สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพคุณแม่ เพิ่มเติม

ช่วงเวลาหลังคลอด

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

เคล็ดลับดูแลคุณแม่

ประจำเดือนหลังคลอด อาการ และข้อควรรู้อื่น ๆ

คุณแม่บางคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ประจำเดือนหลังคลอด เช่น นานไหมกว่าจะกลับมามีประจำเดือน ประจำเดือนหลังคลอดต่างจากประจำเดือนปกติอย่างไร การเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประจำเดือนหลังคลอด อาจช่วยให้คุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ทำไมตั้งครรภ์แล้วถึงหยุดมีประจำเดือน ประจำเดือน หรือรอบเดือน คือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือน ถือเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน ร่างกายของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะดำเนินตามวัฏจักรนี้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้น รังไข่จะเริ่มปล่อยไข่ออกมา และร่างกายก็จะเริ่มผลิตฮอร์โมนเพื่อเตรียมช่องคลอดสำหรับรองรับอสุจิ มดลูกจะหนาขึ้นเพื่อเตรียมหล่อเลี้ยงทารก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแค่เพียงไม่กี่วัน แต่เกิดเป็นประจำทุกเดือน หากในช่วงนี้ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดออกมาเป็นเลือดที่เรียกว่า ประจำเดือน แต่หากไข่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ก็จะกลายเป็นตัวอ่อนก็จะฝังตัวลงในเยื่อบุมดลูก หรือที่เรียกว่า การตั้งครรภ์ และร่างกายก็จะไม่ขับเยื่อบุมดลูกนั้นออกไป ทำให้ไม่เกิดเป็นประจำเดือนนั่นเอง ประจำเดือนหลังคลอด แตกต่างจากประจำเดือนปกติอย่างไร หลังคลอดบุตร ร่างกายจะเริ่มปรับตัวเพื่อให้พร้อมกลับมามีประจำเดือนอีกครั้ง โดยอาจแสดงอาการ ดังนี้ เป็นตะคริว มีลิ่มเลือดขนาดเล็ก ประจำเดือนมาก ประจำเดือนไม่คงที่ อาจมีอาการปวดท้อง ระยะเวลาของประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนหลังคลอดในช่วงแรกอาจจะมามากกว่าปกติ และอาจมาพร้อมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องขับเอาเยื่อบุโพรงมดลูกที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ออกไป นอกจากนี้ อาจมีอาการตกขาว เป็นน้ำคาวปลาที่ออกมาจากช่องคลอด ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาอาจมีสีแดงเข้มและมีลิ่มเลือดปะปน ส่วนช่วงวันที่ 4-6 น้ำคาวปลาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีน้ำตาล และวันที่ 7-14 จะมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดอาจมีน้ำคาวปลาน้อยกว่าคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ โดยปกติน้ำคาวปลาจะมีสีแดงสดไม่เกินสัปดาห์แรกหลังคลอด แต่หากผ่านสัปดาห์นั้นไปแล้วยังคงมีสีแดงอยู่ นั่นอาจจะเป็นประจำเดือนได้ ส่วนตกขาวอาจมีกลิ่นเหม็นอับในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด ประจำเดือนตามปกติจะกลับมาตอนไหน หากคุณแม่ต้องให้นมลูกหลังจากคลอด […]


เคล็ดลับดูแลคุณแม่

วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่หลังคลอด เพื่อสุขภาพที่ดีของเต้านม

รู้หรือไม่? มี วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่หลังคลอด ที่จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่หมดปัญหาเรื่องเต้านม โดยคุณสามารถดูแลเต้านมของคุณได้ง่าย ๆ เพียงเริ่มดูแลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ให้นมลูกจนถึงเวลาหย่านม เพื่อสุขภาพที่ดีของเต้านมเราจึงอยากชวนคุณแม่ทุกคนมาเรียนรู้ วิธีดูแล เต้านมของคุณแม่หลังคลอด ถ้าพร้อมแล้วมาลองทำตามไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่หลังคลอด หลังจากการคลอด เต้านมของคุณจะบวมด้วยน้ำนม อาจทำให้บริเวณเต้านมรู้สึกหนักหรือไวต่อความรู้สึกมากเป็นพิเศษ และเกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งคุณแม่สามารถป้องกันหรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับ เต้านมของคุณแม่หลังคลอด ได้ด้วยวิธีดังต่อไปร้ ใส่เสื้อชั้นใน สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ให้นมลูก การเลือกซื้อเสื้อชั้นในที่สามารถรองรับเต้านมได้ดีถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคุณไม่สวมเสื้อชั้นเป็นเวลานาน อาจทำให้เต้านมหย่อนคล้อยได้ การสวมเสื้อชั้นในที่รองรับเต้านมของคุณในการทำกิจกรรมระหว่างวันสามารถช่วยป้องกันความเจ็บปวดและหย่อนคล้อยในขณะให้นมลูก การดูแลผิว ผู้หญิงบางคนอาจมีปัญหาผิวแห้งในบริเวณหน้าอก รวมถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เพื่อลดปัญหาผิวแห้งกร้านแนะนำให้ใช้โลชั่นบำรุงผิวที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณเป็นประจำ การดูแลหัวนม เพื่อป้องกันไม่ให้หัวนมพุพอง เลือดออก และแตก คุณอาจดูแลบริเวณหัวนมด้วยการใช้น้ำนมแม่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือครีมจากดอกดาวเรืองถูบริเวณหัวนม เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว แต่หากอาการหัวนมแตกมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ รับมือกับอาการบวมของ เต้านม ทำการประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวมและปวดเมื่อย นอกจากนี้คุณแม่ยังควรให้นมลูกบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมอุดตันในท่อน้ำนม หากหัวนมแบนเนื่องจากเต้านมบวม ให้บีบน้ำนมออกโดยการนวดและกดหน้าอกของคุณเบา ๆ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุรี่นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ยังอาจส่งผลให้สุขภาพผิวแย่ลง ทำให้ผิวของคุณแม่ขาดความยืดหยุ่น ไม่กระชับ และอาจส่งผลให้เต้านมหย่อนยานได้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าอกหรือหัวนม หลังจากที่ลูกหย่านมแล้ว คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าอกหรือหัวนม เพราะการสัมผัสหน้าอกหรือหัวนมบ่อยครั้งจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมต่อไปโดยไม่จำเป็น ตรวจสอบ เต้านม เป็นประจำ หากคุณมีก้อนเนื้อหรือมีอาการเจ็บหน้าอก ให้รับเข้ารับการตรวจกับแพทย์ในทันที เพราะนั่นอาจเป็นอาการของโรคเต้านมอักเสบ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอุดตันของท่อน้ำนมหรือหัวนมแตก […]


สุขภาพจิตคุณแม่

ปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เกิดจากอะไร และแก้ไขได้อย่างไร

ปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เป็นหนึ่งในปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ที่อาจเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและอารมณ์ได้ ดังนั้น คู่รักจึงควรทำความเข้าใจและหาทางแก้ไขปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เพื่อช่วยรักษาความสัมพันธ์ให้อยู่อย่างยั่งยืนยาวนาน [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เกิดจากอะไร การมีลูกถือเป็นก้าวสำคัญของชีวิตคู่ หรือชีวิตครอบครัว แต่การมีลูกก็อาจสร้าง ปัญหาชีวิตสมรส ให้กับคู่สามีภรรยาหลาย ๆ คู่ได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่การมีลูกอาจส่งผลให้เกิดปัญหาชีวิตสมรสได้ เช่น การอดหลับอดนอนหลังคลอดลูกน้อย นาฬิกาชีวิตของทารกน้อยอาจจะไม่สัมพันธ์กับเวลานอนของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งบางครั้งตอนดึกอาจมีอาการงอแง ร้องไห้หิวนม หรือปวดท้อง ตามประสาของเด็กน้อย และนั่นอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้นอน จนรู้สึกหงุดหงิดง่าย หรือต้องแยกห้องนอน จนส่งผลต่อชีวิตคู่ได้ หน้าที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร ซักผ้า กวาดบ้าน หรืออะไรต่าง ๆ บางครั้งลูกน้อยอาจจะดึงเวลาเหล่านี้ไป ทำให้คุณแม่ไม่สามารถทำงานบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเดิม ปัญหาทางด้านการเงิน เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับใครที่คิดจะมีลูก หรือมีลูกแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายในแต่ละอย่างของพวกคุณจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว เหมือนสำนวน “รายรับซื่อสัตย์ รายจ่ายทรยศ” เนื่องจากจำเป็นจะต้องคำนวณค่าใช้ของลูกน้อยด้วย ไม่ว่าจะค่านม ค่าผ้าอ้อม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกจิปาถะ ไม่มีเวลาให้กันและกัน ไม่มีช่วงเวลาสวีทเหมือนแต่ก่อน เพราะต้องใช้เวลาไปกับการดูแลลูกน้อย และหมดพลังงานไป ทำให้บางครั้งภรรยาอาจละเลยสามีได้ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ออกกำลังกายหลังคลอด กับท่าแนะนำเพื่อคุณแม่ฟิตแอนด์เฟิร์ม

ออกกำลังกายหลังคลอด จะช่วยให้คุณแม่กลับมามีรูปร่างที่ฟิตแอนด์เฟิร์มเหมือนเดิม แต่ท่าทางการออกกำลังกายหลังคลอดควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ และภาวะสุขภาพของตัวคุณแม่เองเป็นสำคัญ ควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมทั้งระยะเวลาในการออกกำลังกาย ทั้งนี้ หากไม่มั่นใจว่าการออกกำลังกายหลังคลอดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่หรือไม่ อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ออกกำลังกายหลังคลอด ดีอย่างไร การออกกำลังกายหลังคลอดมีประโยชน์หลายประการสำหรับร่างกายคุณแม่ รวมไปถึงการเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีด้วย แต่ควรออกกำลังกายหลังคลอดลูกแล้วประมาณ 6 สัปดาห์สำหรับการคลอดธรรมชาติ แต่หากคุณแม่ผ่าคลอด คลอดยาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด อาจจะต้องรอเวลานานกว่านั้น โดยข้อดีของการออกกำลังกายหลังคลอด ได้แก่ ลดน้ำหนัก กำจัดสัดส่วนที่เกิน โดยไม่ต้องอดอาหาร ปรับสมรรถภาพหัวใจ และหลอดเลือด ฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปรับสภาพกล้ามเนื้อหน้าท้อง ป้องกันอาการปวดหลัง ปรับอารมณ์ของคุณแม่ให้คลายเครียด และช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ประเภทของการออกกำลังกายหลังคลอด การออกกำลังกายหลังคลอดนั้นสามารถเลือกชนิดของการออกกำลังกายได้หลากหลายประเภทตามความชอบและความถนัด แต่ควรคำนึงถึงสภาพร่างกาย ภาวะสุขภาพของตนเองเป็นสำคัญ หากไม่มั่นใจควรขอคำแนะนำจากคุณหมอ ประเภทของการออกกำลังกายหลังคลอดที่ได้รับความนิยม ได้แก่ เดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ควรมีคือการมีรองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งโดยเฉพาะ ที่สวมใส่สบาย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ว่ายน้ำ การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดี ส่งผลกระทบน้อย และดีสำหรับคุณแม่หลังคลอดด้วย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและได้ออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย แอโรบิคในน้ำ เหมือนการเล่นแอโรบิคทั่วไป แต่ลงไปเล่นในน้ำแทน อาจต้องหาคอร์สแอโรบิคในน้ำที่มีคุณครูผู้ฝึกซ้อมคอยแนะนำ เพื่อจะได้ทำท่าทางที่ถูกต้อง พิลาทิส […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

อาหารหลังคลอด ที่เหมาะสมต่อสุขภาพคุณแม่มีอะไรบ้าง

อาหารหลังคลอด มีความจำเป็นต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่าอาหารที่คุณแม่เลือกรับประทานระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะการรับประทานอาหารหลังคลอดที่เหมาะสมสามารถเพิ่มพลังงานให้กับคุณแม่ และอาจช่วยเพิ่มน้ำนมเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณที่ลูกน้อยต้องการ และอาหารหลังคลอดยังสำคัญต่อการเสริมสร้างคุณค่าน้ำนมได้เป็นอย่างดีและส่งผลให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีสมวัย [embed-health-tool-ovulation] อาหารหลังคลอด ที่เหมาะสมต่อสุขภาพคุณแม่ คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็ว มีพลังงานเพียงพอในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเลี้ยงลูก และความสามารถในการผลิตน้ำนมได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของทารก เนื่องจากนมแม่เป็นแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในวัยแรกเกิด เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยป้องกันการแพ้โปรตีน ป้องกันโรคภูมิแพ้ ทั้งยังมี DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 ที่ช่วยให้สมองและระบบประสาทของเด็กเจริญเติบโตมีการเจริญเติบโตที่ดี การให้นมแม่ยังมีประโยชน์ต่อคุณแม่ด้วย เช่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งรังไข่ ลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ช่วยให้มดลูกหดตัวคืนสภาพเร็วขึ้น อาหารหลังคลอดที่คุณแม่ควรรับประทานเพื่อเพิ่มพลังงาน และอาจช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนม ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี เพราะมีสารอาหารสำคัญอย่างโปรตีน วิตามินบี ใยอาหาร สังกะสี เหล็ก แมกนีเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดอาการท้องผูกหลังคลอด และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวของคุณแม่ ผักหลากสี เช่น หัวปลี มีธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงน้ำนม ขิง อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินบี ช่วยขับเหงื่อ ขับลม […]


สุขภาพจิตคุณแม่

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blues ควรรับมืออย่างไร

วิธีรับมือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด เป็นการจัดการกับภาวะทางอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ระดับฮอร์โมน รวมทั้งสถานะและหน้าที่ความรับผิดชอบ อาจสร้างความกดดันหรือความคาดหวังให้คุณแม่จนเกิดเป็นภาวะเศร้าหลังคลอด ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับภาวะหลังคลอดและหมั่นสังเกตตนเองเพื่อหาวิธีรับมือและกลับมาเป็นปกติเพื่อตักตวงช่วงเวลาแห่งความสุขกับลูกน้อยให้ได้มากที่สุด [embed-health-tool-due-date] ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด คืออะไร ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blue เป็นอาการของหญิงคลอดบุตรที่ไม่สามารถจัดการกับสภาพจิตใจหลังจากคลอดบุตรไปแล้วได้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลา 2-3 วัน หลังคลอดหรือเมื่อกลับมาอยู่บ้าน หรืออาจนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ปกติ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนหลังจากคลอดบุตร รวมทั้งภาวะนอนน้อย อดนอน เนื่องจากต้องตื่นขึ้นมาดูแลลูก รวมไปถึงให้นม จึงทำให้เกิดความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด มีอาการอย่างไร คุณแม่หลังคลอดบุตร อาจสังเกตตนเองว่ามีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดหรือไม่ เพื่อเตรียมรับมือและหาวิธีดูแลตนเอง อารมณ์แปรปรวน เบื่ออาหาร หรือมีความอยากรับประทานอาหารมากขึ้น (ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล) นอนไม่หลับ กลัวการเป็นแม่ที่ไม่ดี กลัวว่าทำหน้าที่เลี้ยงลูกได้ไม่ดีพอ รู้สึกผูกพันกับลูกลดลง มีความวิตกกังวลตลอดเวลา ไม่สามารถมีความสุขกับช่วงเวลาที่ได้เป็นแม่ สาเหตุภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ หลายประการ ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หลังจากคลอดลูก ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายและจิตใจอาจปรับตัวไม่ทันจนเกิดอารมณ์แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หลังจากคลอดลูกแล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งความเจ็บปวดระหว่างคลอดลูกแบบคลอดธรรมชาติและแผลจากการฉีกขาดของช่องคลอด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

หน้าท้องแตกลายหลังคลอด รับมืออย่างไร ให้รอยจางลง

หน้าท้องแตกลายหลังคลอด เป็นปัญหาสุขภาพผิวหนังที่เกิดจากการขยายตัวของหน้าท้องอย่างรวดเร็วเนื่องจากขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น เมื่อผิวหนังมีการยืดออกอย่างรวดเร็วจึงทำให้ชั้นอีลาสตินและคอลาเจนฉีกขาด จนเกิดเป็นรอยแตกลายเห็นบริเวณหน้าท้อง อาการหน้าท้องแตกลายมักค่อย ๆ จางลงไปเองหลังคลอดแต่มักไม่หายไปไปอย่างถาวร แต่ทั้งนี้ ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดอาจเลือกบำรุงผิวเพื่อช่วยบรรเทาอาการหน้าท้องแตกลาย [embed-health-tool-due-date] หน้าท้องแตกลายหลังคลอด เป็นอย่างไร รอยแตกลาย คือ ริ้วรอยที่จัดอยู่ในกลุ่มของรอยแผลเป็นชนิดหนึ่ง มีสีตั้งแต่สีดำ สีน้ำตาล สีชมพู สีน้ำเงิน หรือสีม่วง รอยแตกลายเหล่านี้เกิดจากสาเหตุหลัก ๆ คือการยืดตัวของผิวหนังที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ชั้นอีลาสตินและคอลลาเจนฉีกขาด เกิดเป็นรอยแผลเป็น หรือที่เรียกกันว่ารอยแตกลายนั่นเอง หากเกิดที่หน้าท้องก็จะเรียกว่า หน้าท้องแตกลาย อย่างไรก็ตาม รอยแตกลายนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงหน้าท้องเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดในบริเวณเหล่านี้ได้ด้วย หน้าอก แขน ก้นสะโพก ต้นขา หลังส่วนล่าง ด้วยเหตุนี้ หน้าท้องแตกลาย จึงไม่เพียงพบในผู้หญิงตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ก็สามารถพบกับการแตกลายของหน้าท้องหรือบริเวณต่าง ๆ ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของขนาดครรภ์มีส่วนทำให้ผิวหนังยืดออก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จึงมีแนวโน้มที่จะมีหน้าท้องแตกลายมากกว่าคนทั่วไป หน้าท้องแตกลายหลังคลอด หายเองได้หรือไม่ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า รอยแตกลายถือเป็นรอยแผลเป็นชนิดหนึ่ง และรอยแผลเป็นไม่สามารถที่จะหายไปเองได้ อาจจะมีการจางลงไปบาง แต่ไม่หายขาดอย่างแน่นอน รอยแตกลายก็เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีในยุคสมัยนี้ ทำให้สามารถลบรอยแตกลายที่หน้าท้องหรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ด้วยการเลเซอร์ แต่วิธีการดังกล่าวก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และอาจมีความเสี่ยงอื่น […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ประโยชน์ของการเล่นโยคะหลังผ่าคลอด

หลังการผ่าคลอด คุณแม่ควรพักฟื้นและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังควรดูแลตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะหลังผ่าคลอด เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะออกกำลังกายควรระมัดระวัง ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป และควรเริ่มออกกำลังกายเมื่อคุณหมออนุญาตแล้วเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมาในภายหลัง [embed-health-tool-due-date] หลังผ่าคลอด ออกกำลังกายได้หรือไม่ หลังจากผ่าคลอด คุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่าจะสามารถกลับมาเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้อีกไหม เนื่องจากสภาพร่างกายอาจจะไม่เหมือนช่วงก่อนที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลังจากคลอด คุณแม่สามารถออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเบา ๆ ได้ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด อาจจะยังไม่สามารถออกกำลังกายได้ในทันที จำเป็นจะต้องรอให้แผลผ่าตัดสมานตัวดีก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด  โยคะหลังผ่าคลอด อันตรายหรือไม่ คุณแม่หลายท่านอาจรู้สึกว่าโยคะเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงหรือเคลื่อนไหวมากนัก หลังคลอดคงจะสามารถกลับมาทำโยคะได้เลยทันที แต่ในความเป็นจริงแล้ว โยคะเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ไม่น้อย ดังนั้น สภาพกล้ามเนื้อของคุณแม่หลังคลอดแต่ละท่านอาจจะมีการฟื้นตัวไม่เท่ากัน ฉะนั้น ก่อนที่คุณแม่เพิ่งคลอดจะเล่นโยคะ ก็ต้องคำนึงถึงระดับการฟื้นตัวของสภาพร่างกายหลังคลอดและคำแนะนำของคุณหมอด้วย โดยเฉพาะคุณแม่ที่ผ่าคลอด อาจจะยังไม่สามารถทำโยคะได้ทันที เนื่องจากแผลผ่าตัดยังไม่หายดี ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำโยคะหลังคลอด ควรอยู่ที่ระหว่าง 6-8 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ โยคะหลังผ่าคลอด ดีอย่างไร การทำโยคะหลังผ่าคลอด มีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกายคุณแม่หลังคลอดหลายประการ ดังนี้ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หลังผ่าคลอด ร่างกายของคุณแม่มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามบริเวณคอ บ่า ไหล่ หรือหลังส่วนล่าง การโหมทำกิจกรรมหนัก ๆ จึงเสี่ยงทำให้อาการปวดเมื่อยดังกล่าวแย่ลง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่กับการทำโยคะ เพราะโยคะเป็นกิจกรรมที่เน้นการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนต่าง […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก อะไร และวิธีดูแลผมหลังคลอด

อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่พบหลังคลอดบุตร คือ ภาวะ ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ทั้งนี้ อาการผมร่วงจะเกิดขึ้นประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้นหลังคลอดบุตรแล้ว และไม่ได้เป็นสัญญาณอันตรายต่อปัญหาสุขภาพใด ๆ อย่างไรก็ตาม หลังคลอดบุตร คุณแม่สามารถดูแลตนเองเพื่อให้ผมมีสุขภาพดีและลดโอกาสผมร่วงหลังคลอดซึ่งอาจทำให้รู้สึกกังวลใจได้ [embed-health-tool-due-date] ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก อะไร ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ หลังคลอดบุตรแล้ว เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง อาการผมร่วงจะหายไป และร่างกายจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ ไม่มีวิตามินหรืออาหารเสริมตัวใดที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คุณแม่ทำได้เพียงอดทนและรอเวลาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากภายในระยะเวลา 1 ปี คุณแม่ยังมีอาการผมร่วงอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหารับคำแนะนำหาแนวทางการแก้ไข  เคล็ดลับการดูแล อาการผมร่วงหลังคลอด อาการผมร่วงหลังคลอด เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่หากคุณแม่มีความกังวลใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยเคล็ดลับดังต่อไปนี้  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เน้นรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เพื่อช่วยเสริมสร้างกระบวนการเจริญเติบโตของเส้นผม ใช้หวีซี่ห่าง เพื่อลดแรงเสียดทานขณะหวีผม ช่วยแก้ปัญหาผมพันกัน ลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง ใช้ผ้าคาดผมหรือปิ่นปักผมแทนการใช้ยางรัดผม และควรหลีกเลี่ยงการดึงผมเป็นหางม้ารวบตึง หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม เช่น ใช้ไดร์เป่าผม […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

น้ำคาวปลา คืออะไร เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้

น้ำคาวปลา คือของเหลวที่ร่างกายขับออกมาหลังคลอด ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดลูกแล้ว โดยน้ำคาวปลาจะมีสีแดงคล้ำและกลิ่นคล้ายคาวปลาแต่ไม่แรงเท่า บางครั้งอาจมีเศษเลือด หรือเศษเนื้อเยื่อออกมาด้วย หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะของน้ำคาวปลาว่ามีสี กลิ่น และลักษณะอย่างไร หากพบความผิดปกติจะได้รู้เท่าทันและรับมือได้ [embed-health-tool-ovulation] น้ำคาวปลา คืออะไร น้ำคาวปลา คือ ของเหลวที่ร่างกายขับออกมาหลังคลอด เพื่อระบายเลือด เศษเนื้อเยื่อ และของเหลวต่าง ๆ เช่น น้ำคร่ำ ออกจากมดลูก น้ำคาวปลามักมีสีแดงเข้มในช่วงวันแรก ๆ และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีที่อ่อนลงเมื่อเวลาผ่านไป น้ำคาวปลามีกลิ่นคาวเฉพาะตัว แต่บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็น โดยร่างกายของคุณแม่จะเริ่มขับน้ำคาวปลาออกมา ตั้งแต่ 3 วันแรกหลังจากการคลอดบุตร  น้ำคาวปลา มีกี่ชนิด ชนิดของ น้ำคาวปลาหลังคลอด จะแบ่งออกตามระยะเวลาที่เกิด ดังนี้ ช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีแดงเข้ม ส่วนใหญ่เป็นเลือดที่ถูกขับออกมา และจะไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง คุณแม่อาจควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมง ช่วง 2-6 วันหลังคลอด น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาน้อยลง มีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีแดงอมชมพู  ช่วง 4-10 หรือ 7-10 วันหลังคลอด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน