โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เรื่องใกล้ตัวที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้

เชื่อว่าผู้ป่วยเบาหวานหลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำคำตอบมาให้ทุกคนค่ะ เรามาดูไปพร้อมกันเลยว่า ทำไมผู้ป่วยเบาหวานต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจเมื่อไหร่ และมีวิธีตรวจอย่างไรบ้าง ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด Hello คุณหมอ จะพาผู้ป่วยเบาหวานมาดูกันค่ะว่า ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน ดังต่อไปนี้ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถประเมินตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยเบาหวานจะได้เรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองจากตรวจน้ำตาลในเลือด เช่น หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจต้องค่อย ๆ ปรับเรื่องของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะความเครียด การเจ็บป่วย  ความถี่ของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยเบาหวานทราบถึง ความถี่ของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวาน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 4-10 ครั้ง/วัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ก่อนรับประทานอาหารและก่อนรับประทานอาหารว่าง ก่อนและหลังออกกำลังกาย ก่อนนอน ในช่วงกลางคืน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อาจจะต้องวัดระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้นหากคุณมีอาการป่วย หรือเริ่มรับประทานยาชนิดใหม่ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใช้อินซูลินเพื่อควบคุมเบาหวาน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจน้ำตาลในเลือดหลายครั้งต่อวัน ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของอินซูลินที่ใช้ไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ และไต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย  ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงในผู้ชายที่อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่า จากวารสารวิชาการของ The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระุบุว่า ผู้ชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งการมีไขมันหน้าท้องอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเมตาบอลิกได้ นอกจากการสะสมของไขมันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกได้ ดังนี้ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ  แต่สำหรับผู้หญิงอาจมีเพียงการสะสมไขมันใต้ผิวหนังตามจุดเล็ก ๆ เช่น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

น้ำมันสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยการการควบคุมการรับประทานอาหาร รวมถึงการเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร โดย น้ำมันสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเป็นชนิดที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านอินซูลิน อาจช่วยลดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2  [embed-health-tool-bmi] น้ำมันสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ดร.สุนารี ชาร์มา (Dr. Shikha Sharma) ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ระบุว่า ประเภทน้ำมันปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ น้ำมันคาโนลา (Canola Oil) น้ำมันคาโนลา อุดมด้วยกรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่ง สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ นอกจากนี้จากผลการวิจัย โดย ดร. เดวิด เจ. เจนคินส์ (David J. Jenkins) จากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา พบว่า น้ำมันคาโนลาอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้  น้ำมันมะกอก (Olive Oil) น้ำมันมะกอกอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีชื่อเรียกว่า ไทโรซอล (tyrosol)  […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจจำเป็นต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทนี้ เนื่องจากมังสวิรัติอาจช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลิน และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนอาจมีการผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ เพราะอินซูลินมีหน้าที่สำคัญในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน จึงทำให้กลูโคส หรือน้ำตาล สะสมอยู่ในกระในเลือดมากจนเกินไป จนนำไปสู่ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน [embed-health-tool-bmi] อาหารมังสวิรัติ คืออะไร อาหารมังสวิรัติ (Vegetarian) คือ การรับประทานอาหารที่เน้นธัญพืช ผัก ผลไม้ เนื่องจากอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยไฟเบอร์ สารต้านอนุมูลอิสระ โฟเลต  ที่อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล  ป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ อีกทั้งอาหารมังสวิรัติยังสามารถเลือกรับประทานได้หลายรูปแบบตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีจุดประสงค์รักษาสุขภาพ ได้แก่  Lacto-vegetarian คือการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ และไข่ แต่สามารถบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมได้   Ovo-vegetarian  คือการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม แต่หลีกเลี่ยงการรับประทานไข่ Lacto-ovo vegetarian คือการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ แต่ยังคงรับประทานอาหารที่ทำจากนม และไข่ได้ Pescatarian คือการเลือกรับประทานอาหารที่ทำจากปลา และอาหารทะเลทุกชนิด แต่หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม Vegan เป็นการเลือกกินอาหารที่งดทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม คล้ายกับการกินอาหารเจ อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานอาหารมังสวิรัติไม่ได้เป็นการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการปากแห้งจากเบาหวาน สาเหตุ และการรักษา

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงสะสมเป็นระยะเวลานาน อาจต้องเผชิญกับปัญหาอย่าง อาการปากแห้งจากเบาหวาน โดยมีสาเหตุมาจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่ดี ส่งผลให้ต่อมน้ำลายไม่สามารถผลิตน้ำลายออกมาได้เพียงพอในช่องปาก ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเจ็บปาก ริมฝีปากแตกแห้ง มีปัญหากลิ่นปาก ติดเชื้อ รวมถึงปัญหาในการเคี้ยวและการกลืนอาหาร  [embed-health-tool-bmi] อาการปากแห้งจากเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการปากแห้ง อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยและพบได้บ่อย ดังต่อไปนี้ เจ็บปาก เหงือกอักเสบ มีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหารและการกลืนอาหาร  ลิ้นหยาบและแห้ง  รู้สึกเหนียวและแห้งในปาก ริมฝีปากแตก หรือมีรอยแผลที่มุมปาก นอกจากนี้อาการปากแห้งอาจทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอาการคอแห้ง เจ็บคอ เสียงแหบ ร่วมด้วย  สาเหตุของ อาการปากแห้งจากเบาหวาน ภาวะปากแห้ง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ส่งผลให้ของระดับน้ำตาลกลูโคสในน้ำลายสูงขึ้น ทำให้น้ำลายมีลักษณะเหนียว ต่อมน้ำลายจึงไม่สามารถผลิตน้ำลายออกมาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับปากได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการปากแห้ง คือ การสูบบุหรี่ ภาวะขาดน้ำ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา  วิธีรักษาอาการปากแห้ง โดยส่วนใหญ่ คุณหมอจะแนะนำผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการปากแห้ง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดและเค็ม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปากแห้ง ในกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการปากแห้งจากการใช้ยา คุณหมออาจใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์โดยการใช้ยาพิโลคาร์พีน (Pilocarpine) ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลายในปาก  วิธีดูแลตนเองเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการปากแห้ง  ควรแปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง และตามด้วยการใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ แนะนำให้ใช้ลิปบาล์มเพิ่มความชุ่มชื้นในปาก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดต้องไม่เกิน 180-200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดื่มน้ำเปล่าบ่อย […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก อาจช่วยลดการเกิดภาวะดื้ออินซูลินและส่งเสริมให้ร่างกายสามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด เกิดจากสภาวะร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน โดยข้อมูลของสถาบันโรคเบาหวานและทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ของภาวะดื้ออินซูลิน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โดยอ้างอิงจากการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) อยู่ที่ 25-29.9 รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ขาดการออกกำลังกาย สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS)  ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ ปัญหาการนอนหลับ โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ […]


โรคเบาหวาน

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก และควรลดแบบไหน

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก ก็เพราะว่าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากการมีน้ำหนักตัวที่สมส่วนจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานน้อยลง ห่างไกลจากภาวะสุขภาพอันตรายอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอล และช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในระยะสงบของโรค (Diabetes remission) ที่อาจทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวใกล้เคียงกับคนทั่วไปได้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก การมีน้ำหนักส่วนเกินหรือมีไขมันรอบหน้าท้องอาจหมายความว่าอวัยวะภายในร่างกายก็มีไขมันก่อตัวอยู่รอบ ๆ ได้เช่นเดียวกัน และส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนได้ตามปกติ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น หากผู้ป่วยเบาหวานเริ่มต้นลดน้ำหนักและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย ก็อาจเป็นประโยชน์ในการช่วยให้ร่างกายดื้ออินซูลินน้อยลงหรืออาจช่วยให้อินซูลินที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป้าหมายน้ำหนักของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรมุ่งเน้นการมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตัวเอง โดยอาจคำนวณด้วยการใช้ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ชี้วัดระดับไขมันในร่างกายที่เป็นค่าสากล และสามารถใช้ได้ทั้งกับคนทั่วไปและผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อนำมาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยค่า BMI ใช้วิธีคำนวณจากค่า น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง และแสดงค่าเป็นหน่วย กิโลกรัม/เมตร2 หรืออาจคำนวณได้ง่าย ๆ จากการใช้เครื่องคำนวณ หาค่า BMI หรือดัชนีมวลกาย ต่อไปนี้  วิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การลดน้ำหนักด้วยวิธีต่อไปนี้ อาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตามเป้าหมายได้ เน้นการรับประทานอาหารจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ […]


โรคเบาหวาน

อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใด

อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยลดต่ำจนอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย ส่งผลให้มีอาการผิดปกติอย่างหนาวสั่น วิตกกังวล เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ หิวมากกว่าปกติ วิธีป้องกันได้แก่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอในการทำงานตามปกติ [embed-health-tool-bmi] อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากอะไร อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติหรือน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (3.9 มิลลิโมล/ลิตร) มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งร่างกายมีความบกพร่องของฮอร์โมน และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาเบาหวานด้วยอินซูลิน ภาวะนี้จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเนื่องจากมีพลังงานไม่เพียงพอในการหล่อเลี้ยงเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ และทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา ปัจจัยเสี่ยงอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจัยต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวานได้ รับอินซูลินเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่กินอาหารบางมื้อ รับประทานยารักษาเบาหวานเกินขนาด ทำกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ ดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง รับประทานอาหารที่ไม่สมดุล อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นยังไง ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีอาการหนาวสั่น ขนลุก เจ็บที่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร่วมกับอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ มือสั่น ตัวสั่น ใจสั่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีเหงื่อออก หิวมากกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ สับสน มีปัญหาในการตั้งสมาธิ ตัวซีด ชาที่ริมฝีปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม นอกจากนี้ยังมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืน […]


โรคเบาหวาน

เครื่องตรวจน้ำตาล ยี่ห้อไหนดี ใช้ตรวจเองอย่างแม่นยำ

การเลือกซื้อ เครื่องตรวจน้ำตาล เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างแม่นยำและมีคุณภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการรับรองมาตรฐาน ราคา ฟังก์ชันการใช้งาน ความง่ายในการใช้งาน เวลาการคำนวณ ปริมาณเลือดที่ใช้ เพื่อให้ได้เครื่องตรวจน้ำตาลที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด [embed-health-tool-bmi] เครื่องตรวจน้ำตาล มีประโยชน์อย่างไร เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เลือดที่เจาะจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว โดยทั่วไปจะใช้ในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อประเมินผลการรักษาและดูแลของผู้ป่วยว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด โดยประเมินจากค่าน้ำตาลที่วัดได้ในแต่ละวัน หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับเกณฑ์เป้าหมายของตัวเอง ก็แสดงว่าแผนการรักษาเป็นไปได้ด้วยดีและแทบไม่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานนั่นเอง วิธีเลือกซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล การเลือกเครื่องตรวจน้ำตาลที่ตอบโจทย์กับการใช้งาน อาจต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้ ระยะเวลารับประกัน ควรตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันก่อนซื้อและเลือกเครื่องตรวจน้ำตาลที่มีการรับประกันคุณภาพอย่างน้อย 1 ปี และควรมีตัวแทนจำหน่ายที่ช่วยประสานงานตอนส่งเคลมหรือซ่อมเพื่อความสะดวกเมื่อเกิดปัญหาการใช้งาน มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เครื่องตรวจน้ำตาลควรได้รับรองมาตรฐานจากองค์กร เช่น มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพ (มาตรฐาน CE) องค์กรมาตรฐานสากลไอเอสโอ (ISO หรือ the International Organization for Standardization) เพื่อให้แน่ใจว่าผลตรวจที่ออกมามีความแม่นยำและนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนแผนการรักษาโรคเบาหวานได้ ราคา ก่อนซื้อควรคำนึงถึงงบประมาณที่จะซื้อตัวเครื่องตรวจน้ำตาล ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีคุณภาพหรือฟังก์ชั่นจะแตกต่างกันไปตามราคาของเครื่อง ทั้งนี้ หากมีงบประมาณไม่เยอะก็เลือกเครื่องตรวจน้ำตาลที่วัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามมาตรฐานและไม่มีฟังก์ชันซับซ้อนมากก็ได้ นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงราคาของแผ่นทดสอบซึ่งจะต้องซื้อมาใช้กับตัวเครื่องในระยะยาว ความสะดวกในการใช้ เครื่องตรวจน้ำตาลที่มีฟังก์ชันไม่ซับซ้อน มีปุ่มกดน้อย มีหน้าจอระบุค่าน้ำตาลที่แสดงตัวเลขชัดเจน อาจสะดวกต่อการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องตรวจด้วยตัวเอง และหากเครื่องตรวจน้ำตาลต้องการใช้เลือดจำนวนน้อยในการตรวจหาน้ำตาลหรือมีเข็มปรับความลึกได้หลายระดับ จะช่วยให้รู้สึกน้อยเจ็บลงและเจาะเลือดได้ลึกตามความต้องการ การจัดเก็บและเรียกดูข้อมูล เครื่องตรวจน้ำตาลมีจำนวนการบันทึกค่าน้ำตาลที่แตกต่างกันไป ควรเลือกจำนวนการบันทึกที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด และอาจแสดงข้อมูลเรียลไทม์ที่แตกต่างกันไป […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง 170 เป็นอันตรายหรือไม่

น้ำตาลในเลือดสูง 170 หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากปล่อยทิ้งไว้น้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ จึงควรดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลงด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง งดสูบบุหรี่และเข้าใกล้ควันบุหรี่มือสอง เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดสูง 170 อันตรายไหม โดยทั่วไป ผู้ที่มีระดับน้ำตาลที่สูงกว่า 160-180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) สำหรับผู้ที่เจาะเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานแล้วพบว่าน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจำเป็นต้องไปพบคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าแผนการรักษาเบาหวานที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพมากพอ หากปล่อยทิ้งไว้จนน้ำตาลขึ้นสูงเรื่อย ๆ ไปถึง 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตรอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อปรับแผนการรักษาหรือการใช้ยาให้เหมาะสม รวมทั้งปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดต่ำลงมาอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย น้ำตาลในเลือดสูง 170 มีอาการอย่างไร ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจยังไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนมากจนเป็นที่สังเกต เพราะตามปกติแล้ว อาการน้ำตาลในเลือดสูงจะไม่มีอาการที่เด่นชัดจนกระทั่งน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงไปที่ 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งระดับน้ำตาลจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานเท่าไหร่ […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน