โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร

DM type 2 คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม จึงควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน DM type 2 คือ อะไร DM type 2 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ผิดปกติ จึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับอ่อนจึงต้องพยายามสร้างอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาชดเชย เมื่อเวลาผ่านไป […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

insulin resistance คือ ภาวะดื้ออินซูลิน โอกาสเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2

insulin resistance คือ ภาวะดื้ออินซูลิน เกิดจากเซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิด เบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น ผู้ป่วยควรทำความรู้จักกับภาวะดื้ออินซูลินให้มากขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ทำความรู้จักภาวะดื้ออินซูลิน กับ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะดื้ออินซูลิน หรือ Insulin Resistance คือ ภาวะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ภาวะดื้ออินซูลินอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวานและเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยชะลอการเกิดโรคและช่วยให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น  ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของ ภาวะดื้ออินซูลิน insulin resistance หรือภาวะดื้ออินซูลินซึ่งเกิดจากปัจจัยและสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงหรือน้ำตาลสูง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะสุขภาพ เช่น โรคตับ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภาวะความเครียด การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน พันธุกรรม สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ มีอายุมากกว่า 45 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

แผลเบาหวาน รักษาและป้องกันได้อย่างไรบ้าง

แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เมื่อผู้ที่เป็นเบาหวานไม่ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี ทั้งนี้ แผลเบาหวานมักหายช้า จึงมักเกิดเป็นแผลเรื้อรังและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดอวัยวะได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากรักษาแผลเบาหวานอย่างถูกวิธี รวมทั้งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน คืออะไร แผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี โดยมีสาเหตุมาจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดเกิดความเสียหาย ส่งผลให้แผลหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน และหากไม่ได้รับการรักษาทเหมาะสม อาจนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงหรือถึงขั้นถูกตัดอวัยวะได้ ปัญหาสุขภาพที่ผลร่วมกับแผลเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน อาจมีปัญหาแทรกซ้อนทางสุขภาพที่พบร่วมกันได้ดังนี้ เท้าผิดรูป  ทำให้โครงสร้างเท้าผิดปกติ บิดเบี้ยว จากแผลเป็นดึงรั้ง หรือ อาจมาจากการจำเป็นต้องตัดนิ้ว/เท้าบางส่วนออกเพื่อมิให้แผลลุกลาม เส้นประสาทเสื่อม ส่งผลให้เกิดอาการชา และไม่รับรู้ความรู้สึก โดยมักเกิดกับเส้นประสาทส่วนปลายก่อน เช่น ปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ จึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลโดยไม่รู้สึกตัวได้ง่าย ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ และส่งผลให้ผิวแห้งแตกจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดแผลได้ง่าย สูญเสียอวัยวะ โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดแผลหายช้าและกลายเป็นแผลเรื้อรัง รวมทั้งเกิดแผลเนื้อตายได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ  หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต วิธีรักษาแผลเบาหวาน หากผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่ในดูแลเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 - […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ DTX คือ อะไร

DTX (Dextrostix)  คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะเส้นเลือดฝอยที่ปลายนิ้ว หากค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมโรคเบาหวานได้ยากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนจากเบาหวานด้วย [embed-health-tool-bmr] DTX คือ อะไร DTX คือ วิธีการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยการเจาะเส้นเลือดฝอยที่ปลายนิ้ว เพื่อใช้เลือด 1 หยด ในการทดสอบจากเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยก่อนทดสอบผู้ป่วยจะต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  เกณฑ์การวัดค่าน้ำตาลในเลือด มีดังนี้ ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย หากมีอาการรุนแรงควรพบคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ  ค่าน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน อาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ซึ่งอาจรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้ โรคเส้นประสาทอักเสบหรือเส้นประสาทถูกทำลาย หากมีน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไป อาจทำให้ผนังหลอดเลือดที่ส่งออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเส้นประสาทเสียหายได้ โดยเฉพาะที่บริเวณขา ส่งผลให้เริ่มรู้สึกชา เจ็บแปลบ แสบร้อน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เนื่องจากน้ำหนักตัวที่ลดลงอาจทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ขาดน้ำ อ่อนเพลีย รวมถึงอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้คนผอมเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำหนักเท่าไหร่ที่หมายถึงคนผอม การคำนวณหาค่าเฉลี่ยในเรื่องของน้ำหนักที่ถูกต้องควรจะเป็นไปตามหลักการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI โดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงในการคำนวณเพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย ตามสูตรดังนี้ BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนัก 56 กิโลกรัม ส่วนสูง 175 เซนติเมตร แปลงหน่วยเป็นเมตรจะได้ 1.75 เมตร และจะได้สูตรออกมาดังนี้ 56 ÷ (1.75 x 1.75) = 18.30 ค่า BMI จึงเท่ากับ 18.30  ผลของค่า BMI  ค่า BMI 18.5 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาหารเสริม เบาหวาน ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

การดูแลรักษาร่างกายของตัวเองขณะเป็นเบาหวาน อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะการที่จะต้องควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในการควบคุม หลายคนที่เป็นเบาหวาน อาจจะรู้สึกกังวลว่าตัวเองจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม การรับประทาน วิตามิน อาหารเสริม เบาหวาน อาจช่วยให้ควบคุม เบาหวาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาหารเสริม คืออะไร อาหารเสริม (Food Supplements) หมายถึงสารประกอบที่มีวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น สมุนไพร หรือวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบเม็ด เรามักจะรับประทานอาหารเสริมเพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารบางชนิด ที่ร่างกายของเราอาจจะต้องการเป็นพิเศษ รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการรับประทานอาหารเสริมแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานก็ควรที่จะใช้ยารักษาโรคเบาหวานตามปกติเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติอยู่เสมอ วิตามินและ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน วิตามินและอาหารเสริม ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น อาจมีดังนี้ โครเมียม (Chromium) โครเมียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้น้อย แต่จำเป็นสำหรับร่างกาย โครเมียมจะใช้ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลกลูโคสมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วิตามิน สำหรับการรักษาโรคเบาหวานนั้นยังไม่มีผลที่ชัดเจนนัก การรับประทานอาหารเสริมนี้ในขนาดต่ำอาจจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ยังต้องการงานวิจัยเพิ่มขึ้นที่จะชี้ชัดว่า การรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะขาดโครเมียมอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ การเสริมโครเมียมโดยไม่จำเป็นอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้ แมกนีเซียม (Magnesium) ผู้ที่มีปัญหากับเกี่ยวกับการหลั่งอินซูลิน และผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นั้น มักจะมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดนักว่า การบริโภคอาหารเสริมแมกนีเซียมนั้นจะช่วยบรรเทาหรือลดปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ วิตามินบี 1 หรือไทอะมีน (Thiamine) คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นมักจะมีภาวะขาดไทอะมีนด้วยเช่นกัน สารไทอะมีนนั้นเป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ความเสี่ยงเบาหวาน วิธีการตรวจเพื่อประเมินเบื้องต้น

ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานปีละประมาณ 20,000 คน ทั้งยังมีแนวโน้มจะมีผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีอีกด้วย พบว่า กว่า 50% ของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ จึงไม่ได้เข้ารับรักษา หรือควบคุมโรคอย่างถูกวิธี ดังนั้น การประเมิน ความเสี่ยงเบาหวาน เบื้องต้นให้ทราบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือไม่นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจาก หากรู้ตัวเร็วก็อาจเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] การตรวจเพื่อประเมิน ความเสี่ยงเบาหวาน การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c หรือ Hemoglobin A1c) เรียกสั้น ๆ ว่า การตรวจเอวันซี (A1c) เป็นการตรวจค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งบ่งบอกถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยนในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา สามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และยังเป็นการตรวจที่คุณหมอใช้เพื่อประเมินการรักษาและการควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยอีกด้วย การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี เป็นการตรวจน้ำตาลที่มาจับกับ ฮีโมโกลบิน ของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งฮีโมโกลบินนี้ เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จากการที่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ น้ำตาลในเลือดก็จะไปจับกับฮีโมโกลบินสะสมเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ฮีโมโกลบินเอวันซีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามมา การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

พฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ที่ควรระวัง

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่พบมากที่สุด โดยจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ป่วย โรคเบาหวานกว่า 90-95% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เพียง ประมาณ 5% ซึ่งสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และ มีพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้แล้ว หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคเบาหวาน ก็มีแนวโน้มว่าที่จะพบมีโรคร่วมอื่น ๆ หรือ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนร่วมพร้อมกันอีกด้วยเช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต [embed-health-tool-bmi] พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน มีอะไรบ้าง รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การรับระทานอาหารขยะ (Junk food) บ่อย ๆ เช่น น้ำอัดลม ของทอด เฟรนช์ฟรายส์ มันฝรั่งทอดกรอบ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากถึง 70% ดังนั้น พฤติกรรมการบริโภคและชนิดของอาหารที่รับประทาน เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น หากไม่อยากเป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ อาหารที่มีน้ำตาลสูง […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล กับข้อควรรู้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม คือ สารที่ใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถให้รสชาติหวานได้เหมือนน้ำตาล แต่อาจไม่มีแคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตเหมือนน้ำตาล จึงอาจเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด เช่น โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาจช่วยให้บริโภคสารชนิดนี้ได้เหมาะสมและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพได้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คืออะไร สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม คือ สารที่ใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มรสหวานได้เหมือนน้ำตาล แต่อาจไม่มีแคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตเหมือนน้ำตาล นิยมใช้ในอาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการ เช่น น้ำอัดลม ขนมอบ ขนมหวานแช่แข็ง ลูกอม โยเกิร์ตแคลอรี่ต่ำ หมากฝรั่ง หรือบางคนอาจเติมสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในกาแฟ ชา และซีเรียลได้ด้วย ในปัจจุบัน มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) และกระทรวงสาธารณสุขไทยรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย ดังนี้ แอสปาร์แตม (Aspartame) ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า อย่างไรก็ตาม ระดับความหวานที่ได้อาจลดลงหากเติมในอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนจัด ผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria หรือ PKU) ซึ่งเป็นภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ควรหลีกเลี่ยงสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดนี้ เอซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame Potassium) หรือที่เรียกว่า […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การรักษาโรคเบาหวาน โดยการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน

การรักษาโรคเบาหวาน คือการรักษาภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายสูงกว่าให้อยู่ในภาวะปกติ โดยอาจมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาอาการ ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้​ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวานมี 2 ประเภท ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งอินซูลิน (Insulin) ทำให้การผลิตอินซูลินในร่างกายลดลง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้ดีเท่าที่ควร ทำให้ร่างกายเกิดภาวะที่เรียกว่า การต่อต้านอินซูลิน ยาที่ใช้สำหรับ การรักษาโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานทั้งสองชนิด จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยใช้ยา เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานที่เป็น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มจากการใช้ ยาเมดฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รับประทาน เพื่อลดปริมาณกลูโคสที่ตับผลิตออกมามากเกินไป การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันในการรักษาโรคเบาหวาน เมื่อการผลิตอินซูลินตามธรรมชาติลดลงเรื่อย ๆ แพทย์มักเพิ่มยารับประทาน หรืออินซูลินสำหรับฉีด หากยาเมดฟอร์มิน ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ แพทย์อาจเพิ่ม ยาซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ซึ่งกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น หรือแพทย์อาจเพิ่ม ยาไธอะโซลิดินีไดโอน (Thiazolidinedione) ที่ช่วยเพิ่มความสามารถของเซลล์ในการดูดซึมอินซูลิน ปัจจุบัน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ความไวต่ออินซูลิน หรือ insulin sensitivity คือ อะไร

ความไวต่ออินซูลิน หรือ insulin sensitivity คือ การตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ซึ่งหากจะให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นนั่นก็คือ ถ้าร่างกายมีความไวต่ออินซูลินต่ำ ก็อาจสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้นั่นเอง ดังนั้นการปรับปรุงความไวต่ออินซูลินให้ดีขึ้นด้วยวิธีธรรมชาติ ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนวันนี้ จึงอาจช่วยลดภาวะดื้ออินซูลินลงได้ รวมถึงลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ได้อีกด้วย ความไวต่ออินซูลิน หรือ Insulin sensitivity คือ อะไร อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่ง ความไวต่ออินซูลิน (Insulin sensitivity) หมายถึง การตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ถ้าร่างกายมีความไวต่ออินซูลินต่ำ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังประสบกับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistant) อยู่ก็เป็นได้ เพราะเซลล์ที่เกิดภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้ไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อตับอ่อนรับรู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งนับว่าการเกิดภาวะดื้ออินซูลินที่ปล่อยไว้เป็นเวลานานจึงอาจนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในที่สุด วิธี เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นที่ทราบกันดีว่าการมีความไวต่ออินซูลินต่ำ สามารถส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง แต่ก็ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อีกมากมายไม่แพ้กัน เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งเบื้องต้นนั้นคุณควรหมั่นดูแลตนเองเพื่อ เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ในร่างกายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ดังต่อไปนี้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากคุณนอนน้อย หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม