สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ปวดหัวไมเกรนในเด็ก อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาที่เหมาะสม

อาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยจะมีอาการปวดตุบ ๆ ปกติแล้วอาการปวดหัวไมเกรนนั้นจะปวดศีรษะเพียงข้างเดียว แต่บางครั้งก็อาจจะเริ่มต้นจากอาการปวดเพียงข้างเดียวก่อน แล้วจึงปวดทั้งสองข้าง โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเจออาการปวดหัวไมเกรนในผู้ใหญ่ แต่จริงๆ แล้วอาการ ปวดหัวไมเกรนในเด็ก ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน อาการปวดหัวไมเกรนในเด็ก  อาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการของการปวดหัวที่จะมีอาการรุนแรงกว่าการปวดหัวแบบอื่นๆ อาการปวดหัวไมเกรนในเด็กอาจจะมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ เช่น อาการปวดหัวไมเกรนในเด็ก อาจจะมีระยะเวลาในการเกิดอาการน้อยกว่าอาการปวดหัวไมเกรนในผู้ใหญ่หรืออาจจะมีอาการดังนี้ มีอาการปวดศีรษะปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงทั้งสองข้างของศีรษะ ปวดหัวแบบตุบๆ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน มีความไวต่อแสง หรือดวงตาแพ้แสง (photophobia) มีความไวต่อเสียง ไม่ชอบเสียงดังๆ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล มีความไวต่อกลิ่น (osmophobia) เป็นอาการของการกลัวกลิ่น กลิ่นบางกลิ่นอาจทำให้เกิดอาการกลัว วิตกกังวล และมีความเกี่ยวของกับอาการปวดหัวไมเกรน มีอาการปวดท้อง ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเป็นอาการปวดท้องที่มีความเกี่ยวข้องกับไมเกรน บางครั้งก่อนที่จะมีอาการไมเกรน อาจมีปัญหาในการมองเห็น มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีปัญหาทางด้านการสื่อสาร สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกคุณอาจมีอาการ ปวดหัวไมเกรนในเด็ก มีอาการพูดช้า ไม่ชัด หรือสื่อสารไม่ได้ความ (Dysarthria) วิงเวียนศีรษะบ้านหมุน ได้ยินเสียงดังในหู เห็นภาพซ้อน (Diplopia) ซึ่งเป็นความผิดปกติของดวงตาที่จะเห็นวัตถุชิ้นเดียวเป็นสองชิ้น มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานงานกัน ทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว เดินเงอะงะ ขาดสมาธิ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ (Dyscalculia) สาเหตุและวิธีรักษา

ในช่วงเวลาเด็กของใครหลายคน จนกระทั่งตอนนี้ หากจะถามว่าเกลียดวิชาอะไรมากที่สุด คำตอบยอดนิยมคงไม่พ้น วิชาคณิตศาสตร์เป็นแน่ เมื่อย้อนกลับไปในวัยที่กำลังเรียน เราอาจรู้สึกว่าวิชานี้ยาก ครูดุ จึงทำให้ไม่ชอบเรียนวิชาคำนวณ และทำผลการเรียนในวิชานี้ได้ไม่ดีนัก แต่… มีเด็กอีกหลายคนเรียนคณิตศาสตร์ได้ไม่ดี เนื่องจากอาการทางสุขภาพที่เรียกว่า ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ หรือ ภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการในการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เกือบทั้งหมด คนที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์อาจยังพอทำความเข้าใจหลักการของตัวเลขได้บ้าง แต่ผู้ที่มีภาวะบกพร่องดังกล่าว อาจประสบกับความสับสนหรือยุ่งยากได้มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีภาวะนี้ ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ (Dyscalculia) คืออะไร ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ (Dyscalculia) คือ ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ในทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในหลายระดับที่แตกต่างกันออกไป เช่น ไม่สามารถจำแนกหรือแยกแยะโจทย์ปัญหาได้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นโจทย์ปัญหาง่าย ๆ ไม่สามารถแยกรูปทรงทางคณิตศาสตร์ได้ ใช้เวลานานในการแยกแยะว่ารูปทรงใดมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่ากัน ซึ่งภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณนี้ ทำให้การเรียนคณิตศาสตร์ หรือแม้แต่การคิดเลขง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน กลายเป็นช่วงเวลาอันอย่างลำบากและเลวร้ายเกินกว่าที่จะผ่านไปได้  สาเหตุของภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ ผู้เชี่ยวและนักวิจัยทั้งหลายยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่า อาการบกพร่องทางคณิตศาสตร์ นั้นเกิดจากอะไร แต่ข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้มากที่สุดอาจมาจาก ระบบพันธุกรรม ภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์ อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือความผิดปกติทางใดทางหนึ่งในระบบพันธุกรรม กระบวนการพัฒนาของสมอง จากผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างและการทำงานในสมองของผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์กับผู้ที่ไม่มีภาวะดังกล่าวนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ อาการของ ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ เป็นอย่างไร เด็กที่มี ภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์ จะมีพัฒนาการทางด้านการคำนวณที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ขณะที่เด็กคนอื่นสามารถจะนับเลขในใจได้แล้ว แต่เด็กที่มีภาวะบกพร่องชนิดนี้อาจยังใช้การนับนิ้วอยู่ หรืออาจไม่สามารถแยกได้ว่าตัวเลขจำนวนใดมากกว่าจำนวนใด รวมถึงไม่เข้าใจในกระบวนการทางคณิตศาสตร์รูปแบบอื่น ๆ เช่น มีความสับสนในการประเมินสิ่งต่าง […]


สุขภาพเด็ก

ลูกไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกนอนไม่หลับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นยังอายุน้อยเกินไป ซึ่งในช่วง 2 เดือนแรก ทารกแรกเกิดมักจะหลับ ๆ ตื่น ๆ ประมาณ 12-18 ชั่วโมง/วัน และจะนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนเมื่ออายุ 9 เดือนขึ้นไป นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการที่เด็กเหนื่อยมากเกินไป ความวิตกกังวล รวมไปถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสังเกตลูกน้อย เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ ลูกไม่ยอมนอน ส่วนใหญ่แล้ว เด็กที่อยู่ในช่วงวัยประถมประมาณ 20-30% พยายามที่จะนอนให้หลับตลอดทั้งคืน แต่ความวิตกกังวลบางอย่าง อาจทำให้พวกเขาไม่ยอมนอน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอนอาจมีดังนี้ ลูกยังเด็กเกินไป โดยปกติแล้วมีทารกเพียงไม่กี่คนที่นอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน ในช่วง 2 เดือนแรก ทารกแรกเกิดมักจะหลับ ๆ ตื่น ๆ ประมาณ 12-18 ชั่วโมง/วัน และจะนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนเมื่ออายุ 9 เดือนขึ้นไป ซึ่งการนอนหลับตลอดทั้งคืนของทารกนั้น หมายถึง 5-6 ชั่วโมงติดต่อกัน เหนื่อยมากไป เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียนต้องการการนอนหลับ 11-14 ชั่วโมง ซึ่งเวลาที่เด็กต้องการนั้นรวมถึงตอนกลางคืนและงีบหลับด้วย ดังนั้น กิจวัตรประจำวันของเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

โรคครูป เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

โรคครูป (Croup) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะมาจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งพบมากในเด็กเล็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน-3 ปี โดยการติดเชื้อดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดอาการอักเสบที่บริเวณกล่องเสียงจนถึงหลอดลมส่วนต้น เป็นผลให้หลอดลมมีลักษณะบวมและตีบแคบ เพราะหลอดลมของเด็กเล็กมีขนาดเล็กจึงแสดงอาการได้ชัดเจน [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคครูป เกิดจากอะไร โรคครูปนั้นมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้จากการหายใจหรือสัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุที่มีเชื้อนี้เกาะอยู่ แต่บางรายก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีอาการรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ โรคครูปยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้หรือแม้แต่หายใจเอาสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเข้าไป ภาวะกรดไหลย้อน มักจะเริ่มจากมีอาการคล้ายโรคหวัดที่เป็นระยะเวลา 3-5 วัน เช่น มีไข้ น้ำมูกไหล คัดจมูก และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาแดง มีผื่นขึ้น เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองบวม หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก ไอแบบมีเสียงก้องหรือคล้ายเสียงเห่า จะมีอาการไอมากขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบและโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน วิธีการรักษาโรคครูป เมื่อพาลูกไปพบคุณหมอก็จะได้รับการรักษาด้วยการวัดระดับออกซิเจน รวมถึงคุณหมออาจตรวจลักษณะการหายใจของเด็กว่ามีลักษณะเหนื่อยหอบหรือไม่ จากนั้นจะประเมินความรุนแรงของโรค ดังนี้ อาการไม่รุนแรง คุณหมอจะให้ยาสเตียรอยด์โดยการฉีดหรือรับประทาน หากมีอาการดีขึ้นก็สามารถกลับบ้านได้แล้วนัดติดตามอาการภายใน 24-48 ชั่วโมง อาการรุนแรงปานกลาง คุณหมอจะให้พ่นยาอะดรีนาลีนเพิ่มเติมจากยาสเตียรอยด์ จากนั้น ประเมินอาการที่โรงพยาบาล 2-4 […]


สุขภาพเด็ก

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก และวิธีการรับมือ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือ OCD) เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่ง ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหรือความคิดซ้ำไปซ้ำมาเนื่องจากความไม่สบายใจ เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ เปิดปิดประตูบ้านซ้ำ ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะ โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจ และคอยสังเกตสัญญาณเตือนของโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก เพื่อจะได้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสม โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก คืออะไร โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่ง ผู้ป่วยจะการคิดเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา เนื่องจากมีเหตุที่ทำให้รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ จนเป็นผลให้ทำเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมาด้วยเช่นกัน ซึ่งอาการนี้แม้ตัวผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำได้ โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็กนี้มักจะพบได้กับเด็ก 1 ใน 100 คน เด็กที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นจะมีความคิดเกี่ยวกับ ความกังวลหรือความหวาดกลัวในเรื่องบางอย่าง เช่น ความกลัวที่จะสัมผัสกับสิ่งที่สกปรก และแสดงออกตามความคิด เพื่อพยายามควบคุมหรือลดทอนความกลัวนั้น เช่น การล้างมือที่บ่อยขึ้น หรือล้างมือมากจนเกินไป แต่การบรรเทานั้นมักจะช่วยได้แค่ชั่วคราว เพราะลักษณะการย้ำทำนั้นสุดท้ายแล้วจะหลายเป็นตัวการที่ทำให้การย้ำคิดรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นวงจรย้ำคิดย้ำทำไปเรื่อยๆ สาเหตุในการเกิดโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีงานวิจัยที่ให้ความเห็นว่า โรคนี้อาจจะเกิดขึ้นจากความผิดปกติของสมอง เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นมักจะขาดแคลนสารเซโรโทนิน (serotonin) ในสมอง หรืออาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม นอกจากนี้ การติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus) ก็อาจกระตุ้นให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือทำให้โรคมีอาการรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ การจะสังเกตว่าลูกเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ อาจจะเป็นการยากในช่วงวัยทารก เพราะเด็กยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาการเรียนรู้ ยังมีความอยากรู้อยากเห็น […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เขย่าทารก พฤติกรรมอันตรายที่ผู้ใหญ่ควรระวัง

เขย่าทารก เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrome เพราะเมื่อคุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกน้อยด้วยการจับลูกเขย่า หรือเขย่าเพื่อให้ลูกหยุดร้อง อาจส่งผลให้เกิดเลือดออกในสมอง เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี Shaken Baby Syndrome เกิดจากอะไร เขย่าทารก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrome พบในเด็กทารกวัย 3 – 8 เดือน เพราะแรงเขย่านั้นส่งผลให้เนื้อสมองเกิดการกระแทกกับผนังกะโหลกศีรษะ โดยสมองของเด็กวัยนี้จะมีน้ำในช่องสมองมากกว่าเนื้อสมอง เมื่อเขย่าตัวเด็กแรงๆ เนื้อสมองจึงเกิดการแกว่งไปแกว่งมาแล้วกระแทกกับกะโหลก จนทำให้เนื้อสมองเกิดความบอบช้ำเสียหาย เพราะเหตุใดจึงห้าม เขย่าทารก สมองของเด็กทารกนั้นมีขนาดใหญ่ อีกทั้งกล้ามเนื้อคอก็ยังไม่แข็งแรงมากพอต่อการพยุงศีรษะได้ ดังนั้นการเขย่าทารกอย่างรุนแรงจะทำให้เนื้อสมองกระทบกระแทกกับกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เส้นเลือดที่หุ้มสมองอันบอบบางนั้นเกิดการฉีกขาดได้ จนกระทั่งเกิดภาวะเลือดออกจากสมองที่เป็นอันตราย อาการที่เกิดจากการเขย่าทารก เมื่อเด็กทารกถูกเขย่าตัวแรง ๆ อาจเกิดบาดแผลภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น ซึม ไม่กินนม อาเจียน  ร้องไห้งอแงตลอดเวลา หายใจลำบากจนกระทั่งไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงเรียกได้ ซึ่งเป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนถึงเสียชีวิตได้ การกระทำแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรระวัง เพื่อป้องกันการเกิด Shaken Baby Syndrome คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ที่ต้องการเล่นกับเด็กทารกควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้ จับตัวทารกเหวี่ยงไปมา การจับตัวทารกเหวี่ยงไปมาแรง ๆ จนหัวสั่นคลอน ย่อมส่งผลต่อสมองของทารก […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

Herpangina อาการ สาเหตุ และการรักษา

Herpangina เป็นโรคระบาดในเด็กที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ อาจมีแผลที่ช่องปากบริเวณเพดาน และในโพรงคอหอยด้านหลัง อาการที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรง และอาจหายได้เอง [embed-health-tool-vaccination-tool] Herpangina คืออะไร  Herpangina (โรคเฮอร์แปงไจน่า) คือ โรคระบาดในเด็กที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) อาจพบมากในเด็กอายุ 3-10 ปี รวมถึงเด็กที่ต้องไปโรงเรียน หรือต้องอยู่ที่สถานบันดูแลเด็กเล็ก หรือค่าย โรคนี้อาจเกิดขึ้นบริเวณเพดานปาก อาการที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็อาจทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ ในปาก เป็นแผลในฝาก มีอาการเจ็บคอ มีไข้สูง ในเด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี อาจสังเกตอาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าได้ยาก เพราะในทารกบางคนอาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ โรคเฮอร์แปงไจน่าที่เกิดในเด็กทารกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น การบวมของสมอง การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โดยส่วนใหญ่โรคเฮอร์แปงไจน่าอาจพบได้ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่า อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าอาจแสดงให้เห็นภายใน 2-5 วัน หลังจากได้รับเชื้อ อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาการอาจหายไปเองใน 7-10 วัน โดยอาการที่ปรากฏอาจมีดังนี้ มีไข้เฉียบพลัน รู้สึกเจ็บคอ รู้สึกเจ็บปวดขณะกลืนอาหาร เบื่ออาหาร […]


สุขภาพเด็ก

แปรงฟันแห้ง คืออะไร ดีต่อสุขภาพฟันเด็กอย่างไร

แปรงฟันแห้ง เป็นวิธีแปรงฟันโดยไม่ทำให้แปรงสีฟันเปียกก่อนแปรง และไม่บ้วนปาก ซึ่งอาจช่วยป้องกันฟันผุให้ลูกได้ดีกว่าการแปรงฟันแบบเปียก อย่างไรก็ตาม การทราบขั้นตอนในการแปรงฟันแห้งที่ถูกต้อง อาจช่วยให้ได้ประโยชน์จากการแปรงฟันวิธีนี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยดูแลรักษาสุขภาพฟันให้แข็งแรงสมบูรณ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] แปรงฟันแห้ง คืออะไร การแปรงฟันแห้ง (Dry Toothbrushing) คือ วิธีการแปรงฟันโดยไม่ใช้น้ำ ไม่ต้องให้แปรงสีฟันเปียกน้ำหลังบีบยาสีฟันหรือก่อนแปรงฟัน เพราะการจุ่มแปรงสีฟันในน้ำอาจทำให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันฟันผุเจือจางลง และหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้ว ก็ให้บ้วนเอาฟองออก โดยไม่ต้องบ้วนน้ำ เพื่อให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันยังคงเคลือบอยู่บนผิวฟัน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ และทำให้ฟันแข็งแรง ขั้นตอนการแปรงฟันแห้งที่ถูกต้อง การแปรงฟันแห้งที่ถูกต้อง อาจมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ บีบยาสีฟันลงบนแปรงสีฟันสะอาดโดยไม่ชุบหรือจุ่มน้ำ แล้วแปรงฟันตามปกติอย่างน้อย 2 นาที บ้วนยาสีฟันและฟองทิ้งให้หมด โดยไม่ใช้น้ำบ้วนปาก หรือหากไม่ชินอาจบ้วนน้ำได้เล็กน้อย 1 ครั้ง หลังแปรงฟันแห้ง ควรทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีก่อนรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการแปรงฟันแห้ง แปรงฟันแห้งดีกว่าแปรงฟันแบบเปียกอย่างไร ส่วนผสมในฟลูออไรด์มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันฟันผุ แต่แม้เด็กจะใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์แล้ว ก็อาจยังประสบปัญหาฟันผุได้ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะการแปรงฟันเปียกหรือการบ้วนน้ำหลังแปรงฟัน จนทำให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันถูกชะล้างออกไป ซึ่งต่างจากการแปรงฟันแห้ง ที่จะช่วยให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันยังคงเคลือบอยู่บนผิวฟันได้นานก่วา จึงอาจป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเด็ก ๆ แปรงฟันแห้งเป็นประจำทุกวัน จึงอาจช่วยให้ฟันของเด็กแข็งแรง ลดความสี่ยงในการเกิดฟันผุได้มากกว่าการแปรงฟันแบบเปียก เคล็ดลับการแปรงฟันเด็กอย่างถูกวิธี วิธีการแปรงฟันสำหรับเด็กที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ คือ เทคนิคการแปรงฟันแบบถูไปมาในแนวนอน (Horizontal Scrub Technique) โดยวางแปรงสีฟันในแนวนอน และขยับแปรงสั้น ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกท้องเสีย เกิดจากอะไร ควรรับมือได้อย่างไรดี

ท้องเสีย อาจจะฟังดูเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่หากอาการรุนแรงก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะสำหรับทารก ซึ่งปัญหาเรื่อง ทารกท้องเสีย อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความวิตกกังวล ดังนั้น การทราบถึงทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสีย รวมถึงวิธีการดูแลลูกเมื่อท้องเสีย จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเอาไว้ เพื่อจะได้รับมือได้อย่างทันท่วงที ตรวจเช็กตารางการฉีดวัคซีนของลูกน้อย ที่นี่ ขับถ่ายธรรมดากับ ทารกท้องเสีย แตกต่างกันอย่างไร การจะแยกความแตกต่างระหว่างอุจจาระธรรมดาของทารก กับอาการทารกท้องเสีย อาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอุจจาระของทารกมักจะมีลักษณะเหลว มีสีแตกต่างกัน รงมถึงทารกอาจถ่ายบ่อยเป็นปกติอยู่แล้ว แต่การสังเกตความแตกต่างของอุจจาระแต่ละประเภทอาจทำได้ ดังนี้ อุจจาระของทารกที่กินนมแม่ ลักษณะอุจจาระของทารกที่กินนมแม่ อาจจะมีลักษณะเป็นสีเหลือง นิ่ม เหลว และอาจจะมีก้อนเล็กๆ ปะปนอยู่บ้าง เนื่องจากสิ่งที่ทารกรับประทานเข้าไปมีเพียงนมแม่เท่านั้น อุจจาระประเภทนี้อาจจะแยกออกจากอาการท้องเสียได้ค่อนข้างยาก อุจจาระของทารกที่กินนมผง ทารกที่กินนมผงอาจมีอุจจาระเป็นสีเหลืองเข้ม หรือสีออกน้ำตาล และมักจะมีความข้นหนืดมากกว่าอุจจาระของทารกที่กินนมแม่ โดยปกติแล้ว อาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของทารกที่กินนมผงได้อย่างง่ายดาย รวมถึงอาจสังเกตเห็นอาการท้องเสียในทารกได้อย่างรวดเร็ว อุจจาระของทารกที่กินทั้งนมแม่และนมผง อุจจาระของทารกที่กินทั้งนมแม่และนมผงจะมีลักษณะต่าง ๆ มากมาย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตอาการท้องเสียได้ หากอุจจาระของทารกมีลักษณะที่แตกต่างไปจากปกติ เช่น อุจาระเหลวมากกว่าปกติ ถ่ายบ่อยมากกว่าปกติ อุจจาระของทารกท้องเสีย อาจมีลักษณะเป็นอุจจาระเหลว ไหลเป็นน้ำ อุจจาระมีสีเขียว หรือมีสีคล้ำกว่าปกติ มีกลิ่นเหม็นมาก และอาจมีมูกเลือดปน ทารกท้องเสีย เกิดจากอะไร สำหรับสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสีย อาจมีดังนี้ การติดเชื้อไวรัส โรตาไวรัส (Rotavirus) […]


สุขภาพเด็ก

ลูกต้องเข้าผ่าตัด คุณพ่อคุณแม่เตรียมพร้อมอย่างไร

การผ่าตัดเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรค ในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดฉุกเฉิน หรือในบางกรณีก็ต้องมีการนัดหมายกันล่วงหน้า ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความรุนแรงของสภาวะทางการแพทย์ที่พบ แต่เมื่อ ลูกต้องเข้าผ่าตัด คุณพ่อคุณแม่อาจเครียด หรือเป็นกังวล แต่สิ่งสำคัญคือการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคุณหมอ หรือการเตรียมของใช้สำหรับพักฟื้นที่โรงพยาบาล วิธีเตรียมพร้อมเมื่อ ลูกต้องเข้าผ่าตัด สำหรับวิธีเตรียมพร้องเมื่อลูกต้องเข้าผ่าตัดของคุณพ่อคุณแม่ อาจทำได้ดังนี้ คุยกับคุณหมอให้เข้าใจ สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเมื่อลูกต้องเข้าผ่าตัด ก็คือ คุยกับคุณหมอที่รับผิดชอบเคสของลูก เพื่อเข้าใจถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น ความเสี่ยงในการผ่าตัด ประเภทและความเสี่ยงของยาระงับความรู้สึก หากมีข้อสงสัยใด ๆ ควรถามคุณหมอให้กระจ่าง เพื่อจะได้อธิบายให้ลูกฟังต่อได้ นอกจากนี้ พ่อคุณแม่อาจต้องบอกคุณหมอให้ละเอียดด้วยว่า ลูกมีสุขภาพเป็นอย่างไร มีโรคประจำตัว หรือปัญหาสุขภาพหรือไม่ หากเป็นเด็กเล็กหรือทารกที่ยังอยู่ในช่วงกินนมแม่ คุณหมออาจถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและประวัติการใช้ยาของคุณแม่ด้วย ลูกต้องเข้าผ่าตัด คุณก็ควรดูแลตัวเองให้ดีก่อน เมื่อ ลูกต้องเข้าผ่าตัด คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกเครียดหรือเป็นกังวล แต่ไม่ควรกังวลจนเกินเหตุ เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของตัวเอง จนต้องเข้าโรงพยาบาลอีกคนแล้ว ยังอาจทำให้ลูกเครียดตามได้ด้วย ฉะนั้น หากรู้สึกเครียดควรหาวิธีคลายเครียด เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ อย่าปล่อยให้ความเครียดสะสม หากทำกิจกรรมโปรดแล้วยังไม่หายเครียด การปรึกษาคุณหมอก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง อาจบอกให้ลูกรู้ถึงความจำเป็นในการผ่าตัด ก่อนที่ลูกจะต้องเข้าผ่าตัด คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ทำไมถึงต้องไปโรงพยาบาล ทำไมต้องเข้าผ่าตัด ผ่าตัดแล้วดียังไง ซึ่งอาจต้องใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และฟังแล้วไม่น่ากลัว เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน