สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคผิวหนังในเด็ก

กลากน้ำนม อาการ สาเหตุ และการรักษา

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง ที่มักส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี บริเวณผิวหนังจะมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี แห้ง และตกสะเก็ด [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ กลากน้ำนม คืออะไร กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี บริเวณผิวหนังจะมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี แห้ง และตกสะเก็ด กลากน้ำนมพบได้บ่อยเพียงใด  กลากน้ำนมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี  อาการ อาการของกลากน้ำนม ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากน้ำนม มีจะมีผิวสีชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปทรงวงกลมหรือวงรี แห้ง และตกสะเก็ด มีขนาดตั้งแต่ 0.6-2.5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณใบหน้า ต้นแขน คอ หน้าอก หลัง เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม รอยจะจางหายไปได้เองในระยะเวลาไม่กี่เดือน แต่ในบางรายอาจมีอาการเป็นปี และยิ่งเห็นชัดขึ้นในช่วงฤดูร้อน การทาครีมกันแดดจะช่วยบรรเทาให้รอยดูจางลงได้  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล สาเหตุ สาเหตุของกลากน้ำนม ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคกลากน้ำนม แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ไหลตายในเด็กทารก หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี เป็นการเสียชีวิตของเด็กทารกอย่างกะทันหัน โดยไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิตได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความบกพร่องทางสมองในส่วนควบคุมการหายใจ ไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ แต่อาจใช้วิธีดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงขวบปีแรกและพยายามให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงมากกว่านอนคว่ำ [embed-health-tool-”vaccination-tool”] คำจำกัดความไหลตายในเด็กทารก คืออะไร โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) เป็นกลุ่มอาการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในเด็กทารกที่มีสุขภาพดีโดยไม่มีคำอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิต แม้แพทย์จะตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็อาจไม่พบสาเหตุของการเสียชีวิต แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ โรคไหลตายในทารก นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องของสมองทารกในส่วนที่ควบคุมการหายใจและการตื่นตัวจากการนอนหลับ พบได้บ่อยเพียงใด โรคไหลตายในทารก ถือเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่ถือว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเด็กในช่วงอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในช่วงอายุระหว่าง 2-4 เดือน อาการอาการของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก ไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในทารกที่ดูจะเหมือนแข็งแรงดี ควรไปพบหมอเมื่อใด โรคไหลตายในทารก มักจะไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นหรือมีสัญญาณเตือนใด ๆ ที่ควรต้องไปพบคุณหมอ สาเหตุของโรคสาเหตุของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีสาเหตุบางประการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ของโรคสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน ปัญหาสุขภาพลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน (Pigeon Toes) เป็นปัญหาสุขภาพที่มักพบบ่อยในเด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารกจนถึงอายุ 10 ปี มีสาเหตุเกิดจากการขดตัวอยู่ในครรภ์มารดาซึ่งอาจมีพื้นที่คับแคบจนทำให้เกิดการหักปลายเท้าเข้า หรืออาจเกิดจากการบิดตัวของกระดูกในวัยหัดเดิน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตท่าทางและอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อยนับแต่แรกเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน คืออะไร ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน พบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารก จนถึง 10 ขวบ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่อยู่ในมดลูกซึ่งมีพื้นที่คับแคบ จึงทำให้เด็กเกิดการหักปลายเท้าเข้า หรือเกิดจากการบิดตัวของบริเวณกระดูกหน้าแข้งในช่วงวัยกำลังหัดเดินจนทำให้ทรงตัวไม่อยู่ และล้มง่ายในขณะยืน หรือเดิน นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากการที่ครอบครัวเคยมีประวัติของภาวะเท้าบิดเข้าด้านในมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็สามารถเป็นไปได้ว่าเด็กนั้นจะถูกส่งต่อของภาวะดังกล่าวมาจากทางพันธุกรรมถึงพัฒนาการสุขภาพกระดูก และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความผิดปกติของรูปลักษณ์เท้าและขาได้ อาการของ ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน อาการที่เกิดขึ้นกับเด็กแต่ละคนมักแตกต่างกันออกไป ในกรณีที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่สามารถสังเกตได้จากรูปเท้าที่บิดเบี้ยวเข้าหากันจากการสัมผัสบริเวณผิวหน้าท้อง แต่หากคุณแม่มีข้อกังวล และไม่แน่ใจ ก็อาจสามารถเข้ารับการอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ตามการนัดหมายจากแพทย์เพิ่มเติมได้ อีกทั้งกรณีที่ทารกเติบโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยกำลังหัดเดิน คุณแม่อาจตรวจสอบลักษณะของเท้า หรือหน้าแข้งขณะเดิน โดยมักจะมีลักษณะเท้าทั้งสองข้างที่บิดเข้าหากัน และมักจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 3-6 ขวบ การรักษาภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน ภาวะเท้าบิดเข้าด้านในอาจหายไปเองได้ในกรณีที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่หากมีลักษณะที่บิดเข้าด้านในมากจนเห็นได้ชัด หรือทรงตัวไม่อยู่ขณะเดินบ่อยครั้ง […]


สุขภาพเด็ก

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด (Gastroschisis) เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังหน้าท้องในช่องท้องที่ปิดไม่สนิทในทารกแรกคลอด ทำให้ลำไส้ของทารกออกมาอยู่นอกช่องท้องและอาจส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ หลุดออกมาด้วย ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาทันที เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด คืออะไร ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด (Gastroschisis) เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของผนังหน้าท้องในช่องท้องที่ปิดไม่สนิทในทารกแรกคลอด ทำให้ลำไส้ของทารกออกมาอยู่นอกช่องท้องและอาจส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ หลุดออกมาด้วย ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาทันทีหลังคลอด เนื่องจากอาจอันตรายถึงชีวิต ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิดพบได้บ่อยเพียงใด ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิดพบได้บ่อยในทารกแรกคลอด อาการ อาการของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด ทารกที่อยู่ในภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด อาจสูญเสียความร้อนและน้ำอย่างรวดเร็วจากลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีภาวะขาดน้ำและภาวะตัวเย็นเกิน นอกจากนี้ อวัยวะอื่น ๆ อาจยื่นออกมาพร้อมกับลำไส้ เช่น ถุงน้ำดี มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ อัณฑะ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด ในปัจจุบันยังไม่สามารถพบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อง แต่อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมกันร่วมกับปัจจัยสภาพแวดล้อม  ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด ปัจจัยเสี่ยงของภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อ อาจมีดังนี้ อายุต่ำกว่า 20 ปี สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ ดื่มเครื่องแอลกอฮลล์ การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด โดยปกติอาการจะไม่แสดงออกขณะตั้งครรภ์ แต่ในระหว่างการตั้งครรภ์คุณหมออาจสันนิษฐานโรคได้จากการตรวจวัดระดับโปรตีน ที่มีชื่อเรียกว่า อัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha-Fetoprotein หรือ AFP) หากมีระดับโปรตีนสูงกว่าปกติอาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด การรักษาภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด คุณหมออาจใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับทารก ในกรณีที่ทารกมีช่องโหว่บริเวณหน้าท้องขนาดเล็ก คุณหมอจะทำการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะที่ออกมานอกลำไส้กลับเข้าไปสู่ภายช่องท้องในทารก หากทารกมีช่องโหว่ขนาดใหญ่ คุณหมออาจนำ ไซโล ซึ่งเป็นพลาสติกที่ทำขึ้นพิเศษ […]


วัคซีน

ตารางการให้วัคซีนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ตารางการให้วัคซีนในเด็ก อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละประเทศเกี่ยวกับอุบัติการณ์โรค ความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพของวัคซีน ราคาของวัคซีน และสถานการณ์โดยรวมของวัคซีนในประเทศ ซึ่งตารางการให้วัคซีนในเด็กของประเทศไทยนั้นจะถูกกำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นวัคซีนขึ้นพื้นฐานที่เด็กไทยควรได้รับเอาไว้ โดยจะเน้นในเรื่องของวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ตารางฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก ในขณะที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ตัดสินใจว่า จะจำหน่ายวัคซีนในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ทางอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Advisory Committee on Immunization Practice หรือ ACIP) จึงทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำว่าควรให้วัคซีนชนิดใดและเมื่อไหร่ ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้ถูกทางหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics; AAP) และทีมแพทย์ทั่วประเทศ นำมาใช้ในภายหลัง เพื่อใช้ในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกที่ลงคะแนน 15 คน ซึ่งได้รับเลือกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา (United […]


วัคซีน

วัคซีนโควิด-19 ฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่

วัคซีนโควิด-19 สามารถฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัย เนื่องจาก ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย ได้อนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี และอาจฉีดวัคซีนกระตุ้นได้เมื่อเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วนวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในเด็ก โดยปกติแล้ว เด็กอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในระดับรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่ป่วยเป็นโควิด-19 มักมีอาการอย่างอ่อน หรือไม่แสดงอาการเลย และบางรายอาจมีภาวะที่เรียกว่า กลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome หรือ MIS) ที่ทำให้มีไข้ เกิดการอักเสบในอวัยวะหลายส่วน และทำให้อวัยวะล้มเหลวได้ในที่สุด แต่ก็ถือเป็นกรณีที่พบได้ยาก วัคซีนโควิด-19 กับทารกและเด็กเล็ก นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กต่างจากของผู้ใหญ่มาก ฉะนั้น จึงต้องมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ในเด็กเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นด้านความแรงของวัคซีน ขนาดการให้วัคซีน และระยะในการให้วัคซีน ดังนั้น อาจจะยังไม่เหมาะที่จะฉีดวัคซีนโคิด-19 ให้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี […]


สุขภาพเด็ก

กลุ่มอาการเร็ทท์ คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

กลุ่มอาการเร็ทท์ (Rett Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทและพัฒนาการทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ มีปัญหาทางทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการพูด เป็นต้น คำจำกัดความกลุ่มอาการเร็ทท์ คืออะไร กลุ่มอาการเร็ทท์ (Rett Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทและพัฒนาการทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ มีปัญหาทางทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการพูด เป็นต้น พบได้บ่อยแค่ไหน กลุ่มอาการเร็ทท์มักพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยอาการมักปรากฎในเด็กทารกช่วงอายุระหว่าง 6-18 เดือนแรก  อาการอาการของกลุ่มอาการเร็ทท์ เป็นอย่างไร  กลุ่มอาการเร็ทท์มักเกิดขึ้นกับทารกหลังตั้งครรภ์ ทารกส่วนใหญ่ที่มีอาการเรทท์จะมีการเจริญเติบโตและพฤติกรรมตามปกติในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการแสดงเด่นชัดเมื่ออายุ 12-18 เดือน โดยส่วนใหญ่มีอาการแสดงออกดังต่อไปนี้  การเจริญเติบโตช้า การเจริญเติบโตของสมองช้าลงหลังคลอด ขนาดศีรษะจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ (Microcephaly) เมื่ออายุมากขึ้นจะเห็นอย่างชัดเจนว่าส่วนต่าง ๆ ในร่างกายมีการเจริญเติบโตช้า ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เช่น การควบคุมด้วยมือ การเดินมีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดกล้ามเนื้อจะอ่อนแรงหรือแข็งเกร็งเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ความผิดปกติด้านการสื่อสาร เด็กที่เป็นโรคเรทท์มักมีความผิดปกติด้านการสื่อสาร เช่น การพูด การสบตา  ความผิดปกติการเคลื่อนไหวของดวงตา เด็กที่เป็นโรคเรทท์มักมีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของดวงตา เช่น การกระพริบตา หลับตาได้ทีละข้าง  ปัญหาด้านการหายใจ เช่น มีอาการหายใจเข้าออกอย่างรวดเร็ว หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  กระดูกสันหลังผิดปกติ มักจะมีอาการกระดูกสันหลังคดงอ อาการดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 8-11 ปี […]


สุขภาพเด็ก

โรคไหลตายในทารก คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

โรคไหลตายในทารก เป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ทากรกเสียชีวิตอย่างกระทันหันขณะนอนหลับ โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอย่างการให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตทารกอย่างสม่ำเสมอ ร่วมถึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไหลตายในทารก คืออะไร โรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) คือ การที่ทารกดูเหมือนสุขภาพแข็งแรง แต่กลับเสียชีวิตอย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุของการเสียชีวิต แม้จะมีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็ตาม โดยโรคไหลตายในทารกนั้น มักเกิดขึ้นในขณะที่ทารกนอนหลับในเปล แม้ว่าโรคไหลตายในทารกจะเป็นเรื่องที่พบได้ยาก แต่ก็ถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมักจะพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับทารกที่มีอายุระหว่าง 2-4 เดือน ในปี ค.ศ. 2015 จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ มีเด็กประมาณ 1,600 คนในสหรัฐอเมริกา ที่เสียชีวิตจากโรคไหลตายในทารก อาการของ โรคไหลตายในทารก โรคไหลตายในทารกนั้นยังไม่มีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เพราะอาการมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันกับทารกที่ดูเหมือนจะมีร่างกายที่แข็งแรงโดยที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันได้คาดคิด สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับ โรคไหลตายในทารก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคไหลตายในทารก แต่นักวิทยาศาสตร์กำลังพิจารณาถึงสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการ ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบนั้น ได้แก่ รูปแบบของการหยุดหายใจ เช่น การหยุดหายใจขณะนอนหลับ ความผิดปกติของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไหลตายในทารก แต่โรคไหลตายในทารกมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ซึ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับโรคไหลตายในเด็ก ได้แก่ เชื้อชาติ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

กลุ่มอาการครูซอง (Crouzon Syndrome)

กลุ่มอาการครูซอง หรือ โรคกะโหลกปิดก่อนเวลาอันควร เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อใบหน้า กะโหลกศีรษะ และฟันของทารกแรกเกิดให้หลอมรวมกันก่อนกำหนด ส่งผลให้รูปร่างของใบหน้าและกะโหลกมีความผิดปกติ ผิดรูปร่าง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น ภาวะหายใจลำบาก มีปัญหาต่อการมองเห็น  อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาการครูซองแสดงออกแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการผ่าตัดหรือวิธีรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อไป คำจำกัดความ กลุ่มอาการครูซอง (Crouzon Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการครูซอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคกะโหลกปิดก่อนเวลาอันควร (Craniosynostosis)” เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อใบหน้า กะโหลกศีรษะ และฟันของเด็ก เด็กที่เป็นโรคนี้กระดูกกะโหลกศีรษะจะหลอมรวมกันก่อนกำหนด ซึ่งนั่นจะป้องกันไม่ให้กะโหลกศีรษะเติบโตได้ตามปกติ และมีผลต่อรูปร่างของศีรษะและใบหน้าของเด็กด้วย บางครั้งกลุ่มอาการนี้ยังทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น กลุ่มอาการครูซอง พบบ่อยเพียงใด กลุ่มอาการครูซอง สามารเกิดขึ้นในทารกแรกเกิด 1 ใน 61,000 คน ซึ่งโรคกะโหลกปิดก่อนเวลาอันควร เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเด็กทุกคนที่อยู่ในกลุ่มอาการครูซอง จะมีความเสี่ยงจากความดันในกะโหลกศีรษะ และหายใจลำบาก จนต้องได้รับการผ่าตัด อาการอาการของกลุ่มอาการครูซอง อาการของกลุ่มอาการครูซอง จะทำให้เกิดการหลอมรวมของกระดูกบางส่วนในกะโหลกศีรษะก่อนวันอันควร และส่งผลต่อรูปร่างของศีรษะและใบหน้าจนดูผิดปกติ โดยลักษณะทั่วไปของกลุ่มอาการนี้ ได้แก่ รูปร่างหน้าตาผิดปกติ กลางใบหน้าตื้น ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก หน้าผากสูง ตาโปนกว้าง เบ้าตาตื้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการมองเห็น ตาเหล่ จมูกเล็กเหมือนจะงอยปาก ขากรรไรบนด้อยพัฒนาการ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการกินอาหาร ขากรรไกรด้านล่างยื่นออกมา การสบฟันมากเกินไป ปัญหาทางทันตกรรม หูตั้งต่ำ สูญเสียการได้ยิน เพราะช่องหูแคบ ลักษณะของโรคที่พบได้น้อย คือ เพดานโหว่ […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

ส่าไข้ สาเหตุ อาการ การรักษาและป้องกัน

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ตามร่างกายเริ่มมีรอยผื่นแดงแปลก ๆ พร้อมมีไข้ขึ้นสูงร่วมด้วยเป็นเวลานาน ก็สามารถเป็นไปได้ว่าสัญญาณดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มที่ส่งผลให้คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น ส่าไข้ (Roseola) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำจำกัดความส่าไข้ (Roseola) คืออะไร ส่าไข้ (Roseola) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า หัดกุหลาบ หรือผื่นกุหลาบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย และมักปรากฎออกมาให้พบเห็นในรูปแบบของผดผื่นที่มีลักษณะสีแดง หรือสีน้ำตาล ทั้วทั้งบริเวณหน้าท้อง ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น ส่าไข้ สามารถพบบ่อยได้เพียงใด ส่าไข้อาจพบได้บ่อยกับบุคคลทั่วไปทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกับเด็กที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปีด้วยกัน อีกทั้งส่าไข้ยังคงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดขึ้นกับในวัยผู้ใหญ่ แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นความเจ็บป่วยจากอาการต่าง ๆ นั้น ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากเมื่อเทียบกับอาการที่เกิดขึ้นกับวัยของเด็กเล็ก อาการอาการของส่าไข้ เบื้องต้นอาการของส่าไข้ที่คุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ นั่นก็คือ การที่คุณ หรือคนใกล้ตัวมีไข้ขึ้นสูงราว ๆ ประมาณ 38.8-40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป พร้อมกับมีผดผื่นสีชมพู สีแดง ปรากฏให้เห็นทั่วทั้งร่างกาย ในขณะเดียวกันผู้ป่วยบางรายก็อาจแสดงอาการ ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมขึ้นมาร่วมก็เป็นได้เช่นเดียวกัน อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย เปลือกตาบวม ท้องเสีย รู้สึกเบื่ออาหาร หรือทานอาหารได้น้อยลง เจ็บคอ ปวดช่องหู ถึงแม้ว่า ส่าไข้ หรือ หัดกุหลาบ มักหายได้ไปได้เอง 3-7 วัน รวมถึงอาการไข้ที่จะลดลงภายในประมาณ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน