สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพคุณแม่ เพิ่มเติม

ช่วงเวลาหลังคลอด

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

สุขภาพจิตคุณแม่

โรคซึมเศร้าหลังคลอด ภัยเงียบที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

1 ใน 7 ของคุณแม่ที่เพิ่งให้กำเนิดลูกน้อย พบว่า มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือที่เรียกว่า เบบี้บลู (Baby Blue) ภาวะนี้มักเกิดขึ้นไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่ซึมเศร้าหลังคลอดนานกว่านั้น นั่นอาจหมายถึงคุณแม่กำลังเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาจส่งผลให้มีอารมณ์แปรปรวน คิดหรือตัดสินใจอะไรได้ช้า มีปัญหาในการนอนหลับ หรืออาจมีปัญหาในการสร้างความผูกพันกับลูกได้ด้วย อาการของ โรคซึมเศร้าหลังคลอด คุณแม่มือใหม่มักประสบกับอาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือ เบบี้บลู (Baby Blue) ทำให้มีอาการ เช่น อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล เศร้าโศก ฉุนเฉียวง่าย รู้สึกกดดัน ร้องไห้ง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่อยากอาหาร มีปัญหาในการนอนหลับ โดยคุณแม่อาจมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดนี้ได้ตั้งแต่ 2-3 วัน ไปจนถึง 2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการรุนแรง หรือมีอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ อาจหมายถึงคุณแม่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งถือเป็นภาวะอันตราย ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที โดยอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาจมีดังนี้ รู้สึกเศร้าหรือร้องไห้บ่อยอย่างไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง แต่กลับนอนไม่หลับ นอนมากเกินไป […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

แม่หลังคลอด การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่พบได้บ่อย

แม่หลังคลอด ย่อมมีภาวะเปลี่ยนแปลงไปจากขณะตั้งครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งการเผชิญกับภาวะหลังคลอดนี้อาจทำให้คุณแม่มือใหม่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับสิ่งที่ตัวเองต้องเผชิญอย่างไรดี โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย นับเป็นเรื่องจำเป็นที่แม่หลังคลอดต้องศึกษาถึงปัญหาสุขภาพของร่างกายที่อาจไม่เหมือนเดิม  รวมทั้งวิธีดูแลตนเองเพื่อให้กลับมามีสุขภาพแข็งแรง สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ [embed-health-tool-due-date] การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของ แม่หลังคลอด หนาวสั่น อาการหนาวสั่นอาจเกิดขึ้นได้ทันทีหลังคลอด และอาจเกิดในช่วงที่กำลังจะคลอดลูกได้ด้วย ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการหัวเข่าสั่นอย่างหนักเมื่อคลอดออกมาแล้ว หรือรู้สึกหนาวสะท้านในช่วงที่กำลังเย็บแผลหลังคลอด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ซึ่งมีหน้าที่สะสมน้ำเอาไว้ร่างกาย เพื่อคอยทดแทนการเสียเลือดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้คุณแม่เกิดอาการหนาวสั่น หลังคลอดประมาณ 2-3 วัน หรืออย่างช้าคือไม่เกิน 6 สัปดาห์ เหงื่อออกมาก ในช่วงสองสามคืนแรกหลังคลอด คุณแม่มักมีเหงื่อออกมาก เนื่องจากร่างกายระบายของเหลวที่เกิดจากการตั้งครรภ์ออกมา และอาจมีของเหลวไหลออกมาจากหัวนมได้ด้วย นอกจากนี้คุณแม่ยังอาจมีอาการเลือดออกหลังคลอดต่อไปอีกประมาณ 6 สัปดาห์ หรือที่เรียกกันว่า “น้ำคาวปลา (Lochia)” นั่นเอง อาการเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน อาการปัสสาวะเล็ด อาจทำให้คุณแม่ตื่นมาแล้วพบว่าเนื้อตัวและที่นอนเปียกแฉะ จนต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือตากที่นอนบ่อย ๆ ทางแก้คือ คุณแม่หลังคลอดควรปูผ้ายางกันเปียกบนที่นอน หรือใช้ผ้าขนหนูรองนอน  อาการเจ็บปวดหลังคลอด อาการเจ็บปวดหลังคลอด มักเกิดขึ้นเพราะมดลูกกำลังบีบรัดตัวเพื่อให้กลับเข้าสู่ขนาดปกติ นอกจากนี้คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บปวดรุนแรงในขณะให้นมลูก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปกับคุณแม่หลังคลอด อาการเจ็บปวดนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 5-7 วัน แต่อาการเจ็บปวดนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นหากคุณแม่เคยคลอดลูกมาแล้วหลายครั้ง และมีรายงานว่า ผู้หญิงบางคนที่มีลูกหลายคนจะมีอาการเจ็บปวดหลังคลอดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยความเจ็บปวดนี้อาจรุนแรงยิ่งกว่าตอนเจ็บท้องก่อนคลอด ฉะนั้น หากคุณแม่ท่านใดตั้งใจจะมีลูกหลายคน อาจต้องเตรียมตัวรับมือกับอาการเจ็บปวดหลังคลอดด้วย […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

ลดน้ำหนักหลังคลอด ทำอย่างไรถึงจะได้ผล

ลดน้ำหนักหลังคลอด เป็นกิจกรรมหลังคลอดที่คุณแม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์ทำให้มีน้ำหนักส่วนเกิน เมื่อคลอดบุตรแล้ว น้ำหนักที่ยังคงเหลืออยู่อาจทำให้เกิดภาวะเครียดหลังคลอดได้ ทั้งนี้ คุณแม่ที่ต้องกาลดน้ำหนักหลังคลอดอาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อกู้หุ่นให้กลับมาสวยปังดังเดิมและสุขภาพแข็งแรงพร้อมดูแลลูกน้อยต่อไป ลดน้ำหนักหลังคลอดต้องปรับพฤติกรรมอย่างไร ลดน้ำหนักหลังคลอด มีประโยชน์หลายประการ ไม่ใช่เพียงแต่การสร้างหุ่นสวยเท่านั้นแต่หมายถึงการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย 1. ปรับตัวเองให้ดูดี มีความสุขกว่าที่เคย แม้ว่าการเลี้ยงลูกนั้นจะทำให้คุณแม่เหนื่อย จึงรู้สึกต้องการพักผ่อนนอนหลับมากกว่าลุกขึ้นมาทำกิจกรรมในยามว่าง แต่จริง ๆ แล้วคุณแม่ควรสร้างตัวเองให้รู้สึกกระฉับกระเฉง เดินบ่อย ๆ ทำงานบ้าน ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้ขยับบ้างแต่ไม่ต้องถึงขั้นหักโหม การทำเช่นนี้จะช่วยให้น้ำหนักจะค่อย ๆ ลดลงไปโดยอัตโนมัติ 2. ปรับวิธีการรับประทานอาหาร อาหารนับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยลดน้ำหนักหลังคลอด คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการเลือกอาหารดังนี้ เลือกอาหารที่ต้ม อบ หรือ นึ่ง แทนอาหารทอด แต่เน้นย้ำว่าต้องครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อและ ‘ห้ามอดอาหาร’ เด็ดขาด ยิ่งคุณแม่ต้องให้นมลูกน้อยด้วยแล้ว การได้รับสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่อาจปรับประเภทของอาหาร โดยเลือกลดปริมาณอาหารที่จะทำให้ร่างกายยิ่งสะสมไขมัน เคี้ยวช้า ๆ หม่ำคำเล็ก ๆ แม้ว่าคุณแม่ต้องรีบรับประทานอาหารเพื่อจะได้มีเวลาดูแลลูกน้อยมากที่สุด แต่การรับประทานอาหารแบบรีบ ๆ จนทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดนั้นจะยิ่งทำให้อิ่มเร็ว หิวบ่อย เมื่อหิวบ่อย ๆ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

สาเหตุของปัสสาวะเล็ด หลังคลอด และการดูแลตัวเอง

ปัสสาวะเล็ด หลังคลอด อาจเกิดขึ้นจากการที่อุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง หย่อนคล้อย ทำให้ไม่สามารถรองรับและควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ดีพอ จนทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ด หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น มดลูกขยาย น้ำหนักตัวมาก การดูแลตัวเองอาจช่วยบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดหลังคลอดได้ อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ ปัสสาวะเล็ด หลังคลอด หากจะเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ ว่า การคลอดลูกก็เหมือนการผลิตสินค้าล็อตใหญ่ในโรงงาน กว่าจะได้สินค้าล็อตใหญ่ออกมา เครื่องจักรต่าง ๆ ต้องทำงานกันจนเครื่องร้อน การคลอดลูกก็เช่นกัน  อวัยวะต่าง ๆ ต้องทำงาน ‘อย่างหนัก’ และสอดประสานกันเพื่อให้การคลอดเด็กเป็นไปอย่างสำเร็จ บางครั้งก็อวัยวะก็ทำงานหนักจนทรุดไปเล็กน้อย อย่างเช่น อุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นส่วนรองรับมดลูกกับกระเพาะปัสสาวะเอาไว้ เมื่อการคลอดลูกส่งผลให้อุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง หรือหย่อนลงมา ก็ส่งผลต่ออาการมือไม้อ่อนแรง หยิบจับอะไรก็ลำบาก มากไปกว่านั้น เมื่ออุ้งเชิงกรานหย่อน การกลั้นและควบคุมปัสสาวะก็ทำได้ยากเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น การที่คุณแม่หลังคลอดฉี่เล็ด ฉี่ไหล จนควบคุมได้ลำบาก ก็มาจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คุณแม่ผ่านการคลอดบุตรมาแล้วหลายคน การที่มดลูกขยายใหญ่จนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่และยังไม่คลอด สามารถป้องกันได้ในส่วนหนึ่ง ด้วยการไม่รับประทานของไขมันเยอะจนน้ำหนักขึ้นมากเกินไป เพราะหากแม่ตั้งครรภ์อ้วนมากจะทำให้คลอดยาก และทำให้อุ้งเชิงกรานยิ่งทำงานหนักขึ้นจนหย่อนมากกว่าปกติ การดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด ควรรับมืออย่างไร

ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด อาจเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก นอกจากนี้ ยังมีอารการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะรั่ว ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะติด ๆ ขัด ๆ ปัสสาวะแล้วแสบ ซึ่งอาการดังกล่าวมีที่มาจากหลายสาเหตุมาก ดังนั้น การดูแลตัวเองหลังคลอด จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่หลังคลอดควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี [embed-health-tool-ovulation] ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด เกิดจากอะไร อาการปัสสาวะไม่ออก  (Urinary Retention หรือ UR) อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ระหว่างการคลอด ศีรษะของทารกได้ไปกดกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะไว้ ส่งผลทำให้ท่อปัสสาวะบวมหรือบอบช้ำ จนทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการปัสสาวะลำบากหรือปัสสาวะไม่ออก อาจเกิดจากความเจ็บปวดบริเวณแผลฝีเย็บตอนที่คลอดลูกออกทางช่องคลอด จึงส่งผลให้คุณแม่ปัสสาวะได้ไม่คล่อง ปัสสาวะแล้วมีอาการแสบขัด อาจเกิดจาปกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) หรือท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) ซึ่งควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา สำหรับการคลอดของคุณแม่บางราย คุณหมออาจช่วยคลอดโดยใช้คีม (Foreceps Extraction) หรือการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Extraction) เพื่อดึงศีรษะเด็กออกมา จึงอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะบอบช้ำ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะบวมแดง และทำให้คุณแม่พบกับภาวะปัสสาวะไม่ออกได้ วิธีรับมือกับอาการ ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด หากคุณแม่หลังคลอดมีอาการปัสสาวะไม่ออกที่ไม่ได้มีผลมาจากอาการติดเชื้อหรืออักเสบควรไปพบคุณหมอ แต่สำหรับวิธีรับมือกับอาการปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด อาจลองปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังนี้ ดื่มน้ำให้มาก ๆ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อยู่ไฟ การดูแลสุขภาพหลังคลอดแบบไทยๆ คืออะไร

อยู่ไฟ เป็นการช่วยฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่หลังคลอดโดยใช้ความร้อนจากไฟ ซึ่งปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเพราะเชื่อว่าการอยู่ไฟจะช่วยปรับสมดุลร่างกาย ขับของเสียออกจากร่างกาย ทำให้สุขภาพคุณแม่โดยเฉพาะร่างกายและระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงคืนกลับสู่สภาพเดิมก่อนคลอดได้อย่างรวดเร็ว แต่การอยู่ไฟแบบสมัยก่อนและการอยู่ไฟในปัจจุบันนี้มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร [embed-health-tool-due-date] การ อยู่ไฟ คืออะไร อยู่ไฟ คือ การใช้ความร้อนจากไฟช่วยฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่หลังคลอดให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งที่มาของการอยู่ไฟมาจากความเชื่อในสมัยโบราณว่า การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อเส้นเอ็นบริเวณหลังและขาถูกกดทับเป็นเวลานาน จากการตั้งครรภ์ทำให้ปวดเมื่อย  การเสียเลือดระหว่างคลอดบุตร ทำให้ร่างกายขาดความอบอุ่น เป็นสาเหตุของอาการหนาวสั่น ทั้งนี้ การอยู่ไฟช่วยปรับสมดุลร่างกายให้แข็งแรงขึ้นโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการเกิดโรคแทรกซ้อนเนื่องจากสภาพร่างกายที่ไม่ค่อยแข็งแรงของคุณแม่หลังคลอดนั่นเอง การอยู่ไฟแบบดั้งเดิมเป็นอย่างไร วิธีการอยู่ไฟในสมัยโบราณ หญิงที่เพิ่งคลอดลูกจะอยู่ไฟในกระท่อมมุงจาก เรียกว่า เรือนไฟ ซึ่งอยู่ในพื้นที่แคบ ๆ และมีอุณหภูมิอุ่นไปจนถึงค่อนข้างร้อน โดยภายในเรือนมีกระดานที่ทำจากแคร่ หรือเรียกว่า กระดานไฟ ตั้งไว้ระดับเดียวกับพื้น โดยให้คุณแม่มือใหม่นอนบนแคร่ ในท่าตะแคงที่เรียกว่า เข้าตะเกียบ เพื่อให้แผลฝีเย็บติดกัน และก่อเตาไฟอยู่ข้าง ๆ มีคนคอยดูแลควบคุมความร้อนด้วยการพรม หรือราดน้ำลงบนเตาไฟเมื่ออุณหภูมิสูงเกินไป โดยหญิงที่เพิ่งคลอดบุตรจะต้องอยู่เรือนไฟเป็นเวลา 7-15 วัน ห้ามออกไปข้างนอกเด็ดขาด เพราะจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลไม่ทันส่งผลให้เจ็บป่วยได้ หากอยู่ไฟครบตามเวลาจะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย วิธีการ อยู่ไฟ ในปัจจุบัน วิธีการ อยู่ไฟ สมัยโบราณค่อนข้างลำบาก และไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่ไม่เอื้ออำนวย ปัจจุบันนี้ จึงมีการประยุกต์วิธีการอยู่ไฟ โดยคงภูมิปัญญาเดิมด้วยการใช้ความร้อน แต่ปรับเปลี่ยนให้สามารถทำได้ง่ายที่สุด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาหารบำรุงฟื้นฟูคุณแม่ ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก มีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงฟื้นฟูคุณแม่ สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก เนื่องจากจะช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายของคุณแม่ให้กลับมาแข็งแรง รวมถึงยังช่วยเสริมสร้างสารอาหารสำคัญในน้ำนมแม่ที่ลูกน้อยต้องการอีกด้วย  ดังนั้น คุณแม่มือใหม่จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย บำรุงทั้งสุขภาพคุณแม่เองและสุขภาพลูกน้อย รวมทั้งพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจที่สมวัย [embed-health-tool-ovulation] อาหารบำรุงฟื้นฟูคุณแม่ มีอะไรบ้าง อาหารบำรุงฟื้นฟูคุณแม่ นอกจากจะช่วยบำรุงร่างกายของคุณแม่หลังคลอดแล้ว ยังอาจมีส่วนช่วยบำรุงร่างกายของทารกที่กินน้ำนมแม่อีกด้วย โดยอาหารบำรุงฟื้นฟูคุณแม่อาจมีดังนี้ โปรตีนอาจช่วยเรื่องพัฒนาการของทารก พัฒนาการของทารกเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนให้ความสำคัญ ดังนั้น การกินอาหารที่มีโปรตีนสูงอาจช่วยในเรื่องของพัฒนาการของทารกผ่านการดื่มนม โดยโปรตีนที่คุณแม่ควรได้รับ คือ ประมาณ 54 กรัม แต่สำหรับคุณแม่บางคนอาจต้องการโปรตีนมากกว่านี้ ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว โฟเลตอาจช่วยป้องกันความพิการ โฟเลตอาจจะช่วยในเรื่องของการป้องกันความพิการให้แก่ทารก ทั้งยังอาจช่วยป้องกันความพิการทางสมองและไขสันหลังได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่อุดมด้วยโฟเลต ได้แก่ ธัญพืช ถั่ว อะโวคาโด ไอโอดีนอาจช่วยพัฒนาสมอง ไอโอดีนอาจช่วยในเรื่องของการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ทั้งยังช่วยในเรื่องของการพัฒนาของสมอง การพัฒนาระบบประสาท ดังนั้น ช่วงในที่คุณแม่ยังต้องให้นมแก่ทารกอาจต้องได้รับสารไอโอดีนในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยอาหารที่เป็นแหล่งของไอโอดีน ได้แก่ อาหารทะเล นม ผัก สังกะสีอาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน สังกะสี ถือเป็นสารอาหารที่อาจช่วยในเรื่องของการกระตุ้นและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยคุณแม่ที่อยู่ในระยะให้นมลูก ควรได้รับสังกะสีประมาณ 10 มิลลิกรัม/วัน เพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันให้กับทารก ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี ได้แก่ ซีเรียลธัญพืช นม อาหารทะเล ถั่ว วิตามินเออาจช่วยสร้างความแข็งแรง คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกอาจต้องได้รับอาหารที่มีวิตามินเอมากพอสมควร เนื่องจาก วิตามินเออาจช่วยในการสร้างความแข็งแรงให้กับทารก ทั้งยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับการต่อสู่กับเชื้อโรคอีกด้วย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน