พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวนมบอด เป็นอย่างไร ให้นมบุตรได้หรือไม่ และวิธีการรักษา

หัวนมบอด (Inverted Nipple) คือหัวนมที่มีลักษณะบุ๋มลงไป ทำให้ดูคล้ายว่าไม่มีหัวนม เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้นมบุตร หรือหากรักษาความสะอาดไม่ดีก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาลักษณะของหัวนมบอดรูปแบบต่าง ๆ และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] หัวนมบอด คืออะไร หัวนมบอดมีลักษณะของหัวนมที่ยุบ หัวนมบุ๋มลงไป ไม่ขึ้นมาจากฐานหัวนม ดูคล้ายกับว่าไม่มีหัวนม ลักษณะของหัวนมบอดเช่นนี้เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด เกิดจากการหดรั้งของท่อน้ำนมข้างใต้หัวนม ซึ่งแบ่งตัวไม่ทันการเจริญเพิ่มขนาดของเต้านม เกิดจากท่อน้ำนมสั้น หรือมีพังผืดดึงรั้งเอาไว้ ทำให้หัวนมโผล่ออกมาเล็กน้อย หรือโผล่ออกมาแล้วก็หดกลับคืน โดยแบ่งลักษณะของหัวนมบอดได้ 3 แบบ  ลักษณะของหัวนมบอด สามารถแบ่งได้ 3 แบบ หัวนมบอดขั้นแรก หรือหัวนมบอดระดับรุนแรงน้อย : ลักษณะของหัวนมบอดขั้นแรก เป็นหัวนมบอดแบบไม่ถาวร หัวนมเรียบหรือยุบตัวเข้าไปบางส่วน เมื่อหัวนมยุบลงไปก็สามารถยื่นออกมาได้เองในบางครั้ง เช่น ช่วงที่อากาศหนาวเย็น ท่อน้ำนมไม่มีการรั้งตัว หรือด้วยการใช้มือดึงออกมา และยังสามารถยื่นออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น เช่น เมื่อถูกสัมผัสด้วยนิ้วมือหรือมีการดูด วิธีแก้ไขหัวนมบอดขั้นแรก สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยหมั่นดึงหัวนมให้ยื่นออกมา หรือใช้อุปกรณ์แก้ไขหัวนมบอดช่วยดึงขึ้นมา ซึ่งลักษณะของหัวนมบอดขั้นแรกนั้น สามารถให้นมบุตรได้  หัวนมบอดขั้นกลาง หรือหัวนมบอดระดับรุนแรงปานกลาง : ลักษณะหัวนมบอดขั้นนี้ หัวนมจะบุ๋มลงไปหรือยุบตัวเข้าไป ชนิดที่ไม่ยื่นออกมาเลย แม้ว่าจะถูกกระตุ้น […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

คาวาซากิ ปัญหาสุขภาพในเด็กต่ำกว่า 5 ปีที่ควรระวัง

โรค คาวาซากิ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดในร่างกายซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่งผลให้ร่างกายมีไข้สูงประมาณ 5 วันหรือมากกว่านั้น ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เป็นผื่น ตาแดง มีการอักเสบที่ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนัง ไปจนถึงเยื่อบุปาก จมูก ตา และคอ มีอาการปากแห้งหรือแตก ลิ้นสีแดงคล้ายผลสตอว์เบอร์รี่ ภายในช่องปากและคอแดง หากสังเกตพบว่าเด็กมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปสถานพยาบาลโดยเร็ว เพราะหากได้รับรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่อาการจะบรรเทาลงและหายภายใน 10 วันหลังเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-child-growth-chart] คาวาซากิ คืออะไร โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease หรือ Mucocutaneous Lymph Node Syndrome) เป็นโรคที่ตั้งชื่อตามนายแพทย์โทมิซากุ คาวาซากิ (Tomisaku Kawasaki) ซึ่งเป็นผู้ที่ตรวจพบโรคนี้ในเด็กเล็กเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2504 โดยสาเหตุของโรคยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดทั่วร่างกายอักเสบ นอกจากนี้ คาวาซากิอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจอักเสบ ซึ่งหลอดเลือดหัวใจทำหน้าที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนไปยังหัวใจ ดังนั้น เด็กที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ผ้าห่ม เด็ก เลือกแบบไหนดี วิธีเลือกให้เหมาะกับลูกน้อย

ในการเลือกซื้อ ผ้าห่ม เด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้ การระบายอากาศ ความยากง่ายในการทำความสะอาด ชนิดของเนื้อผ้า ราคาและคุณภาพของผ้าห่ม รวมไปถึงสีสันและลวดลาย เพื่อให้ได้ผ้าห่ม เด็กที่ตอบโจทย์ความต้องการและช่วยมอบความอบอุ่นให้ลูกน้อยหลับสบายตลอดเวลาที่นอนหลับทั้งในตอนกลางวันและในตอนกลางคืน [embed-health-tool-child-growth-chart] ผ้าห่ม เด็ก ควรเลือกแบบไหนดี การเลือกผ้าห่ม เด็ก ที่เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยให้เด็กนอนหลับสนิทและรู้สึกปลอดภัย โดยควรพิจารณาจากปัจจัยหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ ชนิดของเนื้อผ้า เนื้อผ้าที่นิยมใช้สำหรับผลิตผ้าห่มเด็กมักมีดังนี้ ผ้าคอตตอน (Cotton) หรือผ้าฝ้าย เนื้อสัมผัสบางเบาและอ่อนนุ่ม ช่วยซึมซับเหงื่อและระบายอากาศได้ดี แห้งเร็วและทำความสะอาดได้ง่าย ซักแล้วไม่เป็นขุย หาซื้อได้ง่าย ทั้งยังไม่ระคายต่อผิวเด็กที่บอบบาง จึงเหมาะสำหรับทารกและเด็กเล็ก ผ้ามัสลิน (Muslin) เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดที่ทำจากใยฝ้าย น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี ช่วยดูดซึมเหงื่อ แห้งเร็ว เนื้อผ้าอ่อนนุ่มและไม่ทำให้ระคายเคืองผิว เหมาะสำหรับทารกและเด็กเล็ก ผ้าใยไผ่ (Bamboo) เป็นผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เนื้อผ้าบางเบาและระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าฝ้าย ทั้งยังมีเนื้อสัมผัสนุ่มลื่น ช่วยดูดซับเหงื่อ ไม่ทำให้ผิวทารกเปียกชื้นในวันที่อากาศร้อน ทำความสะอาดง่ายและแห้งเร็ว ไม่อมฝุ่น เหมาะสำหรับผิวทารกและเด็กเล็กที่บอบบางและระคายเคืองง่าย ผ้าโพลีเอสเตอร์ (Polyester) เป็นผ้าเส้นใยสังเคราะห์ที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม น้ำหนักเบา มีคุณสมบัติไม่ดูดซับน้ำ ให้ความอบอุ่นได้ดี ระบายความร้อนได้ไม่ดีนัก […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ และวิธีเสริมสร้างพัฒนาการตามวัย

พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ค่อนข้างก้าวกระโดดจากขวบปีก่อนหน้า โดยจะเริ่มมีจินตนาการมากขึ้น มีความสนใจที่จะสำรวจสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ และเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น นอกจากนั้น ยังรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มมีทักษะด้านภาษาและการสื่อสารที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรหาวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในวัยนี้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ มีอะไรบ้าง พัฒนาการทั่วไปของเด็ก 3 ขวบ มีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว กระโดดอยู่กับที่ ปั่นจักรยาน 3 ล้อ แต่งตัวด้วยตัวเองขณะให้ผู้ปกครองช่วย วาดรูปวงกลมตามแบบด้วยดินสอหรือสีเทียน หมุนเปิดและปิดฝาขวด หมุนลูกบิดประตูได้ เปิดหน้าหนังสือด้วยตัวเอง พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร พูดเป็นประโยคได้ยาวตั้งแต่ 3 คำขึ้นไป เรียนรู้คำศัพท์ประมาณ 200 คำขึ้นไป พูดคุยโต้ตอบกับผู้ปกครองได้ บอกได้ว่าตัวเองทำอะไรหรืออยู่ที่ไหน คำพูดเริ่มฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น ทำตามคำสั่ง 2-3 ขั้นตอนได้แล้ว เช่น แปรงฟัน บ้วนปาก เช็ดปาก พัฒนาการด้านสติปัญญา มีความเข้าใจและเชื่อมโยงเหตุการณ์กับการกระทำได้ เช่น เมื่อผู้ปกครองบอกให้ใส่รองเท้า เด็กจะรู้ว่าได้เวลาไปนอกบ้าน ทำตามคำสั่งได้ เช่น ไม่เข้าใกล้เตาหรือสัมผัสของร้อน เข้าใจประโยคยาว […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ครีมทาผิวเด็ก และวิธีเลือกครีมสำหรับเด็กอย่างเหมาะสม

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงเป็นพิเศษเมื่อเลือกซื้อ ครีมทาผิวเด็ก คือ ส่วนประกอบของครีมทาผิว ควรเลือกครีมทาผิวเด็กที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ มีส่วนประกอบพื้นฐานเพียงไม่กี่อย่าง และไม่มีส่วนประกอบที่อาจทำให้ผิวที่บอบบางของเด็กแพ้และระคายเคือง เช่น น้ำหอม พาราเบน แอลกอฮอล์ [embed-health-tool-bmi] เคล็ดลับการเลือก ครีมทาผิวเด็ก การเลือก ครีมทาผิวเด็ก อาจทำได้ดังนี้ เลือกครีมทาผิวเด็กที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่น น้ำมันมะกอก ว่านหางจระเข้ ซึ่งอ่อนโยนต่อผิวและมักไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง แต่หากเป็นไปได้จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงส่วนผสมที่มาจากอาหาร เช่น จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต เลือกครีมทาผิวเด็กที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเพียงไม่กี่อย่าง เพราะครีมที่มีสารต่าง ๆ มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้ สำหรับทารกที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถใช้ครีมทาผิวเด็กที่มีส่วนประกอบของสารกันแดด หรือครีมกันแดดเด็กได้ เพื่อป้องกันแสงยูวี โดยควรมีค่าเอสพีเอฟ (SPF) 50 ขึ้นไป อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ของครีมทาผิวเด็ก หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้กับผิวเด็กอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนซื้อมาใช้ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเลือก ครีมทาผิวเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกส่วนผสมของครีมทาผิวที่อ่อนโยนสำหรับผิวเด็ก และหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น น้ำหอม อาจทำให้ผิวที่บอบบางของเด็กระคายเคือง สำหรับเด็กที่มีผิวแพ้ง่าย อาจทำให้เกิดการอักเสบจนผิวหนังเป็นขุย มีผดผื่น และเกิดอาการคันได้ พาราเบน เป็นสารกันเสียที่นิยมใช้ในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว แต่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและอาการแพ้ นอกจากนี้ พาราเบนยังซึมเข้าสู่ผิวเด็กได้ง่าย […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เนอสเซอรี่ ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูกน้อย

การมองหา เนอสเซอรี่ ที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ปกครองอาจเป็นเรื่องยาก เพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ทำเลที่ตั้ง ราคาที่สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับฐานะของที่บ้าน ระบบรักษาความปลอดภัย ความเชี่ยวชาญของบุคลากร ชั่วโมงที่รับฝาก เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยจะได้รับการดูแลที่เหมาะสมมากที่สุด [embed-health-tool-child-growth-chart] เนอสเซอรี่ คืออะไร เนอสเซอรี่ (Nursery) หรือเดย์แคร์ (Day care) เป็นสถานที่รับฝากเด็กเล็กหรือเด็กก่อนวัยเรียนในช่วงกลางวัน มีทั้งการดูแลเป็นรายวันและรายเดือน โดยมีค่าใช้จ่ายแตกต่างไปในแต่ละสถานที่ ราคาอาจขึ้นอยู่กับระยะเวลา ทำเลที่ตั้งของเนอสเซอรี่ อาหารสำหรับเด็ก โปรแกรมการดูแล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ประจำอยู่ที่ศูนย์ คุณภาพของบุคลากร เป็นต้น ข้อดีและข้อเสียของการส่งลูกไป เนอสเซอรี่ ข้อดีและข้อเสียที่คุณพ่อและคุณแม่ควรศึกษาและพิจารณาก่อนส่งลูกไปเนอสเซอรี่ อาจมีดังนี้ ข้อดี สะดวกต่อคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องทำงานและไม่สามารถเลี้ยงลูกเองได้ เนอสเซอรี่หลายที่มีเวลารับฝากที่ยืดหยุ่นและอาจให้บริการในเวลาหลังเลิกงาน จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดการกับเวลาส่วนตัวได้สะดวกขึ้น ลูกจะได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมกับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน ลูกได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ ข้อเสีย การฝากลูกให้เนอสเซอรี่ช่วยเลี้ยงทำให้ลูกต้องอยู่ไกลหูไกลตาคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว และคุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถตรวจสอบความเป็นอยู่ของลูกได้ตลอดเวลา ทั้งยังเป็นไปได้ที่ลูกจะได้รับบาดเจ็บ ถูกรังแก หรือเกิดอุบัติเหตุ อาจมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะบ้านที่ส่งให้ลูกไปอยู่เนอสเซอรี่เพราะไม่มีคนคอยดูแลในช่วงกลางวันที่ต้องออกไปทำงาน ทำให้ต้องฝากลูก 20 วันขึ้นไป/เดือน ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อโรคหรือปรสิต เช่น เชื้อโควิด-19 โนโรไวรัส ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เหา จากเพื่อนร่วมเนอสเซอรี่ได้ง่าย วิธีเลือก เนอสเซอรี่ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

สนามเด็กเล่น มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูกน้อยอย่างไร

สนามเด็กเล่น เป็นพื้นที่สำหรับวิ่งเล่นและใช้เวลาทำกิจกรรมนอกบ้านของเด็กหลากหลายช่วงวัย ทั้งยังเป็นสถานที่ที่ช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย การแก้ไขปัญหา การแบ่งปัน การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นในวัยใกล้เคียงกัน คุณพ่อคุณแม่จึงควรปล่อยให้ลูกได้เล่นและสำรวจอย่างอิสระ แต่ก็ควรดูแลสอดส่องลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะที่ลูกอยู่ในสนามเด็กเล่น [embed-health-tool-child-growth-chart] ประโยชน์ของ สนามเด็กเล่น การออกไปเล่นนอกบ้านของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นในบริเวณ สนามเด็กเล่น ของชุมชน โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็กสามารถเล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ รวมถึงได้มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กในวัยเดียวกัน นอกจากจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังช่วยลดความเครียด ช่วยเพิ่มช่วงความสนใจ (Attention span) หรือระยะเวลาที่ลูกสามารถมีสมาธิและจดจ่อกับกิจกรรมได้โดยไม่มีสิ่งรบกวน และอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยได้ ดังนี้ พัฒนาการด้านร่างกาย เมื่อออกไปนอกบ้านเพื่อเล่นสนุกในสนามเด็กเล่น ลูกจะได้พัฒนาทักษะการประสานงาน การเคลื่อนไหว การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งยังเสริมสร้างนิสัยที่ดีทางสุขภาพ อาจช่วยให้ลูกกระตือรือร้นในการออกไปทำกิจกรรมทางกาย และอยากใช้เวลากับโลกภายนอกมากกว่าที่จะนั่งเฉย ๆ เพื่อดูโทรทัศน์หรืออยู่หน้าจอมือถือ พัฒนาการด้านสติปัญญา การออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่นถือเป็นโอกาสดีที่ลูกจะได้เคลื่อนไหว คิดวิเคราะห์ หาวิธีแก้ปัญหา และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งอาจช่วยให้ปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตที่โรงเรียนได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ การปีนป่ายเครื่องเล่นต่าง ๆ ยังอาจช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะการตระหนักรู้ทางร่างกาย (Body awareness) และได้เรียนรู้ว่าตัวเองต้องอยู่ในท่าทางแบบไหนเพื่อจะปีนขึ้นไปได้ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กดักแด้ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการดูแล

เด็กดักแด้ (Harlequin Ichthyosis) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก เกิดจากเซลล์ผิวหนังแบ่งตัวผิดปกติ ทำให้ผิวหนังตกสะเก็ด แสบคัน แตกแยกเป็นแผ่น ๆ ทั่วร่างกาย โดยระดับความรุนแรงโรคอาจแตกต่างไปในแต่ละคน ในกรณีรุนแรง อาจทำให้เด็กเสี่ยงเสียชีวิตในช่วงไม่กี่วันหลังคลอดได้ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่การดูแลอย่างเหมาะสมก็อาจช่วยให้เด็กมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็กดักแด้ คืออะไร เด็กดักแด้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่รุนแรงและหายากซึ่งส่งผลต่อผิวหนังของผู้ป่วย โดยปกติแล้วผิวหนังจะเป็นเหมือนเกราะป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ แต่ผู้ที่เป็นโรคเด็กดักแด้ มักคลอดก่อนกำหนดพร้อมกับมีผิวหนังแข็ง หนา ตกสะเก็ด ห่อหุ้มทั่วทั้งร่างกาย และผิวหนังอาจรัดตึงจนแยกเป็นแผ่น กระทบต่อการควบคุมการสูญเสียน้ำ การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และการต่อสู้กับการติดเชื้อ สาเหตุของ เด็กดักแด้ เด็กดักแด้ เป็นความผิดปกติที่เกิดจากยีนด้อย (Autosomal Recessive) เนื่องจากการกลายพันธุ์ของยีน ABCA12 ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากทั้งพ่อและแม่ ยีนชนิดนี้เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผิวหนัง เมื่อกลายพันธุ์จึงทำให้ชั้นผิวหนังพัฒนาไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยีน ABCA12 ที่กลายพันธุ์ยังไปยับยั้งไม่ให้เซลล์สร้างโปรตีน และขัดขวางการขนส่งน้ำมันเคลือบผิวไปยังชั้นผิว ส่งผลให้เด็กมีสภาพผิวที่เป็นเกล็ดแข็งและหนาผิดปกติ โดยหากคน ๆ หนึ่งได้รับยีนปกติและยีนกลายพันธุ์จากพ่อและแม่ ก็จะกลายเป็นพาหะของโรค แต่จะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ โอกาสของการเกิดเด็กดักแด้ หากทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะ (มียีน ABCA12 กลายพันธุ์) อาจมีดังนี้ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเด็กดักแด้ คือ 25% […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ชักโครก เด็ก ควรเริ่มใช้งานเมื่อไหร่ และวิธีฝึกให้เด็กนั่งส้วม

เด็กอายุประมาณ 1 ขวบครึ่งไปจนถึง 2 ขวบ เป็นวัยที่เหมาะสมในการฝึกให้เด็กหัดใช้กระโถนเพื่อขับถ่ายแทนการใส่ผ้าอ้อม และเมื่อเด็กใช้กระโถนและนั่งทรงตัวได้เองอย่างมั่นคงแล้ว จึงค่อยเริ่มฝึกให้เด็กขับถ่ายด้วยการใช้ ชักโครก เด็ก วิธีนี้นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีในการสอนเด็กเกี่ยวกับสุขอนามัยและการทำความสะอาดร่างกายหลังขับถ่ายอีกด้วย ทั้งนี้ ควรหาที่วางเท้าสำหรับขับถ่ายหรือเก้าอี้ตัวเล็กมาให้เด็กวางเท้าได้อย่างมั่นคง และเพื่อป้องกันเด็กพลัดตกจากชักโครก รวมถึงไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังเป็นอันขาด [embed-health-tool-baby-poop-tool] ชักโครก เด็ก ควรเริ่มใช้เมื่อไหร่ เวลาที่เหมาะสมในการเริ่มใช้ชักโครก เด็ก คือ เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าเด็กใช้กระโถนได้คล่องแล้ว โดยทั่วไปจะอยู่ที่อายุประมาณ 1 ขวบครึ่งไปจนถึง 2 ขวบ ตามปกติแล้วเด็กส่วนใหญ่จะควบคุมการขับถ่ายของตัวเองได้อย่างเต็มที่ในช่วงอายุ 3-4 ขวบ แต่เด็กบางคนก็อาจยังมีปัญหาปัสสาวะรดที่นอนอยู่ ซึ่งอาจค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป สัญญาณที่แสดงว่าเด็กพร้อมใช้ชักโครก เด็ก หลังจากเด็กเปลี่ยนจากการสวมผ้าอ้อมอย่างเดียว ไปเป็นการขับถ่ายใส่ผ้าอ้อมควบคู่กับการใช้กระโถน หรือใช้กระโถนอย่างเดียวมาระยะหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณว่าเด็กพร้อมสำหรับการฝึกเข้าห้องน้ำแล้ว ดังนี้ เด็กสามารถขับถ่ายในกระโถนในท่านั่งยอง ๆ ได้อย่างมั่นคง เด็กลุกไปใช้กระโถนในตอนกลางคืนแทนการขับถ่ายใส่ที่นอนหรือใส่ผ้าอ้อมที่สวมอยู่ เด็กแสดงความสนใจที่จะเข้าไปขับถ่ายในห้องน้ำ เทคนิคการฝึกให้เด็กใช้ ชักโครก เด็ก วิธีเหล่านี้ช่วยให้เด็กฝึกใช้ชักโครก เด็ก อย่างได้ผล เป็นแบบอย่างให้เด็กเห็น เด็ก ๆ มักมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่อาจเปิดประตูทิ้งไว้เพื่อแสดงให้เด็กเห็นวิธีเข้าห้องน้ำของผู้ใหญ่ เช่น เดินเข้าห้องน้ำไปนั่งบนโถส้วมและกดชักโครก จากนั้นก็ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

กระโถน เด็ก ควรให้ใช้เมื่อไหร่ และวิธีฝึกเด็กให้ขับถ่ายด้วยกระโถน

คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกให้เด็กใช้กระโถนในการขับถ่ายแทนการสวมผ้าอ้อม เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 1 ขวบครึ่งไปจนถึง 2 ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่เด็กสามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้แล้ว และอาจแสดงพฤติกรรมว่าพร้อมใช้ กระโถน เด็ก เช่น เด็กไม่ขับถ่ายใส่ผ้าอ้อมหลังนอนกลางวัน เด็กบอกได้ว่าตัวเองกำลังจะถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ ทั้งนี้โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรฝึกให้นั่งกระโถนเร็วเกินไปหรือบังคับให้เด็กใช้กระโถน เพราะอาจทำให้เด็กงอแง และฝึกขับถ่ายด้วยกระโถนได้ล่าช้ากว่าเดิม [embed-health-tool-baby-poop-tool] กระโถน เด็ก ควรเริ่มใช้เมื่อไหร่ ในช่วงขวบปีแรก เด็ก ๆ จะยังไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ การขับถ่ายของเด็กในวัยนี้จึงเป็นไปโดยอัตโนมัติและมักไม่เป็นเวลา เด็กมักจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายของตัวเองได้มากขึ้นตอนอายุ 1 ขวบครึ่ง และอาจเริ่มแสดงพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณว่าสามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้ดีขึ้น เช่น ขับถ่ายเป็นเวลา ไม่ขับถ่ายหลังงีบหลับ ในช่วงที่เด็กอายุได้ประมาณ 1 ขวบครึ่งถึง 2 ขวบ จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มฝึกให้เด็กนั่งกระโถนเพื่อขับถ่าย และช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การรักษาสุขอนามัย หากเริ่มช้าหรือเร็วกว่านี้อาจทำให้เด็กมีปัญหาในการขับถ่ายอย่างเป็นที่ด้วยตัวเอง ส่งผลให้พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย ทั้งนี้ พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เด็กบางคนก็อาจเริ่มใช้กระโถนเด็กในการขับถ่ายได้ในช่วงอายุ 3 ขวบ ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด สัญญาณว่าเด็กพร้อมใช้กระโถน เด็ก พฤติกรรมที่อาจแสดงว่าเด็กพร้อมเปลี่ยนจากขับถ่ายในผ้าอ้อมไปใช้กระโถน อาจมีดังนี้ เด็กไม่ขับถ่ายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน เด็กไม่ขับถ่ายใส่ผ้าอ้อมหลังนอนกลางวัน เด็กขับถ่ายเป็นเวลาและสม่ำเสมอ เช่น ถ่ายอุจจาระในช่วงเช้า เด็กแสดงสีหน้า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม