โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

การฉีดไฟเซอร์ในเด็ก ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรรู้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย ได้อนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เพื่อป้องกันเด็ก ๆ จากการติดเชื้อโควิด-19 และความเสี่ยงต่าง ๆ โดยการฉีดไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปีจะเริ่มตั้งแต่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจในข้อมูลของวัคซีนไฟเซอร์ การเตรียมความพร้อมก่อนพาลูกหลานไปฉีดวัคซีน รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของลูกหลาน วัคซีนไฟเซอร์ คืออะไร มีความปลอดภัยแค่ไหน วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) หรือมีชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA (Messenger Ribonucleic Acid) เช่นเดียวกับวัคซีนโมเดอร์นา BNT162b2 คิดค้นโดยบริษัทเวชภัณฑ์อเมริกัน ไฟเซอร์ ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันไบออนเทค (BioNTech) เมื่อฉีดไฟเซอร์เข้าสู่ร่างกาย สารพันธุกรรม mRNA ในวัคซีนจะสอนให้ร่างกายสร้างโปรตีนเฉพาะของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 ขึ้นมา วิธีนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับโปรตีนดังกล่าวในฐานะสิ่งแปลกปลอม และเมื่อ SARS-CoV-2 เข้ามาในร่างกายจริง […]


ไวรัสโคโรนา

Rapid Test โควิด-19 ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน ตรวจเจอโอมิครอนหรือไม่

Rapid Test คือการตรวจหาการติดเชื้อโควิด-19 แบบเร่งด่วน สามารถตรวจเองได้โดยใช้ชุดตรวจเฉพาะ แม้ผลตรวจอาจไม่แม่นยำเท่ากับการตรวจแบบ PCR แต่ถือว่าเป็นการคัดกรองโควิด-19 เบื้องต้น หากตรวจด้วยชุดตรวจแล้วพบว่าตัวเองติดเชื้อ หรือได้ผลเป็นบวก ควรรีบไปตรวจด้วยวิธี PCR อีกครั้งที่สถานพยาบาล หากผลออกมาว่าติดโควิด-19 จริงจะได้เข้ารับการรักษาที่เหมาะสม ปัจจุบัน Rapid Test สามารถตรวจพบโรคโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน นักวิจัยยังคงตั้งคำถามถึงความแม่นยำในการตรวจด้วย Rapid Test เพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มหรืออยู่ในชุมชนแออัด และตรวจการติดเชื้อหากพบว่าตนเองมีความเสี่ยง ชนิดของ Rapid Test Rapid Test มี 2 แบบ ดังนี้ 1. Rapid Antigen Test คือการสวอบ (Swab) หรือเก็บสารคัดหลั่งจากในโพรงจมูกหรือลำคอไปตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) หรือเอทีเค การตรวจด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำในกรณีที่ตรวจผู้ติดเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน หรือมีเชื้อในร่างกายมากพอ การตรวจโควิด-19 […]


ไวรัสโคโรนา

อาการโอมิครอน มีอะไรบ้าง เช็กตัวเองด่วน

ปัจจุบันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เริ่มแพร่ระบาดทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ขณะนี้ได้รับการยืนยันจากทางกระทรวงสาธารณสุขแล้วว่า มีผู้ติดเชื้อโอมิครอนมากกว่า 100 ราย และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ จึงอาจทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงข้อมูลการป้องกัน อาการ ที่แน่ชัด เพื่อความปลอดภัย ควรสำรวจอาการของตนเอง เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โควิดสายพันธุ์โอมิครอน คืออะไร โอมิครอน (Omicron) คือเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ถูกพบครั้งแรกในประเทศแอฟริกา ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล เนื่องจากโอมิครอน มีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โปรตีนส่วนหนามของไวรัส 32 ตำแหน่ง และการกลายพันธุ์ส่วนที่เป็นตัวจับเซลล์ในร่างกาย 10 ตำแหน่ง โดยการกลายพันธุ์นี้อาจส่งผลให้ไวรัสหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ดี แพร่กระจายได้ไว มีความเสี่ยงที่ส่งผลให้ติดเชื้อซ้ำได้ อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอน มีอะไรบ้าง อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอนอาจส่งผลความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่บุคคล ขึ้นอยู่กับสภาวะทางสุขภาพ อายุ จากข้อมูลของผู้ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ บางคนอาจมีอาการน้อยเหมือนไข้หวัดธรรมดา ตามการรายงานจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติประเทศอังกฤษ และคณะนักวิจัยประเทศแอฟริกาใต้ เผยว่า อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแตกต่างจากอาการป่วยของโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งสามารถสังเกตได้ ดังนี้  ปวดกล้ามเนื้อแบบไม่รุนแรง เหงื่อออกช่วงเวลากลางคืน ไอแห้ง เจ็บคอ อ่อนเพลีย […]


ไวรัสโคโรนา

บูสเตอร์โดส วัคซีนป้องกันโควิด จำเป็นหรือไม่ เหมาะกับใคร

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีวัคซีนที่อาจเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดโรคโควิด-19 โดยประชากรในประเทศไทยเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม มากกว่า 42 ล้านคน และมีผู้ได้รับวัคซีน บูสเตอร์ (booster) หรือบูสเตอร์โดส เข็มที่ 3 มากกว่า 3 ล้านคน ซึ่งวัคซีนบูสเตอร์ อาจมีความจำเป็นในการป้องกันโควิดสายพันธ์ุใหม่ที่ก่อตัวขึ้นและระบาดในวงกว้าง เช่น เดลต้า (Delta) โอไมครอน (Omicron) อย่างไรก็ตาม ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าตนเองนั้นเหมาะที่จะเข้ารับการฉีดหรือไม่ และควรเลือกวัคซีนชนิดใดเป็นเข็มบูสเตอร์ การฉีดวัคซีน บูสเตอร์ (booster) การฉีดวัคซีนบูสเตอร์ (booster) หรือบูสเตอร์โดส คือ การฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 2 เข็มแรกตามกำหนด เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ประสิทธิภาพของวัคซีนในการเสริมภูมิคุ้มกันอาจค่อย ๆ ลดลง การฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์จึงอาจช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ป้องกันโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว การฉีดวัคซีนบูสเตอร์ อาจเป็นวัคซีนชนิดเดียวกับวัคซีน 2 เข็มแรก หรือวัคซีนต่างชนิด ทั้งนี้คุณหมออาจพิจารณาจากอายุ และภาวะสุขภาพของผู้ที่ได้รับวัคซีน วัคซีนบูสเตอร์ที่ใช้ในประเทศไทย วัคซีนบูสเตอร์ที่ใช้ในประเทศไทย มีดังนี้ 1. แอสตร้าเซนเนก้า […]


ไวรัสโคโรนา

ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen) สำหรับโควิด 19

ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen) เป็นวิธีตรวจโควิดด้วยตนเอง โดยตรวจหาโปรตีนแอนติเจนของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือโรคโควิด-19 เบื้องต้นแบบเร่งด่วน รู้ผลไวภายใน 15 นาที สามารถใช้ทดสอบเองได้ที่บ้าน โดยเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากจมูก หรือคอ ผลตรวจอาจแม่นยำมากขึ้นในผู้ที่ติดเชื้อระยะแรกและมีอาการของการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ควรซื้อชุดตรวจที่ได้รับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยาและหากผลตรวจเป็นลบ ควรทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง หรือหากผู้ทดสอบมีความเสี่ยงสูง ก็ควรเข้ารับการตรวจโควิดแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาลเพิ่มเติมเพื่อความแม่นยำยิ่งขึ้น ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen) สำหรับโควิด 19 คืออะไร Antigen หรือ Rapid Antigen Test Kit (ATK) เป็นชุดที่ใช้ทดสอบการติดเชื้อโควิด 19 ได้ด้วยตนเอง โดยเป็นชุดตรวจหาโปรตีนแอนติเจนชนิดนิวคลีโอแคปซิด (Nucleocapsid หรือ N-protein) ของเชื้อไวรัสโคโรนา ชุดทดสอบ Antigen เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะติดเชื้อโควิด 19 และมีอาการบ่งชี้ชัดเจน หรือสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการแต่จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง อาจได้รับการทดสอบ Antigen เบื้องต้น ก่อนทำการทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ อีกครั้งเพื่อยืนยันผล วิธีใช้ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen) ชุดตรวจ Antigen สามารถใช้ตรวจได้หลายวิธี ทั้งเก็บตัวอย่างเยื่อบุจมูก […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีป้องกันตนเองจาก เชื้อไวรัส โควิดระบาดในช่วงเทศกาล

ในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธ์ุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเดลต้า (Delta) และโอไมคริน (Omicron) อาจทำให้การท่องเที่ยวและสังสรรค์ช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันคริสมาสต์ วันปีใหม่ มีความน่ากังวลและลำบากมากกว่าปกติ ผู้ที่กำลังวางแผนจะเดินทางท่องเที่ยว หรือปาร์ตี้กับคนกลุ่มใหญ่ ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองจาก เชื้อไวรัส รวมถึงวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และช่วยลดการแพร่กระจายของโควิด-19 ที่อาจจะเกิดขึ้น เชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายและติดต่อกันได้จากการไอ จาม สูดลมหายใจรับเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศ หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อบนสิ่งของรอบตัวก่อนนำมือไปจับตา ปาก จมูก ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อนำไปสู่อาการเจ็บป่วย ผู้ที่ติด เชื้อไวรัส อาจมีอาการ ดังนี้ อาการทั่วไปเมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีไข้สูงเกิน 37.5 องศา หนาวสั่น อาการไอ เจ็บคอ คัดจมูก หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นแรง วิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง สูญเสียการรับรู้รสชาติและการได้กลิ่น อาการเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะยาว (long-haul Covid) โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ เมื่อเชื้อโควิด-19 อยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดโรคปอดบวม ซึ่งปอดทั้ง 2 ข้างอาจเต็มไปด้วยของเหลว ทำให้หายใจลำบาก และนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ยากขึ้น ลิ่มเลือด เชื้อไวรัสโควิด-19 อาจทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนก่อให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจไปอุดตันหลอดเลือด จนทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ […]


ไวรัสโคโรนา

ตรวจโควิด มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

ตรวจโควิด เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดในร่างกาย หากทราบผลของการตรวจได้เร็วและรีบทำการรักษา ก็อาจช่วยหยุดการแพร่กระจายเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ซึ่งในปัจจุบัน การตรวจโควิดนั้นง่ายและทราบผลได้รวดเร็วขึ้น มีชุดทดสอบที่สามารถตรวจเองได้ที่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบด้วยวิธีการ RT-PCR เพื่อยืนยันผลได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อควรเข้ารับการตรวจโควิด เพื่อให้ผู้ป่วยรู้ตัวได้ทัน สามารถกักตัวเองก่อนแพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที การตรวจโควิด 19 คืออะไร ตรวจโควิด คือ การตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไปจนถึงมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งในผู้ที่แสดงอาการ เช่น มีไข้ เจ็บคอ หายใจลำบาก สูญเสียการรับรู้กลิ่นและรส และในผู้ที่ไม่แสดงอาการ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19 และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการตรวจโควิดในปัจจุบันมีชุดทดสอบที่สามารถใช้ตรวจเองเบื้องต้นได้ที่บ้าน เห็นผลรวดเร็วหรือการตรวจแบบ RT-PCR ที่สามารถเข้ารับตรวจตามคลินิกและโรงพยาบาล​ ซึ่งให้ผลที่แม่นยำขึ้น การตรวจโควิด ทำให้ผู้ป่วยสามารถรู้ตัวว่าตนเองติดโควิดหรือไม่ สามารถแยกตัวออกจากผู้คนเพื่อหยุดการแพร่เชื้อ และช่วยให้ได้รับการรักษาได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มลดความรุนแรงของโรคโควิด 19 และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ประเภทของการตรวจโควิด 19 การตรวจโควิด 19 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ การทดสอบแบบรวดเร็ว (Rapid […]


ไวรัสโคโรนา

Omicron (โอไมครอน) ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ที่ควรระวัง

ปัจจุบันโควิด-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลก ได้กลายพันธุ์ออกเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น อัลฟา (Alpha) เบตา (Beta) แกมมา (Gamma) เดลตา (Delta) แต่ล่าสุดเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ของแอฟริกาใต้พบ Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) ซึ่งเป็นไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกา และเริ่มแพร่ระบาดไปยังประเทศอื่น ๆ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุถึงความรุนแรงของอาการ และประสิทธิภาพของวัคซีนต่อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ได้ จึงแนะนำให้ทุกประเทศเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ให้ดี ทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) คือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังเป็นอย่างมากถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศแอฟริกา จากนั้นไม่นานก็ถูกพบอีกที่ประเทศฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ร่วมประชุมเพื่อประเมินตัวแปรของไวรัส และได้ ยืนยันว่า Omicron เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีตัวแปร B.1.1.529 ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล ชนิดที่ […]


ไวรัสโคโรนา

วัคซีน Moderna เหมาะกับใคร เกิดผลข้างเคียงหรือไม่

Moderna (โมเดอร์นา) เป็นวัคซีนทางเลือกประเภท mRNA ที่ผลิตโดยบริษัทโมเดอร์นาทีเอ็กซ์ (ModernaTX, Inc.) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย ได้มีการอนุมัติการใช้วัคซีนชนิดนี้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 วัคซีนโมเดอร์นามีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อให้วัคซีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรได้รับวัคซีนจำนวน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน หากพบอาการผิดปกติหลังฉีดวัคซีน เช่น หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อความปลอดภัย วัคซีน Moderna คืออะไร Moderna (โมเดอร์นา) คือ วัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 เพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านเชื้อไวรัส เมื่อฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อแขน วัคซีนจะช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันผลิตแอนติบอดีที่ช่วยจัดการเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 (COVID-19) จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้ ผู้ที่รับวัคซีน Moderna อาจจำเป็นต้องรับวัคซีน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน […]


ไวรัสโคโรนา

covid vaccine ความแตกต่างของวัคซีนแต่ละประเภท

โควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะโรค วัคซีน (covid vaccine) จึงอาจเป็นวิธีป้องกันโควิด 19 ที่เหมาะสมที่สุด ณ ขณะนี้ วัคซีนจะช่วยพัฒนาภูมิคุ้มกันโดยเลียนแบบการติดเชื้อ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สร้างแอนติบอดีในการต่อต้านเชื้อโรค แต่ปัจจุบันมีวัคซีนหลายประเภททั้ง ไฟเซอร์ (Pfizer) โมเดอร์นา (Moderna) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ซิโนแวค SinoVac) และ ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ที่มีกระบวนการผลิต ผลข้างเคียง และความเหมาะสมในการใช้ที่แตกต่างกัน จึงควรทำความเข้าใจวัคซีนแต่ละประเภท เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนเข้ารับการฉีด ประเภทของ covid vaccine covid vaccine แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ mRNA Vaccine ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด 19 ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) ของเชื้อไวรัส เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเข้ามาในร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัส ได้แก่ Pfizer และ Moderna วัคซีนไวรัสเวคเตอร์ (Viral […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม