สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคขาดการยับยั้งการสมาคม สาเหตุ อาการและการรักษา

โรคขาดการยับยั้งการสมาคม (Disinhibited Social Engagement Disorder หรือ DSED) มักเกิดขึ้นกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นโรคที่เกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคมของเด็ก โดยเด็กจะรู้สึกไว้วางใจและสนิทสนมกับคนแปลกหน้าได้ง่ายกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากเด็กถูกละเลยและไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัว ทำให้เด็กไม่สนิทสนมหรือผูกพันกับคนในครอบครัวเท่าที่ควร แต่กลับต้องการทำความรู้จักและรู้สึกสบายใจเมื่อพบเจอกับคนแปลกหน้า ทำให้เด็กเสี่ยงที่จะหลงเชื่อคำชักชวนจนส่งผลให้เป็นอันตรายต่อตัวเด็กได้ โรคขาดการยับยั้งการสมาคม คืออะไร โรคขาดการยับยั้งการสมาคม จัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติทางความผูกพัน (Attachment Disorder) ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่และความรักจากพ่อแม่เท่าที่ควร ส่งผลให้เด็กไม่รู้สึกสนิทสนมหรือผูกพันกับพ่อแม่ตัวเอง แต่กลับสบายใจเวลาอยู่กับคนอื่น หรือคนแปลกหน้ามากกว่า โรคนี้มักเกิดกับเด็กที่อายุต่ำว่า 18 ปี และผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมจึงจะสามารถหายจากโรคได้ สัญญาณของโรคขาดการยับยั้งการสมาคม คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders หรือ DSM) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในหมู่แพทย์และนักวิจัยหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย ระบุว่า หากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้มากกว่า 2 ข้อขึ้นไป อาจเข้าข่ายเป็นโรคขาดการยับยั้งการสมาคม เด็กอาจตื่นเต้นมากเกินไป ไม่รู้สึกกลัว ไม่รู้สึกเขินอาย หรือขาดการยับยั้งชั่งใจเวลาพบเจอหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยกันมาก่อน เด็กอาจแสดงพฤติกรรมที่ดูเป็นมิตรหรือสนิทสนมกับคนแปลกหน้ามากเกินไป พูดเก่งกว่าปกติ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัยหรือขนมธรรมเนียมประเพณี […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือด สาเหตุเกิดจากอะไร วิธีดูแลเบื้องต้นทำอย่างไร

ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือด คือ อาการที่ทารกสำรอกเศษเลือดออกมาจากปาก หรือมีน้ำลายไหลโดยมีเลือดติดออกมาด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยอาเจียนนั้นแตกต่างกันออกไป มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังคลอด หรือการที่คุณแม่ให้นมแล้วหัวนมแตกจนมีเลือดปนออกมาเมื่อลูกอาเจียน อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการอาเจียนเป็นเลือด เพื่อจะได้สังเกตและดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกวิธี ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือด เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ลูกอาเจียนเป็นเลือด คืออาการที่ทารกสำรอกออกมาเป็นเลือด หรือมีเลือดปนมาด้วย ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี เช่น อาจเกิดจากการที่ทารกกลืนเลือดของคุณแม่ระหว่างการคลอดเข้าไป โดยภาวะนี้สังเกตได้จากของเหลวที่มีสีแดง หรือสีชมพู ซึ่งจะเกิดกับทารกในช่วง 2-3 วันแรกหลังจากทารกคลอด หรือทารกกลืนเลือดของคุณแม่ที่มีอาการหัวนมแตกเข้าไป ทำให้เมื่อสำรอกอาจมีเลือดจากหัวนมแตกปนออกมาด้วย แต่ในทั้ง 2 กรณีนี้ ลักษณะของอาเจียนเป็นเลือดจะเป็นเพียงเศษเลือดเล็กน้อยเท่านั้น ปกติแล้วหากทารกอาเจียนเป็นเลือดในกรณีดังกล่าว มักไม่น่ากังวล แต่หากลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือดร่วมกับมีไข้ ท้องบวม มีผื่นขึ้น มีอาการเซื่องซึม หรือร้องไห้งอแงไม่หยุดขณะที่อาเจียนเป็นเลือด ควรพาลูกน้อยไปหาคุณหมอในทันที เพราะอาจมีปัญหาภาวะสุขภาพอย่างอื่นเป็นสาเหตุร่วมด้วย สาเหตุที่ทำให้ ลูกอาเจียนเป็นเลือด อาจมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือดและมักมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยอาเจียนมีเลือดปนนั้น มีดังนี้ หัวนมแตกทำให้ ลูกอาเจียนเป็นเลือด อาการหัวนมแตกเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตร โดยเฉพาะคุณแม่ที่เริ่มให้นมบุตรจะมีอาการระคายเคืองที่หัวนมจากแรงดึง แรงกด หรือเนื่องจากผิวหนังสัมผัสกับน้ำลาย อาการอาจแย่มากจนผิวหนังแตก และมีเลือดออก ทำให้มีเลือดปะปนไปกับน้ำนมที่ลูกกิน และทำให้ลูกอาเจียนเป็นเลือด หากไม่เห็นรอยแตกใด ๆ แต่ลูกอาเจียนเป็นเลือด ให้ลองตรวจนำน้ำนมมาตรวจดูว่ามีเลือดปนหรือไม่ ในกรณีที่คุณแม่สังเกตเห็นเลือดในน้ำนมแม่ ให้นำน้ำตาล หรือน้ำเปล่าป้อนให้แก่ลูกน้อยของคุณหลังกินนมเสร็จ เพื่อเจือจางเลือดในท้องของเด็ก และโปรดหยุดให้นมลูกทางหัวนมที่แตกเป็นเวลา 2-3 […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคพฤติกรรมอันธพาล สัญญาณของโรค สาเหตุ วิธีรักษาและรับมือ

โรคพฤติกรรมอันธพาล เป็นกลุ่มโรคทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบในเด็กและวัยรุ่น ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ชอบละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมักจะแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ โรคพฤติกรรมอันธพาล คืออะไร โรคพฤติกรรมอันธพาล (Conduct Disorder) บางครั้งเรียกว่า โรคคอนดักต์ โรคพฤติกรรมเกเร โรคเด็กเกเร โรคความประพฤติผิดปกติ เป็นต้น โรคนี้เป็นกลุ่มโรคทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบในเด็กและวัยรุ่น ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ชอบละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมักจะแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ ซึ่งเด็กคนอื่น หรือผู้ใหญ่เห็นแล้วก็อาจจะบอกว่า การแสดงออกของเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นโรคพฤติกรรมอันธพาลนั้นเป็นสิ่งผิด หรือสิ่งไม่ดี โดยที่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วนี่คือโรคจิตเภทชนิดหนึ่ง สัญญาณของโรคพฤติกรรมอันธพาล พฤติกรรมของโรคพฤติกรรมอันธพาลนั้นมีหลากหลาย ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับอายุของเด็กและระดับความรุนแรงของโรค แต่โดยปกติแล้ว พฤติกรรมที่เป็นสัญญาณของโรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 พฤติกรรมใหญ่ ๆ ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behavior) เช่น ล้อเลียน หรือรังแกผู้อื่น จงใจทำให้ผู้อื่น หรือสัตว์ต่าง ๆ ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับอันตราย ชอบต่อสู้ ชกต่อยกับผู้อื่น ใช้อาวุธ บังคับใจ ข่มขืน หรือล่วงเกินทางเพศผู้อื่นโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม ขโมยของจากคนที่ตัวเองทำร้าย พฤติกรรมเชิงทำลาย (Destructive Behavior) เช่น เจตนาก่อเพลิงไหม้ เพื่อให้สถานที่นั้น หรือสิ่งของนั้นเสียหาย เจตนาทำลายทรัพย์สิน […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

โรคแบตเทน (Batten disease) สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคแบตเทน คือ โรคทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับระบบประสาท โดยอาจเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กอายุ 5-10 ปี โรคนี้อาจส่งผลให้สมองเสื่อม ทักษะการสื่อสารไม่ดี และอาจทำให้มีอายุสั้น ถึงแม้ว่าโรคนี้ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถรักษาตามอาการที่เป็นเพื่อบรรเทาอาการและลดความรุนแรงได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการลูก หากพบว่ามีอาการผิดปกติควรพาเข้าพบคุณหมอทันที โรคแบตเทน คืออะไร โรคแบตเทน คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธ์ุของยีน มักเกิดขึ้นในเด็กอายุ 5-10 ปี ที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้เด็กมีการสื่อสารไม่ดี ไม่มีสมาธิ มีปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกาย ไปจนถึงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ได้ โรคแบตเทน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ โรคแบตเทนแต่กำเนิด (Congenital NCL) ทำให้ทารกแรกเกิดมีอาการชักบ่อยครั้งและมีภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) ซึ่งเป็นประเภทที่พบได้ยากและมักส่งผลให้เสียชีวิตหลังลืมตาดูโลกได้ไม่นาน โรคแบตเทนในทารกแรกเกิด (Infantile NCL) อาการมักปรากฏขึ้นเมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีภาวะศีรษะเล็ก กล้ามเนื้อหดรัดตัวอย่างรุนแรง เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคแบตเทนประเภทนี้อาจส่งผลให้เสียชีวิตก่อนอายุ 5 ปี โรคแบตเทนในทารกแรกเกิดระยะท้าย (Late Infantile NCL) ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กอายุ 2-4 […]


วัคซีน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ วัคซีนโรตา ทางเลือกในการปกป้องลูกน้อย จากเชื้อไวรัสในของเล่น

วัคซีนโรตา คือวัคซีนที่มีไว้สำหรับป้องกัน ไวรัสโรตา (Rotavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่อาจส่งผลให้ทารกและเด็กเล็กมีอาการท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ ซึ่งเป็นวัคซีนที่พบได้ในอุจจาระและสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางพื้นผิวต่าง ๆ เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ ประตู ของเล่น ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการฉีดวัคซีนโรตา หรือปรึกษาคุณหมอก่อนฉีดวัคซีน [embed-health-tool-bmi] วัคซีนโรตา สำคัญอย่างไร วัคซีนโรตาหรือวัคซีนป้องกันไวรัสโรตานั้น มีจุดประสงค์หลักคือการป้องกันร่างกายของผู้รับวัคซีน ไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโรตา ไวรัสที่อาจทำให้ทารกและเด็กเล็ก เกิดอาการท้องเสียและอาเจียน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และมีไข้สูงได้ หากไม่ได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไวรัสโรตา (Rotavirus) นั้นเป็นไวรัสที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมาก โดยเรามักจะสามารถพบไวรัสเหล่านี้ได้ในอุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ และอาจไม่ระวังเรื่องความสะอาด อาจทำให้เชื้อโรคนี้ปนเปื้อนไปสู่พื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ ประตู ลูกบิด และของเล่นเด็ก ที่เด็กอาจจะนำเข้าสู่ปาก ทำให้ติดเชื้อเป็นรายต่อไปได้ ทั่วโลกนั้นจะพบผู้ป่วยฉุกเฉินที่ติดเชื้อไวรัสโรตากว่า 2 ล้านราย และส่งผลให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโรตานี้ไม่ต่ำกว่า 500,000 รายต่อปี ในทางกลับกัน เด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโรตา อาจจะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่า แต่ก็ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปให้ผู้อื่นได้อยู่ดี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (Centers for Disease […]



โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคในทารกแรกเกิด ที่พบได้บ่อย มีอะไรบ้าง

โรคในทารกแรกเกิด อาจเป็นอาการเจ็บป่วยเช่นเดียวกับเด็กในวัยอื่น ๆ  แต่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งกว่า เพราะร่างกายของทารกแรกเกิดนั้นยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง ดังนั้น จำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ควรให้ความใส่ใจและสังเกตทารกแรกเกิดเพื่อจะได้ดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที โรคในทารกแรกเกิด ที่พบได้บ่อย ภาวะท้องอืด ภาวะท้องอืด เป็นโรคในทารกแรกเกิด ที่พบได้บ่อยมากเป็นอันดับต้น ๆ เด็กทารกมักมีอาการท้องอืด แน่นท้อง และท้องป่องเป็นประจำ โดยเฉพาะขณะกินนมแม่ และหลังกินนมเสร็จ เมื่อเกิดภาวะท้องอืด จะทำให้ทารกน้อยรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หายใจลำบาก เป็นต้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเมื่อลูกท้องอืด ก็คือ หากเป็นอาการท้องอืดที่ไม่เป็นอันตราย ท้องมักนิ่ม หากทารกท้องแข็ง บวม แน่น รวมทั้งมีอาการอาเจียน หรือท้องเสียนานเกิน 2 วันร่วมด้วย ควรพาไปพบคุณหมอทันที เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เป็นเพราะมีแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือท้องผูกตามปกติ แต่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ที่เป็นอันตรายได้ โรคดีซ่าน โรคดีซ่าน ทำให้ผิวหนัง ดวงตา และปากของทารกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื่องจากในร่างกายมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) สูงผิดปกติ โดยบิลิรูบินเป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่าและสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ของร่างกาย ปกติแล้ว ร่างกายของคนเราจะกำจัดบิลิรูบินออกทางตับ แต่ในช่วง 2-3 วันหลังลืมตาดูโลก ตับของทารกแรกเกิดจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายทารกแรกเกิดบางคนไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกได้ตามปกติ ในร่างกายเลยมีบิลิรูบินมากเกินไป ทำให้เกิดเป็นโรคดีซ่านหรือตัวเหลืองนั่นเอง แม้โรคดีซ่านจะเป็นโรคในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย แต่ในบางกรณี ระดับบิลิรูบินที่สูงเกินไปก็อาจทำให้สมองของทารกแรกเกิดบาดเจ็บได้ ฉะนั้น […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ มีอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อย่านิ่งนอนใจหากพบว่าลูกมีไข้สูงต่อเนื่องหลายวัน หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาการดังกล่าวอาจไม่ใช่อาการของไข้หวัดธรรมดา ยิ่งถ้ามีผื่นคัน และต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วยแล้ว อาจถือเป็น สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ ซึ่งหากเป็นแล้วควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคคาวาซากิ (Kawasaki’s Disease) ในเด็ก โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) เกิดจากการอักเสบในหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลืองของเยื่อบุผิวหนัง เมื่อเป็นโรคคาวาซากิจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ มีไข้สูง ผื่นขึ้นตามผิวหนัง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียน ร่วมด้วย ทั้งนี้ โรคคาวาซากิ พบบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี  ที่อาศัยอยู่ในแถบทวีปเอเชีย สาเหตุของโรคคาวาซากิ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคคาวาซากิ  โดยส่วนใหญ่เด็กมักป่วยเป็นโรคคาวาซากิในช่วงฤดูหนาว ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ อายุ พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันของเด็กในช่วงวัยนี้ยังไม่สมบูรณ์และแข็งแรงดีนัก จึงอาจติดเชื้อได้ง่าย เพศ เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงที่ติดเป็นโรคคาวาซากิมากกว่าเด็กผู้หญิง 1.5 เท่า เนื่องจากอาจชอบเล่นกลางแจ้ง และทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อจากวัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้มากกว่า เชื้อชาติ โรคคาวาซากิพบมากในแถบเอเชีย สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ อาการของโรคคาวาซากิ แบ่งออกเป็น 3 […]


สุขภาพเด็ก

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเกิดความวิตกกังวล เพราะกลัวว่าลูกของตนจะเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับโรคกระดูกอ่อนในเด็กให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีวิธีการสังเกต และการดูแลลูกอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) คืออะไร โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)  เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินดี แคลเซียม หรือฟอสเฟต โดยแร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการบำรุงกระดูกให้แข็งแรง เด็กที่เป็นโรคกระดูกอ่อนจะมีลักษณะกระดูกผิดรูป ฟันผุ และรู้สึกปวดบริเวณกระดูก อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกเป็นโรคกระดูกอ่อน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และที่สำคัญควรแลลูกอย่างใกล้ชิด เช่น รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดีและแคลเซียม รับแสงแดดยามเช้าเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี ผู้ปกครองควรรู้ สาเหตุของโรคกระดูกอ่อนในเด็ก สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเป็นโรคกระดูกอ่อนนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามินดี โดยเกิดจากปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้ อายุ โรคกระดูกอ่อนในเด็กพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-36 เดือน ในช่วงนี้เด็กจะมีพัฒนาการเติบโตที่รวดเร็ว ร่างกายต้องการแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสเฟตมากที่สุดเพื่อนำไปเสริมสร้างสร้างกระดูก การรับประทานอาหาร เด็กที่กินมังสวิรัติหรือได้รับสารที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารประเภท ปลา ไข่ นม และในร่างกายเด็กที่มีปัญหาในการย่อยนม หรือการแพ้แลคโตส (Lactose) สีผิว เด็กที่มีสีผิวคล้ำ โดยเฉพาะเด็กที่มีเชื้อสายแอฟริกัน จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อน เนื่องจากสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายได้น้อย ที่ตั้งภูมิศาสตร์ ร่างกายของเราผลิตวิตามินดีขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ดังนั้นเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีแสงแดดน้อย จะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกอ่อนมาก […]


ภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการ อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ หรือร่างกายได้รับอาหารมากเกินความจำเป็น ทำให้มีทั้งภาวะโภชนาการต่ำ และภาวะโภชนาการเกิน ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งเสี่ยงต่อโรค เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ร่างกายไม่เจริญเติบโต หรือหายจากอาการเจ็บป่วยช้า [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ภาวะทุพโภชนาการ คืออะไร   ภาวะทุพโภชนาการ คือ ภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ หรือการที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ภาวะโภชนาการต่ำ เป็นหนึ่งในประเภทของการขาดสารอาหาร เมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ อาจส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ภาวะโภชนาการเกิน คือ การที่ร่างกายได้รับประทานอาหารที่เกินกว่าพลังงานหรือไขมันในร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึงเกิดการสะสมไขมัน ทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป จนอาจทำให้เป็นโรคอ้วนได้ ภาวะทุพโภชนาการพบได้บ่อยเพียงใด ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะทุพโภชนาการ พบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือขาดสารอาหาร อาการ อาการของภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทุพโภชนาการ อาจทำให้เกิดอาการในลักษณะที่แตกต่างกันไปซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ ดังนี้ ความอยากอาหารลดลง อ่อนเพลียและหงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ร่างกายรู้สึกหนาวบ่อยครั้ง ในเด็กร่างกายอาจเจริญเติบโตช้า น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ รู้สึกเหนื่อยง่าย เกิดความวิตกกังวล ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดสารอาหาร หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทุพโภชนาการเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ รับประทานอาหารได้น้อย เกิดจากสาเหตุหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน