สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพคุณแม่ เพิ่มเติม

ช่วงเวลาหลังคลอด

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาหารบำรุงน้ำนม มีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงน้ำนม หมายถึง อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงระยะให้นมบุตร ที่จะช่วยเสริมสร้างให้น้ำนมแม่มีคุณค่าสารอาหารเพียงพอต่อพัฒนาการของทารก  รวมทั้งช่วยเสริมสร้างสุขภาพคุณแม่ให้แข็งแรง ดังนั้น คุณแม่ควรศึกษาถึงประโยชน์ของอาหารบำรุงน้ำนม รวมทั้งรายชื่อของอาหารบำรุงน้ำนมว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะได้เลือกรับประทานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] โภชนาการสำหรับคุณแม่ให้นมลูก หญิงตั้งครรภ์และหญิงระยะให้นมบุตร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วนและหลากหลาย เพื่อเสริมให้น้ำนมมีคุณภาพ และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย รวมทั้งเพื่อให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรง  สารอาหารสองกลุ่มที่จัดเป็นสารอาหารบำรุงน้ำนมควรรับประทานมีดังนี้ สารอาหารกลุ่มที่หนึ่ง สารอาหารกลุ่มนี้เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อย โดยสารอาหารในกลุ่มนี้จะถูกส่งผ่านไปยังน้ำนม ช่วยให้น้ำนมมีความเข้มข้นขึ้น แต่ถ้าหากคุณแม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ เด็กก็จะไม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ผ่านทางน้ำนม ได้แก่ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 โคลีน (Choline) วิตามินเอ วิตามินดี ซีลีเนียม ไอโอดีน สารอาหารกลุ่มที่สอง สารอาหารในกลุ่มนี้ไม่ได้มีส่วนช่วยเพิ่มความเข้มข้นของน้ำนมแม่เช่นเดียวกับสารอาหารกลุ่มที่หนึ่ง แต่สารอาหารในกลุ่มที่สองนี้จะเน้นเสริมสร้างสุขภาพของคุณแม่ให้แข็งแรง ได้แก่ โฟเลต แคลเซียม ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี อาหารบำรุงน้ำนม มีอะไรบ้าง แม่ให้นมลูก ควรเน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อน้ำนมและสุขภาพของตนเอง ดังนี้ ธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสีแบบเต็มเมล็ด หรือโฮลเกรน (Whole Grains) เป็นอาหารที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม การรับประทานธัญพืชที่ไม่ขัดสีเป็นประจำ สามารถช่วยในการผลิตน้ำนมได้ นอกจากนั้น ยังมีไฟเบอร์ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ปลา ปลา เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์หลายชนิด แต่สำหรับคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการให้นมลูก ควรเน้นรับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 […]


เคล็ดลับดูแลคุณแม่

การนวดหลังคลอด ประโยชน์และข้อควรระวัง

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนอาจประสบปัญหาปวดเมื่อยเป็นประจำ จนต้องบรรเทาอาการด้วยการนวด แล้วรู้ไหมว่า การนวดไม่ได้ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เท่านั้น เพราะคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก ก็สามารถเข้ารับการนวดเพื่อบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังคลอดลูก เช่น อาการเจ็บปวด ความเครียด ได้ด้วย การนวดหลังคลอด คืออะไร การนวดหลังคลอด เป็นการนวดบำบัดทั่วร่างกายของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก ที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดระหว่างตั้งครรภ์และการนวดหลังคลอด โดยใช้รูปแบบการนวดเดียวกันกับวิธีการนวดบำบัดทั่วไป เช่น การนวดกดจุด การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า การนวดแบบสวีดิช การนวดแบบผสมผสาน แต่ปรับให้เหมาะสมกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก โดยปกติ หลังคลอดลูกแล้ว หากคุณแม่ตัดสินใจเข้ารับการนวดหลังคลอด จะต้องนวดทุกวัน เป็นเวลาประมาณ 40 วัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแม่เองด้วย ประโยชน์ของการนวดหลังคลอด การนวดหลังคลอด มีประโยชน์ดังนี้ ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่ สำหรับคุณแม่คนไหนที่อยากเพิ่มน้ำนม เราแนะนำให้คุณลองเข้ารับการนวดหลังคลอดดู เพราะวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ร่างกายของคุณผลิตน้ำนมได้เยอะขึ้น โดยงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2563 เผยว่า การบำบัดด้วยการนวดหลังและการกดจุดส่งผลให้ระดับฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ของคุณแม่ที่เพิ่งเคยคลอดลูกครั้งแรก สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งฮอร์โมนโพรแลกทินนี้จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งน้ำนม ช่วยบรรเทาอาการบวมน้ำ การนวดหลังคลอดช่วยบรรเทาปัญหาตัวบวมน้ำ ซึ่งคุณแม่หลายคนประสบในช่วงคลอดลูกได้ เพราะเมื่อนวดแล้ว จะทำให้ของเหลวในร่างกายกระจายไปทั่วร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นการระบายและการไหลเวียนของของเหลวส่วนเกิน ไม่ให้คั่งอยู่จนเกิดอาการบวมน้ำด้วย ช่วยให้ฮอร์โมนเป็นปกติ การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพอย่างหนึ่งที่คุณแม่หลังคลอดส่วนมากต้องพบเจอก็คือ ปัญหาฮอร์โมนแปรปรวน แต่ปัญหานี้ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยการนวดน้ำมันหอมระเหย เพราะนวดแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ทั้งยังช่วยให้อารมณ์เป็นปกติด้วย ช่วยให้หลับได้ดีขึ้น การเป็นคุณแม่มือใหม่อาจทำให้คุณไม่ค่อยมีเวลานอนหลับพักผ่อนเท่าไหร่นัก แต่หากคุณเข้ารับการนวดบำบัด ก็จะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย […]


เคล็ดลับดูแลคุณแม่

เต้านม ของคุณแม่จะเปลี่ยนไปหรือไม่ หลังให้นมลูก

ขนาดและรูปทรงของ เต้านม สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิตของผู้หญิง โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ และช่วงให้นมลูก การเปลี่ยนแปลงของ เต้านม คุณแม่ เมื่อให้นมลูก การ ให้นมลูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากจากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ไม่เคยให้นมลูกอาจมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจกำลังมีคำถามว่าหลังให้นมลูก เต้านมจะเปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า การเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านมนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีเนื้อเยื่อไขมันมากแค่ไหน และการสร้างน้ำนมจะสร้างเนื้อเยื่อหนาแน่น (Denser Tissue) ในเต้านม โดยหลังจาก ให้นมลูก ทั้งกล้ามเนื้อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ในเต้านมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเต้านมของผู้หญิงหลัง ให้นมลูก อาจเปลี่ยนขนาดและรูปทรง เช่น มีขนาดและรูปร่างเหมือนกับตอนก่อนให้นมลูก หรือผู้หญิงบางคนมีเต้านมใหญ่ขึ้น และบางคนมีขนาดลดลง อย่างไรก็ตาม มีคุณแม่หลายคนที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับเต้านมเลย มากไปกว่านั้น เรื่องความหย่อนคล้อยหรือความเต่งตึงของเต้านมนั้น มักจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ด้านพันธุศาสตร์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ และอายุ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เต้านมของคุณแม่ เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เต้านม หย่อนคล้อย เวลา ให้นมลูก การผลิตน้ำนม สามารถทำให้ผิวและเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมขยาย และหลังจากหยุดให้นมลูก โครงสร้างการผลิตน้ำนมอาจหดตัวกลับมาสู่ขนาดปกติ เหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาเต้านมหย่อนคล้อย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย อย่างไรก็ตาม […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

หลังผ่าคลอด ฟื้นฟูร่างกายให้เร็วขึ้นได้ด้วยวิธีใดบ้าง

หลังผ่าคลอด คือช่วงเวลาหลังการผ่าตัดเพื่อนำทารกออกมาจากครรภ์มารดา อาจเป็นการผ่าคลอดแบบปกติ หรือการผ่าคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งการผ่าคลอดในผู้ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เพื่อช่วยชีวิตทารก หรือตัวคุณแม่ไว้ให้ปลอดภัยที่สุด เมื่อผ่าคลอดเสร็จแล้ว คุณแม่อาจต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วันเพื่อพักฟื้นร่างกาย หากต้องการผ่าคลอด ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-due-date] หลังผ่าคลอด มีวิธีดูแลร่างกายอย่างไรบ้าง หลังผ่าคลอด คุณแม่อาจรู้สึกอ่อนเพลียและเจ็บแผลผ่าตัด ควรพยายามพักผ่อนและค่อย ๆ ดูแลตนเองตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อฟื้นฟูร่างกายและแผลผ่าตัดด้วยวิธีต่อไปนี้ นอนหลับให้เพียงพอ การผ่าคลอดเหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ที่ร่างกายต้องการเวลาในการฟื้นฟูหลังผ่าตัด โดยปกติ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่มักพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณ 3-4 วัน หรือตามที่คุณหมอเห็นสมควร หลังจากนั้น คุณแม่ที่ผ่าคลอดควรพักฟื้นร่างกายอย่างน้อย 6 สัปดาห์ขึ้นไป และเพื่อให้เกิดการเยียวยาร่างกายอย่างเต็มที่ จึงควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม การพักผ่อนหลังคลอดสำหรับคุณแม่ อาจทำได้ยาก เนื่องจากต้องดูแลทารก ดังนั้น คุณแม่จึงควรนอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดในเวลาที่สามารถนอนได้ เช่น ตอนที่ลูกหลับ นอกจากนี้ อาจขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดหรือจ้างแม่บ้านในการทำงานบ้าน และงานอื่น ๆ เพื่อให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้นหลังผ่าคลอด ระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แม่หลังผ่าคลอดควรระมัดระวังและดูแลตนเองมากเป็นพิเศษในช่วงแรก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลงบันได เท่าที่จะทำได้ และไม่ควรยกของหนัก เพราะโดยปกติแล้วอาจใช้เวลาถึง 8 สัปดาห์กว่าจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ และคุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด ควรปรึกษาคุณหมอ กรณีที่ต้องการออกกำลังกาย […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

หลังคลอด เป็นช่วงเวลาหลังจากการตั้งครรภ์สิ้นสุดลง ซึ่งตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์นั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น น้ำหนักขึ้น เท้าบวม เอ็นข้อมืออักเสบ แต่รู้หรือไม่ว่าหลังคลอดแล้วร่างกายยังคงมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งอาการบางอย่างอาจเป็นเรื่องที่คุณแม่อาจไม่ทันคาดคิดมาก่อน ดังนั้น คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ใกล้คลอด และคุณแม่ที่คลอดลูกแล้ว ควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจะได้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลังคลอดได้อย่างเข้าใจและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง รู้หรือไม่ว่า หลังคลอด ร่างกาย ฮอร์โมน อารมณ์ ของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจ เครียด เพราะไม่รู้ว่าควรจัดการกับตนเองอย่างไร ทั้งนี้ หากคุณแม่ทราบถึงภาวะที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยให้เตรียมตัวรับมือได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ ความต้องการทางเพศลดลง ช่วงเวลา หลังคลอด คุณแม่มือใหม่อาจมีความต้องการทางเพศลดลง โดยผู้หญิงบางคนอาจใช้เวลาเป็นปี กว่าที่จะรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศอีกครั้ง เพราะหลังจากคลอดลูก คุณแม่มักจะใช้เวลาไปกับลูก จึงทำให้แทบจะไม่มีเวลาสำหรับตัวเอง รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่เดือน หลังคลอดลูก คุณแม่มือใหม่มักรู้สึกเหนื่อย และอาจไม่ต้องการที่จะมีช่วงเวลาโรแมนติกกับคนรัก และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จะสูงขึ้นตอนที่คุณตั้งครรภ์ และจะลดลงทันทีหลังคลอด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนดังกล่าวอาจส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง และอาจต้องใช้เวลาสักระยะกว่าจะกลับมามีความต้องการทางเพศเหมือนเดิม หน้าท้องใหญ่ คุณแม่มือใหม่มักคาดหวังว่า หลังคลอดลูก หน้าท้องจะกลับไปมีขนาดเท่าเดิมโดยทันที แต่ความจริงแล้วอาจต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ก่อนที่มดลูกจะกลับมามีขนาดเท่ากับช่วงก่อนตั้งครรภ์ นอกจากนี้ หน้าท้องมักมีลักษณะแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย และอาจดูเหมือนกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ 5 […]


เคล็ดลับดูแลคุณแม่

5 สาเหตุที่ทำให้ น้ำหนักหลังคลอด ไม่ลดลง

หลังจากผ่านพ้นการตั้งครรภ์ยาวนานกว่า 9 เดือน สิ่งหนึ่งที่คุณแม่หลายคนอาจให้ความสนใจก็คือ น้ำหนักหลังคลอด ที่อาจเพิ่มขึ้นมาอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ โดยสาเหตุที่อาจทำให้น้ำหนักหลังคลอดไม่ยอมลดลง อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย การสะสมของไขมัน ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้น้ำหนักหลังคลอดของคุณแม่กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักหลังคลอดไม่ลดลง คุณแม่แต่ละท่านอาจมีความสามารถในการลดน้ำหนักหลังให้กำเนิดลูกแตกต่างกันไป คุณแม่หลายท่านอาจสามารถลดน้ำหนักจนเหลือเท่ากับช่วงก่อนตั้งครรภ์อย่างรวดเร็วตามที่ตั้งใจไว้ ในขณะที่บางท่านต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าน้ำหนักจะลด ในความเป็นจริง ยังมีคุณแม่บางส่วนที่น้ำหนักตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังคลอด จนกระทั่งกลายเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คุณแม่อาจต้องทุ่มเทอย่างมาก เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวกลับมาเท่ากับช่วงก่อนการตั้งครรภ์ มีปัจจัยหลายประการ ที่อาจทำให้การลดน้ำหนักหลังตั้งครรภ์เป็นเรื่องยาก ดังนี้ ความเครียดและความเหนื่อยล้า ทั้งสองสิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมดาของพ่อแม่มือใหม่ในช่วงเดือนแรก หลังคลอด ความเครียดและความเหนื่อยล้าเป็นตัวกระตุ้นให้อยากรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้เป็นพลังงาน นี่จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การลดน้ำหนักกลายเป็นเรื่องยากนั่นเอง พักผ่อนไม่เพียงพอ หลังคลอด คุณแม่หลายท่านมักประสบกับปัญหาการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สามารถเป็นสาเหตุของความเครียดและความเหนื่อยล้าได้ โดยการนอนหลับไม่เพียงพอนั้นจะไปรบกวนระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับความอยากอาหาร ความเครียดจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เมื่อระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานช้าลงจึงทำให้ไขมันสะสมในร่างกายมากขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ระดับของคอร์ติซอลในร่างกายสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้หากคุณแม่นั้นออกกำลังกายมากเกินไป ไม่ออกกำลังกาย การไม่ออกกำลังกาย หรือแทบจะไม่ออกกำลังกายเลยนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้พลังงานที่ได้รับสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้การเผาผลาญของร่างกายทำงานช้าลง ยิ่งไปกว่านั้น ระบบเผาผลาญในร่างกายก็จะทำงานช้าลงตามอายุที่มากขึ้นด้วย การสะสมไขมันหลังคลอด ร่างกายของคุณแม่นั้นสะสมไขมันไว้ก่อนการคลอดเพื่อเตรียมพลังงานไว้สำหรับการให้นมลูก ไขมันที่ร่างกายสะสมไว้นี้จะไม่หายไปโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประเด็นนี้ สอดคล้องกับข้อมูลขององค์กร La […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ร่างกายหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ดูแลตนเองอย่างไรดี

ร่างกายหลังคลอด หมายถึง สุขภาพด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากตั้งครรภ์และคลอดทารก ซึ่งในเบื้องต้นร่างกายจะค่อยๆ กลับคืนสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ ทั้งระดับฮอร์โมนต่าง ๆ และรูปร่างภายนอก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจด้วย คุณแม่มือใหม่ควรรู้จักวิธีรับมือกับร่างกายหลังคลอดเพื่อจะได้เข้าใจสภาวะดังกล่าวและมีความสุขมากขึ้น เข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของ ร่างกายหลังคลอด  หลังคลอดทารก ร่างกายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงกลับสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้ บาดเจ็บกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบโดยทั่วไปภายหลังการคลอดบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณแขน ต้นคอ และกราม ภาวะเลือดออกหรือมีของเหลวออกมาทางช่องคลอด อาจมีอาการตั้งแต่ 2 ถึง 4 สัปดาห์ และอาการจะค่อย ๆ หายไปภายใน 2 เดือน มดลูกหดตัว อาจใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ที่มดลูกจะกลับเข้าสู่สภาวะเดิมก่อนการคลอด อาการเจ็บในช่องคลอด คุณแม่หลังคลอดอาจรู้สึกระคายเคือง ชา หรือเจ็บในช่องคลอด หรือหากผ่าคลอด ฝีเย็บอาจเกิดการปริแตกได้ หรือหากมีการตัดขยายปากช่องคลอด อาจมีอาการเจ็บปวดรุนแรงได้ในบางขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย เจ็บบริเวณท้องน้อย ในกรณีที่ผ่าท้องคลอด อาจมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผล โดยแพทย์อาจจ่ายยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ และอาจเจ็บนานประมาณ 1-2 สัปดาห์ เต้านมคัด เต้านมคัดเป็นอาการที่พบได้เป็นปกติในหญิงที่ให้นมบุตร เนื่องจากเต้านมจะเต็มไปด้วยน้ำนม 3-4 วันหลังการคลอดบุตร ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบน้ำแข็ง หรือประคบร้อนบริเวณเต้านม หรือจะอาบน้ำอุ่นก็ได้เช่นกัน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มักเกิดขึ้นในผู้หญิงหลายคน […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอด สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

ผมร่วงหลังคลอด อาจจะไม่ได้เป็นเพราะความเครียดจากการมีลูก แต่อาจมีสาเหตุมาจากการที่ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ออกซิโทซิน โปรแลคติน ที่เพิ่มสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนปริมาณของเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นก็อาจลดลงอย่างรวดเร็ว และกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหลังคลอด การตั้งครรภ์อาจทำให้ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ออกซิโทซิน โปรแลคติน เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปริมาณของเลือดก็อาจเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติประมาณ 50% แต่ฮอร์โมนต่าง ๆ อาจลดระดับลงอย่างรวดเร็ว โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนฮอร์โมนโปรแลคตินอาจจะยังสูงอยู่หากยังให้ลูกกินนมแม่ นอกจากนี้ ปริมาณของเลือดก็อาจจะค่อย ๆ ลดลง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ฮอร์โมนส่งผลกระทบต่อเส้นผมอย่างไร เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอดลูก ก็อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงจำนวนมาก ซึ่งเทียบไม่ได้กับอาการผมร่วงในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นจะเกิดขึ้นหลังคลอดวันไหนก็ได้เพียงครั้งเดียว แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยผมจะร่วงหนักมากช่วงประมาณ 4 เดือนแรก ฉะนั้น หากลูกน้อยอายุ 2-3 เดือนแล้ว […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

การผ่าคลอด กับเคล็ดลับการดูแลตัวเองเพื่อพักฟื้นร่างกาย

การผ่าคลอด คือช่วงเวลาหลังการคลอดบุตรโดยวิธีการผ่าตัด ซึ่งการคลอดบุตรด้วยวิธีนี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าการคลอดธรรมชาติ เนื่องจากมีบาดแผลหน้าท้องที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างมากในช่วงแรกเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย และต้องใช้เวลาในการพักฟื้นมากกว่า แต่ทั้งนี้ มีเคล็ดลับที่อาจช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น สามารถดูแลลูกน้อยได้โดยไม่เจ็บแผลผ่าตัดมากนัก [embed-health-tool-due-date] อาการของร่างกายหลัง การผ่าคลอด โดยส่วนใหญ่แล้ว หลังผ่าคลอด คุณแม่อาจต้องนอนอยู่โรงพยาบาลประมาณสามถึงสี่วัน และเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว ยังจำเป็นต้องระมัดระวังตัวเองในการดูแลแผลรวมทั้งการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวเพื่อหยิบจับสิ่งต่าง ๆ หรืออุ้มลูกน้อย โดยปกติ ต้องใช้เวลาประมาณหกสัปดาห์เต็มในการฟื้นตัวเองอย่างเต็มที่  1 วันผ่านไป: มักได้รับคำแนะนำให้ค่อย ๆ ลุกเดินไปเดินมาในช่วง 12 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยระบายแก๊สในช่องท้อง และควรกินอาหารอ่อน ๆ ที่ไม่ทำให้หนักท้องมากนัก   2 วันผ่านไป: สามารถอาบน้ำได้ตามปกติแล้ว แต่การขับถ่ายอาจจะยังไม่เป็นปกตินัก คุณหมออาจแนะนำให้กินยาที่ช่วยทำให้อุจจาระนิ่ม นอกจากนั้นแล้ว ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก  3 วันผ่านไป: การผ่าคลอดอาจทำให้น้ำนมมาช้ากว่าการคลอดเองตามธรรมชาติ ทั้งนี้ น้ำนมอาจเริ่มไหลในช่วยประมาณวันที่สามหรือวันที่สี่   1 สัปดาห์ผ่านไป: อาจเริ่มรู้สึกดีขึ้นแล้ว เจ็บแผลน้อยลงแต่ยังไม่สามารถยกสิ่งของหนัก ๆ ได้ แต่สามารถอุ้มลูกน้อยได้แล้ว  4 ถึง 6 สัปดาห์ผ่านไป: ความเจ็บปวดจะลดลง […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ลดหน้าท้องหลังคลอด อย่างไรให้ปลอดภัย

ลดหน้าท้องหลังคลอด มักเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกในการดูแลตัวเองนอกเหนือไปจากการดูแลลูกรักอย่างใกล้ชิด แต่ด้วยภารกิจต่าง ๆ อาจทำให้คุณแม่ละเลยหรือไม่มีเวลาที่จะดูตนเองเพื่อลดหน้าท้องหลังคลอดได้ จริง ๆ แล้ว มีหลากวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่กลับมามีหน้าท้องกระชับเรียบตึง สร้างความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้า และที่สำคัญปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ลดหน้าท้องหลังคลอด ใช้เวลานานหรือไม่ โดยปกติ หลังคลอดลูกกว่ากล้ามเนื้อท้องจะกลับมาแข็งแรงและแน่นกระชับได้ อาจต้องใช้เวลาในการออกกำลังกายและดูแลตัวเองประมาณ 9 เดือน นอกจากนี้ การลดหน้าท้องหลังคลอดจะได้ผลช้าหรือเร็วอาจขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายปกติก่อนตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ความถี่ของการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน และพันธุกรรมก็มีส่วนด้วยเช่นกัน โดยผู้หญิงที่มีน้ำหนักขึ้นมาไม่ถึง 14 กิโลกรัม และออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์ ให้ลูกกินนมแม่ และมีลูกคนเดียว อาจมีแนวโน้มที่จะลดหน้าท้องหลังคลอดและลดน้ำหนักได้เร็วกว่าผู้ที่น้ำหนักขึ้นมาเกิน 14 กิโลกรัมระหว่างตั้งครรภ์  ลดหน้าท้องหลังคลอด อย่างไรให้ปลอดภัย ถึงแม้การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร จะช่วยทำให้กลับมามีรูปร่างที่ผอมเพรียวตามปกติได้เร็วขึ้น แต่คุณแม่หลังคลอดไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือจำกัดการรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมได้ หากคุณแม่ต้องการลดหน้าท้องหลังคลอดแบบปลอดภัย อาจลองปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้ ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหม คุณแม่หลังคลอดต้องระลึกไว้เสมอว่า ทารกอยู่ในท้องของคุณแม่มานานถึง 9 เดือน ร่างกายของคุณแม่ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องก็ต้องขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อรองรับขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่โตขึ้น การจะปรับเปลี่ยนหน้าท้องที่ยืดขยายมาถึง 9 เดือนให้กระชับเข้ารูปแบบตอนก่อนท้องต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป   โดยก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย ควรตรวจเช็คสภาพร่างกายตัวเองให้ดีเสียก่อน หรืออาจปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือคุณหมอในการตรวจสอบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ว่าพร้อมสำหรับการออกกำลังกายแล้วหรือยัง คุณแม่ต้องรอให้กล้ามเนื้อตามส่วนต่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน