ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Dehydration คือ ภาวะขาดน้ำ อันตรายที่หญิงตั้งครรภ์ต้องระวัง

Dehydration คือ ภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงตั้งครรภ์ โดยปกติคุณแม่ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนั้น ร่างกายแม่จำเป็นต้องใช้น้ำในการสร้างรกซึ่งทำหน้าที่ส่งสารอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปสู่ลูก รวมไปถึงต้องใช้น้ำในการสร้างน้ำคร่ำอีกด้วย หากคุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจต้องประสบกับ Dehydration หรือภาวะขาดน้ำระหว่างตั้งครรภ์ที่เป็นอันตรายทั้งต่อแม่ละลูกในท้องได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] เหตุใดคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเสี่ยงเกิด Dehydration Dehydration คือ ภาวะขาดน้ำ หรือการที่ร่างกายมีน้ำหรือของเหลวน้อยกว่าปริมาณที่สูญเสียไป จึงส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุของภาวะ Dehydration มาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ปริมาณเม็ดเลือดที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในสาเหตุหลักของ Dehydration ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คือ ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นอีกถึง 50% ร่างกายจึงต้องการน้ำมากกว่าปกติ อาการแพ้ท้อง กว่า 50% ของหญิงตั้งครรภ์ต้องประสบกับอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปัสสาวะมากกว่าปกติ รวมไปถึงเหงื่อออก ร่างกายจึงสูญเสียน้ำมากขึ้น โดยปกติแล้ว อาการแพ้ท้องนี้จะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงไตรมาสแรก และจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis gravidarum) ที่นอกจากจะทำให้คลื่นไส้หนัก อาเจียนอย่างรุนแรง และขาดน้ำแล้ว […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ครรภ์เป็นพิษ และผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์

ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตหลักของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารก ที่เรียกว่า การตายปริกำเนิด (perinatal mortality) และยังเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์อีกด้วย [embed-health-tool-due-date] ผลกระทบต่อมารดา ผู้หญิงที่มีหรือเริ่มมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดปัญหานี้ ทั้งก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ มีผลทั้งต่อผู้เป็นแม่และทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่มีความดันโลหิตปกติที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีอาการบ่งชี้คือ ความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ และอาการบวมน้ำ กลุ่มที่สองได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่ก่อน และมีความเสี่ยงที่สูงกว่าในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษที่อาจมีอาการแทรกซ้อนได้ ภาวะครรภ์เป็นพิษถือเป็นอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุด ของภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ แต่นี่ไม่ใช่โรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูงเป็นหลัก แต่เป็นความผิดปกติที่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับรก โดยภาวะครรภ์เป็นพิษจะเริ่มจากความผิดปกติในการเกาะตัวของรก ที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ การหลั่งของสารไซโตไคน์และสารพิษอื่นๆ เกิดภาวะเส้นเลือดตีบ และการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ดังนั้น ภาวะครรภ์เป็นพิษจึงเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์บุหนังหลอดเลือด และอาการแทรกซ้อนก็สัมพันธ์กับปัญหาของระบบหลอดเลือด โดยพื้นฐานแล้ว อาการแทรกซ้อนเหล่านี้ ประกอบด้วย (1) การแข็งตัวของเลือด และการมีเลือดออกภายในหลอดเลือด ซึ่งมีความสัมพันธ์กันระหว่างการลดลงของระดับของสารแอนติธรอมบิน III (antithrombin III/ ATIII) และความรุนแรงของสภาวะทางสุขภาพของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 30-32 สัปดาห์ ความเข้นข้นของเลือด จากการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดงและพลาสมา จะลดลง และมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (2) […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

แม่ท้อง ท้องเสีย บรรเทาอาการอย่างไรดี

แม่ท้อง ท้องเสีย และปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก โรคลำไส้แปรปรวน โรคโครห์น อาจเกิดขึ้นบ่อยในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาหารการกินที่เปลี่ยนไป รวมถึงอาจสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ส่วนใหญ่อาการท้องเสียจะหายภายในเวลา 2-3 วัน แต่หากท้องเสียนานกว่านั้นควรเข้าพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-due-date] แม่ท้อง ท้องเสีย เกิดจากสาเหตุใด ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ขับถ่ายมากกว่า 3 ครั้ง/วัน อาจหมายถึงอาการท้องเสีย ซึ่งท้องเสียระหว่างตั้งครรภ์เป็นอาการที่พบบ่อย โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ได้แก่ เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ไวรัสลงกระเพาะ (Stomach flu) ปรสิตในลำไส้ อาหารเป็นพิษ ยาบางชนิด นอกจากนี้ การเป็นโรคบางโรคสามารถทำให้ท้องเสียบ่อยขึ้น ได้แก่ โรคลำไส้แปรปรวน โรคโครห์น (Crohn’s Disease) โรคเซลิแอค (Celiac Disease) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล (Ulcerative Colitis) ส่วนสาเหตุของอาการท้องเสีย ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการกินอาหาร ผู้หญิงหลายคนต้องเปลี่ยนแปลงการกินอาหารอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารอย่างกะทันหันอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ ไวต่ออาหาร ในช่วงตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะไวต่ออาหาร โดยอาหารที่เคยกินแล้วไม่เป็นอะไร อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดและท้องเสีย วิตามินก่อนคลอด การกินวิตามินก่อนคลอดดีต่อสุขภาพและดีต่อการเจริญเติบโตของทารก […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

วิธีบรรเทาอาการ ปวดหลังขณะตั้งครรภ์

อาการปวดหลัง โดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเกิดจากกล้ามเนื้อและเอ็นยืดและอ่อนตัวลง เพื่อเตรียมพร้อมในการคลอด จนอาจส่งผลให้ข้อต่อบริเวณหลังส่วนล่างและกระดูกเชิงกรานตึงขึ้น หรืออาจเป็นผลมาจากมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เครียดจัด เป็นต้น ปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป แต่หากปล่อยไว้จนเรื้อรัง ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และกระทบการใช้ชีวิตประจำวันได้ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรบรรเทาอาการปวดหลังด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] วิธีบรรเทาอาการ ปวดหลังขณะตั้งครรภ์ วิธีดังต่อไปนี้ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การนวดก่อนคลอด การนวดช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ ทั้งยังช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกผ่อนคลาย จิตใจสงบขึ้น รู้สึกเครียดหรือเป็นกังวลน้อยลง การนวดแบบสวีดิช (Swedish Massage) เป็นการนวดที่ค่อนข้างได้รับความนิยมและอาจเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นการนวดที่นุ่มนวลและผ่อนคลาย ควรเข้ารับการนวดกับนักบำบัดที่ได้รับการรับรอง ตัวช่วยในการนอน การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้เกิดปัญหาในระหว่างนอนหลับ เนื่องจากต้องตื่นเข้าห้องน้ำหลายครั้ง อาการปวดหลังจึงเป็นปัญหาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ วิธีการรับมือกับอาการปวดหลังในขณะหลับ ทำได้โดยการม้วนผ้าเช็ดตัวและวางไว้ข้างลำตัว หรือใช้หมอนรองใต้เข่าขณะนอนหลับ และควรหลีกเลี่ยงการนอนราบด้วย การฝึกโยคะคนท้อง การฝึกโยคะคนท้อง (Prenatal Yoga) เป็นประจำ อาจช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ จึงอาจทำให้อาการปวดหลังดีขึ้นได้ และอาจทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ โยคะคนท้องยัง ให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายใจของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี หากฝึกโยคะคนท้องเป็นประจำ จะช่วยผ่อนคลายความตึง มีไว้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการปวดหลัง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

โรคหัวใจ คนท้อง สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง

โรคหัวใจ คนท้อง เป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะมีงานวิจัยที่พบว่า การตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองช่วงตั้งครรภ์ เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ จัดการกับความเครียด และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเป็นประจำทั้งระหว่างการตั้งครรภ์และหลังจากคลอดบุตร [embed-health-tool-due-date] เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ โรคหัวใจ คนท้อง การตั้งครรภ์ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30-50 เพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ นอกจากนี้หัวใจจะสูบฉีดเลือดมากขึ้นในแต่ละนาที รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจก็เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับการคลอดบุตรจะยิ่งทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากระหว่างการคลอดบุตร โดยเฉพาะเวลาที่คุณแม่เบ่งคลอด การไหลเวียนโลหิตและความดันอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ทำให้ใช้เวลาหลายสัปดาห์หลังจากการคลอด ก่อนที่หัวใจจะกลับมาทำงานในระดับปกติเหมือนตอนก่อนคลอด จำนวนผู้หญิงที่หัวใจวายขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดบุตร หรือในช่วง 2 เดือนหลังจากคลอดบุตร เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีงานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (the New York University School of Medicine) พบว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวายในผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในช่วงปี 2002 ถึง 2014 นอกจากนี้อัตราการเกิดโรคหัวใจวายยังเพิ่มขึ้นจาก 7.1 ในผู้หญิงตั้งครรภ์ 100,000 คนในปี 2002 เป็น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องนอนไม่หลับ อาการในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์

คนท้องนอนไม่หลับ นับเป็นปัญหาที่พบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์แทบทุกคน เพราะร่างกายของผู้หญิงต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย รวมทั้งความไม่สบายทั้งกาย และความเครียดทางอารมณ์ จึงส่งผลต่อการนอนจนเกิดเป็นปัญหาเกี่ยวกับการนอนได้ โดยอาการนอนไม่หลับของคนท้องในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์นั้นแตกต่างกันไป [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คนท้องนอนไม่หลับช่วงไตรมาสแรก  ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์นั้น คนท้องนอนไม่หลับอาจมีอาการต่างๆ หลากหลายกันไป เช่น คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก และปัสสาวะบ่อย ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งควบคุมวงจรการเจริญพันธ์ุของผู้หญิงอยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม และรู้สึกอยากนอนตอลดเวลา อีกทั้งฮอร์โมนชนิดนี้ ยังทำให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์รู้สึกอ่อนเพลียมาก และไม่อยากทำอะไรเลย นอกจากนี้ อาจพบปัญหานอนหลับไม่สบาย เนื่องจากอาการเจ็บเต้านม ดังนั้น ควรฝึกนอนตะแคงซ้าย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และเพื่อให้สารอาหารเข้าสู่มดลูกและทารกในครรภ์ได้สะดวกขึ้น สาเหตุอีกหนึ่งประการ ที่ทำให้คนท้องนอนไม่หลับปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ คือการขยายตัวของมดลูก ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกกดมากขึ้น ในการจัดการกับปัญหานี้ อาจแก้ได้โดยไม่ควรดื่มน้ำมากจนเกินไปในช่วงหัวค่ำเพื่อจะได้ไม่ตื่นบ่อยกลางดึก เพราะสิ่งที่ควรทำในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์คือ การพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ คนท้องนอนไม่หลับช่วงไตรมาสที่ 2 ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ หลายคนอาจรู้สึกดีขึ้นกว่าในไตรมาสแรก การนอนหลับทำได้มากขึ้นและง่ายขึ้น เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ในช่วงไตรมาสนี้ อาจเริ่มสร้างนิสัยใหม่ๆ ที่จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เช่น การนวดก่อนเข้านอน หรือจัดตารางเวลาการนอนที่สม่ำเสมอ และการนำอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ (เช่น โทรทัศน์ แล็ปท็อป และอื่นๆ) ออกจากห้องนอน ทั้งนี้ หากว่าที่คุณแม่มีปัญหานอนไม่หลับสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาบางอย่างอาจะต้องเจออยู่บ้างในช่วงสามเดือนนี้ อาจเป็นตะคริวที่ขา […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

แท้งลูก วิธีรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ และการก้าวข้ามความสูญเสีย

แท้งลูก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน เป็นการสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิด สร้างความเจ็บปวดและเสียใจให้หญิงตั้งครรภ์และคนใกล้ชิด  การก้าวข้ามความสูญเสียทั้งทางร่างกายและจิตใจใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน ทั้งนี้ จำเป็นต้องรู้จักวิธีรับมือกับอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ระยะยาวในการใช้ชีวิตต่อไป ความรู้สึกหลังจากการแท้งลูก หลังจากแท้ง ผู้หญิงอาจเกิดอารมณ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ความรู้สึกผิด ความเศร้า ความโกรธ จนถึงหมดหวัง หรือแม้กระทั่งซึมเศร้า นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหลังจากแท้งลูก สามารถนำไปสู่อาการทางร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ ความอยากอาหารน้อยลง และร้องไห้ตลอดเวลา ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ ลำดับอารมณ์หลังจากการแท้งลูก โดยปกติแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ จะประเดประดังเข้ามา ปะปนกันจนแยกไม่ถูก ทั้งเสียใจ โกรธ ผิดหวัง รู้สึกผิด ทั้งนี้ส่วนใหญ่มักมีลำดับอารมณ์หลังแท้งลูก ดังนี้ ขั้นที่ 1: ตกใจ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับ ผู้หญิงหลายคนรับความจริงไม่ได้ว่า ได้สูญเสียลูกน้อยไปตลอดกาล มักปฏิเสธความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ และต้องใช้เวลาในการยอมรับว่า เกิดการแท้งลูก ขั้นที่ 2: โกรธ รู้สึกผิด และซึมเศร้า ผู้หญิงที่มีประสบการณ์แท้งลูก รู้สึกโกรธ ที่ตัวเองต้องพบกับความสูญเสีย และคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม จากนั้น  จะรู้สึกผิดที่ดูแลเด็กในท้องไม่ดีพอ หลังจากนั้นจะรู้สึกเสียใจและเจ็บปวด ซ่ึ่งอารมณ์เศร้าโศกทั้งหลายอาจพัฒนาไปสู่อาการซึมเศร้าได้ ขั้นที่ 3: […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

น้ำคร่ำน้อย คือ ภาวะที่ระดับของน้ำคร่ำภายในครรภ์ต่ำเกินไป จนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ปัญหาการคลอดยาก การผ่าคลอด หรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรคอยสังเกตอาการของภาวะน้ำคร่ำน้อย และเข้ารับการรักษาในทันทีเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร ภาวะน้ำคร่ำน้อย เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อระดับน้ำคร่ำ มีน้อยเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ น้ำคร่ำมีบทบาทสำคัญ ในการรักษากลไกชีวิตของทารกที่อยู่ในครรภ์ น้ำคร่ำปกป้องและช่วยทารกในด้านพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ แขนขา ปอดและระบบขับถ่าย ของเหลวชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นทันทีหลังจากกถุงน้ำคร่ำเริ่มสร้างขึ้น ประมาณ 12 วันหลังจากมีการปฏิสนธิ ในช่วงแรก น้ำคร่ำถูกสร้างจากน้ำที่อยู่ในร่างกายของผู้เป็นแม่ จากนั้น ประมาณสัปดาห์ที่ 20 ปัสสาวะของทารกจะกลายเป็นสารหลักของน้ำคร่ำ ประมาณร้อยละ 8 ของผู้ที่ตั้งครรภ์ สามารถมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยได้ และร้อยละ 4 มักได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทุกเมื่อขณะตั้งครรภ์ แต่ช่วงเวลาที่เกิดโดยส่วนใหญ่ อยู่ระหว่างช่วงที่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ปัจจัยแรกคือ การพิการแต่กำเนิด หมายถึง ทารกมีความผิดปกติทางด้านเจริญเติบโตของไต หรือทางเดินปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีการผลิตปัสสาวะได้น้อย ทำให้ระดับน้ำคร่ำน้อยตามไปด้วย ความผิดปกติของรก เป็นสาเหตุที่สองในการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องเบื่ออาหาร เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กหรือไม่

คนท้องเบื่ออาหาร เป็นอาการที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ที่ส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่อยากรับประทานอาหารที่เคยทาน หรือได้กลิ่นอาหารบางชนิดแล้วเกิดอาการคบื่นไส้ อยากอาเจียน ยังไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดว่า อาการเบื่ออาหารขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่อาจมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) หรือฮอร์โมนคนท้อง ก็เป็นได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คนท้องเบื่ออาหาร อาการที่ควรสังเกต ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายคนประสบกับปัญหาเบื่ออาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารบางอย่างได้โดยไม่มีสาเหตุ แม้จะเคยเป็นอาหารที่เคยชอบรับประทานก็ตาม หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเบื่ออาหาร ก็อาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการเวียนหัวในช่วงเช้า คลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งทำให้เกิดความรำคาญตลอดทั้งวัน แม้ว่าอาการเบื่ออาหารและเวียนหัวในตอนเช้า จะเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์เปราะบางที่สุด แต่อาการเหล่านี้ก็อาจมีต่อเนื่องไปจนถึง 9 เดือน หรือนานกว่านั้นก็ได้ โดยอาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ และยังคงเป็นอาการที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดได้ ฮอร์โมนกับการเบื่ออาหาร ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัดว่า อาการเบื่ออาหารขณะตั้งครรภ์มีสาเหตุมาจากสิ่งใด แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นั้น มักเริ่มจากฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) หรือฮอร์โมนคนท้อง ถือเป็นปัจจัยหลักของการเกิดอาการนี้ ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญตลอดการตั้งครรภ์ และปริมาณของฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้นในระดับสูงสุดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยระดับสูงสุดจะอยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 11 ของการตั้งครรภ์ จากนั้นจะลดระดับลง ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้อง เวียนศีรษะ และอาเจียน ฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ในการรับรู้กลิ่นและรสชาติ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ลูกไม่ดิ้น ควรทำอย่างไร

ลูกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ต่าง ๆ เช่น ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ การพัฒนาการของทารกมีปัญหา ภาวะตายคลอด หรืออาจจะเกิดจากการที่คุณแม่ไม่ทันได้สังเกตการเคลื่อนไหวของลูก หรือลูกน้อยในครรภ์กำลังนอนหลับอยู่ก็ได้เช่นกัน หากคุณแม่สังเกตพบว่าลูกไม่ดิ้น ควรรีบทำการตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อแม่และลูกน้อยในครรภ์ [embed-health-tool-”due-date”] ลูกไม่ดิ้น เป็นอันตรายหรือเปล่า การรับรู้ถึงอาการลูกดิ้นครั้งแรก อาจแตกต่างกันออกไป ตามปกติแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะสามารถสังเกตอาการลูกดิ้นครั้งแรกได้ เมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 18-20 ของการตั้งครรภ์ แต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก ก็อาจไม่ทันสังเกตอาการลูกดิ้นจนกว่าจะมีอายุครรภ์ 25 สัปดาห์ขึ้นไป จำนวนครั้งและความถี่ในการดิ้นของลูกจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ที่อาจสังเกตพบว่าลูกดิ้นมากถึงวันละประมาณ 30 ครั้ง การดิ้นของลูกเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าเด็กมีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้น คุณหมอจึงมักจะแนะนำให้คุณแม่คอยติดตามนับจำนวนครั้งที่ทารกดิ้น เพื่อสังเกตดูความผิดปกติ การที่ลูกไม่ดิ้น หรือลูกมีการดิ้นน้อยลง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติต่อทารก ดังต่อไปนี้ ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของทารก ทารกได้รับออกซิเจนหรือสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์น้อยเกินไป ภาวะตายคลอด (Still birth) นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การใช้ยาแก้ปวด ยากดประสาท การสูบบุหรี่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการดิ้นของลูกได้เช่นกัน คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอให้เร็วที่สุด หากสังเกตพบว่าลูกมีอาการไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลง เพื่อสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม การที่คุณแม่เกิดความเครียด มีสิ่งอื่นมาดึงดูดความสนใจมากเกินไป หรือแผลเป็นภายในช่องท้องและมดลูก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน