า 6 และกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งหากมีการบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและพอเหมาะต่อความต้องการของร่างกาย จะมีฤทธิ์ในการช่วยต้านการอักเสบได้ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคไขข้ออักเสบ อาการปวดหัว โรคในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการอักเสบต่าง ๆ ที่ผิวหนัง

  • เสริมสมรรถภาพการมองเห็น

สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในน้ำมันข้าวโพด ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และลูทีน (Lutein) มีส่วนช่วยบำรุงสายตา เสริมสมรรถนะในการมองเห็น ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นต้อกระจก

  • ช่วยลดอาการแพ้

อาการแพ้ อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถที่จะป้องกันและบรรเทาอาการให้ทุเลาหรือเบาบางลงได้ การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำมันข้าวโพด มีส่วนช่วยลดปฏิกิริยาการแพ้ของร่างกาย

  • ดีต่อสุขภาพหัวใจ

ในน้ำมันข้าวโพด ประกอบไปด้วยสารที่ชื่อว่า “ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols)” ซึ่งเป็นสารที่มีความใกล้เคียงกับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยต้านการอักเสบต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เพราะมีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลอันเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ

ข้อควรระวังของน้ำมันข้าวโพด มีอะไรบ้าง

แม้น้ำมันข้าวโพดจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของคนรักสุขภาพ แต่ยังคงมีข้อควรระวังบางประการที่อาจให้ผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะในน้ำมันข้าวโพดมีกรดไขมันโอเมก้าในปริมาณสูง และร่างกายควรได้รับสารดังกล่าวในปริมาณที่เหมาะสม หากได้รับมากจนเกินไปจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น จึงควรมีการจำกัดการใช้น้ำมันข้าวโพดในการประกอบอาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพแทนที่จะเป็นผลดี

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Benefits & Side Effects Of Corn Oil. https://www.organicfacts.net/health-benefits/oils/corn-oil.html.  Accessed on March 20, 2020

Is Corn Oil Healthy?. https://www.livestrong.com/article/481389-is-corn-oil-healthy/.  Accessed on March 20, 2020

Benefits & Side Effects Of Corn Oil. https://www.organicfacts.net/health-benefits/oils/corn-oil.html. Accessed June 22, 2021

Food uses and health effects of corn oil. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2258533/. Accessed June 22, 2021

Corn oil facts and benefits. https://www.healthbenefitstimes.com/corn-oil/. Accessed June 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/06/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทรีทีออยล์ น้ำมันสำหรับดูแลสิว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

น้ำมันงาขี้ม้อน แหล่งรวมโอเมก้า 3 และคุณประโยชน์ยกกำลังสาม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา