โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

สำรวจ โรคติดเชื้อ

โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

การใช้ชุดตรวจแบบทราบผลอย่างรวดเร็วมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกและโควิด-19

โรคไข้เลือดออก: ทำไม ชุดตรวจไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็น โรคไข้เลือดออกคืออะไร? โรคไข้เลือดออกคือการติดเชื้อไวรัส ซึ่งสาเหตุหลักของการรับเชื้อไข้เลือดออก คือ การถูกยุงที่ติดเชื้อกัด โดยพาหะของโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) โรคไข้เลือดออกสามารถติดต่อได้อย่างไร? โรคไข้เลือดออกมีสาเหตุมาจากไวรัสไข้เลือดออก (Dengue Virus: DENV) สามารถติดต่อสู่มนุษย์ได้หากถูกยุงลายที่ติดเชื้อกัด แต่ไม่สามารถติดจากคนสู่คนได้ โดยยุงจะได้รับเชื้อมาจากการดูดเลือดมนุษย์ที่ติดเชื้ออยู่ก่อนแล้วเป็นอาหาร หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ยุงลายที่ติดเชื้อจะสามารถแพร่กระจายไวรัสไปยังคนอื่น ๆ ได้ผ่านการกัด ยุงที่ติดเชื้อแล้วจะติดเชื้อไปตลอดชีวิตจนกว่าจะตาย ผู้ที่ถูกยุงลายที่ติดเชื้อกัดจะแสดงอาการหลังผ่านระยะเชื้อฟักตัว 3-14 วัน โดย 75% ของผู้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออกจะไม่แสดงอาการ โรคไข้เลือดออกพบได้ที่ใดบ้าง? การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้นเป็นไปตามฤดูกาล ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่ในซีกโลกใต้จะพบโรคนี้ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี และผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่ในซีกโลกเหนือจะพบโรคนี้ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี พื้นที่ที่พบโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่อยู่ในสภาพอากาศแบบเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ในเขตเมืองหรือกึ่งเมืองกึ่งชนบท ซึ่งประกอบไปด้วย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคริบเบียน ประเทศในอนุทวีปอินเดีย อเมริกาตอนใต้และตอนกลาง แอฟริกา หมู่เกาะแปซิฟิก ออสเตรเลีย ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มักเกิดความสับสนในการวินิจฉัยโรคระหว่างโรคโควิด-19 กับโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเขตร้อนชื้น ซึ่งระยะของโรคทั้ง 2 นี้มีความคล้ายกัน ภาพรวมของโควิด-19 โควิด-19 คืออะไร? โควิด-19 เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากไวรัส SARS-CoV-2 โควิด-19 แพร่ระบาดอย่างไร? โรคโควิด-19 จะติดต่อจากคนสู่คนเป็นหลักผ่านทางสารคัดหลั่งของระบบทางเดินหายใจซึ่งแพร่กระจายเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือพูดคุย ต่างจากโรคไข้เลือดออกที่ติดต่อจากการถูกยุงที่ติดเชื้อกัด ร่างกายจะเป็นอย่างไรหากได้รับเชื้อไข้เลือดออก? โรคไข้เลือดออกมักเกิดการติดเชื้อทันทีหลังจากได้รับเชื้อ […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่มียุงเป็นพาหะที่แพร่กระจายได้เร็วที่สุดในโลก และจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของโรคที่เป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพระดับโลก ซึ่งจัดอันดับโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก คือ อาการโดยทั่วไปของโรคไข้เลือดออก รวมถึง การตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก เพื่อที่จะสามารถใช้ชุดตรวจหาเชื้อไข้เลือดออกได้อย่างเร็วที่สุด และช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงทีเพื่อสุขภาพของคุณและครอบครัว ภาพรวมของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ไข้เลือดออกเป็นไวรัสที่แพร่กระจายได้โดยยุงลายบ้านตัวเมีย (Aedes aegypti) เป็นหลัก ซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหะนำโรค องค์การอนามัยโลก แบ่งภาวะไข้เลือดออกเป็น ไข้เลือดออกธรรมดา (ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง) และไข้เลือดออกขั้นรุนแรง (แสดงอาการรุนแรง) ยุงลายจะสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ก็ต่อเมื่อมันกัดผู้ที่ติดเชื้ออยู่ก่อนแล้ว และไปกัดบุคคลอื่น ไข้เลือดออกจะแสดงอาการหลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด 4-10 วัน หากเราทราบถึงอาการโดยทั่วไปของโรคไข้เลือดออก เราก็จะสามารถตรวจเพื่อหาเชื้อได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อดีของ การตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก อย่างทันท่วงที เนื่องจากอาการของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้หวัดอื่น ๆ นั้นคล้ายคลึงกันมาก การตรวจหาเชื้ออย่างทันท่วงทีจะช่วยยืนยันว่าเราติดเชื้อประเภทใด เพื่อที่เราจะสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ การรับมือกับโรคไข้เลือดออกอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันการพัฒนาของเชื้อไปสู่ไข้เลือดออกขั้นรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก หากเราสามารถยืนยันการติดเชื้อไข้เลือดออกได้ นั่นก็หมายความว่าเราสามารถติดตามอาการและติดตามผลการรักษาได้อย่างใกล้ชิด สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ และการฟื้นตัวของคนไข้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพักผ่อน การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ  ผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพนั้นสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ ตัวอย่างเช่น หากมีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เราสามารถดำเนินการรับมือเพื่อไม่ให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้รับเชื้อ ด้วยการใช้ยากันยุง และการทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบ  ชุดตรวจไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว ชุดตรวจที่ทราบผลอย่างรวดเร็วสำหรับโรคไข้เลือดออกนั้นมีจำหน่ายและตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ซึ่งชุดตรวจดังกล่าวไม่สามารถใช้ตรวจด้วยตนเองที่บ้านได้เนื่องจากจะต้องทำการเจาะเลือดโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ และสามารถทราบผลได้ในระยะเวลาประมาณ […]


ไวรัสโคโรนา

7 การดูแลตัวเองหลังติด COVID-19 มีอาการลองโควิดต้องทำอย่างไร?

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 นั้นถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญมาก ๆ ในการเริ่มต้นป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 การที่มีชุดตรวจแบบ Antigen ที่สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก รวดเร็วและมีคุณภาพนั้น จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวใหญ่ของการควบคุมสถานการณ์ในครั้งนี้ อาการลองโควิด (Long COVID) หรือ “Post-COVID Conditions” เป็นภาวะที่สามารถพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่เคยเป็นโควิด-19 มาก่อน และรักษาจนหายขาดแล้ว แต่กลับพบว่ายังคงมีอาการผิดปกติหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการค่อนข้างหนัก พบว่าร้อยละ 30-50 มักมีอาการลองโควิดตามมา ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อนาน 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งลองโควิดอาจมีความหลากหลายในแต่ละบุคคล จึงควรหมั่นสังเกตสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอว่ามีภาวะของอาการลองโควิดเหล่านี้หรือไม่ อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจสั้น หายใจไม่อิ่ม เจ็บแน่นหน้าอก มีภาวะไอเรื้อรัง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส นอนไม่ค่อยหลับ รู้สึกว่าความจำสั้นลง ปวดเมื่อยตัว ปวดเมื่อยข้อ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ มีภาวะซึมเศร้า รู้สึกวิตกกังวล ระบบย่อยอาหารมีปัญหา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว […]


ไวรัสโคโรนา

การใช้ชีวิตในโลกที่มีโรคประจำถิ่นเป็นอย่างไร?

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นการแพร่ระบาดใหญ่ สองปีผ่านไปก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดการแพร่ระบาดได้ ผู้คนทั่วโลกเริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตภายใต้กฎระเบียบใหม่เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด แม้วัคซีนโควิด-19 จะช่วยลดความรุนแรงของอาการป่วยและความเร็วของการแพร่ระบาดได้ แต่การดูแลตัวเองก็สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ชุดตรวจโควิดแบบATK การล้างมืออย่างถูกวิธี การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมใส่หน้ากากอนามัย วิธีเหล่านี้ทำให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมั่นใจว่าพวกเขากับครอบครัวนั้นปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 [embed-health-tool-vaccination-tool] ชีวิตในยุค New Normal และ ชุดตรวจโควิด แบบATK การสวมหน้ากากอนามัยและการรักษาระยะห่างทางสังคมกลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนมากมายทำจนกลายเป็นสิ่งปกติ หลายคนยังพกพาแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือไปด้วยทุกที่ ชุดตรวจโควิดแบบATK ก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไม่ต้องกังวล องค์การอนามัยโลก (WHO) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ชุดตรวจโควิดแบบATK เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเช่นกัน เนื่องจากชุดตรวจโควิดแบบATK สามารถตรวจเองได้ ใช้งานง่าย และมีราคาไม่แพงจนเกินไป ซึ่งอาจช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ผู้คนสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดได้ อย่างคนที่รักการออกกำลังกายตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด ก็น่าจะเสียใจไม่น้อยเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้สูงกว่าปกติในพื้นที่ปิดอย่างฟิตเนส เนื่องจากละอองในน้ำลายหรือเหงื่อของผู้ใช้งานฟิตเนสอาจมีเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายคนจึงเลือกออกกำลังกายในพื้นที่เปิดแทน แต่หลังจากที่มีชุดตรวจโควิดแบบATK ซึ่งให้ผลลัพธ์ได้ภายใน 15-20 นาที ก็ทำให้สามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ก่อนเดินทางไปฟิตเนส หากผลเป็นลบ (ไม่พบเชื้อโควิด-19) ก็สามารถออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่าง […]


ไวรัสโคโรนา

การตรวจ ATK เพื่อเดินทาง สิ่งสำคัญที่ควรพกติดตัวและข้อควรรู้ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ

หลายประเทศเตรียมเปิดประเทศอีกครั้ง พร้อมกับลดความเข้มงวดของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดลง เช่น การอนุญาตให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศทำการตรวจโควิด-19 แบบแอนติเจนแทนการตรวจ PCR ได้แล้ว ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ว่ากฎข้อบังคับต่าง ๆ จะถูกผ่อนปรนลงในบางประเทศ แต่การเดินทางไปต่างประเทศในยุค New Normal นี้ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เช่น การตรวจ ATK เพื่อเดินทาง ไปดูกันเลยว่ามีสิ่งสำคัญอะไรอีกบ้างที่ควรรู้ก่อนและระหว่างออกเดินทาง [embed-health-tool-heart-rate] ข้อควรรู้ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศปลายทาง ไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศใดก็ตาม แต่ละประเทศก็มีข้อบังคับและมาตรการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าประเทศต้นทางที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศปลายทางที่ต้องการจะเดินทางไปก็อาจเข้มงวดมากขึ้น หรืออาจจะไม่สามารถเดินทางไปยังบางประเทศได้ โดยปกติแล้ว การเข้าไปตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของประเทศต่าง ๆ ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดและมีข้อมูลที่ชัดเจนที่สุด ทำให้สามารถเตรียมตัวในการเดินทางไปประเทศปลายทางได้ล่วงหน้า พร้อมรับรู้เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติและข้อบังคับต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม จึงควรเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเป็นประจำ เพราะข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สิ่งที่ควรตรวจสอบเกี่ยวกับข้อบังคับต่าง ๆ หากมีข้อบังคับว่าผู้เดินทางจะรับการฉีดวัคซีนครบถ้วนก่อนเข้าประเทศ ควรตรวจสอบว่ากฎดังกล่าวนั้นรวมไปถึงเด็กเล็กด้วยหรือไม่  ตรวจสอบว่าต้องกักตัวก่อนเข้าประเทศหรือไม่ ตรวจสอบข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติในกรณีที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว หรือเพิ่งหายจากการเป็นโควิด-19 ตรวจสอบว่าต้องสมัครประกันสุขภาพก่อนออกเดินทางหรือไม่ ตรวจสอบเกี่ยวกับขั้นตอนและข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ ระหว่างช่วงล็อกดาวน์ รวมถึงเวลาเคอร์ฟิว ตรวจสอบเกี่ยวกับประเภทของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อนออกเดินทาง บางประเทศอาจต้องตรวจก่อนเดินทาง บางประเทศอาจให้ตรวจตอนที่เดินทางไปถึงแล้ว รวมไปถึงวิธีการตรวจที่ได้รับการยอมรับ ทั้งการตรวจแบบ PCR […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

ไข้เลือดออก อาการ สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ที่มียุงลายเป็นพาหะ หลังจากที่ถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัดประมาณ 5-8 วัน อาจจะเริ่มมีอาการของไข้เลือดออก เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน  ไข้เลือดออกพบได้มากในพื้นที่เขตร้อนชื้นซึ่งอาจพบการแพร่กระจายของยุงลายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในฤดูฝน ที่มักมีแหล่งน้ำขังซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีสำหรับยุง ดังนั้น หากทราบวิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายก็อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออกได้  ไข้เลือดออก คืออะไร  ไข้เลือดออก คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเชื้อไวรัสเดงกีมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เดงกี-1 เดงกี-2 เดงกี-3 และเดงกี-4 หากยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคน เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือด และอาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ โดยทั่วไป อาการของไข้เลือดออกมักจะแสดงให้เห็นหลังจากได้รับเชื้อจากยุงลายประมาณ 5-8 วัน ไข้เลือดออกสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและพบได้ตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่มักพบในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมักมีน้ำขังที่เป็นเหมือนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  อาการไข้เลือดออก  อาการที่พบได้ทั่วไปของโรคไข้เลือดออก อาจมีดังนี้ มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรือบางครั้งอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส มีผื่นแดงหรือจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง ปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวดท้อง คลื่นไส้ […]


โรคติดเชื้อ

ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีกลไกการทำงานอย่างไร

ระบบภูมิคุ้มกัน หมายถึง กลไกทางชีวภาพของร่างกายประกอบไปด้วยอวัยวะหลายส่วนซึ่งทำหน้าที่ป้องกัน ต่อสู้ กำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย   และเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม  นอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรค ส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate Immunity)  ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องมนุษย์จากเหล่าสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค ประกอบด้วยอวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ดังนี้ เซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบภูมิคุ้มกัน เปรียบเสมือนกองกำลังซึ่งทำหน้าที่มองหาและทำลายสิ่งผิดปกติ โดยปกติ เซลล์เม็ดเลือดขาวจะไหลเวียนอยู่ในเลือดทั่วร่างกาย หรืออยู่ตามบริเวณเนื้อเยื่อ เซลล์เม็ดเลือดขาวหลายชนิด เช่น ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ทำหน้าที่ผลิตแอนดิบอดีเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม (เซลล์บี หรือ B Cell) หรือทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็ง (เซลล์ที หรือ T Cell) ฟาโกไซต์ (Phagocyte) หรือเซลล์กลืนกิน เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่คอยปกป้องร่างกายด้วยการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตราย ต่อมน้ำเหลือง เป็นต่อมขนาดเล็กมีประมาณ 600 ต่อมอยู่บริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น คอ รักแร้ หน้าท้อง หน้าอก […]


ไวรัสโคโรนา

วัคซีน Novavax ในการป้องกันโควิด-19 เหมาะกับใคร ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง

Novavax หรือวัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ หรือ Nuvaxovid และ NVX-CoV2373 เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดล่าสุด คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทเวชภัณฑ์โนวาแวกซ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรองโดยองค์การอนามัยโลกให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเพื่อรักษาโควิด-19 ได้ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และโดยสหภาพยุโรปในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ปัจจุบัน  บริษัทโนวาแวกซ์เริ่มทยอยส่งวัคซีนไปยังประเทศที่สั่งซื้อแล้ว เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และประเทศในทวีปยุโรป นอกจากนี้ วัคซีน Novavax ยังอยู่ในโครงการ COVAX (Covid-19 Vaccines Global Access Facility) หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ระดับโลกด้วย สำหรับประเทศไทย  วัคซีน Novavax ยังอยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยคาดว่าจะผ่านภายในปีพ.ศ. 2565 นี้ เทคโนโลยีที่ใช้ผลิต Novavax วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ผลิตด้วยกระบวนการผลิตวัคซีนแบบโปรตีนเบส (Protein-nanoparticle Vaccine) ในกรณีของโรคโควิด-19 คือการเพาะโปรตีนหนามของไวรัส SARS-CoV-2 อันเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 ขึ้นมา แล้วฉีดเข้าร่างกายมนุษย์โดยตรง พร้อมสารเสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรคโควิด-19 การทำงานของวัคซีนแบบโปรตีนเบส […]


ไวรัสโคโรนา

รู้จักอาการโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ควรป้องกันและรับมืออย่างไร?

หลังจากที่มีมาตรการเข้มงวดเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทุกคนต่างตั้งตารอปี 2022 ซึ่งเป็นปีที่หลายคนคาดหวังไว้ว่าสถานการณ์อาจจะเริ่มกลับมาเป็นปกติอันเนื่องมาจากการฉีดวัคซีน แต่แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2021 โลกต้องตกตะลึงเมื่อองค์กรอนามัยโลก (WHO) รายงานว่ามีโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล หรือ โอมิครอน (Omicron) ที่กำลังเริ่มระบาดอย่างแพร่หลาย หลังจากนั้นไม่นานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ แม้ว่าโอมิครอนจะเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่รุนแรงเท่าเดลต้า อย่างไรก็ตามทุกคนควรจะทราบอาการที่สำคัญและเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา โดยบทความนี้ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์โอมิครอน และแนวทางให้คุณและครอบครัวในการเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดของสายพันธุ์นี้ อาการหลักที่พบในผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ด้านที่โชคดีคือ โควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่ามีความรุนแรงของอาการป่วยน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า โดยส่วนมากมักจะแสดงอาการจำกัดในบริเวณช่องคอและจมูก มากกว่าที่จะแสดงอาการที่ปอด อาการจะเหมือนไข้หวัดทั่วไป ซึ่งอาจส่งผลให้คนไม่ตระหนักว่าตัวเองติดเชื้อ COVID-19 ทั้งนี้ ZOE COVID Study app (December, 2021) รายงานถึง 5 อาการที่คล้ายคลึงกับไข้หวัด ได้แก่ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย จาม และเจ็บคอ โดยข้อมูลชี้ให้เห็นว่าอาการมักจะแสดงออกอย่างชัดเจนหลังจากติดเชื้อไวรัสไปแล้วเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เจ็บคอ – อาการสำคัญที่ควรเฝ้าระวัง โอมิครอน อาการเป็นยังไง? การศึกษา ZOE ชี้ว่าผู้ป่วยเกือบ 6 […]


ไวรัสโคโรนา

Swab คืออะไร มีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร

สวอป (Swab) เป็นคำซึ่งได้ยินบ่อย ๆ หลังจากการระบาดของโควิด-19 หมายถึง การใช้ไม้ป้ายเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากร่างกายเพื่อนำไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีรูปแบบการสวอปและรูปแบบการตรวจโรคที่แตกต่างกันไป Swab มีกี่แบบ การสวอปเพื่อตรวจการติดเชื้อโควิด-19 โดยทำผ่านจมูก มี 2 แบบ ดังต่อไปนี้ การสวอปโพรงจมูกด้านหน้า (Nasal Swab) การสวอปโพรงจมูกด้านหน้า คือ การสวอปเพื่อเก็บตัวอย่างจากเยื่อบุโพรงจมูก โดยสอดแท่งสวอปเข้าไปในรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง (บางกรณีอาจทำทั้ง 2 ข้าง) ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้นหมุนแท่งสวอปเป็นเวลา 10-15 วินาที ก่อนดึงแท่งสวอปออกมาเพื่อนำตัวอย่างสารคัดหลั่งจากร่างกายไปเข้าขั้นตอนตรวจ ทั้งนี้ ก่อนสวอปควรล้างมือให้สะอาดและห้ามสัมผัสปลายแท่งสวอปโดยเด็ดขาด หากผู้ตรวจต้องการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง อาจใช้การสวอปโพรงจมูกด้านหน้า เพราะทำได้ไม่ยาก สะดวก และได้ผลที่ค่อนข้างชัดเจน การสวอปด้านหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal Swab) การสวอปด้านหลังโพรงจมูก คือ การป้ายเอาตัวอย่างจากเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูกไปตรวจ โดยเริ่มจากการสอดแท่งสวอปเข้าไปในจมูกจนชนกับส่วนหลังของโพรงจมูก หรือความลึกราวปลายจมูกถึงใบหู ซึ่งลึกกว่าการสวอปแบบแรก จากนั้น เก็บตัวอย่างด้วยการหมุนแท่งสวอป 2-3 ครั้ง แล้วค่อย ๆ ดึงออกมา การสวอปด้านหลังโพรงจมูก อาจสร้างความอึดอัดแก่ผู้โดนตรวจได้มากกว่ากการสวอปโพรงจมูกด้านหน้า อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่อาจเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกเพียงข้างเดียว หากพิจารณาว่าเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งได้เพียงพอแล้ว การสวอปด้านหลังโพรงจมูกด้วยตัวเองอาจไม่เหมาะกับผู้ที่เคยผ่าตัดไซนัสหรือฐานกะโหลก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม