ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ออทิสติก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จริงหรือ

ออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เกิดจากพัฒนาทางสมองที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อชีวิตของเด็กในหลายๆ ด้าน เช่น ทักษะทางภาษา ความสามารถในการเรียนรู้ ทักษะในการเข้าสังคม แม้ในปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อกันว่า ออทิสติกนี้น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา แต่ที่น่าสนใจคือมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นภาวะที่อาจป้องกันได้ ออทิสติก กับการชะงักงันของพัฒนาการทางสมอง ในวงการแพทย์ มีการตั้งข้อสงสัยกันมานานแล้วว่า หากพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ถูกรบกวน จนเกิดการชะงักงัน อาจส่งผลให้ทารกเกิดออทิสติก หรือออทิสซึมได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และปัญหาดังกล่าวอาจเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปฏิสนธิเลยก็ได้ และเพิ่งมีการยอมรับกันเมื่อไม่นานมานี้ว่า เปลือกสมองชั้นนอกของเด็กที่เป็นออทิสติกนั้น มีส่วนของเซลล์ที่ทำงานไม่สอดประสานกัน ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะดังกล่าว ออทิซึมสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ จากการศึกษาเด็กที่มีภาวะออทิสติกหลังจากเสียชีวิต พบว่า สมองชั้นนอกบางส่วนของเด็กที่เป็นออทิสติกนั้นหยุดการเจริญเติบโต ซึ่งเนื้อเยื่อของสมองที่หยุดการเจริญเติบโตนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคลอด ดังนั้น จึงเป็นไปได้สูงมากที่ออทิสติกอาจเกิดขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์  โดยส่วนของสมองที่หยุดการเจริญเติบโตนี้ ปรากฎอยู่ในเนื้อเยื่อสมอง และปราศจากลักษณะทางพันธุกรรมบางประการ ยิ่งไปกว่านั้น สมองส่วนดังกล่าว มักจะอยู่ในบริเวณที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมองเป็นอย่างมากด้วย ออทิสติกอาจดีขึ้นได้หากได้รับการรักษาเร็ว ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ และไม่ได้กลายเป็นความผิดปกติในวงกว้าง ดังนั้น การรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ คือไม่เกินช่วงวัยเตาะแตะ จึงอาจช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ เนื่องจากสมองมีวิธีการบางอย่างในการจัดระบบ และเอาชนะความผิดพลาดดังกล่าวนี้ได้ นักวิจัยเชื่อว่า ยิ่งเด็กได้รับการรักษาเร็วเท่าไร การรักษาก็จะยิ่งได้ผลดีขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันในวงการแพทย์ ยังมีการค้นหาแนวทางใหม่ๆ ในการตรวจหาออทิสติกให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุที่เป็นไปได้ของออทิซึม อย่างไรก็ตาม ยังไม่หลักฐานยืนยันว่า ออทิสติกเริ่มเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ระยะใด ที่สำคัญยังไม่มีการค้นพบสาเหตุที่ทำให้พัฒนาการทางสมองถูกขัดขวางในระยะเริ่มแรก แต่ในเบื้องต้นอาจสรุปได้ว่า […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนความเครียด ทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ไหม

ฮอร์โมนความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คุณแม่แท้งบุตรได้ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่เครียดจัดจะเสี่ยงเกิดการแท้งบุตรระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงสามสัปดาห์แรกมากขึ้นถึงสามเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีความเครียด  ควรหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย ไม่กังวลมากเกินไป หรือหากรู้สึกตกอยู่ในภาวะเครียดหรือซึมเศร้าควรพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือปรึกษาคุณหมอ เพื่อรักษาระดับความสุขระหว่างการตั้งครรภ์ อีกทั้งเป็นการลดความเสี่ยงแท้งบุตรหรือคลอดกำหนด [embed-health-tool-due-date] ฮอร์โมนความเครียด กับการคลอดก่อนกำหนด หากหญิงตั้งครรภ์เครียดอาจมีความเสี่ยงทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ เพราะฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ สามารถทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น จนเกิดการเร่งคลอดได้ โดยการคลอดก่อนกำหนด หมายถึง การเจ็บครรภ์คลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 20– 37 สัปดาห์ หากคุณแม่คลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่จะพบปัญหาทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อย นอกจากนั้น การก่อนกำหนดยังเป็นผลมาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คุณแม่อายุมากเกินหรือน้อยเกินไป (น้อยกว่า 17 ปีหรือมากกว่า 35 ปี) มีประวัติการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนความเครียด กับการแท้งบุตร ระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจมีส่วนทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในหญิงตั้งครรภ์ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยที่ระบุชัดเจนว่าฮอร์โมนคอร์ติซอลเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแท้งบุตร หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลสามารถกระตุ้นกลไกอื่น ๆ บางประการในร่างกายที่ทำให้เกิดการแท้งบุตรได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนความเครียดในหญิงตั้งครรภ์และพบความเกี่ยวเนื่องกัน การศึกษาชิ้นหนึ่ง หัวข้อ ความสัมพันธ์ของความเครียดต่อต่อการแท้งบุตร เผยแพร่ในวารสาร Scientific Reports พ.ศ. 2560 […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

สัตว์เลี้ยงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือไม่

สัตว์เลี้ยงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ จริงหรือ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ อาจมีแบคทีเรียอยู่ในอุจจาระ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หากต้องการเลี้ยงสัตว์ระหว่างตั้งครรภ์อาจต้องปรึกษาคุณหมอ ถึงการดูแลตัวเองและทารกในครรภ์ รวมถึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้อยู่ในบริเวณที่กำหนด และควรรักษาความสะอาดของสัวต์เลี้ยงเพื่อป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ [embed-health-tool-due-date] สัตว์เลี้ยงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือไม่ แม้จะตั้งครรภ์อยู่ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจยังเลี้ยงสัตว์ได้ แต่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงจะไม่เป็นอุปสรรค และไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอ ในกรณีที่กังวลว่าสัตว์เลี้ยงจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนี้ สุนัข แมวและสัตว์ชนิดอื่น ๆ อาจมีแบคทีเรียอยู่ในอุจจาระ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนแรก ความเสี่ยงในการติดเชื้ออาจสูงขึ้น หากเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยตามอิสระ อย่างไรตาม หากเลี้ยงสัตว์มาช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ร่างกายอาจมีภูมิคุ้มกันต่อโรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ซึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายเคยได้รับเชื้อมาแล้ว ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับการตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์แล้ว ทั้งนี้ ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรอยู่ให้ห่างจากอุจจาระของสัตว์เลี้ยง ไม่ควรเก็บอุจจาระของสัตว์เลี้ยงเอง โดยอาจให้คนในบ้านเก็บหรือกำจัดอุจจาระของสัตว์เลี้ยงออกจากบ้านอย่างสม่ำเสมอ ควรรักษาความสะอาดของบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ให้ดี หากเป็นไปได้ อาจอยู่ให้ห่างจากสัตว์เลี้ยงในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในห้องนอน และอาจงดเว้นการเล่นกับสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ดี การเลี้ยงสัตว์ไม่ใช่ข้อห้าม เพราะสัตว์เลี้ยงช่วยให้คลายเครียดและทำให้อารมณ์แจ่มใส เพียงแต่ต้องรักษาความสะอาด และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้าน เพราะอาจมีโอกาสที่สัตว์เลี้ยงจะเอาเชื้อโรคกลับมาได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากสัตว์เลี้ยง หากปล่อยให้สัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้าน สัตว์เลี้ยงอาจได้รับแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

โลหิตจางขณะตั้งครรภ์ สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

โลหิตจางขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะผิดปกติที่มักพบในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์และช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ อาจเกิดจากคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ หรือคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคที่ส่งผลให้ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้น้อยลง คุณแม่จึงควรไปตรวจครรภ์ตามนัดเสมอ เพราะหากผลสัญญาณของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ คุณหมอจะได้รักษาได้ทันท่วงที ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] โลหิตจางขณะตั้งครรภ์ คืออะไร ภาวะโลหิตจาง (Anemia) คือ ภาวะที่เม็ดเลือดแดงหรือระดับฮีโมโกลบินในเลือดมีปริมาณน้อยกว่าปกติ เซลล์เม็ดเลือดแดงจึงไม่แข็งแรงพอจะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายคุณแม่และส่งต่อให้ทารกในครรภ์ โดยปกติ ในระหว่างการตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องผลิตเลือดมากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะสารอาหารที่ต้องใช้ในการผลิตเลือดอย่างธาตุเหล็กก็อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม หายใจลำบาก ปวดศีรษะ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ต่าง ๆ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ปัญหาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ สาเหตุของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ สาเหตุของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ ตั้งครรภ์ 2 ครั้งในระยะเวลาใกล้กัน อาเจียนบ่อยเนื่องจากแพ้ท้อง ประจำเดือนก่อนตั้งครรภ์มามากเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ เนื่องจากอาจจำกัดชนิดอาหารเข้มงวดมากเกินไป หรือรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำเพียงอย่างเดียว จนทำให้โลหิตจางได้ ได้รับอาหารเสริมธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ในกรณีที่ตั้งครรภ์หลังจากแท้งได้ไม่นาน มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเลือดเรื้อรัง มีน้ำหนักน้อยในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาการคลอดในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน มีโอกาสเสี่ยงแท้งลูก เคยมีเลือดออกในช่วงตั้งครรภ์ หรือเคยตกเลือดในรูปแบบอื่น ๆ อาการของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ อาการของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ที่ควรสังเกต มีดังนี้ อ่อนเพลีย ง่วงซึม ทนความเจ็บปวดได้น้อยกว่าปกติ รู้สึกไม่สบายตัว […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ เรื่องอันตรายที่คุณแม่ควรระวัง

อีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ คือการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้หญิงตั้งครรภ์มีไข้ มีตุ่มน้ำที่ทำให้เกิดอาการคัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นอีสุกอีใสในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกเมื่อคลอดออกมาเสี่ยงเป็นกลุ่มอาการอีสุกอีใสแต่กำเนิด ซึ่งจะมีอาการตัวลีบ ศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์จำเป็นที่จะต้องหาทางป้องกันและระวังตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคอันตรายนี้ หากมีอาการเข้าข่ายโรคอีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ควรรีบไปหาคุณหมอทันที โรคอีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ โรคอีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะสุขภาพที่ค่อนข้างอันตราย โดยเฉพาะในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 8 จนถึงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติ หลังจากที่ร่างกายสัมผัสกับเชื้อโรค หรือรับเชื้อโรคผ่านคนที่มีเชื้อ อาจจะเริ่มมีอาการในช่วงระหว่าง 10 ถึง 21 วัน เริ่มแรก โดยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น เป็นไข้ หลังจากนั้น จะมีผดผื่นคัน ผดผื่นนี้จะเริ่มปรากฏที่ใบหน้าและหน้าอก แล้วค่อย ๆ แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นในร่างกาย ผดผื่นนี้จะขยายใหญ่ขึ้น และแห้งตกสะเก็ดไป อย่างไรก็ตม โรคอีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลให้ทารกมีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดที่รุนแรง เช่น โรคอีสุกอีใสแต่กำเนิด (congenital varicella syndrome) โดยจะมีอาการแขนขาผิดรูป เป็นแผลเป็นที่ผิวหนัง มีศีรษะเล็กผิดปกติ ติดเชื้อที่ดวงตา มีปัญหาการมองเห็น แขนและขาลีบเล็ก และมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ หากเป็นโรคอีสุกอีใสก่อนคลอดบุตรหรือหลังจากคลอดบุตร 2 […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

แท้ง อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน

แท้ง คือ การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หรือการสูญเสียทารกในครรภ์ โดยผู้หญิงที่เกิดภาวะแท้งบุตร มากกว่า 80% เกิดการแท้งภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เกิดภาวะแท้งบุตร ประมาณ 50% อาจแท้งในช่วงเวลาก่อนที่ประจำเดือนจะไม่มา หรือการแท้งในตอนที่รู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว และประมาณ 15-25% รับรู้ว่าการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงในตอนแท้ง สัญญาณและอาการของการแท้ง สำหรับสัญญาญและอาการของการแท้ง อาจมีดังนี้ เลือดไหล โดยอาจจะเริ่มจากไหลจากบางเบาจนเลือดไหลหนัก ปวดท้องอย่างรุนแรง เจ็บท้อง มีไข้ รู้สึกป่วย ปวดหลัง หากมีอาการดังที่กล่าวมา ควรไปพบคุณหมอทันที สาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้ง ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุการแท้งที่พบบ่อย คือ ความผิดปกติของโครโมโซม หมายถึง มีบางอย่างผิดปกติในโครโมโซมของทารก ที่เป็นเหตุให้ไข่หรือเซลล์อสุจิเสียหาย รวมถึงการมีปัญหาตอนที่ทารกเป็นไซโกต (Zygote) หรือเซลล์ไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาในกระบวนการการแบ่งเซลล์ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้แท้ง ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน การติดเชื้อ ปัญหาสุขภาพของมารดา เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ การใช้ชีวิตของมารดา เช่น การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด ภาวะขาดแคลนสารอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป การสัมผัสรังสีหรือสารพิษ การฝังตัวของไข่ในมดลูกเกิดขึ้นอย่างไม่เหมาะสม อายุของมารดา การบาดเจ็บของมารดา ความผิดปกติของมดลูก โอกาสในการแท้งของผู้หญิง อายุเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง โดยผู้หญิงมีโอกาสแท้งโดยเฉลี่ยดังนี้ ผู้หญิงที่อายุกว่า 35 ปี มีโอกาสแท้งประมาณ 15% ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 45 ปี มีโอกาสแท้งประมาณ 50% ผู้หญิงที่แท้งมาก่อนมีโอกาส 25% ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ หมายถึงการติดเชื้อที่อวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ไต กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ อาจพบได้บ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ การดื่มน้ำมาก ๆ และปัสสาวะให้บ่อยขึ้น อาจลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ [embed-health-tool-due-date] อาการของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณว่ากำลังติดเชื้อทางเดินปัสสาวะช่วงตั้งครรภ์  ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปริมาณปัสสาวะเปลี่ยนไป ปัสสาวะมากขึ้น หรือปัสสาวะน้อยลง รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะสีขุ่น สีไม่ใส และมีกลิ่นแรง ปัสสาวะมีเลือดหรือเมือกปน รู้สึกแสบท้อง ปวดท้องน้อย หรือปวดหลังด้านล่าง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รู้สึกหนาว มีไข้ เหงื่อออก หากอาการเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แล้วเชื้อแพร่กระจายไปในไต อาจมีอาการปวดหลัง เป็นไข้ วิงเวียน และอาเจียน ร่วมด้วย ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเหล่านี้ ควรไปพบคุณหมอ ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ ความเปลี่ยนแปลงของสรีระในช่วงตั้งครรภ์ เช่น มดลูกขยายตัวเนื่องจากขนาดตัวของทารกที่เพิ่มขึ้น อาจกดทับกระเพาะปัสสาวะ และขัดขวางทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนอาจมีความเปลี่ยนแปลง และทำให้ในระดับน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น การมีเซ็กส์ขณะตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ความเครียดตอนท้อง ส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์

ความเครียดตอนท้อง อาจทำให้ร่างกายสั่งการไปยังสมองให้หลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดหรือฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะคลอดก่อนกำหนด พัฒนาการทางสมองของทารก ดังนั้น การจัดการกับความเครียดจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรให้ความใส่ใจ ความเครียดตอนท้อง ผู้หญิงที่มีอัตราความเครียดเรื้อรังสูง และอาจจัดการความเครียดได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก ซึ่งอาจส่งผลทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และอาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารก ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมเมื่อเด็กเติบโตขึ้น โดยปัจจัยที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรคำนึกถึง คือ การจัดการกับความเครียดเรื้อรัง เช่น ความเครียดเรื่องการเงิน ความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ความเครียดตอนท้อง ถือเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรรู้สึกผิดเกี่ยวกับความเครียด แต่ควรหาวิธีจัดการกับความเครียดให้ได้มากที่สุด ฮอร์โมนคอร์ติซอลกับผลเสียต่อทารกในครรภ์ เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะเข้าเกิดปฏิกิริยาตอบสนองส่งผลให้สมองหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดหรือฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา โดยฮอร์โมนแห่งความเครียดอาจทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น และร่างกายจะเข้าสู่ภาวะเตรียมพร้อมเอาชีวิตรอด หากสามารถจัดการกับความเครียดได้ ร่างกายก็จะกลับสู่สภาวะปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่รวมถึงคุณแมตั้งครรภ์มักจะมีความเครียดเรื้อรัง จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง ก็อาจทำให้มีปริมาณน้ำคร่ำสูงกว่าปกติ นอกจากนี้ความเครียดตอนท้องของคุณแม่ยังอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ของทารกเมื่อโตขึ้น ทั้งยังอาจทำให้ทารกมีไอคิวต่ำกว่าอายุจริง วิธีบรรเทาความเครียดตอนท้อง คุณแม่ที่เครียดตอนท้องอาจหาวิธีผ่อนคลายเพื่อบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้นและทำให้ความเครียดส่งผลต่อร่างกายน้อยที่สุด โดยวิธีบรรเทาความเครียดที่อาจช่วยคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ มีดังนี้ 1. อาจหัวเราะให้มาก ๆ เวลาหัวเราะสมองจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา จึงช่วยบรรเทาความเครียดได้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจหาภาพยนตร์ รายการตลก หรือคลิปวิดีโอตลก ๆ ดูเผื่อผ่อนคลายความเครียด 2. อาจลดความเครียดด้วยการเดิน เวลาเครียดคุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ หรือเดินเล่นในห้างสรรพสินค้า การเดินจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกมีพลังมากขึ้น และช่วยบรรเทาความเครียดได้ ข้อควรระวัง คือ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ อาการและรักษา

ซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) โดยทั่วไปแบคทีเรียจะอยู่บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และปากหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิสอาจส่งต่อเชื้อไปยังทารกในครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกได้รับเชื้อ ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจร่างกายจากคุณหมอเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียและรีบรักษา [embed-health-tool-”due-date”] ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้หรือไม่ ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เป็นโรคซิฟิลิสได้ และอาจส่งผลต่อสุขภาพทารกแรกเกิด ทำให้ได้รับผลกระทบต่อหู ตา ตับ ไขกระดูก ผิวหนัง กระดูก เสี่ยงเป็นภาวะโลหิตจาง ม้ามโต เส้นประสาทเสียหาย ตาบอด หูหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผื่นผิวหนัง หากเจอเชื้อซิฟิลิสระหว่างตั้งครรภ์ ทารกอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากทารกรอดชีวิตก็อาจคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักและพัฒนาการไม่ดี และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ อาการของ ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ อาการของซิฟิลิสอาจแตกต่างตามระยะ โดยสังเกตได้จากอาการ ดังนี้ ซิฟิลิสปฐมภูมิ เป็นการติดเชื้อในระยะแรกที่อาจก่อให้เกิดแผลริมอ่อน และมีอาการเจ็บบริเวณที่ติดเชื้อแบคทีเรีย  เช่น ภายในช่องคลอด หรือทวารหนัก โดยแผลริมอ่อนอาจเกิดขึ้นภายใน 3 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อและอาจหายได้เองภายใน 6 สัปดาห์ ซิฟิลิสทุติยภูมิ หลังจากแผลริมอ่อนหายประมาณ 2-10 สัปดาห์ ผื่นอาจปรากฏทั่วทั้งร่างกาย และอาจมีแผลคล้ายหูดในช่องปาก อวัยวะเพศ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

สุขภาพช่องปาก คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรดูแลอย่างไร

อาการคนท้อง เช่น อาเจียน กรดไหลย้อน และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้เหงือกและฟัน หรือ สุขภาพช่องปาก คุณแม่ตั้งครรภ์ อ่อนแอลงได้ ในช่วงนี้ คุณแม่จึงต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีเป็นพิเศษ ด้วยการเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล แปรงฟันหลังอาเจียน เป็นต้น เพื่อให้ช่องปากแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ที่หากเป็นแล้วไม่รักษา อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่า เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด [embed-health-tool-due-date] วิธีดูแล สุขภาพช่องปาก คุณแม่ตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพช่องปากของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีต่อไปนี้ อาจช่วยให้ช่องปากแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพได้ เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด และความวิตกกังวล อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกอยากกินของหวานมากขึ้น แต่ทางที่ดี คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดหรือลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพราะอาจส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูงจะเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ น้ำตาลจากอาหารและเครื่องดื่มยังอาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก คุณแม่ตั้งครรภ์ ทำให้เกิดฟันผุได้ด้วย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์กินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล ขนมปัง เค้ก ลูกอม ผลไม้น้ำตาลสูง เข้าไป แล้วไม่ทำความสะอาดช่องปากให้ดี แบคทีเรียในช่องปากจะย่อยอาหารและน้ำตาล ทำให้เกิดกรด เมื่อกรด แบคทีเรีย เศษอาหาร และน้ำลายรวมตัวกัน จะเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ติดอยู่ตามฟัน กรดในคราบจุลินทรีย์จะทำลายผิวฟันจนเกิดเป็นรู เป็นเหตุให้ฟันผุ หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีฟันผุ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน