สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไข้สูง ปัญหาสุขภาพวัยเด็กที่พบบ่อยกับวิธีดูแลในเบื้องต้น

ไข้สูง ที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกเป็นปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะหากเด็กทารกในช่วงวัยอายุไม่เกิน 3 เดือน หากมีไข้สูง จำเป็นต้องพาลูกไปโรงพยาบาลทันที ส่วนเด็กในช่วงวัยสามเดือนเป็นต้นมา คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลรักษาในเบื้องต้นได้ เช่น การวัดไข้ และหมั่นเช็ดตัว เป็นต้น แต่ทั้งนี้ อาจต้องคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากไข้ไม่ลด อาจต้องรีบพาไปโรงพยาบาลเช่นกัน ไข้สูง เกิดจากสาเหตุใด อาการตัวร้อนและมีไข้ถือเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กเล็ก ผู้ปกครองมากกว่า 60% ที่มีลูกอยู่ในวัย 6 เดือนและ 5 ปีพบว่าลูกของพวกเขาเคยมีอาการดังกล่าว เวลาที่เด็กตัวร้อน หมายถึง การที่ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยอาการเป็นไข้ ตัวร้อน มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเล็กน้อย เช่น ไอหรือไข้หวัด และสามารถรักษาที่บ้านได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าอาการตัวร้อนจะสร้างความกังวลให้กับผู้ปกครอง แต่เด็กๆ มักจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ไข้สูง คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไร ถ้าทารกอายุไม่เกิน 4 เดือน แล้วมีไข้สูง โดยมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮต์) ควรพาเด็กไปโรงพยาบาล ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 4 เดือน ผู้ปกครองอาจปฏิบัติดังนี้ วัดอุณหภูมิร่างกาย วัดอุณหภูมิทางปาก สำหรับเด็กที่อายุ 4-5 […]


สุขภาพเด็ก

มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก ได้อย่างไรบ้าง

มลพิษทางอากาศ อาจ ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก และพัฒนาการต่าง ๆ เช่น ปอด สมอง การเรียนรู้ เนื่องจาก เด็กเป็นวัยที่เสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศมากกว่าวัยอื่น ๆ และปอดของเด็กกำลังเติบโตและหายใจรับอากาศเข้าไปได้มาก ดังนั้น การป้องกันเด็กจากมลพิษทางอากาศ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและพัฒนาการที่ดีของเด็ก มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก อย่างไร มลพิษทางอากาศอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของปอด เด็กอาศัยอยู่ภายในบริเวณ 100 เมตรจากถนนสายสำคัญที่มีมลพิษทางอากาศต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ควันจากท่อไอเสีย อาจทำให้การทำงานของปอดแย่กว่าเด็กที่อาศัยอยู่ห่างจากถนนสายสำคัญออกไป 400 เมตรหรือมากกว่า อาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง อาจส่งผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ การคลอดก่อนกำหนดยังอาจเกิดขึ้นได้บ่อยในเวลาที่เกิดมลพิษ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปอด เด็กที่เติบโตในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศมากอาจมีความเสี่ยงที่ปอดจะเจริญเติบโตได้ลดลง ทั้งยังอาจทำให้ปอไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผลกระทบของมลพิษทางอากาศอาจเทียบได้กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเด็กที่เติบโตในบ้านที่มีผู้ปกครองที่สูบบุหรี่ ผลกระทบอื่น ๆ ต่อสุขภาพเด็ก ปอดของเด็กยังคงพัฒนา ดังนั้น การสูดดมมลพิษทางอากาศเข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของปอดได้ สมองของเด็ก ๆ […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ลูกท้องผูก สาเหตุ อาการ วิธีรับมือ

ลูกท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจ เพราะบางครั้งไม่สามารถช่วยเหลือลูกน้อยได้ โดยส่วนใหญ่เด็กที่มีอาการท้องผูกมักขับถ่ายได้น้อยหรือมีอุจจาระแข็งและแห้ง โดยขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์  และมีอาการปวดขณะขับถ่าย แต่อาจมีอาการอื่นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตด้วยเช่นกัน คำจำกัดความลูกท้องผูก คืออะไร ลูกท้องผูก (Constipation in children) เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป เด็กที่มีอาการท้องผูกมักขับถ่ายได้น้อยหรือมีอุจจาระแข็งและแห้ง ลูกท้องผูก พบบ่อยเพียงใด ท้องผูกพบได้ทั่วไปในเด็ก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการลูกท้องผูก เป็นอย่างไร อาการทั่วไป ได้แก่ ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระแข็ง แห้ง และถ่ายยาก อุจจาระมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่มาก มีอาการปวดขณะขับถ่าย ปวดท้อง มีร่องรอยอุจจาระเหลวหรือคล้ายดินเหนียว ในกางเกงชั้นในของเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า อุจจาระไหลย้อนกลับเข้าไปในทวารหนัก อุจจาระแข็งและมีรอยเลือดปน อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการท้องผูกมากกว่า 2 สัปดาห์ หรือเกิดขึ้นร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ อาการไข้ อาเจียน เลือดปนในอุจจาระ ท้องบวม น้ำหนักลด มีบาดแผลบริเวณผิวหนังโดยรอบทวารหนัก ลำไส้ยื่นออกมาจากทวารหนัก สาเหตุสาเหตุลูกท้องผูก สาเหตุที่ลูกท้องผูกที่พบได้มากที่สุด คือ การที่อุจจาระเคลื่อนที่ผ่านทางทางเดินอาหารช้ากว่าปกติ ทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง และยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ทำให้ลูกท้องผูก ซึ่งได้แก่ การกลั้นอุจจาระ เด็กอาจไม่ยอมถ่ายอุจจาระเนื่องจากกลัวโถส้วมหรืออยากเล่นต่อ เด็กบางคนมักกลั้นอุจจาระเมื่ออยู่นอกบ้านเนื่องจากไม่สะดวกที่จะเข้าห้องน้ำสาธารณะ การขับถ่ายอุจจาระขนาดใหญ่และแข็งทำให้เด็กรู้สึกเจ็บ และยังอาจมักกลั้นอุจจาระไว้ เมื่อรู้สึกเจ็บเวลาขับถ่าย เด็กก็จะพยายามกลั้นอุจจาระไว้ เพราะไม่อยากเจ็บซ้ำอีก การฝึกการเข้าห้องน้ำ หากเด็กเพิ่งเริ่มฝึกการเข้าห้องน้ำ อาจจะยังขัดขืนและกลั้นอุจจาระไว้ หากเด็กรู้สึกว่าถูกบังคับให้เข้าห้องน้ำจะสร้างนิสัยการขับถ่ายที่ไม่ดีและจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก การเปลี่ยนแปลงอาหารที่รับประทาน หากเด็กไม่รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยและดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ก็ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ การที่เด็กในวัยหนึ่งเปลี่ยนจากการกินอาหารเหลวทั้งหมดมาเป็นอาหารแข็ง ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน การเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของเด็ก เช่น การเดินทาง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคดื้อต่อต้าน ในเด็กและวัยรุ่น มีวิธีสังเกตและรับมืออย่างไร

โรคดื้อต่อต้าน เป็นภาวะผิดปกติทางพฤติกรรมที่มักพบในเด็กที่เริ่มโต หรือวัยรุ่น เด็กมักแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว  เอาแต่ใจ พูดไม่ฟัง ชอบสร้างความขัดแย้ง หาเรื่องผู้อื่น จนสร้างปัญหาให้ตัวเองและผู้คนรอบข้าง โรคนี้เป็นโรคทางพฤติกรรมที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว เพราะหากปล่อยไว้ อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายถึงถึงชีวิต และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคดื้อต่อต้าน คืออะไร โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder หรือ ODD) คือ ความผิดปกติทางพฤติกรรมที่เริ่มต้นในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น เด็กที่เป็นโรคนี้จะแสดงพฤติกรรมต่อต้าน เมินเฉย ไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำร้องขอจากผู้อื่น เพราะคิดว่าคำสั่งหรือคำขอเหล่านั้นไร้เหตุผล จึงรู้สึกโมโห และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยเด็กที่เป็นโรคดื้อต่อต้านมักจะมีอาการของโรคสมาธิสั้น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าร่วมด้วย การที่เด็กดื้อรั้น หรือไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่บ้างบางครั้งนับเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะเมื่อเด็กรู้สึกเหนื่อย อารมณ์เสีย หรือไม่ได้ดั่งใจ แต่เด็กที่เป็นโรคดื้อต่อต้าน จะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้เป็นประจำ และพฤติกรรมจะรุนแรงขึ้น จนเป็นปัญหารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กและผู้คนรอบข้าง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคดื้อต่อต้านมีทั้งปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และสังคม เช่น กรรมพันธุ์ ความขัดแย้งภายในครอบครัว พ่อแม่หย่าร้าง การใช้ความรุนแรงในครอบครัว คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ครอบครัวมีผู้ติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ การเลี้ยงลูกผิดวิธี การถูกรังแกหรือถูกละเลย ครอบครัวมีฐานะยากจน หรือมีปัญหาทางการเงิน พฤติกรรมแบบใดเข้าข่ายเป็นโรคดื้อต่อต้าน หากเด็กมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานานกว่า 6 เดือน อาจเข้าข่ายเป็นโรคดื้อต่อต้าน สัญญาณทางความคิด […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ธาลัสซีเมียในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

ธาลัสซีเมียในเด็ก เป็นโรคเลือดที่เกิดจากการสร้างฮีโมโกลบินของร่างกายผิดปกติ ธาลัสซีเมียมีหลายประเภท บางชนิดไม่แสดงอาการใดๆ ในขณะที่ชนิดอื่นอาจทำให้เสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] ธาลัสซีเมียในเด็ก คืออะไร ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ที่เกิดจากการสร้างฮีโมโกลบินของร่างกายผิดปกติ หากลูกน้อยเป็นธาลัสซีเมีย จะมีระดับฮีโมโกลบิน และเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ โรคนี้พบได้มากที่สุดในเด็กที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา และเอเชีย ธาลัสซีเมียมีหลายประเภท บางชนิดไม่แสดงอาการใด ๆ ในขณะที่ชนิดอื่นอาจทำให้เสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของธาลัสซีเมียในเด็ก หากลูกน้อยเป็นธาลัสซีเมีย อาจมีอาการดังนี้ อ่อนเพลีย หมดแรง ผิวซีด กระดูกใบหน้าผิดรูป การเจริญเติบโตช้า ปัสสาวะมีสีเข้ม ท้องบวม สาเหตุของธาลัสซีเมียในเด็ก ธาลัสซีเมียเกิดจากยีนที่ทำหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินมีความบกพร่อง เด็กอาจได้รับการถ่ายทอดยีนดังกล่าวจากพ่อหรือแม่ หรือทั้งสองคน หากทั้งพ่อและแม่มียีนบกพร่อง ทารกจะมีอาการอยู่ในระดับธาลัสซีเมียใหญ่ หรือ ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง (Thalassemia Major) เมื่อมียีนผิดปกติถ่ายทอดมาจากพ่อหรือแม่ หรือจากทั้งสองคน หากทารกมีอาการอยู่ในระดับธาลัสซีเมียน้อย หรือ ธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia minor) แล้ว ทารกจะเป็นเพียงพาหะของยีนบกพร่อง การรักษาธาลัสซีเมียในเด็ก คุณหมอจะพิจารณาสัญญาณบ่งชี้และอาการ และทดสอบเลือด เพื่อยืนยันอาการผ่านการทดสอบต่างๆ ได้แก่ การตรวจตัวอย่างรกเด็ก การเจาะตรวจน้ำคร่ำ และการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์ ผู้ป่วยในระดับธาลัสซีเมียน้อย ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ในขณะที่ผู้ป่วยในระดับธาลัสซีเมียใหญ่ ต้องเข้ารับการถ่ายเลือดเป็นประจำทุกเดือน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีแก้ไอ สำหรับเด็ก โดยไม่ต้องใช้ยา

ยาแก้ไอที่ขายตามร้านขายยาทั่วไปถึงแม้จะหาซื้อได้ง่าย แต่อาจไม่เหมาะให้เด็กรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี หากลูกมีอาการหวัดเล็กน้อยหรือไอ ควรบรรเทาด้วย วิธีแก้ไอ สำหรับเด็ก ที่เหมาะสมและปลอดภัย ไม่เสี่ยงเกิดผลข้างเคียง ทั้งนี้ หากบรรเทาอาการไอแล้วอาการของเด็กยังไม่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างเหมาะสม วิธีแก้ไอ สำหรับเด็ก โดยไม่ต้องใช้ยา 1. น้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ทั้งยังมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยป้องกันการติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามน้ำผึ้งกลับไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งปีเพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโบทูลิซึม การให้ลูกกินน้ำผึ้งหนึ่งช้อน หรือให้ลูกกินน้ำผึ้งบ่อยตามความต้องการ สามารถทำได้กับเด็กที่อายุ 1 ปีขึ้นไปเท่านั้น และควรระวังไม่ให้มีการกินน้ำผึ้งมากจนเกินไปเพราะในน้ำผึ้งมีสารประกอบของน้ำตาลฟรุกโตสที่อาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่สามารถผสมน้ำผึ้งในน้ำอุ่นเพื่อให้ลูกสามารถกินน้ำผึ้งได้ง่ายขึ้น หรืออาจมีการผสมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวหรือน้ำขิง เพื่อเพิ่มวิตามินซี   2. การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ การใช้น้ำเกลือล้างจมูก ทำให้เด็กสามารถสั่งน้ำมูกได้ง่ายขึ้น เพราะการใช้น้ำเกลือล้างจมูกเป็นการขจัดน้ำมูกที่ขวางกั้นอยู่ในทางเดินหายใจ คุณอาจซื้อน้ำเกลือจากร้านขายยาทั่วไป หรืออาจทำเอง โดยผสมเกลือที่ไม่มีไอโอดีนและเบคกิ้งโซดากับน้ำ แล้วนำสารละลายที่ได้นี้ บรรจุในหลอดฉีดยาหรือขวดฉีดพ่นสำหรับล้างจมูก แต่สำหรับเด็กวัยหัดเดิน คุณพ่อคุณแม่อาจมีการพาลูกนั่งลงในอ่างน้ำอุ่นก็สามารถช่วยให้เด็กจมูกโล่งขึ้นได้ หรืออาจทำหลังจากที่มีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  3. ทาวาโปรับ วาโปรับ (Vapor rub) เป็นยาที่ออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก ส่วนผสมของวาโปรับ ประกอบด้วยสารกดอาการไอและยาบรรเทาปวดเฉพาะที่ เช่น การบูร เมนทอล และน้ำมันยูคาลิปตัส ดังนั้น หากคุณใช้วิธีนี้เพื่อบรรเทาอาการไอกับลูก ควรทายาชนิดนี้บางๆ บนหน้าอกและลำคอ เพื่อให้เด็กสามารถหายใจเอายาที่ระเหยออกมาเข้าไป แต่อย่างไรก็ตามกุมารแพทย์บางท่านอาจแนะนำให้ทาบริเวณเท้ามากกว่าบริเวณหน้าอกเพื่อความปลอดภัยที่มากกว่า […]


สุขภาพเด็ก

เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ มากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ในยุคปัจจุบันคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ยุคใหม่ หลายครอบครัวให้ลูกดูการ์ตูนหรือรายการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ แต่แม้อุปกรณ์เหล่านี้จะมีประโยชน์ แต่หาก เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ มากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรจำกัดเวลาในการใช้งานให้เหมาะสม อย่าให้ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอมากจนเกินไป [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ มากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง สุขภาพร่างกาย เมื่อ เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ การใช้เวลาอยู่หน้าจอสามารถทำให้ดวงตามีปัญหาได้ เช่น มีอาการแสบตา คันตา ตาล้า หรือหากเด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ก็อาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตาพร่า มองเห็นภาพซ้อน หรือปวดคอได้ แสงสีฟ้ากับสายตาเด็ก ในความยาวคลื่นและพลังงาน แสงสีฟ้า (Blue light) ถือว่าใกล้เคียงกับแสงยูวี ซึ่งทำให้เป็นที่น่ากังวลว่าจะเกิดความเสียหายจากการเจอแสงสีฟ้าสะสมเป็นเวลานาน เนื่องจากดวงตาของเด็ก ๆ มักจะมีความสามารถในการมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ เพราะเลนส์ธรรมชาติของดวงตามีขนาดเล็กและชัดเจน แสงสีฟ้าอาจส่งไปยังเรติน่าของดวงตาของเด็ก ๆ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ จึงสามารถทำให้ดวงตาเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ แสงสีฟ้ายังสามารถรบกวนการนอนหลับ และนาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythm) หากเด็ก ๆ ใช้เวลาอยู่หน้าจอใกล้เกินไปในช่วงเวลาก่อนเข้านอน สมองด้านความรู้ความเข้าใจ งานวิจัยที่ศึกษาในเด็กอายุ 8-11 ปี จำนวน 4,500 คน เมื่อเดือนกันยายนปี 2016 […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

อีสุกอีใสในเด็ก อาการ สาเหตุและการรักษา

อีสุกอีใสในเด็ก (Chickenpox) เป็นอาการเจ็บป่วยที่พบมากในเด็ก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคงูสวัด โดยโรคนี้สามารถหายได้เองหลังผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ หรือขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายและการดูแลรักษาของแต่ละคน การฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีในเด็กจึงอาจเป็นวิธีป้องกันการเกิดโรคและป้องกันโรคแทรกซ้อนจากอีสุกอีใสได้ดีที่สุด อาการของ อีสุกอีใสในเด็ก ในช่วง 2-3 วันก่อนตุ่มอีสุกอีใสขึ้น เด็กอาจมีไข้ ปวดท้อง ปวดศีรษะ ไม่อยากอาหารและอ่อนเพลีย โดยตุ่มอีสุกอีใสจะปรากฏขึ้นหลังสัมผัสกับเชื้อประมาณ 10-21 วัน ปกติแล้วเด็กจะมีตุ่มอีสุกอีใสประมาณ 250-500 ตุ่ม จะเริ่มจากมีผื่นแดงราบขึ้นบนผิวหนัง ก่อนจะเปลี่ยนแปลงลักษณะตามระยะเวลา สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่ ตุ่มนูน (Papules) มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าและหน้าอก เมื่อเวลาผ่านไปตุ่มนูนก็จะแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่น ๆ ตุ่มพองน้ำ (Vesicle) หลังจากผ่านไป 2-3 วัน จะเริ่มมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้น ลักษณะเป็นตุ่มที่มีของเหลวอยู่ด้านในขึ้นอยู่บนตุ่มนูน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปตุ่มน้ำพองจะแตกและมีของเหลวไหลออกมา สะเก็ด (Scabs) เมื่อตุ่มน้ำพองแตก แผลจะเริ่มแห้งเป็นสะเก็ดอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จากนั้นสะเก็ดของตุ่มอีสุกอีใสจะหลุดออกไปเองหลังจากผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ โดยปกติเมื่อตุ่มอีสุกอีใสตกสะเก็ดมักไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น หากไม่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย  […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ ส่งผลกระทบอย่าไร

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เป็นการติดเชื้อราที่อาจพบได้ในเด็กช่วงขวบปีแรก โดยเชื้อราอาจเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณหัวนมของแม่และภายในช่องปากของทารก ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อราในปาก ทำให้เห็นเป็นฝ้าขาวที่ลิ้น เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้แม่กังวลใจ ดังนั้น การเรียนรู้ถึงอาการและการรักษา อาจช่วยให้แม่สังเกตสัญญาเตือนที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เกิดจากอะไร ส่วนใหญ่เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ มักพบได้ในร่างกายของทุกคน โดยอาจพบได้ในระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอด ปกติแล้วร่างกายจะมีแบคทีเรียที่คอยควบคุมสมดุลอยู่เสมอ แต่บางครั้งเมื่อแบคทีเรียลดลงเนื่องจากสาเหตุบางประการ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ ก็อาจทำให้เชื้อราชนิดนี้เติบโต และมีการแพร่กระจายจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้ อีกทั้งปัญหาการ ติดเชื้อราในปาก ยังอาจพบได้บ่อยในทารกที่ยังกินนมแม่ โดยเชื้อราช่องปากมักจะเติบโตได้ดีในที่อุ่น ชื้น และมีความหวาน ซึ่งก็คือ สภาพภายในช่องปากของทารกขณะที่กำลังดูดนมแม่นั่นเอง เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่จึงทำให้ได้รับเชื้อและเกิดเป็นเชื้อราในปากขึ้น นอกจากนี้ หากทารกคลอดในขณะที่แม่เป็นเชื้อราในช่องคลอดก็อาจก่อให้เกิดเชื้อราในปากภายใน 2-3 สัปดาห์ หลังคลอดได้เช่นกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่าแม่ติดเชื้อราในปาก สัญญาณทั่วไปของการติดเชื้อราในปากขณะให้นมลูกอาจมีดังนี้ เจ็บหัวนม โดยเฉพาะเวลาให้นมลูก หัวนมแตกบ่อย รักษาไม่หาย แม้จะเอาลูกเข้าเต้าถูกวิธีแล้วก็ตาม หัวนมเปลี่ยนสี เช่น สีซีดขึ้น แดงขึ้น ดูมันวาว รู้สึกแสบร้อนที่หัวนม โดยเฉพาะหลังให้นมเสร็จ และอาการอาจคงอยู่เป็นชั่วโมง รู้สึกคันที่บริเวณหัวนมหรือหัวนมไวต่อการสัมผัสเกินไป แค่ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ก็ยังรู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่อาจสังเกตเห็นอาการของการติดเชื้อราได้ที่หน้าอกข้างเดียว หรือสองข้างได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อราในระยะแรกอาจยังไม่แสดงอาการใด […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก เป็นอย่างไร

อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก สังเกตได้ยากกว่าอาการเจ็บป่วยทางจิตในผู้ใหญ่ ทำให้เด็กหลาย ๆ คนควรที่จะได้รับการรักษา แต่กลับไม่ได้รับการรักษาเพราะสัญญาณและการแสดงออกในเด็กนั้นยากเกินกว่าที่จะสังเกตได้ ดังนั้น การเข้าใจหรือรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในเด็กอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่หาวิธีเยียวยาอาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็กได้เร็วขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก มีอะไรบ้าง อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็กมีหลายประเภท คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ซึ่งมีดังต่อไปนี้ กลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรคในกลุ่มนี้จะมี โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือOCD) ภาวะความเครียดหลังได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ โรคหวาดกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) และโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalised Anxiety Disorder, GAD) เด็กที่เป็นโรคในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการใช้ชีวิต และมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ โรคสมาธิสั้น โดยปกติจะมีปัญหาในการให้ความสนใจ โดยจะมีอาการซุกซน ไม่อยู่นิ่ง และมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น เด็กที่เป็นโรคนี้บางรายอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่บางรายอาจมีอาการทั้งหมดที่กล่าวมา กลุ่มอาการออทิสติก เป็นอาการรุนแรงที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด มักจะพบได้ก่อนอายุ 3 ขวบ ซึ่งจะมีการแสดงอาการที่หลากหลาย อีกทั้งโรคออทิสติกยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอีกด้วย กลุ่มโรคพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ เป็นอาการที่อาจส่งผลให้มีการรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติจนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หรือเป็นอาการในรูปแบบของการเบื่ออาหารไปจนถึงอดอาหาร และในบางรายเป็นหนักจนกระทั่งพัฒนาไปสู่โรค Anorexia nervosa หรือโรคคลั่งผอม สัญญาณเตือน อาการป่วยทางจิตในเด็ก การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ให้สังเกตความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หรืออารมณ์ที่แปรปรวนอย่างรุนแรงของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน