ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องอาหารไม่ย่อย อาการ สาเหตุ และการรักษา

คนท้องอาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก ท้องอืด จุกเสียด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อย อาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารมากเกินไป การกินอาหารที่มีไขมันสูง หรือความวิตกกังวลในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ตั้งครรภ์สังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น มือเท้าบวมกะทันหัว ปวดศีรษะไม่หาย การมองเห็นมีปัญหา ควรปรึกษาคุณหมอในทันทีเนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของภาวะที่อันตรายได้ [embed-health-tool-due-date] อาการคนท้องอาหารไม่ย่อย อาการอาหารไม่ย่อย คือ ความอึดอัดในช่องท้องส่วนบนที่ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อิ่มเร็วกว่าปกติ แม้จะเพิ่งเริ่มกินอาหาร แสบร้อนกลางอก มีกรดไหลย้อน หรืออยากอาเจียน ท้องอืด จุกเสียด หรือแน่นท้อง เรอบ่อย วิงเวียนศีรษะ หญิงตั้งครรภ์อาจประสบปัญหาอาหารไม่ย่อยได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้คนท้องเริ่มมีอาการอาหารไม่ย่อยได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และจะยิ่งมีอาการบ่อยขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองและสาม เนื่องจากทารกในครรภ์เริ่มดิ้น แต่นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายแล้ว ปัจจัยภายนอกก็สามารถทำให้คนท้องอาหารไม่ย่อยได้เช่นกัน สาเหตุที่ทำให้คนท้องอาหารไม่ย่อย คนท้องอาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ กินอาหารมากไป หรือกินเร็วเกินไป กินอาหารไขมันสูง อาหารเผ็ด หรือช็อกโกแลต ดื่มน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนัก เช่น ออกกำลังกายทันทีหลังกินเสร็จ สูบบุหรี่ รู้สึกวิตกกังวล […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ริดสีดวงคนท้อง ปัญหาที่แก้ไขได้ระหว่างตั้งครรภ์

ริดสีดวงคนท้อง เป็นอาการทั่วไปที่พบได้บ่อยตอนท้อง สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปในระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจึงไปกดทับเส้นเลือดจนเกิดการบวมอักเสบได้ รวมทั้งขนาดมดลูกไปกดทับลำไส้ใหญ่ทำให้ขับถ่ายได้ไม่สุด ทั้งนี้ คนท้องอาจจะเกิดอาการริดสีดวง หรือท้องผูกร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม คนท้องสามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันริดสีดวงคนท้อง และอาการท้องผูกได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ริดสีดวงคนท้อง เกิดจากสาเหตุใด ริดสีดวงคนท้อง หรือริดสีดวงทวารในภาวะตั้งครรภ์ หมายถึง ภาวะที่เส้นเลือดในอวัยวะส่วนล่างของอวัยวะขับถ่ายเกิดอาการบวม ในบางกรณี ผนังของเส้นเลือดขยายจนมีลักษณะบางจนเส้นเลือดนูนและเกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะะขับถ่าย ภาวะที่รบกวนและสร้างความเจ็บปวดนี้เกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์ในช่วงสามเดือนแรก และอาจเกิดจากอาการท้องผูก เนื่องจากแรงกดที่เพิ่มขึ้นบนลำไส้ใหญ่ส่วนปลายส่งผลเกิดอาการคนท้องท้องผูก ริดสีดวงทวาร คืออะไร ริดสีดวงทวาร หมายถึง การมีกลุ่มของหลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และที่ขอบรูทวารหนักโป่งพองและยื่นออกมา  แบ่งเป็น 2 ชนิด 1) ริดสีดวงทวารชนิดเป็นภายใน หมายถึง ริดสีดวงทวารที่เกิดเหนือทวารหนักขึ้นไปตามปกติจะไม่โผล่ออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้และมักจะถูกคลุมด้วยเยื่อลำไส้ใหญ่ตอนปลายสุดจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดในขณะที่ยังไม่มีอาการแทรกซ้อน 2) ริดสีดวงทวารชนิดเป็นภายนอก หมายถึง ริดสีดวงที่เกิดขึ้นบริเวณปากรอยย่นของทวารหนัก สามารถมองเห็นและคลำได้ หลอดเลือดที่โป่งพองจะถูกคลุมด้วยผิวหนังจึงอาจเกิดความเจ็บปวดได้เพราะผิวหนังมีปลายประสาทรับความรู้สึก สาเหตุริดสีดวงทวาร ปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนนาน ๆ จะมีผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดดำบริเวณปากทวารไหลกลับสู่หลอดเลือดดำในช่องท้องช้าลง โดยทั่วไปหลอดเลือดดำมีลิ้นเพื่อให้เลือดดำไหลกลับได้ทางเดียวแต่เมื่อการไหลของเลือดดำช้าลงประกอบกับมีความดันในช่องท้องสูงจึงเกิดการคั่งของหลอดเลือดดำบริเวณกลุ่มหลอดเลือดปากรูทวารหนักส่งผลให้กลุ่มหลอดเลือดดำโป่งพองจนเกิดอาการของโรค เกิดจากโรคแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ เช่น โรคตับแข็ง หรือโรคตับอักเสบไวรัสบีซึ่งจะมีอาการท้องมานในระยะสุดท้าย และเมื่อมีน้ำในช่องท้องมาก ๆจะส่งผลไปกดการไหลเวียนเลือดในช่องท้องเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดดำไหลกลับเข้าช่องท้องได้ไม่ดีนัก อาการริดสีดวงทวาร ระยะที่ 1 – มีเส้นเลือดดำโป่งพองในทวารหนักเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระจะมีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้าท้องผูกเลือดจะออกมากยิ่งขึ้น ระยะที่ 2– อาการมากขึ้น หัวริดสีดวงทวารโตมากขึ้นเริ่มโผล่ออกมาพ้นทวารหนักแล้วพอควร เวลาเบ่งอุจจาระจะออกมาให้เห็นมากขึ้นแต่เวลาถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วจะหดกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เอง ระยะที่ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ไวรัสตับอักเสบบี พาหะ และผลที่อาจเกิดกับทารก

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นภาวะที่ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในประเทศไทยปี พ.ศ.2561 คาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากรหรือประมาณ 3 ล้านคน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยเด็ก และหากเกิดในหญิงตั้งครรภ์ สามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ด้วย การเรียนรู้และศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี พาหะ และผลกระทบที่อาจเกิดกับทารกหากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคนี้ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับโรคไวรัสตับอักเสบบีได้ดีขึ้น [embed-health-tool-due-date] ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ ภาวะที่ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แม้ว่าเชื้อไวรัสนี้จะอยู่ในเลือดและของเหลวในร่างกาย แต่ตับเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจมีไวรัสอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต หรือเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี และเชื้ออาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อตับได้ทุกเมื่อ ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีบางรายอาจไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ และอาจไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม และอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ไวรัสตับอักเสบบี พาหะ อาจติดต่อสู่กันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือการให้เลือด วิธีที่จะทราบได้ว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกายหรือไม่ คือ การเข้ารับการตรวจเลือดโดยเฉพาะ อาการที่อาจพบได้เมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน หากมีอาการเหล่านี้ หรือสงสัยว่าตัวเองเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที อันตรายจากไวรัสตับอักเสบบีที่มีต่อทารก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตร แต่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทารก เพราะทารกอาจติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ในระหว่างคลอด ทั้งการคลอดแบบธรรมชาติหรือการผ่าคลอดทางหน้าท้อง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถือเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับทารก หากทารกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบบเรื้อรังตลอดชีวิตสูงถึง 90% ในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจำนวน 1 […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

เป็นไวรัสตับอักเสบบี มีลูกได้ไหม ควรป้องกันตัวเองอย่างไร

ตับอักเสบบี (Hepatitis B) เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ที่แพร่กระจายผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน หรือแพร่จากแม่สู่ลูก จึงอาจเกิดคำถามว่า เป็นไวรัสตับอักเสบบี มีลูกได้ไหม เนื่องจากมีโอกาสสูงมากที่ไวรัสตับอักเสบบีอาจถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอให้ดีหากพบว่าเป็นตับอักเสบบี รวมถึงทำการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขณะอยู่ในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] เป็นไวรัสตับอักเสบบี มีลูกได้ไหม โรคตับอักเสบบี เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้ของส่วนตัวร่วมกัน การใช้เข็มร่วมกัน รวมไปถึงถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า กว่า 40% ของทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคตับเรื้อรังได้ในที่สุด ดังนั้น ตามปกติแล้วคุณหมอมักจะแนะนำให้คุณแม่ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปสู่ลูกในครรภ์ หากแม่ตั้งครรภ์เป็นไวรัสตับอักเสบบี ควรทำอย่างไร หากคุณแม่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบระหว่างการตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการรักษาโรคตับอักเสบบีในทันที เพื่อลดความเสี่ยงการถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปสู่ลูกในครรภ์ นอกจากนี้ ทารกแรกเกิดก็ควรจะได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B immune globulin) ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย อาจจะได้รับวัคซีนเมื่อมีอายุ 1 เดือน เป็นไวรัสตับอักเสบบี ให้นมลูกได้หรือไม่ แม้คุณแม่จะเป็นโรคตับอักเสบบีก็ยังสามารถให้นมลูกได้ เนื่องจากไวรัสไม่สามารถแพร่เชื้อผ่านทางน้ำนมแม่ได้ อีกทั้งยังมีการศึกษาในหลายกรณีที่ไม่พบว่าอัตราการติดเชื้อตับอักเสบซีในทารกที่ได้รับนมแม่จะสูงกว่าทารกที่ดื่มนมผงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการป่วยอย่างกะทันหันพร้อมกับอาการดีซ่านหลังคลอดลูก หรือมีอาการหัวนมแตก และมีเลือดออก ไม่ควรให้นมลูก เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงที่ลูกจะติดเชื้อไวรัสได้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ มีสัญญาณและอาการอย่างไร

ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอาการที่สามารถพบได้ในผู้หญิงหลายคน จากรายงานของสูตินรีแพทยสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Congress of Obstetricians and Gynecologists หรือ ACOG) เปิดเผยว่าผู้หญิงร้อยละ 14 ถึง 23 มีอาการซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เช่น วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ เซื่องซึม นอนน้อยหรือนอนมาก มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตสัญญาณและอาการของซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอย่างไร อาการซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นในผู้หญิง 1 ใน 4 ในบางช่วงเวลาของชีวิต ดังนั้น หากเกิดอาการ ซึมเศร้าตอนท้อง จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่น่าตกใจคือ หลายคนเข้าใจผิดว่า อาการที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์เป็นเพียงความไม่สมดุลของฮอร์โมน จึงไม่มีการตรวจวินิจฉัยอาการซึมเศร้าในระหว่างตั้งครรภ์ ศัพท์ทางการแพทย์ของอาการนี้ คือ ภาวะซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ (Antepartum Depression) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ สัญญาณและอาการของภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีอาการต่อไปนี้นานกว่า 2 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณว่ามีภาวะซึมเศร้าก่อนการคลอด การยึดติดกับความทุกข์ สมาธิลดลง ปัญหาการนอน อาจมากหรือน้อยเกินไป ความสนใจในกิจกรรมที่ชอบน้อยลง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งท้องจามบ่อย จะอันตรายกับลูกน้อยหรือไม่

คุณแม่ตั้งท้องจามบ่อย ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากละเลย ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอันไม่พึงประสงค์ทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้เช่นกัน สำหรับสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์จามบ่อย ได้แก่ เยื่อจมูกอักเสบช่วงตั้งครรภ์ ภูมิแพ้ รวมถึงอาการไม่สบายระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งนี้ อาการจามช่วงตั้งครรภ์อาจหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากนานกว่านั้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจัยหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป [embed-health-tool-due-date] สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งท้องจามบ่อย เยื่อจมูกอักเสบช่วงตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายได้มากมาย รวมไปถึงอาการเยื่อจมูกอักเสบช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปกับคุณแม่ที่กำลังท้อง เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์การไหลเวียนของเลือดในเยื่อบุผิวจะเพิ่มขึ้น หลอดเลือดฝอยในโพรงจมูกจึงขยายตัว และมีการผลิตน้ำมูกเพิ่มขึ้น แม่ท้องจึงมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล รวมไปถึงทำให้แม่ท้องจามบ่อยขึ้นด้วย โดยอาการเยื่อจมูกอักเสบช่วงตั้งครรภ์นี้มักจะเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ และสามารถเป็นติดต่อกันได้ยาวนานกว่า 6 สัปดาห์ ความเจ็บป่วย ในช่วงตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณแม่จะอ่อนแอลงทำให้เสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ที่พบบ่อยได้แก่ ไข้หวัดธรรรมดา และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งทำให้แม่ท้องมีอาการไอจามบ่อยขึ้น แม้จะเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในคนท้อง แต่หากแม่ท้องจามบ่อยร่วมกับมีไข้ ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายกับแม่และลูกในท้องได้ ภูมิแพ้ อาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ถือเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหญิงที่เป็นโรคภูมิแพ้ตั้งครรภ์ อาการของโรคภูมิแพ้จะยิ่งหนักขึ้น ทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องจามบ่อยขึ้น คุณแม่ตั้งท้องจามบ่อย ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม โดยปกติแล้วการจามตอนท้องมักไม่เป็นอันตรายกับแม่และทารกในครรภ์ และมักจะหายได้เองภายในเวลา 2-3 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากการจามที่เกิดขึ้นเป็นอาการของโรคบางชนิด เช่น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์กินน้ำตาลเยอะเกินไป ส่งผลอย่างไรบ้าง

ปกติแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลได้ แต่ควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสมหรือกินให้น้อยที่สุด แต่หากเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจยิ่งต้องระวังปริมาณในการบริโภคน้ำตาล และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะหาก คุณแม่ตั้งครรภ์ กินน้ำตาล มากเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรกินน้ำตาลในปริมาณเท่าใด อาจยังไม่มีคำแนะนำที่เป็นมาตรฐานสำหรับปริมาณในการบริโภคน้ำตาลที่เหมาะสมในช่วงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำตาลที่ควรได้รับต่อวัน อาจขึ้นอยู่กับการระดับเผาผลาญของร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำหนักตัว โดยปกติแล้ว ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 25 กรัม นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวังการกินผลไม้รสหวานหรือผลไม้น้ำตาลสูง เช่น กล้วยหอม มะม่วงสุก แตงโม องุ่น หากต้องการกินผลไม้เหล่านี้ ควรกินแบบผลไม้สดในปริมาณจำกัด หลีกเลี่ยงรูปแบบแปรรูป เช่น แยม น้ำผลไม้ เพราะอาจมีการเติมน้ำตาล อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับปริมาณน้ำตาลที่แนะนำต่อวันที่เหมาะสมต่อสุขภาพ และปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ กินน้ำตาล ในปริมาณมาก จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง การกินน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้ ทำให้อาการคนท้องแย่ลง ช่วงตั้งครรภ์ ผู้หญิงมักมีอาการที่เรียกว่า อาการคนท้อง เช่น อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด กรดไหลย้อน ปัสสาวะบ่อย หากคุณแม่ตั้งครรภ์กินน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลให้อาการเหล่านี้แย่ลงได้ รู้สึกอ่อนเพลีย อาหารน้ำตาลสูงบางประเภทมีน้ำตาลซูโครส (Sucrose) […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ตกขาวในคนท้อง เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

เวลาตั้งครรภ์ ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย และการเกิด ตกขาวในคนท้อง ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้ทั่วไปในขณะตั้งครรภ์ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรใส่ใจกับตกขาวที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องลักษณะและสีสันของตกขาว ปริมาณและความถี่ของการเกิดตกขาว เพราะอาจบ่งชี้ได้ถึงความผิดปกติบางอย่าง และนี่คือสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ ตกขาวในคุณแม่ตั้งครรภ์ [embed-health-tool-”due-date”] ตกขาวในคนท้อง คืออะไร จริง ๆ แล้วตกขาวในขณะตั้งครรภ์ ไม่ใช่ตกขาวที่เกิดขึ้นตามปกติในผู้หญิงช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือน แต่ตกขาวหรือของเหลวที่ไหลออกมาจากช่องคลอด ที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวใสเหมือนน้ำนมและมีกลิ่นอ่อน ๆ ที่ไม่ใช่กลิ่นเหม็น ตกขาวชนิดนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ โดยมักจะเกิดขึ้นในหนึ่งหรือสองสัปดาห์แรกของการปฏิสนธิ อาจจะก่อนที่ประจำเดือนของคุณจะขาดไปด้วยซ้ำ และตกขาวนี้ก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ โดยอาจจะมากขึ้นได้ด้วย และจะมีมากที่สุดในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ก่อนการคลอด จนคุณอาจจะต้องใส่แผ่นอนามัยเพื่อรองรับตกขาวเลยด้วย ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณอาจสังเหตเห็นว่า ตกขาวของคุณมีเยื่อมูกข้น ๆ เป็นเส้นริ้ว ที่อาจมีเลือดปะปนออกมาเล็กน้อย ซึ่งนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนเริ่มแรกว่าคุณกำลังใกล้ถึงเวลาคลอด แต่ไม่ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ควรต้องตกใจ ตกขาวในขณะตั้งครรภ์ เกิดมาจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ ก็ส่งผลต่อการเกิดตกขาวด้วย เนื่องจากปากมดลูกและผนังมดลูกจะค่อย ๆ  คลายตัวในขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้สามารถขยายตัวรองรับทารกในครรภ์ และเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดทารก ร่างกายจะผลิตสารคัดหลั่งเหล่านี้ออกมาเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยปกป้องการติดเชื้อ นอกจากนี้การที่ศีรษะของเด็กทารกในครรภ์ อาจมากดอยู่ที่ปากมดลูก ในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายมีการหลั่งของเหลวหรือตกขาวออกมามากขึ้นได้ด้วย คนท้องมีตกขาว ทำอย่างไรดี ตกขาวขณะตั้งครรภ์อาจคล้ายกับตกขาวที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือหลังมีรอบเดือน แต่มักจะมีปริมาณมากกว่า ซึ่งอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกไม่สบายตัวได้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องเท้าบวม ขาบวม ทำยังไงได้บ้าง

คนท้องเท้าบวม ขาบวม นิ้วบวม เป็นปัญหาช่วงตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย และมักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป การเจริญเติบโตของมดลูก อากาศร้อน การยืนนาน ๆ ทั้งนี้ อาการบวมตอนท้องอาจบรรเทาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมบางประการ เช่น ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน ๆ ไม่ยืนนาน ๆ แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่รุนแรงกว่า [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาการบวมตอนท้อง เกิดจากอะไร คนท้องเท้าบวม ขาบวม หรือนิ้วบวม เป็นอาการของภาวะหรือที่เรียกว่า อาการบวมน้ำ (Oedema หรือ Edema) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับว่าที่คุณแม่ เนื่องจากมีของเหลวสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายมากเกินไป จนทำให้ส่วนต่าง ๆ ในร่างกายบวมขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณข้อเท้าและเท้า สาเหตุหลักของอาการบวมตอนท้อง ได้แก่ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทำให้มีของเหลวสะสมคั่งค้างมากกว่าปกติ ร่างกายของคุณแม่ต้องผลิตเลือดและของเหลวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50% เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทารกในครรภ์ มดลูกที่เจริญเติบโตขึ้นไปกดทับหลอดเลือดดำที่อุ้งเชิงกราน และหลอดเลือดเวนาคาวา (vena cava) ซึ่งเป็นหลอดเลือดดำใหญ่ของร่างกายซีกขวาที่คอยลำเลียงเลือดจากขา (lower limb) กลับไปยังหัวใจ แรงกดที่เกิดขึ้นทำให้เลือดไหลเวียนได้ช้าลง ส่งผลให้ของเหลวในหลอดเลือดถูกดันเข้าสู่เนื้อเยื่อบริเวณข้อเท้าและเท้ามากขึ้น ปัจจัยภายนอก เช่น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องท้องผูก รับมืออย่างไรเพื่อให้การขับถ่ายสะดวก

คนท้องท้องผูก เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยมักพบในอัตราสามในสี่ของคนท้อง เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แรงดันในท้อง และการไหลเวียนของโลหิต รวมทั้งขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจนไปกดทับลำไส้ใหญ่จึงอาจถ่ายได้ไม่สุด  อาจทำให้คนท้องอึดอัดและรู้สึกไม่สบายตัว อย่างไรก็ตาม คนท้องท้องผูกเป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถรับมือและแก้ไขได้ เพราะมีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้คนท้องท้องผูกขับถ่ายได้สะดวกขึ้น [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาการท้องผูก คืออะไร  ปัญหาท้องผูก หมายถึง การเบ่งอุจจาระลําบาก มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 คร้ังต่อสัปดาห์ อาการท้องผูกส่วนใหญ่มักไม่ได้ส่งผลให้เกิดอันตราย แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง สำหรับผู้ที่ท้องผูก จะมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ต้องเบ่งมากกว่าปกติ อุจจาระเป็นก้อนแข็ง (lumpy or hard stool) รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ ท้องผูกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง สาเหตุของอาการท้องผูกแบ่งได้แป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1. สาเหตุที่เกิดจากโรคทางกาย โรคทางกายที่สามารถเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกเรื้อรังได้แก่ เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยกว่าปกติ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคทางระบบประสาทต่าง ๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือมีโรคที่สมองหรือไขสันหลัง 2. สาเหตุจากการใช้ยาบางชนิด มียาหลายชนิดที่ทําให้เกิดอาการท้องผูก ยาที่ทําให้เกิดอาการท้องผูกได้มีดังต่อไปนี้ กลุ่มยาทางจิตเวช ที่สําคัญและพบบ่อย ได้แก่ ยาที่รักษาอาการซึมเศร้า ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดและน้ำย่อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน