โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร

DM type 2 คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม จึงควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน DM type 2 คือ อะไร DM type 2 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ผิดปกติ จึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับอ่อนจึงต้องพยายามสร้างอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาชดเชย เมื่อเวลาผ่านไป […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้หญิงเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย เพราะอะไร

เนื่องจากร่างกายของเพศหญิงจะมีการผลิตฮอร์โมนเพศ ชื่อว่า เอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลช่วยเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในการกระตุ้นให้เซลล์นำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเปลี่ยนใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทั้งนี้ หากร่างกายมีอินซูลินมีไม่เพียงพอ หรือ มีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงหรือผิดปกติไป จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็ผิดปกติตามไปด้วย ทำให้เพศหญิงจึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ง่ายกว่าเพศชาย  [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ ผู้หญิงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากอาจมีพฤติกรรมหรือภาวะสุขภาพที่เอื้อต่อการเกิดโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้ เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ทำให้สมดุลร่างกายแปรปรวน อาจส่งผลต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ รวมทั้งภาวะเบาหวาน ผู้หญิงอาจทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายหรือออกแรงน้อยกว่า ทำให้เสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นภาวะอ้วน หรือมีคอเลสเตอรอลสูง จึงเพิ่มความเสี่ยงของเบาหวาน เคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความชอบรับประทานขนมหวาน น้ำหวาน เครื่องดื่มที่ให้น้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก มีความเครียดหรือความวิตกกังวลสูง เพศหญิงอาจเป็นเพศที่คิดมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง อีกทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดหลั่งมากขึ้น นับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลินในร่างกาย เช่น โรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS) วิธีลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2  สามารถลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ โดยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ เลิกสูบบุหรี่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

5 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักเลือกรับประทาน ซึ่งมีทั้งรูปแบบของสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยควรรับประทานควบคู่กับยารักษาโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักเลือกรับประทานอาหารเสริม ทั้งในรูปแบบของสมุนไพร และในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควบคู่ไปกับยารักษาโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิด รวมถึงอ่านรายละเอียดและข้อบ่งใช้ให้ชัดเจนก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนั้น ๆ  5 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อบเชย  อบเชยอุดมไปด้วยโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารพฤกษศาสตร์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Medicinal Food เมื่อ พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคอบเชยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดจากการอดอาหาร พบว่า อบเชยทั้งในรูปแบบสมุนไพรและแบบสารสกัด มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และสร้างการตอบสนองต่ออินซูลิน เพียงรับประทานสารสกัดจากอบเชย 120 หรือ 360 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลง 11% หรือ 14% โสม จินซิโนไซด์ (Ginsenoside) ซึ่งเป็นสารสกัดในโสม อาจปรับสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules เมื่อ พ.ศ. 2562 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อินทผลัม ส่งผลอย่างไรต่อ โรคเบาหวาน

อินทผลัม เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย และยังมีส่วนช่วยบำรุงตับอ่อน เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่จำเป็นต้องควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล อย่างไรก็ตาม การรับประทานอินทผลัมในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม และรับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย [embed-health-tool-bmr] อินทผลัมช่วยรักษาโรคเบาหวาน ได้จริงหรือไม่ ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ การรับประทาน อินทผาลัม ไม่สามารถรักษาโรคเบาหวานได้ แต่สามารถควบคุมอาการ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เนื่องจาก อินทผาลัม อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะปริมาณน้ำตาลใน อินทผาลัม เป็นสารน้ำตาลจากธรรมชาติ จึงไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแต่อย่างใด อินทผลัมมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร จากผลการศึกษาการวิจัยในปี พ.ศ. 2558 ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 15 คน พบว่า หลังจากรับประทาน อินทผาลัม ปริมาณ 15 กรัม 120 นาทีผ่านไป น้ำตาลในเลือดยังคงอยู่ในระดับคงที่ไม่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากรับประทาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอินทผลัมจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากเพียงใด เพื่อสุขภาพที่ดีเราก็ควรเลือกรับประทานอินทผลัมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะถ้าหากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูง และปริมาณน้ำตาลอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้  5 คุณประโยชน์จากอินทผลัม สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อินทผาลัม อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้ สารต้านอนุมูลอิสระ อินทผลัมอุดมด้วยสารพอลิฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การตรวจสุขภาพเท้า ผู้ป่วยเบาหวาน สำคัญอย่างไร

การตรวจสุขภาพเท้า เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเท้า จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ รวมถึงควบคุมอาการของโรคเบาหวานให้ดี วัดระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] การตรวจสุขภาพเท้า สำคัญกับผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร ปัญหาแผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม ปัญหาแผลที่เท้าอาจร้ายแรงถึงขั้นถูกตัดเท้าหรือตัดขาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานอาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้ด้วย การตรวจสุขภาพเท้า อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงดูแลเท้าอย่างเหมาะสม เช่น การตัดเล็บอย่างถูกวิธี ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจทำให้เลือดที่บริเวณขาและเท้าไหลเวียนได้ลำบาก จนส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานได้ ปัญหาสุขภาพเท้า ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาสุขภาพเท้า ที่พบบ่อยได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ ขาหรือเท้าบวม อาการชาบริเวณนิ้วเท้า แผลที่เท้าหายช้า เล็บขบหรือมีเชื้อราบริเวณเล็บ  ผิวบริเวณส้นเท้าแห้งแตกหรือลอก สีผิวคล้ำขึ้นกว่าปกติ รู้สึกปวดหรือเสียวซ่าบริเวณเท้าหรือข้อเท้า ตาปลา หากผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีอาการข้างต้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพเท้าและวินิจฉัยอาการโดยเร็ว คุณหมอจะได้รักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้ อาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นต้องตัดขาหรือตัดเท้าได้ การป้องกันปัญหาสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ร่วมกับการดูแลดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ปัญหาสุขภาพเท้า ได้  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางด้วยการเดินเร็ว วันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เลือกดื่มอย่างไรเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ  อย่างไรก็ตาม  ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกชนิดของนมให้เหมาะสมกับสุขภาพและคำนึงถึงระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก [embed-health-tool-bmi] นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย ดังนั้น การดื่มนมที่มีปริมาณแคลเซียมสูงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ นมยังมีส่วนช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร ยับยั้งการอักเสบ ลดความเสี่ยงต่อการภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน   อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นมทุกประเภทจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรศึกษาประเภทของนมที่จะดื่มอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ  นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีกี่ชนิด อะไรบ้าง นมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีหลายชนิด แต่ควรเน้นการดื่มนมชนิดที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ ได้แก่  นมออร์แกนิคแท้ ในปริมาณ 1 ถ้วย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม และโปรตีน 8 กรัม เป็นนมวัวที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีรสชาติเข้มข้น สามารถนำมาเติมผสมกับกาแฟและชาได้ นมอัลมอนด์ ในปริมาณ 1 ถ้วย ให้หลังงาน 40 แคลอรี่ อุดมด้วยแคลเซียม มีรสชาติหวานเล็กน้อย ปราศจากแลคโตส หรือน้ำตาลนม  นมถั่วเหลือง […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณอัลบูมินในในปัสสาวะสูงประมาณ 30-300 มิลลิกรัม/วัน หรือ 20-200 ไมโครกรัม/นาที โดยอัลบูมินเป็นโปรตีนขนาดเล็กที่ปกติพบได้ในเลือด ซึ่งหากปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตได้ ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย (Microalbuminuria) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะสูงประมาณ 30-300 มิลลิกรัม/วัน หรือ 20-200 ไมโครกรัม/นาที โดยอัลบูมินเป็นโปรตีนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีส่วนช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ปกติจะอยู่ในเลือด หากปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตได้  โดยปกติ ไตที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด และควบคุมระดับของเหลวภายในร่างกาย หากไตถูกทำลาย อาจทำให้ไม่สามารถกรองของเสียออกหรือกักเก็บสารอาหารอย่างโปรตีนที่จำเป็นในเลือด เช่น อัลบูมิน  ส่งผลให้อัลบูมินเริ่มรั่วไหลลงมาในปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินในปริมาณสูง อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคไตจากเบาหวาน รวมถึงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเมตาบอลิกซินโดรม การทดสอบ ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย การทดสอบภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย เป็นการทดสอบเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่ไตในผู้ป่วยเบาหวาน โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ การสุ่มตรวจปัสสาวะ (Random Urine […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

วิธีรับมือโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ทำได้อย่างไร

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ไม่ดี อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้น จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการและวิธีรับมือโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เพื่อให้สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายนี้ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน คืออะไร? โรคไตเรื้อรังจากเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของไต การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ จะเข้าไปทำลายเซลล์ไตให้เกิดความเสียหาย การทำงานของไตจะลดลงเรื่อย ๆ  ซึ่งอาจนำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะและเกิดภาวะไตวายในที่สุด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคไตเรื้อรัง จากเบาหวานก็ตาม แต่ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือภาวะอ้วน สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคไตและโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง  อาการของโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน อาการของโรคไตจากผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะแรก จะไม่มีอาการแสดงออกให้เห็นชัดเจน จนกว่าจะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของ โรคไตเรื้อรัง โดยมีอาการที่พบบ่อย ดังต่อไปนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ผิวแห้ง และมีอาการคันอย่างต่อเนื่อง คลื่นไส้และอาเจียน อาการบวมที่แขนและขา หายใจถี่ อาการมึนงง สับสน วิธีการรักษาโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไมโครอัลบูมิน (Microalbuminuria) หรือมีโปรตีนในปัสสาวะ แพทย์มักรักษาด้วยการให้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์   (Angiotensin-Converting Enzyme inhibitors หรือ ACE […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวาน ความดัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวาน ความดัน นับเป็นภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ป่วยเบาหวานนับว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนทั่วไป เเละในทางกลับกันผู้ที่มีความดันโลหิตสูงก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ง่ายเช่นเดียวกัน ในเรื่องของ เบาหวานและความดัน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร ผู้ที่เป็นเบาหวานและคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจ เพื่อที่จะเลือกเเละปรับการดูเเละสุขภาพให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ในอนาคตได้ [embed-health-tool-bmi] ความสัมพันธ์ระหว่าง เบาหวานกับความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เเละ ความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน โดยภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบร่วมได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (​Insulin Resistance) หรือ ทั้งจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้เพียงพอ ส่งผลโดยรวมต่อหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกายให้เสี่ยงต่อการที่มีผนังหลอดเลือดที่หนาขึ้นเเละยืดหยุ่นลดลง ทำให้รูของหลอดเลือดตีบเเคบลง จึงส่งผลให้เกิดภาวะดันโลหิตสูงนั่นเอง นอกจากนี้เเล้ว โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มักเกิดขึ้นร่วมกัน เพราะมีปัจจัยเสี่ยงเหมือนที่เหมือน ๆ กัน เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีต่อสุขภาพ  เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความเสี่ยงในการมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย มากกว่าบุคลทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงของ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงของ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้ ชอบรับประทานอาหารที่มี น้ำตาล ไขมัน เเละโซเดียมสูง อายุที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือโรคอ้วน สูบบุหรี่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งต้องใช้ยารับประทานหรือฉีดยาอินซูลินเพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือด จึงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการใจสั่น อ่อนเพลีย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ชักและหมดสติได้ ผู้ป่วยเบาหวานรวมทั้งคนใกล้ชิดควรศึกษาและทำความรู้จักกับ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวานให้มากขึ้น เพื่อหาวิธีการป้องกันและรับมือได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นได้อย่างไร  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิกรัม/ลิตร โดยสาเหตุส่วนใหญ่ มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกายมากเกินไป รับประทานอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยเบาหวานทุกคน สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  สาเหตุที่อาจพบได้บ่อยของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ออกกำลังกายมากเกินไป โดยไม่ได้ปรับภาวะโภชนาการให้เหมาะสม รับประทานอาหารไม่เพียงพอ งดอาหารบางมื้อ รับประทานอาหารและยาไม่ตรงเวลา ใช้ยาอินซูลินหรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป อาการที่พบได้บ่อยของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน ลักษณะอาการที่อาจพบได้บ่อยของภาวะน้ำตาในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้ หัวใจเต้นเร็ว ฉุนเฉียวง่าย รู้สึกสับสน มึนงง รู้สึกหิวบ่อย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อาการอ่อนเพลีย  กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด เหงื่ออกง่าย มีอาการตัวสั่น หน้าซีด อย่างไรก็ตาม อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น ผู้ป่วยต้องคอยตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด และสังเกตร่างกายของตนเองเป็นประจำ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่อาจจะเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตน จึงพยามหาวิธีการดูแลตนเองและวิธีรักษาต่าง ๆ เพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้นต และอาจสงสัยว่าโรค เบาหวาน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาลดระดับน้ำตาลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถ สามารถช่วยควบคุมอาการเบาหวานได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] รักษา โรคเบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่ ในปัจจุบันนั้น หากพูดถึงโรคเบาหวาน จะนับเป็นโรคเรื้อรังที่ส่วนมากแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางส่วนที่อาจเพิ่งเริ่มเป็นและเมื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย เมื่อลดน้ำหนักลงได้มากพอ ไม่ว่าจะด้วยการควบคุมอาหาร/ออกกำลังกาย หรือเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะ อาจทำให้หายจากโรคเบาหวานได้ แม้ว่าผู้ที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แต่เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เพื่อให้ยังมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานทุกคนควรปรับวิถีการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ยาสำหรับ รักษา เบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นับเป็นเบาหวานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด นอกจากการปรับพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยรายละเอียดเบื้องต้นของยาแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้ กลุ่มยาที่กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ ยาในกลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน  […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม