สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคระบบประสาทในเด็ก

สัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก สังเกตอย่างไร

ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตบุตรหลานว่ามี สัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก หรือไม่? เพราะโรคระบบประสาทอาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตของลูกน้อย หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้รับมือและรักษาอาการของโรคได้อย่างทันท่วงที ทำให้ลูกน้อยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภทของโรคระบบประสาทในเด็ก โรคระบบประสาทนั้นมีอยู่มากกว่า 100 ชนิด แบ่งตามประเภทของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ และลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ โรคระบบประสาทที่พบได้มากในเด็กคือ โรคปลายประสาทอักเสบ (Polyneuropathy หรือ Peripheral Neuropathy) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้ โรคปลายประสาทอักเสบเรื้อรัง (Chronic symmetrical peripheral neuropathy) หมายถึง โรคปลายประสาทอักเสบที่มีอาการนานหลายเดือนขึ้นไป โรคปลายประสาทอักเสบหลายเส้น (Multiple mononeuropathy) หมายถึง โรคปลายประสาทอักเสบที่เกิดความเสียหายกับเส้นประสาทอย่างน้อย 2 เส้นขึ้นไป โรคปลายประสาทอักเสบเฉียบพลัน (Acute symmetrical peripheral neuropathy) เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยปกติมักจะมีสาเหตุมาจาก กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติของกลุ่มระบบประสาทจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก มีอะไรบ้าง? สัญญาณของโรคระบบประสาทในเด็ก อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ โดยสัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

โรคระบบประสาทในเด็ก ภัยแฝงที่อาจรุกรานลูกของคุณโดยไม่รู้ตัว

โรคระบบประสาทในเด็ก เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันด้วยสาเหตุอื่น ๆ และสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เพื่อรู้สาเหตุของโรคระบบประสาทในเด็กและวิธีรักษา Hello คุณหมอ ได้รวบรวมรวมสิ่งที่น่าสนใจมากฝากคุณแล้วค่ะ เช็คตารางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ลูกน้อยของคุณ ที่นี่ โรคระบบประสาทในเด็ก คืออะไร โรคระบบประสาท หรือเรียกอีกชื่อว่า โรคปลายประสาทอักเสบ เป็นสภาวะที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนปลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการส่งสัญญาณระหว่างระบบประสาทส่วนกลางและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ความรู้สึกเย็นที่เท้า รู้สึกเจ็บปวดเมื่อโดนน้ำร้อนลวก และยังส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายให้เคลื่อนไหว หดเกร็งกล้ามเนื้อ รวมถึงการเต้นของหัวใจ การย่อยอาหาร การปัสสาวะ รวมไปถึงภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความรุนแรงของอาการ โรคระบบประสาท ขึ้นอยู่กับชนิดของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ แต่โดยส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคระบบประสาทอาจเกิดขึ้นอาจมีระยะเวลาแค่ไม่กี่วัน หรือยาวนานเป็นปีก็ได้เช่นกัน โรคระบบประสาทในเด็ก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ หรืออาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจากความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เนื้อเยื่อบาดเจ็บ โรคเบาหวาน เกิดจากโภชนาการที่ไม่ดี หรืออาจเกิดจากการอยู่นิ่งเป็นเวลานานอย่างการนั่งรถเป็นเวลานาน และเด็กที่เป็นโรคระบบประสาทส่วนปลายจะมีอาการดังต่อไปนี้ อาการปวด แสบร้อน รู้สึกเสียวซ่าบริเวณเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ เช่น มือ เท้า การรักษา โรคระบบประสาท ในเด็ก การรักษาโรคระบบประสาทในเด็ก จะมุ่งเน้นไปที่การจัดการสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคระบบประสาท และเพื่อบรรเทาอาการของโรค โดยใช้วิธีดังนี้ ใช้ยา ยาเป็นตัวช่วยในการรักษาและบรรเทาอาการของ โรคระบบประสาท ที่อาจเกิดขึ้น ยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดที่ยังไม่รุนแรงมาก ยากันชัก ช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาท ยานี้อาจมีผลข้างเคียงคือ ง่วงนอน […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

โรคติดเชื้อในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่พึงระวัง

ในปัจจุบัน  มีเชื้อโรคมากมายที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเชื้อโรคนั้นก็เป็นอีกสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อในเด็ก ซึ่งเชื้อโรคที่ได้รับนั้นสามารถรับได้ทั้งทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทำให้เด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็เจ็บป่วยได้ โดยเชื้อโรคนั้นมีอยู่ในทุกที ไม่ว่าจะเป็นในอากาศ หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แล้วคุณพ่อกับคุณแม่จะมีวิธีรับมือกับ โรคติดเชื้อในเด็ก ได้อย่างไรหล่ะ โรคติดเชื้อ คืออะไร โรคติดเชื้อ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา โดยโรคติดเชื้อบางชนิดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ หรือบางชนิดอาจแพร่กระจายมาจากแมลง เช่น ยุง หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเด็กสามารถรับเชื้อโรคเหล่านี้ได้จากการรับประทานอาหาร สัมผัสกับผู้อื่น หรือแม้แต่ของเล่น โรคติดเชื้อในเด็ก ที่พบได้บ่อย โรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน โรคนี้มีอาการที่รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยอาการจะปรากฏออกมาให้เห็นหลังจากได้เชื้อประมาณ 1- 4 วัน ซึ่งอาการจะมีไข้สูง อาจมีการถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน และอาการชัก หากมีไข้สูงเกินไป การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ – โรคไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้ หากมีอาการไม่รุนแรงมาก โดยพ่อ หรือแม่ นำผ้ามาชุบน้ำเช็ดตัว ให้ยาลดไข้สำหรับเด็ก ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ทารกท้องอืด ป้องกันได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ทารกท้องอืด มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในหนึ่งวัน เนื่องจากทารกมีโอกาสมากที่จะกลืนอากาศเข้าร่างกาย ทั้งตอนดูดนมจากเต้า ตอนดูดนมจากขวด ตอนร้องไห้ รวมทั้งอาจเกิดจากอาหารไม่ย่อย ทำให้มีกรดและแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีช่วยป้องกันทารกท้องอืดได้   ทารกท้องอืด เกิดจากอะไร อาการท้องอืดในเด็กทารก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ทารกกลืนอากาศเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปในขณะที่กำลังกินนมหรือร้องไห้ ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ทำให้ย่อยอาหารได้เร็วเกินไป หรือย่อยได้ไม่หมด มีอาการแพ้อาหารหรือสิ่งที่รับประทานเข้าไป อาการท้องผูก ทารกท้องอืด ป้องกันได้อย่างไร แม้ภาวะทารกท้องอืดจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในหนึ่งวัน แต่จริง ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจป้องกันอาการท้องอืด ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เปลี่ยนท่าให้นมทารก ควรให้ศีรษะของทารกอยู่สูงกว่าขวดนมเสมอ เพื่อให้น้ำนมไหลลงไปที่ก้นกระเพาะอาหาร และเพื่อให้อากาศไหลขึ้นข้างบน ทำให้ทารกเรอออกมาได้ง่าย ป้องกันอากาศค้างในกระเพาะอาหาร ทำให้ทารกเรอ หลังป้อนนมทารก ให้ลองอุ้มทารกพาดบ่าแล้วตบหลังเบา ๆ หรือพยายามทำให้ทารกเรอออกมา เพื่อคลายเอาอากาศออกจากกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดอาการท้องอืด พยายามลดการกลืนอากาศ โดยเฉพาะเวลาให้นม ควรดูแลให้ขวดนมมีน้ำนมเต็มขวดอยู่เสมอ เพราะขวดนมที่มีน้ำนมอยู่น้อยอาจจะมีปริมาณของอากาศอยู่มาก และไม่ควรเขย่าขวดนมมากเกินไป เพราะจะทำให้ขวดนมเกิดฟองอากาศมากขึ้น ให้ทารกทำท่าจักรยานอากาศ โดยการที่คุณพ่อหรือคุณแม่อุ้มทารกจากด้านหลัง จับขาของเด็กไว้ แล้วค่อย ๆ หมุนขาเบา ๆ คล้ายกับเด็กกำลังปั่นจักรยาน วิธีนี้จะช่วยดันอากาศในท้องของทารกออกมา หรือจะทำท่าจักรยานอากาศโดยให้ทารกนอนหงาย แล้วชันเข่าของทารกขึ้นมาติดกับหน้าท้อง […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ลูกน้อยหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

ลูกน้อยหายใจครืดคราดคุ หมายถึง อาการที่ลูกน้อยหายใจแล้วมีเสียงบางอย่างแทรกอยู่ด้วย หรือคล้ายมีบางอย่างอุดกั้นหรือติดค้างในลำคอทำให้ลูกหายใจได้ไม่สะดวก ซึ่งอาการเหล่านี้ย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความสงสัยและวิตกกังวลว่าเกิดจากอะไร เป็นสัญญาณสุขภาพที่อันตรายร้ายแรงหรือไม่ สิ่งสำคัญคือ ควรคอยสังเกตอาการลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะหากลมหายใจติดขัด หรือขาดห้วงเป็นเวลานานอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ ลูกน้อยหายใจครืดคราด อาการหายใจครืดคราดในเด็ก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียซึ่งทำให้เนื้อเยื่อในทางเดินหายใจบวม เช่น ไข้หวัด  มีทางเดินหายใจที่แคบและตีบตั้งแต่กำเนิด ทำให้หายใจได้ลำบาก เกิดอาการบวมในทางเดินหายใจ จนก่อให้เกิดการอุดตัน หรืออักเสบ เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนอ่อนยวบ จนขัดขวางการไหลเวียนของอากาศ ทำให้เวลาหายใจมีเสียงดัง หรือหายใจมีเสียงครืดคราด เกิดการกดทับในทางเดินหายใจ จนหายใจลำบาก น้ำหนักตัวมาก หรือเป็นโรคอ้วน อาการทางสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง สัญญาณของ ลูกน้อยหายใจครืดคราด ลักษณะอาการโดยทั่วไปดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาเตือนว่า ลูกน้อยหายใจครืดคราด และควรเฝ้าระวัง ดังนี้ หายใจแปรปรวน ไม่คงที่ หายใจเร็ว มีการกลั้นหายใจ โดยเฉพาะในขณะนอนหลับ อาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีภาวะหยุดหายใจ 2-3 วินาที เวลาลูกน้อยหายใจ จะมีเสียงคล้ายเสียงกรน เสียงฮึดฮัด หรือเสียงครืดคราดเกิดขึ้น หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ลูกเป็นผื่นที่หน้า ปัญหาผิวหนังในเด็ก ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

เนื่องจากผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ไวต่อการระตายเคือง และการติดเชื้อต่าง ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า นอกจากนั้น โรคภูมิแพ้ ความร้อน แรงเสียดทาน ความชื้น ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นผื่นได้เช่นกัน ผื่นนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกายเด็ก ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า คอ ขา แขน มือ เท่า ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องหาสาเหตุของการเกิดผื่น รวมถึงอาจต้องสังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะหากผื่นมีอาการรุนแรงขึ้น จะได้พาลูกน้อยไปพบคุณหมอได้อน่างทันท่วงที สาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า ผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ไวต่อการระตายเคือง และการติดเชื้อต่าง ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า นอกจากนั้น สาเหตุที่อาจทำให้ลูกเป็นผื่นหน้า อาจมีดังนี้ โรคผิวหนังอักเสบ ส่งผลให้ผิวแห้ง หยาบกร้าน ระคายเคือง เป็นผื่น มักพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน-5 ปี ไขบนหนังศีรษะทารก (Cradle Cap) คือ ปัญหาความมันบนผิวหนังโดยเฉพาะหนังศีรษะของทารก ก่อให้เกิดไข หรือแผ่นสะเก็ดขาว ๆ และผดผื่นขึ้นตามหนังศีรษะ รอบดวงตา จมูก แก้ม […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ทารกผิวลอก กับวิธีจัดการอย่างง่ายๆ สำหรับพ่อแม่มือใหม่

ทารกผิวลอก โดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจ อาจดูแลเบื้องต้นให้หายได้ภายในไม่กี่วัน อย่างไรก็ตาม ทารกผิวลอกเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากเกิดจากปัญหาโรคผิวหนังบางอย่าง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี เช่น โรคสะเก็ดเงิน กลาก หรือผิวหนังเกล็ดปลา ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตผิวลูกน้อย และอาการร่วมอื่น ๆ เช่น มีไข้ ร้องไห้งอแงไม่มีสาเหตุ หากผิดปกติจะได้รับมือและหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทารกผิวลอก ปัญหาผิวลอกซึ่งมักพบได้บ่อยในทารกนั้น อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สภาพอากาศแห้ง อุณหภูมิที่เย็นจัด การให้ทารกแช่ตัวในน้ำอุ่นนานเกินไป โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังเกล็ดปลาแบบสามัญ อาการแพ้ โรคในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคคาวาซากิ โรคสะเก็ดเงิน การติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือรูขุมขน ผิวไหม้แดด โรคผิวหนัง เช่น กลาก  การแพ้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหนังหรือทำความสะอาดผิวหนัง ทารกผิวลอก เป็นอันตรายหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ทารกผิวลอกไม่ถือว่าอันตรายร้ายแรงเท่าใดนัก การบรรเทาอาการหรือป้องกันเบื้องต้นอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ภายในไม่กี่วัน แต่หากเกิดจากโรคผิวหนังอย่าง โรคสะเก็ดเงิน กลาก หรือผิวหนังเกล็ดปลา อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทางกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และใช้ระยะเวลาสักพักกว่าที่สุขภาพผิวหนังจะดีขึ้น ทำอย่างไรเมื่อทารกผิวลอก หากเริ่มสังเกตเห็นว่าทารกผิวลอก คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมวิธีเริ่มรับมือและจัดการกับปัญหาเหล่านั้นในทันที ซึ่งในเบื้องต้นอาจปฏิบัติตามดังนี้ งดอาบน้ำนาน เพราะการให้ทารกอาบน้ำนาน ๆ จะทำให้สูญเสียน้ำมันธรรมชาติในชั้นผิวหนัง และไม่ควรให้ทารกแช่ในน้ำอุ่นนานจนเกินไปด้วย เสี่ยงที่จะทำให้ผิวแห้ง […]


วัคซีน

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจพบได้บ่อยในเด็ก เด็กจึงควรได้รับ วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน (Measles Mumps and  Rubella vaccine: MMR vaccine) 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ โดย วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง ที่พบได้บ่อย คือ เป็นไข้ มีผื่น และอาการปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและอาจหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน  ลูกน้อยต้องได้รับการฉีด วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมันเข็มแรกเมื่ออายุ 12-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 4-6 ปี เพื่อป้องกันโรคที่สำคัญ 3 โรค ซึ่งได้แก่ โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน โดยแต่ละโรคมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้  โรคคางทูม (Mumps) […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคตาในเด็ก ปัญหาสุขภาพดวงตาของเด็ก ๆ ที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็ก ๆ มักจะพบกับปัญหาสุขภาพตาได้บ่อย ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ปัญหาสุขภาพตาของเด็กรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรง โรคตาในเด็ก ที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะตาขี้เกียจ ตาเหล่ ตากุ้งยิง ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลย เพื่อไม่ให้นำไปสู่ปัญหาสุขภาพตา หรือสุขภาพโดยรวมที่รุนแรงขึ้น โรคตาในเด็ก ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง ปัญหาเกี่ยวกับ สุขภาพดวงตา ที่สามารถพบได้บ่อย ๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนี้ ภาวะตาขี้เกียจ  ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นภาวะที่สายตามีระดับการมองเห็นที่ผิดปกติ โดยที่การมองเห็นของสายตาข้างใดข้างหนึ่งอาจเห็นได้ไม่ชัดเท่ากับสายตาอีกข้างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดภาวะตาเหล่ ภาวะหนังตาตก รวมถึงโรคต้อกระจกตามมา อย่างไรก็ตาม โรคตาขี้เกียจสามารถรักษาหายได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เด็ก ๆ อาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคตามัวชนิดถาวร ตาเขหรือตาเหล่ อาการตาเขหรือตาเหล่ในเด็ก เกิดจากการที่ตำแหน่งของดวงตาชี้ไปในทิศทางที่ต่างกัน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของเส้นประสาท หรือเป็นผลมาจากภาวะตาขี้เกียจ อย่างไรก็ตาม อาการตาเหล่ ตาเขในเด็ก สามารถที่จะรักษาได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่ควรปล่อยเอาไว้จนโต เพราะอาจตาเหล่ถาวร ตากุ้งยิง ตากุ้งยิง (Chalazion) เป็นปัญหา สุขภาพดวงตา เกิดจากการอักเสบหรืออุดตันที่บริเวณต่อมไขมันของเปลือกตาบนหรือล่าง หรือเกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุตา ทำให้เกิดอาการบวมแดงจนนูนเป็นตุ่ม ภาวะน้ำตาเอ่อ ภาวะน้ำตาเอ่อ (Epiphora) เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา ส่งผลให้มีอาการตาแฉะ และมีน้ำตาไหลออกมาอยู่บ่อย […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

แพ้ถั่วปากอ้า ภาวะขาดเอนไซม์ในเด็ก

แพ้ถั่วปากอ้า หรือ ภาวะพร่องเอนไซม์ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโครโมโซมเพศเอ็กซ์ ส่งผลต่อเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ที่เป็นเอนไซม์ที่สำคัญในขบวนการสร้างน้ำตาลกลูโคส ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolysis) ได้ แพ้ถั่วปากอ้า คืออะไร สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย ระบุว่า แพ้ถั่วปากอ้า หรือ ภาวะพร่องเอนไซม์ (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase หรือ G6PD) เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโครโมโซมเพศเอ็กซ์ ที่ส่งผลต่อเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในขบวนการสร้างน้ำตาลกลูโคส (Pentose Phosphate Pathway) และควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้เสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolysis) ได้ โดยส่วนใหญ่ อาจพบผู้ป่วยแพ้ถั่วปากอ้าในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในประชากรชาวไทย พบร้อยละ 12 ในเพศชาย และร้อยละ 2 ในเพศหญิง นอกจากนี้ ยังมีประชากรทั่วโลกอาจเป็นโรคนี้ 200-400 ล้านคน โดยเฉพาะประชากรในแถบแอฟริกา เสียชีวิตจากโรคนี้มากถึง 20% แพ้ถั่วปากอ้า เกิดจากอะไร แพ้ถั่วปากอ้า เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโครโมโซมเอ็กซ์ (X Syndrome) กลายพันธ์จากผู้เป็นแม่ โดยลูกชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ถั่วปากอ้าในอัตราร้อยละ 50 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน