โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร

DM type 2 คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม จึงควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน DM type 2 คือ อะไร DM type 2 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ผิดปกติ จึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับอ่อนจึงต้องพยายามสร้างอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาชดเชย เมื่อเวลาผ่านไป […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ดื้ออินซูลิน ควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไร

ดื้ออินซูลิน เป็นภาวะที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เนื่องจากเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่มีส่วนช่วยในการนำกลูโคสจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง และปัญหาทางสายตา ดื้ออินซูลิน คืออะไร ดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในกล้ามเนื้อไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนสร้างจากตับอ่อน ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำน้ำตาลในเลือดจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้สึกอ่อนแรง ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพื่อควบคุมให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง พัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคหัวใจ ส่วนใหญ่ภาวะดื้ออินซูลินพบได้บ่อยในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ รวมถึงการได้รับพันธุกรรมมาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน อาจสังเกตได้ ดังนี้ ระดับความดันโลหิตสูงเกิน 130/80 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ชายมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้หญิงมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงมีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว ส่วนผู้ชายมีรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ระดับไตรกลีเซอรไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ติ่งเนื้อบนผิวหนัง อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะดื้ออินซูลิน อาจมีดังนี้ ผัก ควรเลือกรับประทานผักสดที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และแคลอรี่ต่ำ เช่น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

prediabetes คือ อะไร มีวิธีสังเกต และรับมืออย่างไรบ้าง

prediabetes คือ ภาวะก่อนเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แต่มีแนวโน้มและเพิ่มความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวบคุมอาหาร รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อาจลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้ คำจำกัดความprediabetes คือ อะไร ภาวะก่อนเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยปกติค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่ามีความเสี่ยงภาวะก่อนเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ    อาการอาการของภาวะก่อนเบาหวาน อาการของภาวะก่อนเบาหวาน ที่พบได้บ่อย คือ สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ ข้อศอก เข่า ข้อนิ้วมือ รวมถึงอาการอื่น ๆ  มีดังนี้ กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้า มองเห็นไม่ชัด สาเหตุสาเหตุของ ภาวะก่อนเบาหวาน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะก่อนเบาหวาน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าพันธุกรรมอาจมีส่วนสำคัญในการเพิ่มปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากความผิดปกติในยีนที่ควบคุมกระบวนการผลิตอินซูลิน อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเหมาะสม และเมื่อระดับอินซูลินลดลง อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงการขาดออกกำลังหาย ไขมันสะสม ภาวะน้ำหนักเกิน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 อาการ สาเหตุ และการรักษา

เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ อีกทั้งภาวะที่ร่างกายสังเคราะห์อินซูลิน (Insulin) ได้ไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ เบาหวานชนิดที่ 2 คืออะไร เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติในการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด มักมีสาเหตุเบื้องต้นมากจากร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอินซูลินนี้เป็นฮอร์โมนหลักที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม เเม้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมโรคได้ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนัก แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแล้ว ระดับน้ำตาลยังสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็อาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาเบาหวานร่วมด้วย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยได้แค่ไหน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่ในปัจจุบันนี้ พบว่าเด็กมีภาวะโรคอ้วนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 จึงทำให้พบว่ามีจำนวนเด็กที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพให้ดี มีการปรับพฤตกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ อาการ อาการของเบาหวานชนิดที่ 2 อาการของเบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดขึ้นอย่างช้า […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน กับเทคนิคง่าย ๆ ที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้น

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับมือกับโรคได้ดีขึ้น โดยเฉพาะหากผู้ป่วยเป็นคนในครอบครัว การสอบถามถึงอาการ การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค รวมทั้งการดูแลเรื่องโภชนาการ และการให้กำลังใจ นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น และมีกำลังใจในการรักษาอาการต่อไป การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง นอกจากนั้น ยังมีเทคนิคง่าย ๆ ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่อาจช่วยให้อาการและความรู้สึกของผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน มีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โรคเบาหวาน มากมาย เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานไม่ควรออกกำลังกายซึ่งไม่เป็นความจริง ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ว่าโรคเบาหวานคืออะไร สามารถป้องกันในกรณีฉุกเฉินได้อย่างไร หรือสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างไร รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อจะได้ดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น 2.ช่วยบรรเทาความเครียด ความเครียดอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะทำให้ควบคุมโรคเบาหวานได้ยากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการจัดการกับโรคเบาหวานอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นจึงควรช่วยกันหาวิธีบรรเทาความเครียด เช่น ชวนไปออกกำลังกาย ไปเที่ยวพักผ่อน หรือชมภาพยนต์ตลกที่บ้านร่วมกัน 3.เป็นฝ่ายสนับสนุน ควรจำไว้ว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องรับผิดชอบและจัดการกับ โรคเบาหวาน ด้วยตนเอง ส่วนคนในครอบครัวควรเป็นฝ่ายสนับสนุน ไม่ใช่ผู้คุมที่คอยบงการผู้ป่วยโรคเบาหวาน  นอกจากนี้คนในครอบครัวเองควรให้กำลังใจและสนับสนุนผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วย 4.ทำความเข้าใจอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ของคนเป็นเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยให้อาการอารมณ์แปรปรวนดีขึ้น เนื่องจากการขึ้นลงของระดับน้ำตาลในเลือด สามารถทำให้ผู้ป่วยสับสน กระวนกระวายใจ วิตกกังวล  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ อาจช่วยให้อารมณ์แปรปรวนของผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้ 5.กรณีที่เป็นคู่สมรส ควรพูดคุยกันเรื่องปัญหาทางเพศ โรคเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะก่อนเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน

ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ภาวะก่อนเบาหวานยังเพิ่ม ปัจจัยเสี่ยง ที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโดยทั่วไปภาวะก่อนเบาหวานจะไม่ปรากฏอาการออกมาให้เห็นแน่ชัด การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น ควบคุมอาหาร รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อาจลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้ ภาวะก่อนเบาหวาน คืออะไร ภาวะก่อนเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ข้อมูลจากสมาคมเบาหวานนานาชาติ ชี้ว่า 1 ใน 3 คนเป็นภาวะก่อนเบาหวาน และ 9 ใน 10 คน มักไม่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงประสบกับภาวะก่อนเบาหวาน  โดยทั่วไปภาวะก่อนเบาหวานอาจไม่ปรากฏอาการออกมาให้เห็นแน่ชัด แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสดงออกมา ดังนี้ สีผิวเปลี่ยนเข้มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ข้อศอก เข่า ปัสสาวะบ่อย  อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย  ปัสสาวะบ่อย มองเห็นไม่ชัด  ปัจจัยเสี่ยง ภาวะก่อนเบาหวาน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะก่อนเบาหวาน แต่อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้ น้ำหนักเกินมาตรฐาน น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือภาวะอ้วน คือ ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การใช้ยาสแตติน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การใช้ยาสแตติน อาจมีความสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องควบคุมปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอลสูง ดังนั้น การใช้ยาสแตตินซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดไขมัน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดไขมัน โดยเฉพาะไขมันคอเลสเตอรอลความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาสแตติน สแตติน (Statin) เป็นยาในกลุ่มที่มีคุณสมบัตติช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า เส้นเลือดในสมองแตก ผลการศึกษา พบว่า การใช้ยาสแตตินสามารถลดความเสี่ยงอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 25-35 นอกจากนี้ ยังช่วยลดโอกาสการเกิดหัวใจวายซ้ำ ได้ถึงร้อยละ 40 ยาสแตติน ส่งผลต่อการผลิตไขมันคอเลสเตอรอลของตับ ซึ่งช่วยลดระดับไขมันความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และเพิ่มระดับไขมันความหนาแน่นสูงหรือไขมันดี (HDL)  การที่ใช้คำว่าไขมันดีและไขมันเลว นื่องจากไขมัน LDL ในระดับสูง เชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจที่สูงขึ้น ขณะที่ระดับไขมัน HDL ในระดับสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ การใช้ยาสแตติน กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยาสแตติน เป็นยาที่ช่วยลดไขมันเลวที่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง แต่ผลงานวิจัยล่าสุดจากประเทศฟินแลนด์ พบว่า ยาสแตตินที่ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

วิตามินดี ช่วยป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ

วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ด้วยการรับวิตามินดีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่ควรรู้ และต้องไม่ลืมป้องกันโรคเบาหวานด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับ อินซูลิน ในร่างกาย อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนภายในร่างกายที่สร้างจากตับอ่อน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้สำคัญต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะอินซูลินมีคุณสมบัติช่วยในการดูดซึมกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือด ไปสู่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ กล่าวคือ อินซูลินมีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการนำกลูโคสไปใช้ และการเก็บสำรองกลูโคสไว้เป็นพลังงาน ความเชื่อมโยงของอินซูลินกับ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีร่างกายที่ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เพื่อจัดการกับปริมาณกลูโคสที่ร่างกายได้รับเข้าไป หรือร่างกายเกิดความผิดปกติในการใช้อินซูลิน ผลก็คือ เมื่อไม่สามารถควบคุมกลูโคสได้ ปริมาณกลูโคสจะสะสมเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคเบาหวาน จึงส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีอาการต่าง ๆ เช่น สายตาไม่ดี มีปัญหาผิว และความดันโลหิตสูง ร่วม อีกทั้งยังอาจก่อให้อาการต่าง ๆ และความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา นอกจากนี้ผู้ที่จะตกอยู่ในความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้นั้นมักจะเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือผู้ที่ประสบกับโรคอ้วนเป็นส่วนใหญ่ วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หากเป็นโรคเบาหวาน การ ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของแผนการรักษาเบาหวาน โดยสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา ซึ่งสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยเลือดเพียงเล็กน้อย การตรวจระดับน้ำตาลหรือตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง อาจช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนระยะยาวของโรคเบาหวาน และช่วยให้คุณหมอมีข้อมูลเพียงพอในการเลือกวิธีรักษาเบาหวานที่เหมาะสมที่สุด ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง คืออะไร การไปโรงพยาบาลเพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือดอาจใช้เวลานาน เริ่มจากการนัดหมอ การเดินทางไปโรงพยาบาล รอเข้าพบคุณหมอ ในทางกลับกัน การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน ซึ่งช่วยให้คุณสังเกตอาการและควบคุมโรคเบาหวานของคุณได้มีหลายประเภท เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ย (A1C) การตรวจเลือด เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในบ้าน พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องควบคุมเบาหวาน โดยค่าของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานควรอยู่ระหว่าง 70 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง เรียกว่า Fasting blood glucose (FBG) ควรมีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำตาลในเลือดต่ำเป็นอาการที่ระดับกลูโคสมีค่าต่ำกว่า 70 สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลเกินกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้น หากการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและมีระดับของน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100 ถึง 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คุณอาจมีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน หรือเรียกอีกอย่างว่า “Prediabetes” การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้ช่วยในการควบคุมเบาหวานอย่างเดียว แต่ยังช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม