สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

อาการกรดไหลย้อนในเด็ก และการรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

อาการกรดไหลย้อนในเด็ก เกิดจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ส่งผลให้เด็กสะอึกหรืออาเจียนบ่อย ทั้งนี้ หากเกิดขึ้นในเด็กเล็ก อาการเหล่านี้มักหายไปได้เองหลังจากขวบปีแรก [embed-health-tool-bmi] สาเหตุ อาการกรดไหลย้อนในเด็ก สาเหตุ อาการกรดไหลย้อนในเด็ก เกิดจากระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลจนเกินไปนัก โดยปกติ อาการกรดไหลย้อนในเด็ก มักหายไปได้เองหลังจากขวบปีแรก สำหรับเด็กโต กรดไหลย้อนอาจเกิดขึ้นได้จากระบบกล้ามเนื้อปิดเปิดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารมีแรงดันมาจากด้านล่างของกล้ามเนื้อที่เปิดปิดบ่อยเกินไป ทำให้กรดในกระเพาะอาหารดันขึ้นมาในหลอดอาหาร ส่งผลให้ลูกอาเจียนหรือคลื่นไส้บ่อยครั้ง หากปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต อาจช่วยป้องกันอาการดังกล่าวได้  อาการกรดไหลย้อนในเด็ก  อาการกรดไหลย้อนในเด็ก อาจสังเกตได้จากลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ สำลักอาหาร หายใจเสียงดังฮืด อาเจียนบ่อย ไอเรื้อรัง เรอ มีกลิ่นปาก เบื่ออาหารหรือมีปัญหาการรับประทาน ร้องไห้ระหว่างมื้ออาหารหรือหลังรับประทานอาหาร แสบร้อนบริเวณทรวงอก มีแก๊ส รู้สึกแน่นในท้อง หรือปวดเสียดท้อง การวินิจฉัย อาการกรดไหลย้อนในเด็ก คุณหมออาจวินิจฉัย อาการกรดไหลย้อนในเด็ก ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ตรวจทางเดินอาหาร ด้วยการเอกซเรย์และให้เด็กรับประทานของเหลว ซึ่งของเหลวที่ลงไปในกระเพาะทำให้คุณหมออาจทราบกระบวนการกลืนอาหาร ทางเดินอาหารว่าติดขัดส่วนใดหรือไม่ ทดสอบความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร คุณหมออาจสอดท่อที่มีความยืดหยุ่นผ่านทางจมูกลงไปในกระเพาะอาหารจนถึงกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่องกล้อง คุณหมออาจตรวจดูหลอดอาหารโดยใช้กล้องขนาดเล็กส่องลงไป หรืออาจเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อในเยื่อบุหลอดอาหารเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ การรักษากรดไหลย้อนในเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกรับประทานยาลดกรดในกระเพา เช่น ไซเมทิโคน (Simethicone) […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ

สีผสมอาหาร ทำให้อาหารมีสีสันสดใส โดยเฉพาะในขนมหวาน หรือในลูกชิ้นทอดที่เด็กๆ หลายคนชอบกิน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่ชี้ว่าสีผสมอาหารอาจสัมพันธ์กับอาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก แล้วแบบนี้สีผสมอาหารจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ หรือเปล่า สีผสมอาหารคืออะไร สีผสมอาหารประกอบด้วยสารเคมี ที่ใช้เพื่อเพิ่มสีสันให้อาหาร โดยสีผสมอาหารมักจะพบในอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรส ซึ่งผู้ผลิตมักจะใส่สีผสมอาหาร ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ เพื่อเพิ่มหรือลดสีของอาหาร เพื่อรักษาสีของอาหารให้คงอยู่ เพื่อให้อาหารมีสีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปัจจุบันถือว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า สารปรุงแต่งอาหาร เช่น สารกันบูด สารให้ความหวานแทนน้ำตาล และสีผสมอาหาร เป็นเหตุให้เกิดโรคสมาธิสั้น และเรื่องผลกระทบจากการกินสารปรุงแต่งอาหาร ยังคงเป็นที่กรณีโต้แย้ง สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ เนื่องจากมีงานวิจัยชี้ว่า สีผสมอาหารบางชนิดและสารกันบูด อาจทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นมากขึ้น ในขณะที่องค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ ชี้ว่างานวิจัยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่ใส่สีผสมอาหาร กับอาการซน และไม่อยู่นิ่งของเด็ก (Hyperactivity) นอกจากนี้มีงานวิจัยที่พบว่า การกำจัดสีผสมอาหารออกจากอาหาร รวมถึงสารกันบูดที่เรียกว่า โซเดียมเบนโซเอต (Sodium Benzoate) ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดอาการซนและอยู่ไม่สุขของเด็กได้ มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่พบว่า 73% ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีอาการลดลง เมื่อจำกัดการบริโภคสีผสมอาหารและสารกันบูด และยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า สีผสมอาหารและโซเดียมเบนโซเอต ทำให้อาการซนและอยู่ไม่นิ่งของเด็กเพิ่มขึ้น ทั้งในเด็กที่อายุ 3 ปีและกลุ่มเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้รับทั้งสีผสมอาหารและโซเดียมเบนโซเอตผสมกัน จึงยากที่จะระบุว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการซนและอยู่ไม่นิ่งของเด็ก สรุปแล้วสีผสมอาหารเป็นอันตรายหรือไม่ ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่า งานวิจัยได้แนะนำว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างสีผสมอาหารกับอาการซน และอยู่ไม่นิ่งของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ นอกเหนือจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า […]


โรคผิวหนังในเด็ก

เด็กเป็นสะเก็ดเงิน การรักษาและวิธีดูแลที่ควรรู้

เด็กเป็นสะเก็ดเงิน หรือโรคสะเก็ดเงินในเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันกระตุ้นให้ผิวหนังของเด็กเจริญเติบโตผิดปกติ จนอาจมีอาการ เช่น ผิวหนังหนาเป็นปื้นแดง มีรอยแผลบนใบหน้า และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ เช่น ปัญหาสุขภาพหัวใจ ความดันโลหิตสูง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และควรดูแลเด็กที่เป็นสะเก็ดเงินอย่างถูกวิธีด้วย เพื่อช่วยให้รับมือกับโรคนี้ได้ดีขึ้น เด็กเป็นสะเก็ดเงิน เพราะอะไร โรคสะเก็ดเงินในเด็ก (Psoriasis) เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเจริญเติบโตไวกว่าปกติ จึงส่งผลให้ผิวหนังหนาตัวขึ้น และมีสะเก็ดผิวหนังสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก โรคนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผิวหนัง หนังศีรษะ และเล็บ เมื่อเด็กเป็นสะเก็ดเงินจะทำให้ผิวหนังบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ ลำตัว แขนและขา หนาตัวเป็นปื้นแดงยาว ผิวบริเวณรอยพับอักเสบ โรคสะเก็ดเงินมีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก คือ โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา (Plaque Psoriasis) ลักษณะเป็นผื่นแห้ง แดง ซึ่งอาจมีขุยหรือสะเก็ดสีเงินปกคลุมอยู่ด้วย พบมากบริเวณหัวเข่า ข้อศอก แผ่นหลัง และหนังศีรษะ บางครั้งอาจทำให้มีอาการคันหรือมีเลือดซึมจากผื่น อีกชนิด คือ โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate Psoriasis) ซึ่งมักจะปรากฏผื่นนูนแดงหรือจุดเล็ก ๆ ขนาดประมาณหยดน้ำหรือเหรียญกระจายอยู่ทั่วตัว หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสะเก็ดเงินในเด็ก […]


ภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาการและการรักษา

ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เนื่องจาก แคลเซียม เป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ โดยมีหน้าที่สำคัญในการทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง และอาจมีบทบาทสำคัญในการปล่อยเอนไซม์และฮอร์โมน ตลอดจนทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น หากร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจทำให้การทำงานของร่างกายผิด ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก คืออะไร ภาวะพร่องแคลเซียม (Hypocalcemia) เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคแคลเซียมต่ำและปัญหาการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ ในบางกรณีการขาดแคลเซียมในเด็ก อาจเป็นผลมาจากการระดับแคลเซียมต่ำในมารดา ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมที่ไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระดูกอย่างรุนแรง มีผลต่อการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด และระบบประสาทอีกด้วย ดังนั้น หากเด็กมีกระดูกที่อ่อนแอจากการขาดแคลเซียมอาจนำไปสู่อาการกระดูกผิดรูป เช่น โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) อาการที่เกิดจาก ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก สำหรับอาการที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเมื่อมีภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาจมีดังนี้ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เป็นสัญญาณเตือนแรกของภาวะพร่องแคลเซียม อาจสังเกตได้จากการที่เด็กพูดเรื่องอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่ายิ่งบริเวณแขน ใต้วงแขน และต้นขา เมื่อต้องเคลื่อนไหวและเดินไปมา อาการนอนไม่หลับ หากเด็กมีอาการนอนหลับยาก หรือในบางกรณี อาจหลับแต่หลับไม่ลึก นอนไม่หลับ หรือมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ นี่อาจเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เด็กอาจมีภาวะพร่องแคลเซียม และมีผิวฟันขรุขระ  เล็บอ่อนแอและเปราะง่าย โดยปกติแล้ว เล็บเป็นส่วนที่ต้องการปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ จึงจะเติบโตอย่างมีสุขภาพดี เพราะฉะนั้นการที่เล็บหักหรือเปราะง่าย […]


สุขภาพเด็ก

ขาดอากาศหายใจ สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

ขาดอากาศหายใจ เป็นภาวะที่เป็นอันตรายประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง โดยภาวะขาดอากาศหายใจอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่มากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีทั่วโลก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ เพื่อเตรียมความพร้อมและการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ขึ้น ขาดอากาศหายใจ คืออะไร การขาดอากาศหายใจอาจเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งในการเสียชีวิตของทารก โดยอาจเกิดขึ้นในช่วงปีแรกของเด็กทารก และมักพบได้มากสุดในช่วง 9 -11 เดือน อย่างไรตาม ความเสี่ยงยังอาจเกิดขึ้นได้จนกระทั่งเด็กมีอายุ 6 ปี จนกว่าพัฒนาการของหลอดลม และกลไกการหายใจมีความสมบูรณ์ สาเหตุที่ทำให้ ขาดอากาศหายใจ โดยส่วนใหญ่แล้วการขาดอากาศหายใจในเด็ก อาจเกิดจากการสำลัก การถูกบีบรัด และการถูกวัสดุต่าง ๆ ปิดคลุมจนหายใจไม่ออก นอกจากนั้น สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการขาดอากาศหายใจในเด็กที่พบได้มากที่สุด ดังนี้ เครื่องนอน เช่น หมอน ผ้าห่ม อาจสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนหลับที่สบายมากขึ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งยังไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถ และยกศีรษะได้อย่างเต็มที่ เมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นก็อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น วัตถุต่าง ๆ ที่สามารถบดบังใบหน้าของเด้กได้ต้องนำออกไปให้ห่าง เพื่อป้องกันการขาดอากาศหายใจในเด็ก สถานที่ปิด เช่น ในตู้เย็นขนาดเล็กที่ไม่ได้ใช้แล้ว กล่อง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีกำจัดเหา เมื่อลูกน้อยกำลังเป็นเหา

เหา ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ และต้องกำจัดให้หมดไปโดยเร็วที่สุด เพราะเหาสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้ อีกทั้งการที่ลูกเป็นเหา อาจถูกเด็กคนอื่นมองว่าสกปรก ล้อเลียน หรือไม่คลุกคลีด้วย จนลูกอาจมีปัญหากับเพื่อนหรือมีปัญหาสุขภาพจิตได้ วิธีกำจัดเหา อาจทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยวิธีธรรมชาติ รวมถึงการใช้ยาที่สั่งจ่ายโดยคุณหมอ เพื่อบรรเทาอาการคันที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำลายของเหา ทั้งยังป้องกันอาการแพ้เหาที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กบางคนอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] เหา คืออะไร เหา คือ แมลงปรสิตชนิดหนึ่ง ลำตัวแบน ไม่มีปีก สีขาวปนเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดำรงชีพด้วยการกินเลือดจากคนหรือสัตว์ เหาที่พบในคนมี 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่ศีรษะ (Pediculosis Capitis หรือ Head Lice) เหาที่ลำตัว (Pediculosis Corporis) และเหาที่อวัยวะเพศ หรือโลน (Pediculosis Pubis) แต่เมื่อพูดถึงเหา คนส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงเหาที่ศีรษะ ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน (3-12 ปี) เหาเป็นแมลงคลาน บินหรือกระโดดไม่ได้ แต่ก็มีกรงเล็บที่พัฒนามาเป็นพิเศษทำให้สามารถคลานและเกาะติดหนึบอยู่บนเส้นผมได้ อีกทั้งเหายังเป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่สามารถติดต่อและแพร่กระจายจากคนสู่คนได้รวดเร็วมาก โดยเฉพาะในสถานที่ชุมนุมชน หรือในกิจกรรมที่มีผู้คนรวมตัวกันหนาแน่น […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ ท่อน้ำตาอุดตัน ทารก

ท่อน้ำตาอุดตัน ทารก อาจเกิดขึ้นจากปัญหาด้านพัฒนาการของท่อน้ำตา ความผิดปกติของกระดูกจมูก หรือการติดเชื้อในบริเวณใกล้เคียง เช่น จมูกติดเชื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ทำให้มีน้ำตาไหลมาก แสบระคายเคืองตา และอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบอาการดังกล่าว ควรพาลูกเข้ารับการรักษาในทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การสร้างน้ำตา ดวงตาเคลือบด้วยน้ำตา (tear film) ที่มีอยู่ 3 ชั้น เพื่อเป็นการชะล้างฝุ่นละอองและเศษผงต่าง ๆ โดยแต่ละชั้น มีดังนี้ ชั้นนอกสุด เป็นชั้นไขมัน (lipid) ที่สร้างมาจากต่อมไขมันมัยโบเมียน (meibomian glands) ซึ่งอยู่บริเวณหนังตา ชั้นกลาง เป็นน้ำที่สร้างมาจากต่อมน้ำตา (lacrimal gland) ซึ่งอยู่ในบริเวณด้านบนของดวงตาทั้งสองข้าง ชั้นสุดท้าย หรือชั้นในสุด เป็นเมือกซึ่งบำรุงกระจกตาและหล่อเลี้ยงพื้นผิวดวงตาด้วยน้ำตา เมื่อกะพริบตา หนังตาจะกระจายน้ำตาไปทั่วผิวตา ในภาวะปกติ น้ำตามีการระบายลงผ่านทางรูเปิดของท่อน้ำตา (puncta และ canaliculi) ซึ่งอยู่บริเวณเปลือกตาด้านหัวตาทั้งบนและล่าง จากนั้นจะต่อไปยังถุงน้ำตา (tear sac) แล้วค่อยไหลผ่านช่องที่เรียกว่า ท่อน้ำตา (tear duct หรือ nasolacrimal duct) […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

อาการไอในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่บรรเทาได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

อาการไอในเด็กเล็ก เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นจากหวัดและหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่หากอาการไอเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นเรื้อรังจนรบกวนชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีธรรมชาติในการช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดขึ้น จากนั้น ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรักษา ที่สำคัญไม่ควรซื้อยามาให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีรับประทานเอง เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีบรรเทาอาการไอในเด็กเล็กด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับ อาการไอในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่อาจบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีธรรมชาติก่อนพาเด็กไปพบคุณหมอได้ดังนี้ อาจป้อนน้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นส่วนผสมที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งอาจใช้ในการเยียวยาอาการเจ็บป่วย ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการหวัด หากลูกมีอาการไอรุนแรง ลองให้รับประทานน้ำผึ้งครึ่งช้อนก่อนนอน จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และลดอาการไอได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้น้ำผึ้งกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะน้ำผึ้งไม่เหมาะกับระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของเด็ก จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Canadian Family Physician เมื่อ พ.ศ. 2014 ศึกษาเกี่ยวกับน้ำผึ้งใช้รักษาอาการไอในเด็ก พบว่า การให้เด็กรับประทานน้ำผึ้ง 1 ครั้งก่อนนอน อาจช่วยลดอาการไอของเด็กได้ ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย อาจให้ดื่มน้ำอุ่น การดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ อาจช่วยลดน้ำมูก ที่ทำให้เกิดอาการคัดจมูก และช่วยทำให้โล่งคอ ส่งผลทำให้อาการไออาจดีขึ้นด้วยเมื่อคอโล่งขึ้น สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน คุณแม่อาจให้เด็กดื่มนมอุ่น ๆ หรือนมผง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไอเรื้อรังในเด็ก สาเหตุและวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การไอ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในเด็ก เกิดจากร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส ที่อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ แต่หาก ไอเรื้อรังในเด็ก หรือไอนานเกิน 4 สัปดาห์ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย และควรพาเด็กไปเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว เพราะอาการไอเรื้อรังในเด็ก อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่รุนแรงกว่า ไอนานแค่ไหนถึงเรียกว่าเรื้อรัง การไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เส้นประสาทจะส่งสัญญาณไปยังสมอง ให้สมองขจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เสมหะ น้ำหอม ฝุ่นละออง หรือเชื้อโรค เช่น ไวรัส ออกจากทางเดินหายใจ สำหรับเด็ก หากมีอาการไอไม่ถึง 2 สัปดาห์ เรียกว่า อาการไอเฉียบพลัน แต่หากไอต่อเนื่องยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ถือว่าไอเรื้อรัง ซึ่งอาการไอเรื้อรังในเด็กนี้ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด สาเหตุของอาการ ไอเรื้อรังในเด็ก สาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการไอเรื้อรังในเด็ก เช่น อาการหลังติดเชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ กลุ่มอาการครูป (Croup/Laryngotracheobronchitis) โรคโควิด-19 สามารถทำให้เด็กมีอาการไอติดต่อกันได้ยาวนานหลายสัปดาห์ เด็กที่เป็นไข้หวัดธรรมดาอาจมีอาการไอแค่ก ๆ หากเป็นไข้หวัดใหญ่มักมีอาการไอแห้ง ส่วนกลุ่มอาการครูปจะทำให้เด็กมีอาการไอเสียงก้องพร้อมหายใจเสียงดัง ส่วนใหญ่มักเกิดในตอนกลางคืน อาการไอเรื้อรังในเด็กที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสนี้ไม่มียารักษาจำเพาะ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กเป็นไข้ อาการ และวิธีการรับมือ

เด็กเป็นไข้ อาจสังเกตได้จากอาการอุณภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีอาการร้องไห้ งอแง ไม่ยอมนอน ไม่ยอมกิน หรือมีอาการเซื่องซึมกว่าปกติ โดยปกติอาการไข้มักไม่เป็นอันตรายใด ๆ และสามารถบรรเทาได้ด้วยการเช็ดตัว ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ นอนพักผ่อน หรืออาจให้ยาลดไข้สำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง เป็นไข้ไม่ยอมหาย ชัก ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรักษาในทันที อาการที่บอกว่าเด็กเป็นไข้ อุณหภูมิที่ถือว่าเด็กเป็นไข้ คือประมาณ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ ไม่ยอมนอน ไม่ยอมกิน ไม่อยากเล่น หงุดหงิด อารมณ์เสีย เซื่องซึม เฉื่อยชา ชัก เด็กเป็นไข้ อันตรายหรือไม่ ที่จริงแล้ว ไข้ไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่มันเป็นแค่ “อาการ” อย่างหนึ่ง ที่ร่างกายของคนเราต่อสู้กับอาการติดเชื้อ และระบบภูมิคุ้มกันกำลังทำงาน เด็กมักจะเป็นไข้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ และเป็นไข้ได้บ่อยจากอาการเล็กน้อยเพียง อย่าง หวัดธรรมดา โดยปกติแล้ว อาการไข้ในเด็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส หรืออาจมีสาเหตุบางอย่างที่อาจพบไม่บ่อยนัก เช่น ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในหู […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน